fbpx

Home Sleep Test ง่าย รู้ผลเร็ว จองคิวเลย

Home Sleep Test by elife สลีปเทสทำที่บ้าน มาตรฐาน US, Europe ง่าย คิวไม่นาน ได้ Sleep Report ได้ผลเพื่อใช้ในการรักษาต่อไป

อีไลฟ์มีบริการทำ Home Sleep Test การทดสอบการนอนที่บ้านด้วยเครื่องมือทางการแพทย์เกรดโรงพยาบาล ยี่ห้อ Resmed หรือ Philips โดยเป็นการทดสอบ Class3 ที่ทางการแพทย์ยอมรับและเป็นที่นิยมทำใน USA, Europe และ ประเทศพัฒนาแล้ว ข้อดีของเราคือ

  • ง่าย สามารถทำได้ที่บ้านของคุณ เตียงนอนของคุณ (หลายคนตื่นเต้นเมื่อไปโรงพยาบาล)
  • รอคิวไม่นาน ไม่ต้องรอคิวหลายเดือน จองคิวได้เลย
  • ไม่กดดัน หากเกิด Fail Night เราให้โอกาสนอนคืนที่2 (Fail Night คือการนอนsหลับไม่ถึง 4ชม. หรือ จากเหตุผลอื่น ถ้าทำใน รพ.จะให้แค่คืนเดียวเท่านั้น)
  • รู้ผลเร็ว Sleep Report ใน3วันทำการ บอกผลการนอนอย่างละเอียด AHI, OSA, Central Apnea, Oxygen ผลการกรน พร้อม Highlight ช่วงวิกฤต
  • ใช้เป็นส่วนลดได้ ในการซื้อสินค้ากับอีไลฟ์ได้**

ปล. การทดสอบ Class3 สามารถใช้ทางการแพทย์ได้ สามารถคัดกรองเคสส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดได้ อย่างไงก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการ Central Apnea การหยุดหายใจจากการสั่งงานสมองส่วนกลาง

เงื่อนไข

  • มัดจำเครื่อง 5,000บาท คืนเงินเต็มจำนวน เมื่อคืนเครื่องมือในเวลาที่กำหนด
  • บริการนี้เพื่อการ Sleep Test ต่อคนเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ร่วม โดยระบบจะบันทึการนอนคืนที่มากที่สุดเท่านั้น โดยจะลบคืนที่มีจำนวนการนอนน้อยกว่า
  • หากเกิด Fail Night เราเปิดโอกาสให้ท่าน Test ได้อีก 1ครั้งในคืนถัดไป แต่หากคืนที่1 ทำการนอนได้เกิน 4ชม.แล้ว และ Sensor ทำงานปกติ ไม่แนะนำให้ทำคืนที่สอง เพื่อป้องกันการซ้อนทับของข้อมูล
  • สามารถรับผล Digital (PDF ส่งทาง email, Line) หรือ/และแบบกระดาษ (รับได้ที่หน้าร้าน)
รายละเอียด ค่าใช้จ่าย หมายเหตุ
มัดจำเครื่องมือ (คืนเต็มจำนวน) มัดจำ 5,000บ. คืนเต็มจำนวนเมื่อคืนเครื่องมือ ตรงเวลา (สงวนสิทธิ์ปรับ เพื่อประโยชน์ให้เครื่องได้ใช้กับผู้อื่นในคิวต่อไป)
ค่าใช้จ่าย Sleep Test ค่าใช้จ่าย 3,990บ. หากเป็น Fail Night เปิดโอกาสให้ทำ Sleep Test ในคืนที่2 ได้
ส่วนลด ในการซื้อสินค้า ส่วนลด 3,990บ. สามารถนำค่าใช้จ่าย มาเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าได้

คำถามที่พบบ่อย

Sleep Test มีกี่ระดับอะไรบ้าง?

Type 1 : ประเภทที่ 1 คือการทำ sleep test แบบทำที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีแพทย์เป็นผู้ดูแลและมี sleep tech เฝ้าตลอดทั้งคืน

  • คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), คลื่นไฟฟ้าลูกตา (EOG), คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), คลื่นกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อคาง (EMG)
  • การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
  • ลมหายใจ (Airflow)
  • O2 ในเลือด (Oximetry)

Type 2 : ประเภทที่ 2 คือการทำ sleep test แบบที่ทำนอกโรงพยาบาล ไม่ต้องมี Sleep tech ไม่ต้องเฝ้าตลอดทั้งคืน เพียงมีเจ้าหน้าที่เข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ให้ อาจจะทำที่บ้านหรือคลินิกที่ร่วมกับโรงแรม แบบนี้จะดีที่คนไข้สามารถทำที่บ้านได้ (แล้วแต่คลินิก) ประหยัดค่าใช้จ่าย รอคิวน้อยกว่า

  • คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), คลื่นไฟฟ้าลูกตา (EOG), คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), คลื่นกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อคาง (EMG)
  • การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
  • ลมหายใจ (Airflow)
  • O2 ในเลือด (Oximetry)

Type 3 : ประเภทที่ 3 คือการทำ sleep test แบบจำกัดข้อมูล ได้ข้อมูลไม่ครบเท่า Type 1 และ Type 2 แต่สำหรับคนที่ต้องการทราบอาการเบื้องต้น จะทำได้เลย รอคิวไม่นาน ประหยัดกว่า สำหรับคนที่ติดอุปกรณ์เยอะๆแล้วนอนไม่หลับ ตัวนี้เป็นตัวเลือกที่ดี

  • วัดชีพจร (Heartrate)
  • การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
  • ลมหายใจ (Airflow)
  • O2 ในเลือด (Oximetry)

Type 4 : ประเภทที่ 4 คือการทำ sleep test แบบวัดเฉพาะ O2 ในเลือด และลมหายใจขณะหลับ แบบนี้จะมีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด

  • ลมหายใจ (Airflow)
  • O2 ในเลือด (Oximetry)

Fail Night คืออะไร?

คือการที่ทำ Sleep test ในคืนนั้นของคนไข้ไม่สามารถอ่านผลได้ หรือเรียกว่า “เกิดความผิดพลาด” นั้นเอง การเกิด Fail Night มีสาเหตุมามาจาก

  1. อุปกรณ์มีปัญหาที่เกิดเกิดปัญหาที่อุปกรณ์มีความผิดปกติ เครื่องชำรุดที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง จนไม่สามารถวาัดผลในคืนนั้นได้
  2. อุปกรณ์มีปัญหาจากการติดอุปกรณ์ไม่ถูกต้อง เกิดจากการติดอุปกรณ์ผิดวิธี ผิดตำแหน่ง ติดไม่แน่ จนทำให้หลุดออกระหว่างนอน
  3. เกิดจากคนไข้ สภาพร่างกายของคนไข้ไม่พร้อม เกิดความตื่นเต้น นอนไม่หลับ หรือนอนหลับน้อยกว่าเวลาที่กำหนด 4-6 ชม. (แล้วแต่เครื่องแต่ละที่) ทำให้เครื่องอ่านค่าขณะหลับไม่ได้

ข้อควรปฏิบัติในการทำ Sleep test?

  1. คนไข้ควรอาบน้ำ สระผม มาให้เรียบร้อยพก่อนติดอุปกรณ์
  2. คนไข้ควรทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนทำ sleep test (แต่หากต้องการเข้าห้องน้ำระหว่างคืนสามารถเข้าได้ปกติ)
  3. ห้ามคนไข้ดื่ม กาแฟอีน แอลกอฮอล์ หรือหากกินยาประจำตัวมาต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย
  4. ทำให้สภาพแวดล้อมเหมือนตอนนอนปกติที่สุด เพื่อให้ไม่กังวลจนเกินไป
  5. คนที่ทำเล็บเจล ต่อเล็บมา แนะนำให้ถอดออกหรือล้างออกก่อน เพราะะมีผลต่อการวัด O2 ในเลือด

OSA คืออะไร?

OSA คือภาวะการหยุดหายใจจากการปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน คืออากาศถูกปิดทางเข้าปอด ทำให้ร่ายกายขาดออกซิเจน OSA สามารถวัดได้ด้วย ดัชนีการหยุดหายใจหรือ AHI เครื่อง CPAP ช่วยดันอากาศให้ช่องที่ปิดกั้นนี้เปิดให้อากาศสามารถไหลเข้าปอดได้ดีขึ้น ทำให้สุขภาพกานอนดี และออกซิเจนไปเลี้ยงสมองร่างกายดีขึ้น

คำศัพท์เบื้องต้น อาการหยุดหายใจ OSA นอนกรน ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ

  • OSA – Obstructive Sleep Apnea คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการปิดกัน/ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ภาษาง่ายๆคือ มีการตีบตัน-บังของทางเดินหายใจ เช่น โคนลิ้นหรือกล้ามเนื้อช่องคอหย่อน ปิดทางเดินหายใจ ภาวะนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากเกิดจากความอ้วน และ อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนปิดกั้นทำให้อากาศไหลไปสู่ปอดได้น้อยลง-หยุดหายใจ โดยมากจะมีอาการนอนกรนร่วมด้วย ภาวะนี้เป็นอันตรายอย่างมากในระยะสั้นทำให้รู้สึกไม่สดชื่นเพราะขณะหลับออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เพลีย อารมณ์แปรปรวน ระยะยาวนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับสมอง ชาวบ้านอาจมีคำศัพท์ว่า “ไหลตาย” มีความเกี่ยวเนื่องกับ OSA
  • AHI – Apnea Hyponea Index คือ ดัชนีใช้ในการวัดการหยุดหายใจ (AI – Apnea Index) และ หายใจแผ่ว (HI – Hypopnea) โดยค่านี้เป็นการวัดระดับความรุนแรงของภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ OSA โดยค่านี้จะเป็นหน่วยเป็น ครั้ง/ชม. เช่น ตัวผู้เขียนเองก่อนรักษามีค่า AHI = 41 หมายความว่า ตอนนอนมีการหยุดหายใจ/หายใจแผ่ว 41ครั้ง/ชม. ซึ่งค่านี้ถือว่าอันตรายต้องรีบรักษา
    • AHI < 5 ปกติ คนทั่วไปอาจเกิดอาการหายใจได้แต่ไม่ควรเกิน 5ครั้ง/ชม.
    • 5≤AHI<15 ภาวะหยุดหายต่ำ อาจจะปรับท่านอน ออกกำลัง ลดน้ำหนัก
    • 15≤AHI<30 ภาวะหยุดหายกลาง ควรเริ่มรักษา ควบคู่กับการควบคุมน้ำหนัก ใช้งาน CPAP
    • AHI≥30 ภาวะหยุดหายใจรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษา เป็นระดับอันตรายกับร่างกายทั้งระยะสั้นและยาว รักษาด้วย CPAP, เครื่องทางทันตกรรม, ผ่าตัด ตามคำแนะนำแพทย์
  • SPO2 – ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด %ออกซิเจนในเลือด โดยค่านี้แปรผันกับค่า AHI ผู้ที่มี AHI สูงมีการหยุดหายใจสูงค่าออกซิเจนจะลดลงต่ำขณะหลับ ตย. ผู้เขียนก่อนมีการรักษามีค่า SPO2 อยู่ที่ 86% จากปกติตอนตื่นมีค่าอยู่ประมาณ 97% จะเห็นว่าอาการหยุดหายใจขณะหลับมีอันตรายกว่าที่คิดมาก

รีวิวจากผู้ใช้จริง

@elifegear Home Sleep test กับ elife สิค่ะ #ราคาถูกของดี #ขายดี #นอนไม่หลับ #นอนกรน #สุขภาพดี ♬ เสียงต้นฉบับ – elifegear


แบบประเมินอื่นๆ

อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น