fbpx

รถเข็นวีลแชร์ผู้สูงอายุ รุ่นไหนดี? 2024 เทียบสเปค ราคา ข้อดี-ข้อเสีย

รถเข็นวีลแชร์ผู้สูงอายุ รุ่นไหนดี? 2024 เทียบสเปค ราคา ข้อดี-ข้อเสีย

สำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการทางด้านการเคลื่อนไหวปฏิเสธไม่ได้เลยว่า รถเข็นวีลแชร์มีความจำเป็นอย่างมากในด้านการเคลื่อนไหว รถเข็นวีลแชร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิต เพราะจะสามารถทำให้การเคลื่อนไหวนั้นเป็นเรื่องง่าย และช่วยผ่อนแรงให้กับผู้ดูแลให้สามารถดูแลได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย การเลือกรถเข็นวีลแชร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างเหมาะสมไม่ใช่เพียงแต่ใช้ไปไหนมาไหนได้สะดวก แต่ยังส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยเปิดโอกาสให้ได้ออกไปพบปะผู้คน การทำงาน และการเข้าสังคมได้อย่างราบรื่นอีกด้วย

 

 


การเลือกรถเข็นผู้ป่วยที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยและผู้สูงอายุคือสิ่งสำคัญที่สุด บทความนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับวิธีเลือกรถเข็นที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เราควรพิจารณาอะไรบ้างในการเลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วย และเปรียบเทียบรถเข็นผู้ป่วยแต่ละประเภท

รถเข็นวีลแชร์คืออะไร ? 

วีลแชร์ (Wheelchair) หรือรถเข็นผู้ป่วย เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์การแพทย์ชนิดหนึ่งที่ส่วนใหญ่แพทย์จะเป็นผู้ประเมิณและลงความเห็นแนะนำให้ใช้ โดยเฉพาะผู้ป่วย ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเองตามปกติ เนื่องจากรถเข็นวีลแชร์เป็นตัวช่วยที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้น สามารถเคลื่อนที่ได้ โดยลักษณะการใช้งานก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีความต้องการเคลื่อนที่มากหรือน้อยแค่ไหน เช่นผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่า แล้วผ่าตัดมา การใช้งานก็จะเน้นใช้งานในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อพักฟื้นตัวในช่วงที่แพทย์สั่งไม่ให้เดินลงน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวจนกว่าจะสามารถกลับมาเดินได้ตามปกติดังเดิม หรือเป็นผู้ป่วยประเภทผู้พิการ จำเป็นจะต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ตลอดชีวิต ดังนั้นผู้ที่เหมาะสมจะใช้รถเข็นวีลแชร์มีภาวะดังนี้
– ผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต
– ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องข้อ , เข่าเสื่อม ปัญหาเรื่องกระดูกเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่พึ่งผ่าตัดกระดูกมา
– ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท , หรือได้รับบาดเจ็บช่วงไขสันหลัง
– ผู้ที่ไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง
– ผู้สูงอายุที่เดินในระยะไกลๆ แล้วมีอาการเหนื่อยหอบ หรือเดินนานมากๆ แล้วมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
– ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากข้อเท้า , แผลเบาหวานที่เท้า เป็นต้น

รถเข็นวีลแชร์แตกต่างกันอย่างไร ? 

การเลือกรถเข็นวีลแชร์ ไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องการเป็นหลัก รถเข็นวีลแชร์ที่มีราคาแพงกว่า ก็ใช่ว่าจะตอบโจทย์การใช้งานได้ทั้งหมด ถ้าซื้อราคาแพงแล้วไม่ได้ใช้งานก็อาจจะไม่คุ้มค่ากับราคาแพงที่ต้องเสียไป หรือควรเลือกวีลแชร์ที่ผู้ใช้งานและผู้ดูแล สะดวกสบายในการใช้งาน ทั้งการดูแล พับเก็บยกใส่ท้ายรถว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะการใช้วีลแชร์ไม่ใช่เพียงเพราะแค่ใช้งานอยู่ภายในบ้านเท่านั้น แต่การใช้งานวีลแชร์ต้องรวมไปถึงการใช้งานนอกสถานที่ด้วย

รถเข็นวีลแชร์ แม้จะมีจุดประสงค์ในการช่วยผู้ป่วยเคลื่อนไหวมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ โดยรถเข็นวีลแชร์ที่ขับเคลื่อนด้วยคนเข็น หรือวีลแชร์แบบแมนนวล จะเคลื่อนที่ได้โดยตัวผู้ใช้งาน หรือผู้ดูแล โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  1. แบบล้อเล็ก สำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีกำลังแขนมากพอที่จะหมุนล้อได้ วีลแชร์ประเภทนี้ จึงจำเป็นจะต้องใช้ผู้ดูแลช่วยในการเข็น แต่ก็มีข้อดีคือมีน้ำหนักเบา ทำให้ผู้ดูแลเข็นได้คล่องตัวมากขึ้น
  2. แบบล้อใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเคลื่อนที่ด้วยตนเอง แต่มีข้อจำกัดคือต้องเป็นผู้ที่มีกำลังแขนมากพอที่จะออกแรงหมุนล้อได้

รถเข็นวีลแชร์ล้อเล็กกับล้อใหญ่แบบไหนเข็นได้ดีกว่ากัน
“โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่ารถเข็นวีลแชร์ที่มีขนาดล้อหลังใหญ่ จะเข็นได้ดีกว่ารถเข็นวีลแชร์ที่มีล้อหลังขนาดเล็ก ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะล้อเล็ก หรือล้อใหญ่ สามารถเข็นได้ดี ไม่แตกต่างกันเลย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของคนใช้งานมากกว่า ว่าจำเป็นจะต้องหมุนล้อเอง หรือให้คนเข็นให้ น้ำหนักในการเข็นรถเข็นวีลแชร์ บ้างก็ว่าหนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของคนนั่งรถเข็นวีลแชร์ด้วยว่า น้ำหนักมากหรือน้ำหนักน้อย”


Ew-11plus

 

EW-11Plus เก้าอี้รถเข็นอลูมิเนียม 7.6Kg พับได้ (แถมกระเป๋า)

มิติตัวรถ/ขนาด
สำหรับวีลแชร์รุ่น EW-11PLus ถูกดีไซน์ออกมาให้มีน้ำหนักน้อยโครงสร้างเล็กเน้นพกพาท่องเที่ยว แถมรุ่นนี้ยังมาพร้อมของแถมที่รุ่นอื่นไม่ได้นั้นก็คือกระเป๋าสำหรับใส่วีลแชร์ท่องเที่ยวสามารถหิ้วได้เลย รุุ่นนี้ถือได้ว่ายังคงเป็นรุ่นยอดนิยมสำหรับหลายบ้านเพราะวีลแชร์น้ำหนักเบาเพียง 7.6 kg

  • โครงสร้างของตัวรถ เป็น โครงสร้างอลูมิเนียม ไม่ขึ้นสนิม โครงด้านล่างเป็นลักษณะแนวแกน x มีคุณสมบัติบาลานซ์น้ำหนักผู้ใช้งานได้ดี
  • ระบบเบรก  มีระบบการเบรกสำหรับผู้ดูแล สำหรับการเบรกทั่วไปเพียงกำเบรกขึ้น หากอยากล็อคล้อให้ดันลงด้านล่างให้มีเสียงทั้ง 2 ฝั่ง
  • เข็มขัดนิรภัย มาพร้อมเข็มขัดนิรภัยเมื่อไม่ใช่สามารถถอดออกได้
  • ล้อยางตันทั้ง 4ล้อ ล้อหน้าเป็นล้อยางตันขนาด 5 นิ้ว ส่วนล้อหลังเป็นล้อขนาด 8 นิ้ว ดีไซน์สวยสีสันใช้งานง่าย

 

จุดเด่นเฉพาะ

  • ขนาดเล็กกะทัดรัด
  • โครงสร้างอลูมิเนียม น้ำหนักเบา 7.6 กิโลกรัม
  • เน้นพกพาท่องเที่ยวนิยมพับใส่ท้ายรถ พกพาขึ้นเครื่องบิน
  • มีกระเป๋าคลุมรถเข็นแถมให้
  • รับน้ำหนักผู้นั่งสูงสุด 100 กิโลกรัม
  • ล้อยางตันทั้ง 4 ล้อ
  • สามารถเปิดข้างที่พักแขนได้

จุดด้อย

  • ผู้นั่งที่มีส่วนสูงเกิน 150 cm. นั่งนานๆอาจเมื่อยได้
  • ผู้นั่งที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 จะรู้สึกอึดอัด

Ew-112

EW-112 รถเข็น เบาเพียง 9Kg นั่งสบาย อลูมิเนียม

มิติตัวรถ/ขนาด
สำหรับวีลแชร์รุ่น EW-112 ถูกดีไซน์ออกมาให้มีน้ำหนักน้อยล้อหลังใหญ่รับน้ำหนักได้เยอะ ตัวโครงสร้างอลูมิเนียมเชื่อมกันเป็นชิ้นเดียวกันทั้งคัน ดูแลรักษาไม่ซับซ้อน มีข้อจำกัดในการใช้น้อยกว่ารถเข็นที่มีโครงสร้างอื่นๆ อีกทั้งรุ่นนี้ยังมีล้อกันหงายที่สามารถถอดเก็บได้เพิ่มการซับพอตเมื่อขึ้นทางลาดชันตามโรงบาล ตัวเบาะระบายความร้อนได้ดีและยังสามารถดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย เพราะตัวเบาะเองสามารถถอดซักได้

  • โครงสร้างของตัวรถ เป็น โครงอลูมิเนียม “ที่เชื่อมกันเป็นชิ้นเดียวกันทั้งคัน” คุณสมบัติของรถเข็นวีลแชร์ที่มีโครงสร้างเป็นอลูมิเนียมคือจะไม่มีวันเกิดสนิม อายุการใช้งานจึงนานกว่า ดูแลรักษาไม่ซับซ้อน มีข้อจำกัดในการใช้น้อยกว่ารถเข็นที่มีโครงสร้างเป็นเหล็กและในเรื่องของน้ำหนักอลูมิเนียมจะมีน้ำหนักที่เบากว่าด้วยโครงสร้างรถเข็นเป็นรูปแบบกากบาทหรือแกน X จึงทำให้มีการกระจายตัวของน้ำหนักได้ดี ให้ความมั่นคงและสิ่งที่ต่างจากวีลแชร์รุ่นอื่นๆคือ EW-112 เป็นโครงสร้างอลูมิเนียมที่ออกแบบมาพิเศษถูกเชื่อมเป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด ให้ความแข็งแรงและไม่มีข้อต่อของน็อต
  • ล้อยางตันทั้ง 4 ล้อ ช่วยลดภาระในการเติมลมยางรถเข็น ยืดอายุการใช้งานได้นาน EW-112 มีพื้นที่หน้ายางกว้างกว่ารถเข็นวีลแชร์รุ่นอื่นจึงมีความหนาแน่นเพียงพอที่จะใช้งานบนพื้นผิวที่ขรุขระ หิน กรวด สนามหญ้า หรือพื้นคอนกรีต คอยซับพอร์ตแรงกระแทก ล้อหน้ามีขนาด 5 นิ้ว ล้อหลังมีขนาด 12 นิ้ว จึงเหมาะกับการใช้งานในที่แคบสามารถที่วง หมุนรถเข็นได้ไม่กินพี่ที่
  • ล้อกันหงาย เป็นล้อเสริมสำหรับค้ำรถเข็นในกรณีที่ใช้งานบนทางลาดชัน มีประโยชน์สำหรับผู้ดูแลที่เป็นผู้หญิงหรือผู้ดูแลที่เริ่มมีอายุ สามารถถอดออกได้หากไม่ใช้งาน
  • ที่พักเท้าเก็บออกด้านข้าง สำหรับผู้ใช้งานเข้า-ออกรถเข็นโดยไม่มีสิ่งกีดขวางสามารถเข้าถึงเบาะนั่งได้ใกล้มากที่สุดและช่วยให้พับเก็บได้ขนาดที่เล็ก
  • เบาะถอดซักทำความสะอาดได้  วัสดุเป็นไนลอนช่วยในเรื่องระบายอากาศ ลดความอับชื้น มีความหนานุ่มกำลังพอดีสำหรับผู้นั่ง มีขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ทุกส่วนสามารถถอดซักทำความสะอาดได้
  • มีเบรคล็อคล้อ ช่วยให้รถหยุดอยู่กับที่ไม่ไหลในเวลาที่ผู้สูงอายุเคลื่อนตัวลงนั่ง EW-112 มีเบรคล็อคล้อมาถึง 2 ตำแหน่งคือตรงแฮนด์ที่ผู้ดูแลเข็นและที่ล้อสำหรับผู้ใช้งานล็อคเอง
  • สายรัดน่อง สำหรับป้องกันผู้ใช้งานตกออกจากรถเข็น ช่วยยึดต้นขาให้มั่นคง
  • มีกระเป๋าด้านหลัง สำหรับใส่สัมภาระเล็กๆน้อย

จุดเด่นเฉพาะ

  • เบาะขนาดมาตรฐาน นั่งสบาย
  • โครงสร้างอลูมิเนียมเชื่อมเป็นชิ้นเดียวกัน
  • มี 2 ล้อเล็กเสริมด้านหลัง กันรถหงายในทางลาดชัน
  • เบาะกว้าง 40cm เบาะถอดซักได้
  • มีเบรคทั้งสองล้อสำหรับผู้ดูแลและผู้ใช้งาน
  • ล้อยางตันทั้ง 4 ล้อ ล้อหน้า 5 นิ้ว ล้อหลัง 12 นิ้ว
  • รับน้ำหนักผู้นั่งสูงสุด 120 กิโลกรัม

จุดด้อย

  • ราคาค่อนข้างสูง
  • คนสะโพกใหญ่มากๆเริ่มจะนั่งไม่สบาย

Ew-116

EW-116 รถเข็นวีลแชร์น้ำหนักเบา11Kg

มิติตัวรถ/ขนาด
สำหรับวีลแชร์รุ่น EW-116 รถเข็นวีลแชร์ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย น้ำหนักเบา  และใส่ท้ายรถได้โครงสร้างแข็งแรง มาพร้อมที่พักเท้าที่เป็นอลูมิเนียม แข็งแรงทนทน ถือว่าราคาถูกนั่งสบาย รองรับนน.ได้ถึง 100Kg นน.เพียง 13Kg จุดเด่นคือเรื่องราคาที่ไม่สูงมาก เบาะกว้างนั่งสบาย ขอเป็นล้อตัน PU (ไม่แข็งกระด้าง) เหมาะกับผู้ใช้งานทั่วไป เบาะเป็น พับ-กาง ง่ายไม่ต้องถอดประกอบแต่อย่างไร สามารถใส่ท้ายรถได้ เดินพาไปเที่ยวที่ต่างๆได้ดี

  • โครงสร้างของตัวรถ เป็นโครงอลูมิเนียม “ที่ไม่ได้เชื่อมกันเป็นชิ้นเดียวกันทั้งคัน” คุณสมบัติของรถเข็นวีลแชร์ที่มีโครงสร้างเป็นอลูมิเนียมคือจะไม่มีวันเกิดสนิม อายุการใช้งานจึงนานกว่า ดูแลรักษาไม่ซับซ้อน มีข้อจำกัดในการใช้น้อยกว่ารถเข็นที่มีโครงสร้างเป็นเหล็กและในเรื่องของน้ำหนักอลูมิเนียมจะมีน้ำหนักที่เบากว่าด้วยโครงสร้างรถเข็นเป็นรูปแบบกากบาทหรือแกน X จึงทำให้มีการกระจายตัวของน้ำหนักได้ดี ให้ความมั่นคง
  • ระบบเบรก  มีเบรกที่ด้ามจับและเบรกที่ล้อสำหรับบผู้นั่งเบรกเอง บีบค้าง = เบรก บีบค้างพร้อมดันตัวล็อค = ล็อคล้อ
  • ล้อยางตันทั้ง 4ล้อ ล้อหน้าเป็นล้อยางตันแบบเจาะรูขนาด 7 นิ้ว ส่วนล้อหลังเป็นล้อแม็กพรีเมียมขนาด 15 นิ้ว ดีไซน์สวยทันสมัยละสมบุกสมบันมากยิ่งขึ้น

จุดเด่นเฉพาะ

  • โครงและที่รองเท้าทำจากอลูมิเนียม (รุ่นปี 2020)
  • พับได้ นน.รถ 13Kg บรรทุกได้ 130Kg
  • มีเบรคทั้งสองล้อ (บีบเบรค / เบรคค้าง) มือจับแบบใหม่กระชับมือ
  • มาพร้อมเข็มขัดนิรภัย
  • เบาะผ้า กว้าง 46cm นั่งสบายใช้ได้ทุกเพศทุกวัย
  • ล้อหน้าตัน 6 นิ้ว ล้อหลังต้น 16 นิ้ว
  • ราคาประหยัด เบาะกว้าง นั่งสบาย

จุดด้อย

  • มีน้ำหนักเยอะไม่นิยมใช้เดินทาง
  • โครงสร้างเวลาพับแล้วใหญ่
  • ที่พักเท้าไม่สามารถพับเก็บได้

Ew-120Plus

EW-120Plus รถเข็นผู้ป่วย ล้อจับ 20นิ้ว ล้อจับอลูมิเนียม

มิติตัวรถ/ขนาด
สำหรับวีลแชร์รุ่น EW-120PLus ถูกดีไซน์ออกมาให้โครงสร้างกว้างและใหญ่เทียบกับรถเข็นโรงบาลใช้งาน 2 ระบบ คือ “ผู้ใช้งานเข็นรถด้วยตัวเองและผู้ดูแลเป็นคนเข็น”  เพราะล้อหลังขนาดใหญ่และมีด้ามจับสำหรับผู้ใช้งานเข็นด้วยตัวเอง พนักพิงสูง ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่มีช่วงตัวใหญ่ ผู้สูงอายุที่ต้องการนั่งรถเข็นวีลแชร์ที่มีลักษณะเบาะกว้าง แต่มีน้ำหนักที่เบา พับเก็บไม่ซับซ้อน ขนย้ายใส่ท้ายรถหรือไปยังที่ต่างๆ ที่สำคัญโครงด้านล่างของรถเข็นวีลแชร์เป็น ลักษณะแกน X ที่มีคุณสมบัติทำให้รถมีการกระจายน้ำหนักของผู้นั่งได้บาลานซ์กัน จึงสามารถรับน้ำหนักผู้นั่งได้สูงสุด 120 กิโลกรัม เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไปไม่ว่าจะใช้งานนอกบ้านหรือในบ้าน

  • โครงสร้างของตัวรถ เป็นอลูมิเนียมน้ำหนักเบาเพียง 11 กิโลกรัม (น้ำหนักเบากว่ารถเข็นวีลแชร์ที่เป็นโครงเหล็ก) ไม่ขึ้นสนิมจึงมีอายุการใช้งานได้นาน
  • ระบบเบรก มีเบรคล็อคล้อ 2ตำแหน่งมีหน้าที่ล็อคตำแหน่งรถไม่ให้ไหลหรือเคลื่อนที่ เช่นขณะที่ผู้ป่วยทิ้งตัวลงนั่งหรือลุกขึ้นยืนจากวีลแชร์  ตำแหน่งที่ 1 อยู่ข้างล้อสำหรับผู้ใช้งานล็อคล้อด้วยตัวเองและ ตำแหน่งที่ 2 อยู่ด้านล่างด้ามจับรถเข็นสำหรับผู้ดูแล
  • เข็มขัดนิรภัย เข็มขัดนิรภัย เพื่อป้องกันผู้ป่วยตก หล่นช่วยยึดผู้ป่วยไว้ให้ติดกับรถเข็นวีลแชร์ ป้องกันการพลัด ตก ออกจากรถเข็นวีลแชร์สามารถปรับระดับตามขนาดของผู้นั่ง
  • ล้อยางตันทั้ง 4ล้อ ล้อหน้าขนาด 6 นิ้ว และล้อหลังเป็นล้อยางตันซี่ลวดขนาดใหญ่ 20 นิ้ว มีด้ามจับอลูมิเนียมสีส้มสำหรับเข็นแบบแมนนวล ประโยชน์ของล้อยางตันคือดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ไม่มีปัญหาเรื่องการเติมลมล้อ มีความหนาแน่นที่จะรองรับแรงเสียดจากพื้นผิวขรุขระ อิฐ กรวด ทราย “มีตัวค้ำเสริมรถเข็นขณะใช้พื้นที่ต่างระดับ” ช่วยค้ำรถเข็นให้มั่นคงขณะที่ยกล้อหน้าลอย
  • ที่พักเท้าเก็บโดยปัดออกด้านข้าง  ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเบาะของรถเข็นได้ใกล้มากที่สุด
  • ที่รองน่อง+กระเป๋าใส่สัมภาระ ช่วยรองต้นขาของผู้ใช้งานไม่ให้ตกออกจากรถเข็น ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงและคนนั่งทั่วไปนั่งวีลแชร์ได้ถูกท่า และมีกระเป๋าหลังรถเข็นสามารถใส่ของเล็กๆน้อยๆสำหรับผู้ใช้งาน

จุดเด่นเฉพาะ

  • เน้นการใช้งาน 2 in 1 หมุนล้อได้ ล้อใหญ่ คนตัวใหญ่นั่งสบาย
  • รับน้ำหนักได้ 120 kg.
  • เบาะผ้าร่ม  ทำความสะอาดได้
  • มีเบรคทั้งสองล้อ 2 ตำแหน่ง
  • มาพร้อมเข็มขัดนิรภัย
  • เข็นตัวเองได้ มือจับอลูมิเนียมไม่ขึ้นสนิม

จุดด้อย

  • เบาะผ้าร่มบางไม่เหมาะกับการนั่งทิ้งตัว
  • เบาะค่อนข้างต่ำผู้สูงอายุที่สูงเกิน 180 เอาจจะนั่งลำบาก

Ew-21

EW-21 รถเข็นช่วยเดิน 3in1 เดิน/นั่ง/ใส่ของ เบา 7.8Kg อลูมิเนียม พับได้เล็ก

มิติตัวรถ/ขนาด
สำหรับวีลแชร์รุ่น EW-21 ถูกดีไซน์ให้เป็นรถเข็นช่วยเดิน Compact Rollator สำหรับคนชรา ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ใช้เป็นรถเข็นสำหรับทำกายภาพบำบัด เป็นรถช่วยเดินแทนการใช้ไม้เท้า สามารถปรับระดับสูงต่ำได้ถึง 6 ระดับตามความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถพับ-เก็บง่าย พกพาสะดวก และน้ำหนักเบาเหมาพสำหรับพกพาสะดวก สามารถนั่งพักผ่อนได้และด้านหน้ามีกระเป๋าใส่สัมภาระ

  • โครงสร้างของตัวรถ เป็นวัสดุอลูมิเนียมน้ำหนัก “เบาเพียง 7.8 กิโลกรัม” วัสดุหนาแน่น “ไม่ก่อให้เกิดสนิม” ทำให้ลดการผุ กร่อน ของโครงสร้างรถ จึงช่วยยืดระยะเวลาในการใช้งาน นอกจากเป็นรถช่วยเดินที่ใช้แทนไม้เท้าได้แล้ว ยังสามารถใช้เป็นรถเข็นสำหรับกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ นอกจากมีคุณสมบัติน้ำหนักเบาแล้ว EW-21 ยังสามารถพับเก็บได้ง่ายและมีขนาดกระทัดรัด ใส่ท้ายรถเหมาะแก่การพกพาออกไปใช้งานนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธาณะ ห้างสรรพสินค้า หรือใช้งานภายในบ้าน
  •  ปรับระดับสูง-ต่ำ ของมือจับได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน ลดอาการบาดเจ็บจากการโค้งงอหลังและสามารถใช้นั่งพักชั่วคราวมีเบาะนั่งเนื้อผ้า หนา กว้าง 46 เซนติเมตร “รับน้ำหนักผู้ใช้งานได้สูงสุดถึง 136 กิโลกรัม” 
  • ล้อยางตันทั้ง 4ล้อ ล้อหน้าเป็นล้อยางตันขนาดหน้าหลังเท่ากัน (8นิ้ว)

เบรคสองชั้น ew11, ew21

ฟังก์ชั่นการทำงาน

รถเข็นช่วยเดินมีเบรกอยู่ล่างตำแหน่งมือจับซึ่ง ประกอบด้วย 2 ระบบเบรกความปลอดภัย คือเบรกล็อคล้อและเบรกค้าง

  • เบรกล็อคใช้งานเมื่อผู้ใช้งานต้องการนั่งหรือลุกขึ้นออกจากรถ เบรกล็อคล้อจะทำงานให้รถหยุดนิ่งไม่ไหลไปไหน
  • เบรกค้างคือเป็นที่ใช้งานโดยการกำเบรกและแฮนด์ค้างไว้ ใช้งานระหว่างเดินหรือต้องการหยุดรถเพียงชั่วคราว
  • สามารถปรับระดับสูงต่ำของมือจับได้ 6 ระดับ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

 

จุดเด่นเฉพาะ

  • สามารถปรับระดับความสูงให้เหมาะสมกับคนใช้งาน ลดการบาดเจ็บ
  • รถเข็นช่วยเดินใช้งานได้หลากหลาย เป็นทั้งรถช่วยเดินที่สามารถนั่งพักได้ชั่วคราว มีช่องใส่ของต่างๆ
  • ขนาดใหญ่กว่าแต่ให้ความมั่นคงในการทรงตัวดีแต่กินพื้นที่การใช้งาน
  • ไม้เท้าเหมาะกับผู้สูงอายุทั่วไปที่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ระดับหนึ่ง รถเข็นช่วยเดินจะเหมาะกับผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีแรงพยุงตัวแล้ว
  • สามารถใช้ออกกำลังกายได้ พับเก็บได้ น้ำหนักเบา พกพาง่าย และยังสามารถนั่งพักเหนื่อยได้

จุดด้อย

  • ไม่ใช่วีลแชร์สำหรับนั่งเข็นโดยตรง แต่สามารถนั่งพักเหนื่อยได้
  • ไม่สามารถนั่งให้ผู้อื่นเข็นได้

เลือกรถเข็นวีลแชร์รุ่นไหนดี?

แนะนำวิธีการเลือกซื้อรถเข็นวีลแชร์

เลือกรถเข็นวีลแชร์จากฐานโครงสร้าง โดยโครงสร้างจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ

  1. โครงสร้างรถเข็นแบบพับได้
    ข้อดี :: พกพาง่าย น้ำหนักเบา
  2. โครงสร้างรถเข็นแบบพับไม่ได้
    ข้อดี :: แข็งแรง ทนทาน
    ข้อเสีย :: ใช้พื้นที่จัดเก็บเยอะ เปลืองเนื้อที่

เลือกรถเข็นวีลแชร์จากวัสดุที่ใช้ผลิตรถเข็นวีลแชน์ โดยการเลือกรถเข็นวีลแชร์จากวัสดุ ถูกแบ่งออกเป็น 3 วัสดุที่นิยมใช้นั่นก็คือ

  1. โครงสร้างรถเข็นวีลแชร์ ที่ผลิตจากสแตนเลส
    ข้อดี :: แข็งแรง ทนต่อการโดนน้ำ
  2.  โครงสร้างรถเข็นวีลแชร์ที่ผลิตจากอลูมิเนียม
    ข้อดี :: น้ำหนักเบา ทนต่อการโดนน้ำ
  3. โครงสร้างรถเข็นวีลแชร์ที่ผลิตจากเหล็กคาร์บอนสตีล
    ข้อดี :: แข็งแรง ราคาถูก

เลือกรถเข็นวีลแชร์จากขนาดล้อรถเข็น แบ่งออกเป็น 2 รุ่นที่เห็นทั่วไป นั่นก็คือ

  1. ล้อหลังมีขนาดใหญ่
    ข้อดี :: ผู้ใช้สามารถข่วยเหลือตัวเองได้ เข็นไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง (โดยทั่วไปล้อหลังใหญ่ จะมีขนาด 20,22,24 นิ้ว)
  2. ล้อหลังมีขนาดเล็ก
    ข้อดี :: น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก คล่องตัวกว่าขนาดใหญ่ (โดยทั่วไปล้อหลังเล็ก จะมีขนาด 8,12,14,16 นิ้ว)

เลือกรถเข็นวีลแชร์จากลักษณะยางรถเข็นวีลแชร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. ยางเติมลม
    ข้อดี :: ราคาถูก ทน อัดลมได้
  2. ยาง PU หรือยางตัน
    ข้อดี :: ทนทาน น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น ใช้งานได้นาน

รถเข็นคนอ้วน

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-11plus เป็นรุ่นที่พัฒนามาจากรุ่น Ew-11 มีขนาดเบาะกว้างกว่า เหมาะสำหรับคนที่สะโพกใหญ่ นั่งได้เต็ม ก้นไม่ล้นออกมาจากเบาะ รุ่นนี้น้ำหนักรถเข็นเบาเพียง 7.8 กก. โครงสร้างทำจากวัสดุประเภทเดียวกับรุ่น Ew-11 รับน้ำหนักผู้นั่งสูงสุดได้ 110-120 กก. นิยมใช้พกพาใส่ท้าย สะดวกคนดูแลมากๆ เลยค่ะ

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-112 รุ่นนี้ถือเป็นอีกรุ่นที่ลูกค้านิยมใช้ เพราะลักษณะรูปทรงคล้ายกับเก้าอี้นั่งมากกว่ารถเข็นวีลแชร์ เบาะนั่งสบาย และที่สำคัญ รุ่นนี้มีล้อเล็กกันหงายหลังอีกด้วย วัสดุที่ใช้ผลิตโครงสร้างรถเข็นวีลแชร์รุ่นนี้ เป็นอลูมิเนียมเกรด 7003 มีน้ำหนักเบา 9 กก. สามารถรองรับน้ำหนักผู้นั่งได้ถึง 120 กก. ถ้าเน้นนั่งสบายต้องรุ่นนี้เลยค่ะ

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-116 รุ่นนี้เป็นรุ่นที่เบาะค่อนข้างกว้าง จะนั่งสบายสำหรับคนที่มีสรีระใหญ่ หรือมีพุง รุ่นนี้วัสดุทำจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ น้ำหนักรถเข็น 13 กก. รุ่นนี้เป็นรุ่นที่น้ำหนักค่อนข้างเยอะ แต่ราคาถูก ถ้าหากผู้ติดตาม หรือผู้ดูแล สามารถยกขึ้นรถไหว ตัวนี้เป็นอีกตัวที่น่าใช้งานมากๆ เลยค่ะ

รถเข็นวีลแชร์ รุ่น Ew-120plus รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ดีไซน์สวย แข็งแรง น้ำหนักรถเข็น 11 กก. น่าใช้งานที่สุด รับน้ำหนักได้สูงสุด 120 กก. เหมาะสำหรับคนที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เพราะล้อหลังมีขนาด 20 นิ้ว เป็นล้อใหญ่ มีด้ามจับล้อที่ทำจากอลูมิเนียม เพื่อใช้แขนออกแรงหมุน และเคลื่อนที่ได้ โดยไม่ต้องรอให้ผู้อื่นมาเข็นให้ ข้อดีของรุ่นนี้ มีเบรคล็อคล้อ 2 ตำแหน่ง คือล็อคจากมือจับเข็น และล็อคได้จากล้อหลัง ถือว่าเป็นรุ่นที่สะดวกสบายค่ะ แต่ถ้าหากผู้ดูแลเป็นผู้หญิง เวลาพับเก็บใส่ท้ายรถ ถือว่าค่อนข้างยากค่ะ

รถเข็นช่วยเดิน รุ่น Ew-21 จะไม่เน้นใช้งานโดยวิธีการนั่งแล้วให้คนเข็น เพราะการใช้งานจะเป็นการใช้พยุงตัว หัดเดิน หรือออกกำลังกาย กายภาพบำบัด เพราะถ้าหากเป็นอุปกรณ์ 3IN1  ทั้งนั่งเข็น และพยุงเดินได้ด้วย อาจทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าไม่อยากเดินค่ะ ดังนั้นอยากให้แยกประเภทไปเลยว่า รถเข็นวีลแชร์ใช้นั่ง รถเข็นช่วยเดิน ไว้พยุงตัวช่วยเดิน เป็นการใช้งานที่ถูกวิธี และปลอดภัยมากที่สุด


ทักษะการใช้วีลแชร์ที่ถูกต้อง มีดังนี้

  • การเข็น ผู้ใช้งานจะรู้สึกเหมือนไม่ต้องออกแรงมาก และควรเข็นวีลแชร์ไปยาว ๆ อย่างนุ่มนวล
  • การเลี้ยว ให้ดันวงปั่นด้านหนึ่งไปข้างหน้า และดันอีกด้านหนึ่งไปข้างหลังพร้อม ๆ กัน
  • การลงทางลาด เพื่อป้องกันการหงายหลัง ควรโน้มตัวไปด้านหน้าและหมุนวงปั่นผ่านมือไปช้า ๆ หากมีประสบการณ์ในการใช้ อาจยกล้อหน้าเพื่อใช้เฉพาะล้อหลังลงทางลาด
  • การลงบันไดด้านหน้าโดยมีคนช่วยเหลือ เอนวีลแชร์มาทางด้านหลังจนล้อหน้ายกขึ้นแล้วค่อย ๆ ให้ล้อหลังเลื่อนลงบันไดไปทีละขั้น ระหว่างนี้ผู้ที่นั่งวีลแชร์อาจจับวงปั่นไว้เพื่อช่วยควบคุมรถ และให้ผู้ช่วยอีกคนหนึ่งคอยประคองอยู่ด้านหน้าโดยจับโครงบริเวณรถซึ่งไม่ใช่ที่วางเท้า
  • การขึ้นบันไดด้านหลังโดยมีคนช่วยเหลือ เอนวีลแชร์มาทางด้านหลังจนล้อหน้ายกขึ้นแล้วเลื่อนล้อหลังให้ชิดขั้นบันได จากนั้นเอนแล้วยกขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีละขั้น โดยผู้ที่นั่งวีลแชร์อาจคอยช่วยดึงวงปั่นไปด้านหลัง ส่วนผู้ช่วยอีกคนคอยจับประคองด้านหน้าบริเวณโครงรถซึ่งไม่ใช่ที่วางเท้า
  • การยกล้อ หมุนล้อไปทางด้านหลังจนมืออยู่ที่ตำแหน่ง 10 นาฬิกา และดันไปด้านหน้าอย่างรวดเร็ว ระหว่างนี้ล้อหน้าของวีลแชร์จะยกขึ้น การหมั่นฝึกฝนจะช่วยให้ยกล้อเพื่อข้ามผ่านสิ่งกีดขวางต่าง ๆ อย่างก้อนหิน เนิน และขอบถนนได้อย่างถูกจังหวะ แต่ในระหว่างฝึกฝนควรมีคนคอยช่วยเหลือเผื่อมีเหตุติดขัดด้วย

การช่วยเหลือผู้ที่ใช้วีลแชร์ สำหรับผู้ช่วยเข็นวีลแชร์ มีข้อควรระมัดระวัง ดังนี้

  • หากเข็นวีลแชร์ลงทางลาด ต้องคอยจับให้แน่นและถอยหลังลงอย่างระมัดระวัง รวมทั้งคอยดูให้ผู้ที่นั่งวีลแชร์อยู่ในท่าทางที่ถนัด ไม่ให้ลำตัวเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
  • เมื่อเข็นผ่านทางโค้ง ต้องตั้งหลักให้ดีเพื่อป้องกันการเกิดแรงเหวี่ยงระหว่างเข้าโค้ง และดูให้แน่ใจว่าไม่ได้ล็อกล้อรถไว้ เพราะจะทำให้เลี้ยวไม่ได้
  • หากผ่านทางขรุขระต้องเข็นช้า ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยกระทบกระเทือนน้อยที่สุด และลดความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บ
  • ก่อนเคลื่อนผ่านทางโค้ง ทางขรุขระ ลงทางลาด หรือผ่านสิ่งกีดขวาง ควรแจ้งให้ผู้ที่นั่งวีลแชร์ทราบเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้พิการได้เตรียมความพร้อม ป้องกันอาการตกใจและการเกิดอุบัติเหตุ

Tip :: การดูแลรักษารถเข็นวีลแชร์ผู้สูงอายุ เก็บรักษารถเข็น วีลแชร์ อย่างไร ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

นอกจากจะเลือกวีลแชร์ที่มีคุณภาพเหมาะกับผู้ใช้งานแล้ว การดูแลรักษาวีลแชร์ก็สำคัญนะคะ ควรดูแลรักษาควบคู่ไปด้วย จะยิ่งทำให้วีลแชร์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

  1. หมั่นทำความสะอาดเบาะรองนั่งและปลอกหุ้ม
  2. ไม่ควรนั่งอาบน้ำบนรถเข็นวีลแชร์
  3. หยอดน้ำมันหล่อลื่นตามข้อต่อเป็นประจำ
  4. หากวีลแชร์เป็นล้อยาง ควรสูบลมยางเป็นประจำ ไม่ควรปล่อยให้ยางแบน

Tip สรุปสั้นๆ การเลือกรถเข็นวีลแชร์ แนะนำให้เลือกตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานจริงๆ 

รถเข็นวีลแชร์ เป็นตัวช่วยสำคัญของผู้ที่มีปัญหาในการเดิน ตอบโจทย์ทั้งผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันและออกไปเที่ยวหรือทำกิจกรรมนอกบ้านได้ แต่การจะเลือกวีลแชร์สักคัน ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติที่ดี มีคุณภาพ เหมาะกับการใช้งานของผู้ป่วย และคุ้มค่าคุ้มราคาสำหรับผู้ดูแล

  • Travel Wheelchair – วีลแชร์น้ำหนักสำหรับการท่องเที่ยว อีไลฟ์ให้เกณฑ์ไม่เกิน 10Kg  (EW11+, EW112)
  • Wheelchair – วีลแชร์ทั่วไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน อีไลฟ์เลือกวัสดุอลูมิเนียมเป็นหลัก เก้าอี้รถเข็นแบบนี้เบาะนั่งจะใหญ่กว่านั่งได้นานกว่า (EW116, EW120+, EW122)
  • Rollator – รถช่วยพยุงเดิน สำหรับผู้สูงอายุ-คนทำกายภาพบำบัด (EW21)

สินค้าแนะนำ