“เลือกแมสก์ให้เหมาะ…ช่วยให้นอนสบาย หลับลึก และได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด” การใช้งานเครื่อง CPAP เพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) จะได้ผลดีหรือไม่ ส่วนสำคัญคือ “หน้ากาก” หรือ “แมสก์” ที่เชื่อมต่อกับเครื่อง เพราะหน้ากากจะเป็นตัวกลางระหว่างเครื่องกับทางเดินหายใจของเราโดยตรง หากเลือกไม่เหมาะ อาจทำให้อึดอัด หลุดง่าย หรือรั่ว จนทำให้นอนไม่หลับและไม่ได้ผลจากการรักษา ประเภทของแมสก์ CPAP: เลือกอย่างไรให้เหมาะกับคุณ 1.
Category: All Article
รวมบทความดีๆ ด้านสุขภาพ การใช้งานวีลแชร์ อุปกรณ์ช่วยเหลือเช่น รถเข็นไฟฟ้า เตียงนอนปรับระดับไฟฟ้า
10 จุดเด่นของเครื่อง CPAP รุ่น AirSense 10AutoSet
“เพราะเหตุใดที่ดีจุดเริ่มต้นจากความรู้สึกที่คำนึงถึง” ปัญหาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea – OSA) เป็นเรื่องใกล้ตัวที่อาจส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือความเหนื่อยล้าสะสมในชีวิตประจำวัน **วีดีโอลูกค้า** เครื่อง CPAP (ซีแพพ)รุ่นยอดนิยมที่คนทั่วโลกไว้วางใจคือAirSense 10 AutoSet จาก ResMedมามาดู 10 จุดเด่นที่หลายคนเลือกใช้อย่างต่อเนื่องอย่างต่อเนื่อง ✅ 1.ปรับแรงดันอัตโนมัติ
น้ำตาลทำให้หลับยากจริงหรือไม่??
เรื่องของการนอนมีหลายปัจจัยที่ทำให้เราหลับไม่เต็มอิ่ม หลับไม่สนิท ซึ่งบทความนี้จะพูดถึงผลกระทบของการบริโภคน้ำตาลในปริมาณมาก และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ส่งผลถึงการรบกวนการนอนหลับอื่นๆ ของคุณ เราจะมาศึกษาว่าการนอนหลับที่ไม่ถูกวิธี การนอนหลับไม่เพียงพอ มีผลกับระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งนำไปสู่อาการอยากกินน้ำตาล และระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นได้อย่างไร 🍭 น้ำตาลกับการนอนหลับเกี่ยวข้องกันอย่างไร? หากคุณพบว่าตัวเองมีปัญหานอนไม่หลับ หรือรูปแบบการนอนหลับไม่ปกติ การบริโภคน้ำตาลอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงในเวลาอันสั้น ซึ่งมีผลกระทบต่อฮอร์โมน และระบบประสาท ดังนี้: กระตุ้นอะดรีนาลีน (Adrenaline)น้ำตาลสูงสามารถกระตุ้นฮอร์โมนอะดรีนาลีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด ทำให้หัวใจเต้นแรง
ทำไมหมอถึงแนะนำให้ใช้ CGM ควบคู่กับการฉีดอินซูลิน?
หลายคนที่เป็นเบาหวานและต้องฉีดอินซูลินอาจเคยได้ยินหมอแนะนำให้ใช้เครื่องวัดน้ำตาลแบบต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า CGM (ซีจีเอ็ม) ร่วมด้วย แล้วทำไมต้องใช้? คำตอบง่ายๆ คือเพื่อควบคุมน้ำตาลให้ดีขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น นั่นเอง CGM ช่วยให้การควบคุมน้ำตาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยง และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยอย่างแท้จริง ซึ่งก่อนหน้านี้ CGM ราคาสูงหลายกลุ่มคนเข้าถึงยาก อีกทั้งคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักกัน จน Elife ได้เจอแบรนด์ที่มั่นใจว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าถึงได้ และผ่าน อย.ไทยแล้ว มีอยู่นับแบรนด์ได้ 1. CGM
เบาหวานแฝง หรือ เบาหวาน 1.5 (LADA) คืออะไร? โรคที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว
เวลาพูดถึงโรคเบาหวาน คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงแค่ 2 แบบ คือ เบาหวานชนิดที่ 1 มักเกิดในเด็กหรือวัยรุ่น ร่างกายไม่สร้างอินซูลินเลย ต้องฉีดอินซูลินตลอดชีวิต เบาหวานชนิดที่ 2 มักเกิดในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคนอ้วน หรือมีพฤติกรรมกินหวานบ่อยๆ ร่างกายสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่ค่อยตอบสนอง แต่ความจริงแล้วยังมีอีกชนิดหนึ่งที่คนไม่ค่อยรู้จัก นั่นคือ เบาหวานแฝงในผู้ใหญ่ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า เบาหวาน 1.5 หรือ
ฝันซ้อนฝัน: ตื่นแล้ว…หรือยังฝันอยู่?
เคยไหม? ตื่นจากฝันแล้วโล่งใจว่าสิ่งที่เจอเป็นแค่ความฝัน แต่แล้วกลับพบว่าตัวเองยังอยู่ในอีกฝันหนึ่ง แล้วค่อยๆ “ตื่นซ้ำ” อีกครั้ง แล้วอีกครั้ง… แบบนี้เรียกว่า “ฝันซ้อนฝัน” (Dream within a dream) หลายคนอาจเคยเจอโดยไม่รู้ชื่อเรียก วันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจว่า ฝันซ้อนฝันคืออะไร เกิดจากอะไร และอันตรายไหม? ฝันซ้อนฝัน คืออะไร? ฝันซ้อนฝันคือการที่เราฝันว่า “ตื่นขึ้นมา” ทั้งที่จริงๆ เรายังอยู่ในฝันอีกชั้นหนึ่ง เป็นประสบการณ์แปลกประหลาดที่หลายคนเคยเจอ
REM Sleep หนึ่งในวงจรการนอนหลับสำคัญต่อความจำและความคิดสร้างสรรค์
ไม่ใช่แค่ชั่วโมงการนอนหลับที่เพียงพอเท่านั้นที่ส่งผลต่อความสดชื่นหลังตื่นนอน เพราะแม้จะนอนหลับ 7-9 ชั่วโมงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ แต่หากไม่ได้หลับลึก นอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ หรือรู้สึกเหมือนนอนไม่พอ ก็ไม่นับเป็นการนอนที่มีคุณภาพ บทความนี้อีไลฟ์จะพาคุณไปหาคำตอบว่า “ต้องหลับลึกกี่ชั่วโมงถึงจะดีต่อสุขภาพ?” และจะทำอย่างไรให้หลับสนิทตลอดคืน วงจรการนอน ตัวบ่งชี้การนอนหลับลึก การนอนของคนเราแบ่งเป็น 4 ระยะ โดย 3 ระยะแรกเป็นช่วงหลับตื้นไปจนถึงหลับลึก และอีกหนึ่งระยะสุดท้ายเป็นช่วงหลับฝัน ก่อนจะวนไปกลับไปที่ระยะหลับตื้นใหม่เป็นวงจรอย่างนี้ตลอดคืน ซึ่งในแต่ละระยะก็มีปฏิกิริยาทางสมองและร่างกายเกิดขึ้นแตกต่างกันไป ช่วงหลับตื้นไปจนถึงหลับลึก
รีวิวลูกค้า CPAP ของ elife: “เพราะการนอนหลับที่ดี เริ่มต้นจากความใส่ใจ”
สำหรับผู้ที่มีปัญหานอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) ถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการฟื้นฟูคุณภาพการนอน และที่ elife เราไม่เพียงแต่จำหน่ายเครื่องเท่านั้น แต่เรายังใส่ใจดูแลลูกค้าทุกคนอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอนของการใช้งาน ✅ จุดเด่นที่ลูกค้าชื่นชอบจาก elife 1. บริการดึงผลตลอดการใช้งานเครื่องเรามีบริการดึงผลการใช้งานเครื่อง CPAP เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการรักษาอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าสามารถเช็กผลได้ทุกช่วงเวลา พร้อมคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ 2. ปรึกษาเรื่องการนอนฟรี!
แก้นอนกรน ด้วยการใช้เตียงไฟฟ้า
แก้นอนกรน ด้วยการใช้เตียงไฟฟ้า คุณกำลังประสบปัญหา นอนกรน อยู่หรือเปล่าคะ? อย่างเวลานอนกับครอบครัวหรือเพื่อน มักจะโดนบ่นว่าคุณนอนกรนเสียงดังจนพวกเขานอนไม่หลับ ซ้ำร้ายอาการนอนกรนยังเป็นต้นเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งอันตรายถึงแก่ชีวิตเลย แล้วจริงหรือไม่ว่า การใช้เตียงไฟฟ้า สามารถแก้อาการนอนกรนได้!? มาหาคำตอบในบทความนี้กันค่ะ นอนกรน เกิดจากอะไร? หากปล่อยไว้จะอันตรายแค่ไหน? นอนกรน (snoring) เกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณคอคลายตัวและหย่อนตัวในขณะนอนหลับ ส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้สะดวก จึงทำให้ต้องหายใจแรงขึ้น ซึ่งลมหายใจที่เคลื่อนผ่านระบบทางเดินหายใจที่ตีบแคบ จะทำให้เกิดการสั่นหรือกระพือของเนื้อเยื่อคอ จึงเกิดเป็นเสียงกรนขึ้นมานั่นเอง
เครื่อง CPAP ต้องใช้นานแค่ไหนจึงหยุดใช้ได้?
สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea – OSA) การใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) คือหนึ่งในวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่คำถามที่พบบ่อยจากผู้ป่วยจำนวนมากคือ “จะต้องใช้เครื่องนี้ไปตลอดชีวิตเลยหรือไม่?” หรือ “ใช้ไปสักพักแล้วจะหายไหม?” ในบทความนี้เราจะมาอธิบายว่า ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อระยะเวลาการใช้เครื่อง CPAP และกรณีไหนที่อาจสามารถหยุดใช้ได้ เครื่อง CPAP ช่วยอะไร? CPAP
เตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต++ นอนสบาย แต่อาจส่งผลร้ายกับผู้ใช้งาน จริงหรือไม่ ?
เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมเตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุเกือบทุกร้าน ถึงมีแค่ขนาด 3 ฟุต? เพราะผู้ดูแลหลายคนก็อยากเลือกเตียงนอนที่ดูขนาดใหญ่ มีพื้นที่เยอะ ๆ ให้ผู้ใช้งานนอนสบาย ๆ ใช่ไหมล่ะคะ อย่างเตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต หรือ 5 ฟุตขึ้นไป แต่รู้หรือไม่คะว่าขนาดเตียงผู้ป่วยมีผลต่อความเหมาะสมในการใช้งาน ดังนั้นที่เตียงผู้ป่วยส่วนใหญ่มีขนาดไม่กว้างมากนั้นมีเหตุผล และความจำเป็นอยู่นะคะ ไปพิจารณาพร้อม ๆ กันค่ะ เตียงผู้สูงอายุ
ซื้อ CPAP Resmed Airsense10 กับ Elife มีบริการอะไรบ้าง ?
เครื่อง CPAP หรือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก คืออะไร ? ในบทความนี้ เราจะพูดถึงเครื่อง CPAP ยี่ห้อ ResMed ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่อง CPAP ชั้นนำของโลกจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งรุ่นที่นำมาพูดถึงในบทความนี้ เป็นเครื่อง CPAP ประเภททำงานปรับแรงดันลมอัตโนมัติ หรือ Auto CPAP หรือในบางครั้งเรียกว่า APAP มีชื่อรุ่นว่า ResMed
CPAP ResMed AirStart10
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงเครื่อง CPAP ยี่ห้อ ResMed ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่อง CPAP ชั้นนำของโลกจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเครื่อง CPAP ที่นำมาแนะนำในบทความนี้คือ ResMed AirStart 10 ซึ่งเป็นเครื่อง APAP หรือ Auto CPAP รุ่น Economic ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานง่าย ราคาประหยัด และคุณภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
รีวิว Ergolife คุณเอก เก้าอี้โต๊ะทำงานสุขภาพ
Elife ขอขอบคุณ คุณเอก ที่ไว้วางใจเลือกใช้งาน โต๊ะปรับระดับไฟฟ้า และเก้าอี้สุขภาพ นอกจากนั้นแล้วยัง ซื้อเก้าอี้เด็กไปใช้งานคู่กันด้วย น่ารักสุดๆไปเลยค่ะ🥰 “เพราะมั่นใจว่าสินค้าของเรา มีคุณภาพ คุ้มกับราคาที่ลูกค้าที่จะต้องจ่าย เราถึงอยู่ได้มาจนมาถึง 10 ปี จากสินค้าทางการแพทย์ วีลแชร์ไฟฟ้า เตียงไฟฟ้า และเริ่มขยับไปหมวดหมูสูขภาพของทุกวัยมากขึ้นนั่นเอง” ✅ จุดเด่นของโต๊ะสุขภาพ ปรับระดับความสูงได้ – สามารถสลับนั่ง–ยืนทำงาน เพื่อป้องกันการนั่งนานเกินไป
เตียงปรับระดับไฟฟ้า ตัวช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับวัยทำงาน
ในยุคที่ชีวิตการทำงานเต็มไปด้วยความเร่งรีบและความเครียด การพักผ่อนอย่างมีคุณภาพกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เตียงปรับระดับไฟฟ้าไม่เพียงตอบโจทย์การนอนหลับอย่างสบายเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสุขภาพและไลฟ์สไตล์ของคนวัยทำงานได้อย่างลงตัว มาดูกันว่าทำไมเตียงประเภทนี้จึงควรเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่คนวัยทำงานควรมี ลดอาการปวดหลังและคอจากการทำงาน คนวัยทำงานจำนวนมากต้องเผชิญกับอาการปวดเมื่อยจากการนั่งนาน ๆ หรือการทำงานที่ใช้ร่างกายอย่างหนัก เตียงปรับระดับไฟฟ้าช่วยให้สามารถเลือกองศาการนอนได้อย่างเหมาะสมกับสรีระ ช่วยลดแรงกดทับที่กระดูกสันหลังและต้นคอ ทำให้หลับได้สนิทขึ้น และตื่นมาพร้อมความสดชื่นในทุกเช้า ส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ การปรับระดับเตียงให้ศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อยสามารถช่วยลดอาการกรนและปัญหาการหายใจขณะนอนหลับได้ นอกจากนี้ การยกปลายเท้าเล็กน้อยยังช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดอาการบวมที่ขา ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายพร้อมสำหรับวันใหม่ที่ท้าทาย บรรเทาความเหนื่อยล้าจากชีวิตประจำวัน หลังจากเผชิญกับวันทำงานที่เหน็ดเหนื่อย การได้นอนเอนตัวในท่าที่เหมาะสมกับร่างกายช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าได้เป็นอย่างดี เตียงไฟฟ้าที่ปรับได้ตามใจยังสามารถช่วยเสริมการพักผ่อนในระยะสั้น เช่น การนั่งอ่านหนังสือ
รู้จักกับโรคเกี่ยวกับเท้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ พร้อมวิธีรักษาเบื้องต้น
เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพลงไปตามกาลเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย กลับมีความยืดหยุ่นน้อยลง โดยเฉพาะบริเวณฝ่าเท้าที่ผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก อาจมีอาการอักเสบของเส้นเอ็น ปวดฝ่าเท้าและส้นเท้าเวลาเดินลงน้ำหนัก ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเท้าได้ง่าย เนื่องจากผู้สูงอายุหลายคนมักจะคิดว่าเป็นเพียงอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วไป แต่หากสังเกตให้ดี นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรครองช้ำ โรคเท้าแบน หรือโรคเท้าผิดรูปได้ ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับเท้าที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว มีอะไรบ้างวันนี้เรามาดูกันค่ะ โรครองช้ำ โรครองช้ำหรือโรคพังผืดเท้าอักเสบ จัดเป็นโรคเกี่ยวกับเท้าที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการรู้สึกปวดบนฝ่าเท้า ส้นเท้าหรือส่วนโค้งใกล้ส้นเท้า
เตียงสุขภาพกับการฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุ
เมื่อต้องเผชิญกับการผ่าตัด โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ การฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดไม่ใช่เรื่องง่าย หลายครั้งผู้สูงอายุมีภาวะแทรกซ้อน เคลื่อนไหวไม่สะดวก และอาจเกิดแผลกดทับได้ง่ายหากนอนบนเตียงทั่วไป ดังนั้น “เตียงสุขภาพ” จึงกลายเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้ผู้สูงอายุฟื้นตัวได้เร็วขึ้นอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทำไมเตียงสุขภาพถึงสำคัญในการฟื้นฟู? 1. ช่วยในการลุกนั่งและเปลี่ยนท่าอย่างปลอดภัย หลังการผ่าตัด ผู้สูงอายุมักมีแรงน้อย เจ็บแผล หรือเคลื่อนไหวไม่สะดวก เตียงสุขภาพที่ปรับได้ทั้งส่วนหลังและขา จะช่วยให้ผู้ใช้นั่งหรือเอนตัวในองศาที่เหมาะสม โดยไม่ต้องใช้แรงมาก และไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลมากเกินไป 2. ลดความเสี่ยงของแผลกดทับ การนอนติดเตียงนานๆ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ซึ่งอาจลุกลามและติดเชื้อได้
ฉี่บ่อยกลางดึก เสี่ยงโรคอะไรได้บ้าง?
ฉี่บ่อยกลางดึก เสี่ยงโรคอะไรได้บ้าง? การตื่นมาปัสสาวะกลางดึกมากกว่าหนึ่งครั้งเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า “Nocturia” ไม่ใช่แค่เรื่องกวนใจในการนอนหลับเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ การฉี่บ่อยตอนกลางคืนอาจมีได้หลายสาเหตุ ซึ่งบางครั้งอาจเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงที่ควรตรวจพบและรักษาแต่เนิ่น ๆ 1. ภาวะไตทำงานผิดปกติ ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย หากไตเริ่มเสื่อมหรือมีปัญหา จะส่งผลให้การขับน้ำออกทางปัสสาวะผิดปกติ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายควรพักการทำงาน หากตื่นมาฉี่บ่อยจึงอาจเป็นสัญญาณของโรคไตในระยะแรกเริ่ม 2. โรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมักมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งร่างกายจะพยายามขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน หากมีอาการปัสสาวะบ่อยร่วมกับหิวน้ำ หิวบ่อย
หน้ากากCPAPต้องเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน? ทำความสะอาดอย่างไร?
หน้ากากCPAPต้องเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน? ทำความสะอาดอย่างไร? เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย การใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เป็นทางเลือกสำคัญในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea – OSA) แต่การใช้งานอย่างถูกต้องนั้นไม่ใช่แค่การเปิดเครื่องและนอนเท่านั้น การดูแลรักษาความสะอาดอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเปลี่ยนอุปกรณ์เมื่อถึงเวลา ถือเป็นหัวใจสำคัญของการใช้งาน CPAP อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อสุขภาพ ทำไมต้องดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์ CPAP?
วันผู้สูงอายุ “กอด” ความทรงจำและหัวใจของคนที่เรารัก
เมื่อพูดถึง “ผู้สูงอายุ” หลายคนอาจนึกถึงคนแก่ที่ผมหงอก เดินช้า หรือชอบเล่าเรื่องเก่าๆ ซ้ำๆ แต่แท้จริงแล้ว… ผู้สูงอายุ คือ “สมบัติล้ำค่า” ที่สะสมเรื่องราว ความรู้ และความรักมายาวนานกว่าครึ่งชีวิต วันผู้สูงอายุ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อย้ำเตือนให้ทุกคนในสังคมหันกลับมาให้ความสำคัญกับผู้สูงวัย ที่แม้ร่างกายอาจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม แต่หัวใจยังเต็มไปด้วยความรัก ความห่วงใย และความทรงจำอันอบอุ่นที่พร้อมจะส่งต่อให้คนรุ่นหลัง ความสำคัญของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะ…