ปี 2024 บ้านเรามี CGM เปิดตัวหลายรุ่น อีไลฟ์ได้นำ 3รุ่นที่มีจำหน่ายมาเปรียบเทียบให้ทุกคนมีข้อมูลในการเปรียบเทียบ โดยแต่ละรุ่นจะมีข้อดี ข้อเสีย เหมาะแก่กลุ่มบุคคลแตกต่างกันไป แต่ข้อดีแน่ของทั้ง 3ตัวคือ ลดการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วแบบวิธีเดิมๆที่จะเจ็บทุกครั้งที่เจาะ ตย.เช่น รุ่น iCan i3 ทดแทนการเจาะเลือดได้ถึง 7160ครั้ง ระดับดังกล่าวสามารถมาสร้างเป็นกราฟเพื่อการดูแนวโน้มและรักษาในขั้นตอนต่อไป
CGM คืออะไร?
CGM ย่อมาจาก Continuous Glucose monitoring แปลตรงตัวคือ การวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง ระบบนี้มีการพัฒนามาหลายสิบปีแล้ว แต่เป็นที่นิยมและถูกบรรจุในแผนประกันสุขภาพของอเมริกา และ ยุโรป เมื่อ 3-4ปีที่ผ่านมานีเอง (อ่านข้อมูล CGM vs BGM เพิ่มเติมได้ที่นี่)
หลักการในการวัดระดับน้ำตาลของ CGM นั้น จะไม่ได้วัดตรงๆในเลือดเหมือนวิธี BGM(วัดน้ำตาลโดยการเจาะปลายนิ้ว) และ HbA1C(เจาะเลือดในหลอดทดลองเวลาตรวจร่างกาย) CGM ใช้หลักการที่แตกต่างออกไป โดย CGM จะตรวจวัดระดับ Glucose ในของเหลวใต้ผิวหนัง โดยการติดตั้งไม่เจ็บ Microneedle หรือ Sensor นั้นทำจากโพลิเมอร์เคลือบสารทำปฏิกิริยากับ Glucose ตามในรูป โดยมากในปัจจุบันจะทำแท่นติดเซอเซอร์เป็นลักษณะถ้วย ปากกา เราความสะอาดบริเวณที่จะติดตั้งก่อนด้วยแอลกอฮอล์ ติดตั้งตำแหน่งที่เหมาะ หน้าท้องน้อยเยืองจากสะดือราว 5-10cm หรือ ใต้ท้องแขนซ้ายหรือขวา ตามที่ระบุในแต่ละรุ่น เมื่อพร้อมแล้วกดยิ่ง (แนะนำให้ทำด้วยตัวเอง) เท่าที่ทีมงาน elife ใช้กันเจ็บแต่จะไม่มากเท่าการเจาะปลายนิ้ว ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการบอกค่า 7-15วัน แทนการเจาะเลือดหลาย 6000-7000ครั้ง จึงเป็นที่นิยมให้อเมริกา หมอจะสั่งเป็น Prescription ส่วนในยุโรปและจีน แถบเอเซีย สิงคโปร์สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมี Prescription
CGM เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่รับการยอมรับจาก FDA สหรัฐและยุโรป เป็นการติดตั้ง Sensor วัดระดับน้ำตาลใต้ผิวหนัง โดยการวัดระดับน้ำตาลจากของเหลวใต้ผิวหนัง ทำให้สามารถเห็นระดับน้ำตาลต่อเนื่อง เป็น Report ได้ ลดการเจ็บตัวจากการเจาะปลายนิ้ว แต่มีจุดด้อยเช่นกัน โดยค่าน้ำตาลจะมีความ Delay จากการเจาะน้ำตาลจากเลือดเล็กน้อยประมาณ 15-20นาที เนื่องจากต้องใช้เวลาที่ของเหลวใต้ผิวหนังมีการแลกเปลี่ยนน้ำตาลกับเลือด
ตารางด้านล่างเป็นการเทียบความแตกต่างระหวา่ง CGM, BGM และ A1C ตามลำดับ
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกเป็นจำนวนมากกว่า 425 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 642 ล้านคนในปีพ.ศ. 2583 จากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 พบว่าคนไทยประมาณ 4.8 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติพบว่า ประชากรในวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คน (เกือบร้อยละ 10) เป็นโรคเบาหวาน และ กว่าครึ่ง(ร้อยละ 50) ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรค
เปรียบเทียบ CGM 3รุ่น
เราได้นำ CGM ที่ได้รับ อย.ในไทยทั้ง 3รุ่นมาเปรียบเทียบเพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้ครับ โดยได้ตารางด้านล่าง
เบื้องต้นจากตาราง อาจจะสรุปได้ว่า
- ทุกรุ่นผ่านอย.ไทย มีค่าเบี่ยงเบนประมาณ 10% สามารถติดตั้งด้วยตัวเอง ราคาใกล้เคียงกันคือ 1500-1900บาท/sensor
- CT10 ไม่แนะนำแล้ว เพราะอาจจะตกรุ่นเร็วๆนี้ มีขนาดใหญ่ และ จำนวนการวัดได้ 10วัน
- Anytime CT3 แนะนำให้ใช้ ข้อดีคือขนาดเล็กลงมาจาก CT10 แบตเตอรี่ชาร์ตได้ รายงาน Report ทำออกมาดีละเอียด สามารถ Add Follower ผู้ติดตาม หรือ หมอได้
- iCan i3 แนะนำให้ใช้ ข้อดีคือขนาดเล็กที่สุด นน.เบาเพียง 6กรัม Transmitter และ Sensor รวมเป็นตัวเดียวกัน All-in-1 ดูเหมาะกับผู้เริ่มต้น
CT10
สินค้าตัวนี้เปิดตัวมา 2-3ปีแล้ว ขนาดจะใหญ่กว่าเพื่อน จึงแนะนำเป็นรุ่นใหม่จากผู้ผลิตเดียวกันเลยเป็น Anytime CT3
Anytime CT3
Anytime CT3 เป็น CGM ที่ใช้ได้ 15วัน จุดเด่นของ CT3 ที่แตกต่างจากรุ่นอื่นเลย คือการสร้าง Report ที่ทำได้ค่อนข้างละเอียด สามารถเพิ่ม Follower ติดตามผล ตย.เช่นเราอยากจะช่วยดูระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ ซึ่งอยู่ที่บ้าน ส่วนเราทำงานอยู่ (เบื้องต้นเราทดลองใช้แล้ว ใช้ได้ แต่ยังไม่เสถียร เพราะขึ้นอยู่กับมือถือ และ ระบบเครือข่าย) แต่ข้อด้อยก็มีเหมือนกัน คือ Anytime CT3 แยกขาย Sensor และ Transmitter(ใช้ซ้ำได้ 2ปี) แต่หากใช้อยู่เรื่อยๆแล้วตัวนี้ถือว่าเป็นตัวที่น่าใช้
CT3 จึงเหมาะกับทุกกลุ่มคือ ผู้รักสุขภาพทั่วไปที่อยากดุพฤติกรรมของร่างกาย, ผู้ป่วยเบาหวานประเภท1, ประเภท2, เบาหวานขณะตั้งครรภ์ และ ผู้ติดตาม แพทย์คลีนิค และ โรงพยาบาล
iCan i3
iCan i3 เป็น CGM แบบ All-in-1 คือรวมทั้งตัว Transmitter และ เซนเซอร์เป็นชิ้นเดียวกัน ใช้ได้ 15วัน แบบใช้เสร็จแล้วทิ้ง ข้อดีที่สำคัญที่สุดของ iCan i3 คือ มีขนาดที่เล็กที่สุด และเบาที่สุดที่ผ่าน อย.ไทย โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 32mm นน.เบาเพียง 6กรัม จึงเหมาะมากกับผู้ใช้งานครั้งแรก ข้อเสียอาจจะมีอยู่บ้างคือเรื่องการสร้าง Report และปัจจุบันยังไม่รองรับการเพิ่ม Follower เพิ่มผู้ติดตามผล
i3 จึงเหมาะมากกับบุคคลทั่วไป เนื่องจากติดตั้งง่าย เล็กและเบา, ผู้ป่วยเบาหวานประเภท1 ประเภท2 คุณแม่ตั้งครรภ์ แต่อาจจะไม่เหมาะกับการนำไปใช้ทาง คลีนิค หรือ รพ.
สรุป
ในที่นี้เราจะขอตัด CT10 ซึ่งเป็นรุ่นเก่าและมีตัวมาแทนที่เป็น CT3 จะเหลือให้เราเปรียบเทียบแค่ Anytime CT3 และ iCan i3 โดยทั้งสองรุ่นเป็นตัวที่แนะนำและน่าใช้ทั้งคู่เนื่องจากมีราคาเกือบจะเท่ากัน สะดวกในการใช้เหมือนกัน โดยเราทำสรุปจุดเด่นไว้ข้างล่างดังนี้
Anytime CT3 เหมาะกับใคร?
- บุคคลทั่วไป เบาหวานประเภท1และ2 เบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ผู้ติดตาม ญาติ คุณหมอ คลีนิค
- ผู้ที่ต้องการผล น้ำตาลแบบละเอียด
iCan i3 เหมาะกับใคร?
- บุคคลทั่วไป เบาหวานประเภท1และ2 เบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ผู้ใช้งานครั้งแรก ที่ต้องการเครื่องที่เล็กที่สุด เบาที่สุด
- ง่าย All-in-1 รวมเป็นชิ้นเดียว
คำถามที่พบบ่อย
จากประสบการณ์เกี่ยว CGM มากว่า 2ปีมีคำถามหลากหลายจากผู้ใช้ ซื้อ CGM ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อมีปี 2023 มีการใช้ CGM ไม่ต่ำวกว่า 15ล้านชิ้น และ มีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกปี เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยมาอธิบายดังนี้ครับ
- ทำไมเจาะเลือดตรวจน้ำตาล ไม่เท่ากับที่ CGM?
- CGM ติดตรงไหนดี หน้าท้อง ต้นแขน ใต้แขน?
- CGM เชื่อถือได้ไหม? MARD
- ทำไมต้องซื้อ CGM กับสินค้าที่ผ่าน อย. และตัวแทนที่น่าเชื่อถือเท่านั้น?
- ทำไมใน App ขึ้นเตือนความผิดปกติ Sensor “Abnormal”?
- อนาคตของ CGM — Insulin Pump
ทำไมเจาะเลือด ได้ค่าไม่ตรง CGM?
คำถามนี้เป็นปัญหาที่ถามบ่อยที่สุด ไม่ใช่เฉพาะคนไทย แต่เป็นคนทั้งโลก ลอง Search ดูจะมีบทความ วิดีโอมากมายที่พูดถึงเรื่องนี้ แม้กระทั้งเจ้าใหญ่ทั้ง2 ของโลก Dexcom และ Abbott Libre ถึงกับต้องสร้างบทความและ Video เพื่ออธิบายเรื่องนี้ อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่
การเจาะปลายนิ้วตรวจน้ำตาล ไม่ตรงกับค่า CGM ด้วยเหตุผลดังนี้
- CGM ตรวจที่ของเหลวใต้ผิวหนัง BGM จะตรวจที่เลือดโดยตรง โดยค่าน้ำตาลจะ CGM จะตามหลัง BGM ประมาณ 15-20นาที (กลูโคสในเลือด ใช้เวลาในการแพร่ไปยังของเหลวใต้ผิวหนัง)
- CGM ทุกเครื่องจะมีค่าเบี่ยงเบน MARD ซึ่งบอกเป็นเปอเซนต์อยู่ ประมาณ 10% (ที่เห็นดีสุดในตลาด US อยู่ที่ 7.9% ของ Libre3)
- ปัจจัยอื่นๆ เช่นตำแหน่งที่ติด การซึ่มของน้ำ ลักษณะทางชีวภาพของแต่ละคน
- การ Calibrate ช่วยได้ ใน CGM บางรุ่นบางยี่ห้อเท่านั้นที่ให้เรา Calibrate ได้
สรุปแล้วค่าที่ได้จาก CGM และ BGM จะไม่เท่ากันแต่มีแนวโน้มจะใกล้เคียงกันที่สุด เมื่ออยู่ในภาวะ Base Line งดอาหาร ไม่ได้ออกกำลัง โดยค่าความแตกต่างควรต่ำกว่า 10% และไม่ควรเกิน 20% บางบริษัทอย่าง Dexcom จึงทำ Function ในการ Calibration ขึ้นมาคือสามารถใส่ค่าเจาะเลือดลงไปได้ ให้ปรับกราฟให้แม่นยำมากขึ้น **CT และ i3 ณ ปัจจุบันที่เขียนบทความนี้ยังไม่ได้ Function Calibration**
ขนาดเราเจาะเลือดแบบ BGM 3ครั้งติดกัน ใน 5นาที ค่าที่ได้ยังไม่เท่ากัน ค่าการตรวจโลหิด A1C กับ BGM ก็ไม่เท่ากัน แต่มีแนวโน้มไปในแนวทางเดียวกัน CGM เป็นการวัดแบบใหม่ที่ลดการเจาะเลือด ไว้ศึกษาแนวโน้มของร่างกายเพื่อการทานยาและรับประทานอาหาร ติดตามไม่เกิดอาการไฮโป (Hypoglycemia) เพื่อคนใช้ และ คนที่คุณรักต่อไป
CGM ติดตรงไหนดี หน้าท้อง ต้นแขน ใต้แขน?
ไม่มีข้อกำหนดตายตัวสำหรับตำแหน่งการติด CGM หลักการคือเลี่ยงตำแหน่งที่เป็นกล้ามเนื้อ และ กระดูก ตำแหน่งที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ หน้าท้อง โดยเยื้องจากสะดื้ออย่างต่ำ 5cm และ ไม่ควรติดใกล้จุดที่เราฉีด Insuline และอีกส่วนที่แนะนำคือ ท้องแขนด้านซ้าย หรือ ขวา ควรติดข้างที่เราไม่ถนัด เช่น ติดที่ท้องแขนซ้ายเป็นต้น ทั้งนี้กรณีที่ใช้ประจำแนะนำให้ติดสลับไปเรื่อยๆ เช่น ติดหน้าท้องซ้าย ไปขวา ไปท้องแขนซ้าน ท้องแขนขวา แล้วจึงกลับมาติดที่เดิม อย่างไรก็ไม่มีข้อกำหนดตายตัวครับ แต่ตำแหน่งในสลากคู่มือนั้นจะอ้างอิงกับที่เราทำการทดลองเก็บข้อมูลค่าเบี่ยงเบน MARD โดยติดที่หน้าท้องมีแน้วโน้ม MARD ดีกว่า หรือแปลอีกอย่างคือติดหน้าท้องมีแนวโน้มแม่นยำมากกว่า
- ไม่มีข้อกำหนดตามตัว เลี่ยงการติดบริเวณกล้ามเนื้อ และ กระดูก
- นิยมติดที่หน้าท้องซ้ายและขวา และ ที่ท้องแขนซ้ายและขวา
- ติดข้างที่ไม่ถนัด เช่น ติดที่ท้องแขนซ้าย
- จากการทดลองค่าเบี่ยงเบน MARD ตำแหน่งหน้าท้อง มีแนวโน้มแม่นยำมากกว่าที่ ท้องแขน
CGM เชื่อถือได้ไหม? MARD
เราจะรู้ได้อย่างว่า CGM ตัวไหนแม่นยำกว่าอีกตัวหนึ่ง ค่าที่ใช้คือ MARD (Mean absolute relative difference) เรียกว่า “มาร์” ปัจจุบันค่า MARD เกือบทุกแบรนด์ใกล้เคียง 10% เช่น Dexcom G7 มีมาร์ 7%, Libre3 และ i3 มีมาร์ 8%, CT3 มีมาร์ 9% เป็นต้นดูแล้วไม่ได้หนีกันมาก จะเห็นว่าแม้ว่ายี่ห้อที่ดีที่สุดในตลาดก็ยังมีค่าเบี่ยงเบน 7-9% เนื่องจากการวัดเป็นการตรวจที่ของเหลวใต้ผิวหนังไม่ใช่เลือดโดยตรง
ยิ่งมีค่า MARD น้อยยิ่งดี โดยการทดลองทางคลินิค จะระบุเลยว่าทดสอบที่ต่ำแหน่งติดตรงไหน เช่น Brand A ทดสอบที่ติดท้องแขน ได้ MARD 8% เป็นต้น
ทำไมต้องซื้อ CGM กับสินค้าที่ผ่าน อย. และตัวแทนที่น่าเชื่อถือเท่านั้น?
CGM มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศไทยเพิ่งได้มีการเริ่มใช้เมื่อไม่นานมานี้ โดยผ่านอนุมัติที่ถูกต้อง แต่ปัจจุบันยังมี Grey Market ที่นำเข้ามาไม่ถูกต้อง เสี่ยงกับการได้สินค้าไม่ได้มารตฐาน สินค้าเสื่อมคุณภาพ หมดอายุ และ ไม่รองรับการใช้งานผ่านแอพ
- เลือกซื้อ CGM กับตัวแทนอย่างเป็นทางการ และ สินค้ามีอย. เท่านั้น
- เลี่ยงการซื้อสินค้า Grey Market เสี่ยงกันสินค้าเสื่อมคุณภาพ สินค้า Defect หมดอายุ หรือ การเก็บรักษาไม่ถูกต้อง
- กรณีซื้อกับตัวแทน สามารถเคลมสินค้าได้ หากเข้าเงื่อนไขการรับประกัน
- สามารถการใช้งานผ่านแอพ โดยไม่ต้องหลบ หากผิด Serial Number อาจจะใช้บางฟังก์ชั่นไม่ได้
ทำไมใน App ขึ้นเตือนความผิดปกติ Sensor “Abnormal”?
หลายครั้งในการใช้ CGM จะขึ้นการแจ้งเตือนว่า การเชื่อมต่อผิดพลาด, Abnormal Sensor หรือ แจ้งให้เปลี่ยน Sensor โดยสาเหตุจากเหตุการณ์นี้อาจจะมาจากมือถือ หรือ ระบบปฏิบัติการลูกค้าใช้เอง เท่าที่เราทดลองใช้ผ่านระบบ Android และ iOS ระบบแอนดรอยมีแนวโน้มขึ้นสถานะเชื่อมต่อผิดพลาด หรือ Abnormal Sensor มากกว่า นอกจากนี้อาจจะเป็นที่มือถือเครื่องนั้นของทางผู้ใช้
การเชื่อมต่อสัญญาณใช้ Bluetooth เป็นหลัก การเชื่อมต่อไม่เสถียรอาจจะเกิดจากที่มือถือของผู้ใช้เอง หรือ ระบบปฏิบัติการ
อนาคตของ CGM — Insulin Pump
ตอนนี้เริ่มการใช้ CGM ร่วมกับ Insulin Pump ทำให้การใช้ Insulin มีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก อัตโนมัติ โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง เครื่อง CGM จะแจ้งเตือน ให้ Insulin Pump ทำงานโดยอัตโนมัติ ระบบนี้ยังไม่ผ่านการับรองในประเทศไทย CGM ในอนาคตมีแน้วโน้มจะมีขนาดเล็กลง และ มีค่า MARD น้อยลงเรื่อยๆ
ข่าวอีกส่วนหนึ่งคือ เครื่องวัดน้ำตาลแบบไม่ต้องติดตั้ง (non-invasive blood glucose monitoring) คือไม่ต้องเจาะเลือด ไม่ต้องติดตั้งเซนเซอร์เจาะใต้ผิวหนัง เป็นกระแสกันมานานหลายปีที่ผ่านมา เช่น ออกแบบให้เป็นแผ่น Sticker แปะผิวหนังวัดน้ำตาลจากเหงื่อ หรือ ออกแบบมาในรูป Smart Watch ที่ทาง Samsung และ Apple พยายามพัฒนา แต่ยังไม่ปรากฏข้อมูล ความน่าเชื่อถือที่ใช้ทางการแพทย์ได้เท่ากับ CGM ท่านสามารถลอง Search ตาม Google และมีสินค้าบางตัวออกมาแล้ว แต่ค่าที่ได้มีความแตกต่างกับการตรวจโดย Lab ไม่สามารถหาค่า MARD ได้ แต่อาจจะมีผู้พัฒนาระบบนี้ในอนาคต เนื่องจากมีส่วนแบ่งทางการตลาดเบาหวานและการรักษามากกว่า 1พันล้านดอลล่า (CGM มีมูลค่าตลาดอยู่ 1พันล้านดอลล่าในปี 2022)
ปัจจุบัน CGM เป็นที่นิยมและสามารถใช้ทางการแพทย์ และยังไม่มี Technology ใหม่มาแทนที่ในเวลาอันใกล้ แต่เรายังหวังลึกๆ ให้การตรวจน้ำตาลง่ายขึ้นกว่านี้อีก เราจะมา Update กันต่อไป
-
HotCGM
iCan i3 | CGM วัดน้ำตาลต่อเนื่อง 15วัน All-in-1 แทนการเจาะน้ำตาล 7,160ครั้ง
290฿ – 8,990฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
HotCGM
Anytime CT3 | CGM ตรวจน้ำตาลต่อเนื่อง 14วัน เพิ่มผู้ติดตามได้ Rechargeable Battery
290฿ – 8,990฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
CGM
CGM CT10 | ตรวจน้ำตาลอย่างแบบต่อเนื่อง10วัน Bluetooth ติดตั้งได้เอง
1,990฿ – 5,950฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
BGM
BGM | เครื่องตรวจน้ำตาล เบาหวาน แบบเจาะปลายนิ้ว Bluetooth
280฿ – 1,000฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page