fbpx

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่นไหนดี? เทียบสเปค ราคา ข้อดี-ข้อเสีย Home Care Bed 2024

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า รุ่นไหนดี? เทียบสเปค ราคา ข้อดี-ข้อเสีย Home Care Bed 2024

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า Electric Adjustable Bed มีอยู่หลากหลายรุ่นในท้องตลาด โดยมีราคาตั้งแต่หลัก 1-2หมื่น ถึง หลักแสน แล้วเราจะเลือกอย่างไงให้เหมาะสมกับผู้ใช้-คนที่เรารัก บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจ การเลือกซื้อเตียงต้องดูอะไรบ้าง ประเภทของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า, อายุของผู้ใช้งาน, ฟังก์ชั่นที่จำเป็น 3ไกร์, 5ไกร์ ความแตกต่างระหว่างเตียงธรรมดา กับเตียงทางการแพทย์ และเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าสำหรับที่บ้าน Home Care Bed เรามาดูกันเลยครับ เพื่อประโยชน์กับคุณเอง


เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า คืออะไร?

ทุกคนใช้เวลา 1ใน3ของชีวิตบนเตียงนอน เตียงนอนผู้ป่วยมีประวัติการพัฒนากันมาอย่างยาวนานเป็นร้อยปี หลังจากที่มนุษย์เริ่มพัฒนาสาธารณะสุขและให้มีโรงพยาบาลขึ้นมา เตียงนอนผู้ป่วยปรับได้แบบแมนนวล Adjustable Hospital Bed เริ่มมีความสำคัญในการพักฟื้นคนไข้ เช่นผู้ป่วยกระดูกหัก อาการบาดเจ็บทางร่างกาย เตียงผู้ป่วยแบบปรับมือ มีความสามารถหลักคือ ปรับตำแหน่งของเตียงได้ 3ส่วนสำคัญคือ ชันหลัง, ชันขา และปรับความสูง ประโยชน์ในส่วนของผู้ป่วยเอง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งเพื่อตรวจร่างกาย รักษา ทานอาหาร ลุกออกจากเตียง ประโยชน์กับบุคลากรทางแพทย์คือ พยาบาล หมอสามารถปรับร่างกายเราเพื่อประโยชน์กับการรักษาได้ รวมถือราวกันตกเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง

ต่อมาเมื่อ Technology พัฒนามากขึ้น จากแต่ก่อนพยาบาลต้องปรับเตียงแบบมือหมุนเอง ซึ่งต้องออกแรงมาก(เป็นที่มาของคำว่าไกร์หมุน เตียง3ไกร์ 5ไกร์) เอาแบบเก่ามาติดมอเตอร์และควบคุมผ่านการกดปุ่มเพื่อทุ่นแรงพยาบาล เรียก Electric Hospital Bed ปัจจุบันเราจะเห็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าในโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐชั้นนำ ส่วนแบบแมนนวลยังมีเห็นได้อยู่ในรพ.รัฐทั่วไป

เมื่อ 10-20ปีมานี้ มีเตียงผู้ป่วยที่พัฒนาต่อยอด เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าในโรงพยาบาล มาเป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ใช้ที่บ้านหรือบ้านพักคนชรา Home Care Bed โดยออกแบบให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้นโดยออกแบบใช้วัสดุไม้ เป็นวัสดุสัมผัส ดูเป็นเฟอร์นิเจอร์หนึ่งในบ้าน โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานครบ

ส่วนประกอบของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ผู้สูงอายุ Home Care Bed การใช้งานมอเตอร์ และ Controller

ฟังก์ชั่นของ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่เตียงนอนธรรมดาไม่มี

  • ปรับความชันหลัง และ ชันขาได้ (Head/Feet Elevation) – เพื่อประโยชน์ในการเปลี่ยนท่าทาง, การดูแล, ทานข้าว, กินยา, รักษา
  • ปรับระดับสูงต่ำได้ (Height Elevation) – เพื่อเพิ่มความสะดวกับผู้ดูแล ลูกหลาน ทุ่นแรง เช่นเมื่อเปลี่ยนเสื้อผ้า ทานอาหาร
  • ปรับความชันได้ (Tilting) – เพื่อสุขภาพแก่ผู้นอน การปรับชัน ช่วยลดความเสี่ยงแผลกดทับ เปลี่ยนท่าทางการนอน
  • บาร์โหน (Monkey Bar) – บาร์โหนให้ผู้ป่วย/คนแก่ สามารถลุกขึ้นจากเตียงได้เอง ช่วยเหลือตัวเอง
  • ปุ่ม CPR – กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ระบบจะกลับมาในตำแหน่งราบ พร้อมสำหรับการทำ CPR
  • ราวกันตก (Side Rails) – ราวที่มีอยู่ทั้งสองข้างของเตียง ป้องการตกเตียง ซึ่งเป็นเหตุสำคัญให้เกิดการบาดเจ็บ
  • ล้อเคลื่อนที่ได้ (Wheels) – โดยมากเตียงผู้ป่วยจะมีล้อเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่
  • ฟังก์ชั่นอื่นๆ เช่น ไฟส่องสว่างใต้เตียง, ฟูกกันน้ำ เป็นต้น
ข้อแตกต่างเตียงโรงพยาบาล กับเตียงผู้ป่วยแบบใช้ที่บ้าน Hosiptal bed VS Home Care Bed

Hospital Bed VS Home Care Bed

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ไม่เหมือนเตียงโรงพยาบาล Home Care Bed ปัจจุบันการดูแลผูัสูงอายุ และผู้ป่วย ที่บ้านมากขึ้น ช่วงแรกมีการนำเตียงโรงพยาบาลมาใช้ที่บ้าน จนการมาถึงของที่พักอาศัยหรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น, USA, ยุโรป ต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ความเป็นเตียงโรงพยาบาลที่ดูแข็งๆ ส่วนมากเป็นโครงเหล็กและกรอบเป็นพลาสติก ABS, PVC เพื่อให้ดูแลทำความสะอาดง่ายเนื่องจากมีผู้ป่วยเวียนใช้หลายคน การออกแบบจึงเน้นให้เหมาะกับการใช้งานกับคนจำนวนมากเลยอาจจะดูแข็งๆ ต่างกันออกไป Home Care Bed เน้นการใช้ส่วนบุคคล ส่วนมากจะออกแบบให้เป็นพื้นผิวไม้ ดูอบอุ่นอ่อนโยนน่าใช้ มีผลทางจิตวิทยาให้ผู้ป่วย/คนแก่ ว่ายังใช้ชีวิตอย่างปกติสบายใจ

  • Hospital Bed ออกแบบให้ใช้กับคนไข้หลายคน ดูแข็งพิวสัมผัสเป็นพลาสติก เพื่อให้ทำความสะอาดง่าย
  • Home Care Bed ออกแบบเพื่อใช้ส่วนบุคคล ออกแบบให้ดูสวยน่าใช้ อบอุ่นมากกว่า เน้นใช้ที่บ้าน หรือ ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ผลทางจิตวิทยารู้สึกสบายใจอยู่บ้านไม่ได้อยู่รพ.

ซื้อเตียงผู้ป่วยต้องดูอะไรบ้าง?

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า มีอยู่หลากหลายรุ่นในท้องตลาด โดยมีราคาตั้งแต่หลัก 1-2หมื่น ถึงหลักแสน แล้วเราจะเลือกอย่างไงให้เหมาะสมกับผู้ใช้ คนที่เรารัก บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจ การเลือกซื้อเตียงต้องดูอะไรบ้าง อายุของผู้ใช้งาน, ฟังก์ชั่นที่จำเป็น 3ไกร์, 5ไกร์ ความแตกต่างระหว่างเตียงธรรมดา กับเตียงทางการแพทย์ เรามาดูกันเลยครับ

เลือกก่อนว่าอยากได้ Hospital หรือ Home Care Bed?

Hospital Bed เตียงจะรูปร่างหน้าต่างเหมือนที่เห็นในโรงพยาบาล Home Care Bed จะมีหน้าตาคล้ายเตียงนอนทั่วไป นิยมใช้ในบ้าน / บ้านพักผู้สูงอายุ เตียงทั้ง 2ชนิด มีราคาตั้งแต่หลักหมื่นต้นๆ จนถึงหลักแสนบาท แต่ในท้องตลาดเฉลี่ยแล้ว Hospital Bed มีราคาถูกกว่าเล็กน้อย และหามือสองได้ง่ายกว่า

ถ้าใช้ที่บ้านเราแนะนำให้ใช้ Home Care Bed ที่ออกแบบให้ใช้ไม้เป็นส่วนประกอบ ผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนอยู่บ้านมากกว่าอยู่โรงพยาบาล

อายุของผู้ใช้งาน

อายุของผู้ใช้งานก็เป็นเรื่องสำคัญในการเลือกซื้อเตียง 70ปี เป็นอายุที่เราเริ่มในการพิจารณา ซึ่งอาจจะแตกต่างในระดับสุขภาพ ข้อสังเกตุมีดังนี้

  • อายุน้อยกว่า <70ปี สามารถเลือกได้ทั่วแบบ Standard Grade และ Medical Grade โดยปกติเตียงนอนทั่วไป Standard จะมีราคาถูกกว่าแบบทางการแพทย์ Medical ระดับหนึ่ง แต่ถ้ามองระยะยาวใช้ได้จนแก่ และเตรียมพร้อมสำหรับอายุที่มากขึ้น แนะนำ Home Care Bed เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าตัวเดียวจบ
    • Medical Grade เช่น EB-55, EB-35
    • Standard Grade เช่น Cozy1, Cozy3 และ โซฟาปรับนอนได้ Cozy5
  • อายุมากกว่า >70ปี แนะนำให้ใช้ Medical Grade เลยครับตัวเดียวจบ และ แนะนำแบบ 5Function เช่น รุ่น EB-55 ที่สามารถปรับความสูงของเตียง ปรับลาดเอียงได้ เพื่อใช้ช่วยเหลือตัวเองได้เวลาอยู่คนเดียว

งบประมาณ

ราคามีส่วนสำคัญมากในการตัดสินใจซื้อ แต่ของถูกไม่ได้คุ้มเสมอ ของแพงก็ไม่ได้ดีเสมอไปเช่นกัน โดยปกติแล้วของที่ฟังก์ชั่นมากกว่าจะมีราคาสูงกว่า เราแนะนำได้ 2แนวทางดังนี้

  • งบน้อย ใช้เตียง EB-35 3ไกร์เป็นตัวหลักที่ใช้นอนตอนกลางคืน ใช้ Cozy1 เป็นตัวสำรองสำหรับใช้เวลากลางวัน
  • มีงบ เผื่อใช้ยาวๆ ตัวเดียวจบ EB-55 5ไกร์ปรับเตียงสูงต่ำ เอนหน้า-หลังได้ และกรณีใช้เวลากลางวันดูทีวีใช้ Cozy5 โซฟาปรับนอนได้

ฟังก์ชั่นหลัก การทำงาน

  • ปรับความสูงเตียง (Height Elevation) เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญของเตียง ข้อดีคือผู้นอนสามารถปรับเตียงให้ต่ำเพื่อลุกออกจากเตียงได้ง่าย ผู้ดูแลสามารถปรับเตียงให้สูงเพื่อดูแล เรื่องการทานข้าว เปลี่ยนเสื้อผ้า ทำความสะอาด ไม่ต้องก้มให้ปวดหลัก มีประโยชน์กับตัวใช้และผู้ดูแล ถ้าอายุเกิน 70ปี และนำให้มีฟังก์ชั่นนี้ โดยฟังก์ชั่นนี้จะมีในรุ่น EB-55
  • ราวกันตก (Side Rails) ราวกันตกเป็นส่วนประกอบสำคัญของเตียงนอนผู้ป่วย แต่ก็มีข้อแตกต่างเหมือนกัน
    • ราวกันตกไม้ — สวยงาม ดูเรียบร้อย เป็นตัวมาตรฐานที่มากับเตียง  ข้อเสียคือ เอาขึ้นลงยากกว่าแบบอื่นๆ
    • ราวกันตกเหล็ก ครึ่งตอน — เอาขึ้นลงง่าย แข็งแรง สามารถทิ้งน้ำหนักบางส่วนลงได้ ข้อเสียคือ อาจจะไม่ค่อยสวย
    • ราวกันตกอลูมิเนียม สองตอน — เอาขึ้นลงง่าย สามารถเอาขึ้นลงเป็นส่วนได้ สวยงาม ข้อเสียคือ มีราคาสูง

EB-35 เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 3ฟังก์ชั่น

EB-35 เตียงไฟฟ้า ปรับระดับได้ 3ไกร์
EB-35 เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า แบบ Home Care Bed กรุด้วยวัสดุไม้ทำให้รู้สึกเหมือนอยู้่บ้าน เตียงส่วนตัว ไม่เหมือนเตียงโรงพยาบาล

EB-35 เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ชนิด Home Care Bed เตียงเพื่อใช้ที่บ้าน / ใช้ส่วนบุคคล แบบ 3ฟังก์ชั่น ปรับชันหลังไฟฟ้า ปรับชันขาไฟฟ้า ปรับความสูงแบบ Manual โครงสร้างเป็นเหล็กเคลือบกันสนิมปิดทับด้วย วัสดุไม้แท้ ลดทอนความแข็งของเหล็ก และไม่ใช้พลาสติกเหมือนเตียงพบเห็นได้ทั่วไปในโรงพยาบาล

สามารถเลือกราวกันตกไปสองแบบคือแบบ ไม้(มาตรฐาน) และ ราวเหล็กพับได้ 1ตอน ราวเหล็กใช้ง่ายกว่าทั้งผู้ใช้และผู้ดูแล แต่อาจจะดูไม่สวยเท่าราวกันตกไม้

จุดเด่น

  • เป็นเตียงทางการแพทย์ (ผ่านอย.) ใช้งานง่าย สวยงาม
  • ราคาเป็นมิตร
  • มาพร้อมไฟหรี่ใต้เตียง, บาร์โหน, ฟูกทางการแพทย์ พร้อมใช้งาน

จุดด้อย

  • ส่วนปรับความสูงเตียงไฟฟ้า EB-35 ไม่มีใส่ส่วนนี้ อาจจะไม่สะดวกเมื่อผู้ป่วยมีอายุ (โดยเฉพาะเมื่อเกิน 70ปี) คนดูแลอาจจะไม่สะดวก ต้องลุก ก้ม ยืน ดูแลคนไข้ ผู้ป่วย

EB-55 เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 5ฟังก์ชั่น

EB-55 Home Care Bed ที่จัดฟังก์ชั่นมาครบทั้งหมด 5ฟังก์ชั่น คือ ปรับชันหลังไฟฟ้า ปรับชันขาไฟฟ้า ปรับความสูงเตียงไฟฟ้า ปรับเอียงเตียงไปด้านหน้าไฟฟ้า ปรับเอียงเตียงไปด้านหลังไฟฟ้า (Head, Feet, Height, Tilting elevation) ถ้ามองว่าใช้งานได้ยาวๆ ตัวนี้ตัวเดียวจบ สะดวกทั้งผู้ใช้งานเอง และ ผ่อนแรงผู้ดูแล นอกจะเป็นที่นิยมสำหรับใช้ที่บ้านแล้ว ตัวนี้เป็นตัวที่นิยมในบ้านพักคนชราด้วย

จุดเด่น

  • เป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ฟังก์ชั่นครบ ในราคาไม่สูงมาก
  • ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้เลย ผู้ดูแลสามารถปรับเตียงเพื่อทุ่นแรง สะดวกตั้งผู้ใช้-ผู้ดูแล
  • มาพร้อมไฟหรี่ใต้เตียง, บาร์โหน, ฟูกทางการแพทย์ พร้อมใช้งาน

จุดด้อย

  • ราคาสูงที่สุดในกลุ่ม แลกกับฟังก์ชั่นที่ให้มาก็คุ้ม ทั้งนี้ขึ้นกับงบ

ตัวเลือกอื่นๆ Bed Top, Electric Bed, Recliner

สำหรับตัวเลือกอื่นๆ สำหรับคนที่มองตัวสำรอง เตียง หรือ โซฟาที่ไว้ใช้พักผ่อนระหว่างวัน เป็นสินค้าที่ใช้ได้กับคนทุกวัยตั้งแต่เด็ก ผู้ใหญ่ แม่ตั้งครรภ์ แม่ให้นมบุตร ไปจนถึงคนแก่ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเตียงทางการแพทย์ ก็สามารถใช้ในการพักผ่อน หรือเป็นตัวสำรองใช้ระหว่างวัน

ทางเลือกอื่น สำหรับผู้มองหาเตียง โซฟา ที่ไว้ใช้เป็นตัวสำรองนอกจาก เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เช่น Cozy1 ใช้พักผ่อนระหว่างวัน แค่วางบนเตียงหรือพื้น Cozy3 เตียงไฟฟ้าสำหรับทุกวัย อันนี้อาจไว้ใช้พักผ่อนช่วงกลางวัน Cozy5 โซฟาไฟฟ้าที่ปรับนอน นั่ง ยืนได้ ไว้ใช้ทำกิจกรรมดูทีวี อ่านหนังสือ นอนพักระหว่างวันได้

Bed Topper

ตัว Cozy1 เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับ สำหรับคนงบน้อย หรือใช้งานระหว่างวัน ใช้งานชั่วคราว หลักการใช้ง่าย คือสามารถวางบนเตียงทั่วไปได้เลย หรือวางบนพื้น ชานนั่ง พื้นเรียบ มาพร้อมฟูกและหมอน สามารถใช้งานได้ทันที

Electric Bed

เตียงนอนปรับไฟฟ้า สำหรับบุคคลทั่วไป มีการใช้งานแพร่หลายเพราะใช้ได้กับทุกวัน อาจมาใช้กันผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยได้ เช่นไว้ใช้เป็นเตียงที่พักผ่อนตอนกลางวัน อาจจะมีข้อเสี่ยงอยู่บ้างเนื่องจากไม่มีราวกันตก แต่ลดปัญหานี้ได้โดยการวางเตียงให้ติดกับผนังด้านหนึ่ง เตียง Cozy3 สามารถเลือกได้ทั้งแบบมีไม่มีกรอบเตียง และ มีกรอบเตียงทำจากไม้ยางแท้ Cozy3 Realwood

Electric Recliner / Sofa

โซฟาปรับเอนนอนไฟฟ้า แม้ว่าจะแทนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าไม่ได้ แต่นิยมใช้ตัวสำรองในตอนกลางวัน ใช้นั่งดูทีวี อ่านหนังสือ และใช้งีบหลับได้ Cozy5 เป็น Electric Recliner ที่มีฟังก์ชั่นช่วยยืน ช่วยนั่ง สำหรับให้ผู้สูงวัย คุณแม่ตั้งครรภ์นั่งได้ง่ายๆ ไม่แนะนำให้ใช้นอนทั้งวันครับ

Cozy5 โซฟาปรับไฟฟ้า Cozy5 Air เพิ่มฟังก์ชั่นการนวดลมเข้าไป Cozy5 Pro วัสดุเป็นหนังแท้

สรุปเลือก เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าแบบไหนดี?

อย่างไงถ้าให้ผู้สูงอายุใช้ เราแนะนำเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าแบบ Home Care Bed ที่มีให้เลือก 2รุ่นคือ EB-35, EB-55

“เตียงการแพทย์ ฟังชั่นครบ ให้คนแก่ช่วยเหลือตัวเอง ผ่อนแรงคนดูแล”EB-55

“เตียงการแพทย์ ราคาประหยัด คุณภาพดี”EB-35

ทางเลือกอื่น กรณีไม่ได้ซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

“วางบนเตียง บนพื้น ใช้ง่ายในราคาประหยัด”Cozy1

“เตียงไฟฟ้าสำหรับทุกวัย ผู้สูงอายุก็นิยมใช้”Cozy3

“ใช้ตอนกลางวัน อ่านหนังสือ ดูทีวี นอนงีบ มีระบบช่วยยืน”Cozy5

 


อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เตียงไฟฟ้า (มีใน EB-35, EB-55)

บาร์โหน (Monkey Pole)

บาร์โหน หรือ บาร์พยุง มีลักษณะเป็นมือจับ เหมือนที่อยู่บนรถยนต์หรือบนรถเมล์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถลุกขึ้นนั่งได้เอง ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อีกทั้งเป็นการออกกำลังกายทางอ้อม ที่แขน และหน้าท้อง

ประโยชน์ทางอ้อมคือ เสาของบาร์โหน สามารถเอามาใช้สำหรับห้อยสายน้ำเกลือ อุปกรณ์การแพทย์อื่นๆ สามารถบอกทางร้านว่าต้องการใช้ย้ายตำแหน่งไปไว้ด้านซ้าย-ขวา

ราวกันตก (Side Rails)

ราวกันตกเป็นอีกส่วนประกอบที่สำคัญของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ทำหน้าที่ป้องกันความเสี่ยงตกเตียงของผู้ใช้ ให้ในการประคองยืนหรือประคองนั่ง

  • ราวเหล็กพับได้ ค่อนข้างแข็งแรง ใช้งานง่ายทั้งผู้ใช้และผู้ดูแล เสียที่ดูไม่ค่อยสวย
  • ราวไม้ เป็นตัวมาตรฐานที่มากับตัวเตียง เสียที่ผู้นอนอาจจะเปิดและปิดยาก
  • ราวอลูมิเนียม 2ตอนพับได้ ดีทั้งความสวยงาม และง่ายกับผู้นอนและผู้ดูแล เสียที่มีราคาสูงกว่า

ไฟหรี่ใต้เตียง (Dimming Light)

ไฟหรี่มีส่วนเพิ่มความปลอดภัยกับผู้ใช้เวลากลางคืน ลดความเสี่ยงการหกล้มของคนไข้ ผู้สูงอายุขณะเข้าห้องน้ำ

ไฟส่องใต้เตียงป้องกันอุบัติเหตุ ปรับหรี่ไฟได้ อุปกรณ์เสริมเตียงไฟฟ้า Smartcare รุ่น Sc-112
ไฟส่องใต้เตียง สามารถหรี่ได้ไม่รบกวนสายตา และป้องการการล้มของผู้ป่วย ผู้สูงอายุขณะเข้าห้องน้ำ