fbpx

ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน ด้วยตัวเอง

ข้อมูลจาก CDC ชาวอเมริกัน 84 ล้านคน หรือกว่า 1 ใน 3 เสี่ยงเป็นโรคก่อนเบาหวาน คือระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ไม่ถึงขั้นเป็นเบาหวานประเภท 2 แต่มีโอกาสสูงมากที่จะพัฒนาเป็นเบาหวาน
Prediabetes
BMI ดัชนีมวลรวมร่างกาย
คนในครอบครับ พ่อ แม่ พี่ หรือ น้องคุณ เป็นเบาหวานหรือไม่
เพศ
คุยเคยถูกวินิจฉัยว่า มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
คุณมีอายุ
เส้นรอบเอวของคุณมากกว่า 35.5นิ้ว ในชาย หรือ 31.5นิ้ว ในหญิง
คุณเป็นผู้มีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิต?
ในหนึ่งอาทิตย์คุณมีการออกกำลังกายหรือไม่

เกี่ยวกับแบบทดสอบนี้

ที่มา CDC ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา: ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันกว่า 84 ล้านคน (หรือกว่า 1 ใน 3) มีภาวะความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานระยะ Prediabetes โดยระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าค่ามาตฐาน แต่ยังไม่ถึงขั้นถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 และกว่า 90% ของกลุ่มนี้ไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองมีภาวะเสี่ยง ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานนี้มีแนวโน้มสูงมากที่จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานต่อไป จึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ทุกคนต้องเรียนรู้ว่าตัวเองมีภาวะเสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันหรือชะลอการเป็นโรคเบาหวานต่อไป

สมาคมเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มแบบประเมินนี้มาตั้งแต่ปี 1993 เพื่อระบุความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในบุคคลหมู่มาก โดยใช้ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ เช่น อายุ เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก และพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อ คัดกรองเบื้องต้น โดยในแบบทดสอบนี้ไม่มีการใช้ค่าน้ำตาลในเลือด และปริมาณคอลเลสเตอรอล

สำหรับคนที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน (คะแนนตั้งแต่ 5 ขึ้นไป) มีความเป็นไปได้สูงที่จะพัฒนาต่อไปเป็นโรคเบาหวาน ควรตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ในสถานพยาบาล ปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด

ทดลองใช้เครื่อง CGM ฟรี

Continuous Glucose Monitoring – CGM เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง ลดการเจาะนิ้วตรวจเลือด บอกค่าทุก ๆ 3 นาที เป็นเวลา 10 วัน สามารถบันทึกเป็นกราฟ แจ้งเตือนเมื่อน้ำตาลสูง หรือต่ำเกินไป สร้างรายงานพฤติกรรม และสถิติ สามารถดูผลทั้งในมือถือผ่าน App, PDF หรือดูข้อมูลผ่าน Cloud (ดูผ่าน Website) สามารถใช้งานได้กับบุลคนทั่วไปที่สนใจสุขภาพ อยากดูพฤติกรรมตัวเอง, ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 1, ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2

ขณะนี้มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่เข้าใจ และมีความสงสัย เราเปิดโครงการนี้เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถทดลองใช้ CGM ตัวนี้ได้ โดยหลักแล้วเครื่องนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Sensor และ Transmitter โดยเซนเซอร์เป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไปใช้หนึ่งชิ้นต่อหนึ่งคนเท่านั้น ส่วนทรานซ์มิตเตอร์ สามารถใช้ซ้ำได้

**อุปกรณ์ทั้งสองชนิดผ่าน อย. ไทย, FDA และ มาตรฐาน CE อย่างไรก็ดีกรุณาอ่านคู่มือ และเอกสารประกอบทุกครั้งที่ใช้ ค่าที่ได้ไม่สามารถใช้เพื่อปรับวิธีการรักษาเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิธีการรักษาเท่านั้น**


การตรวจน้ำตาลมีกี่แบบ

  1. แบบ CGM สามารถรายงานผลแบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนเมื่อระดับน้ำตาลสูง หรือต่ำกว่าค่าที่กำหนด ช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลอย่างได้ผล การแสดงผลแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้ทราบว่าอาหารชนิดใดที่ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทราบปริมาณการกินที่เหมาะสม นำไปสู่การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
  2. แบบ BGM  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบเจาะที่ปลายนิ้วมือ และจะมีตัวเครื่องประมวลค่าน้ำตาล บางเครื่องผู้ใช้งานต้องจดค่าเองเพื่อนำส่งคุณหมอ บางเครื่องเก็บค่าไว้ในเครื่องเราก็ไม่สามารถรู้ได้ แต่ตอนนี้มีการเชื่อมตัวเครื่องตรวจเข้ากับแอพพิเคชั่นทำให้ผู้ตรวจสังเกต และปรับพฤติกรรมเบื้องต้นได้เอง แต่ก็ต้องเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์เหมือนเดิม
  3. แบบ HbA1C เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดที่โรงพยาบาลได้ค่าที่คงที่ แต่จำเป็นต้องไปทำที่โรงบาลเท่านั้น และใช้เวลาอ่านผลนาน

 

 

HbA1C

Hemoglobin A1C

 

BGM

Blood Glucose Monitoring

 

CGM

Continuous Glucose Monitoring

  • เก็บตัวอย่างเลือดปริมาณมาก
  • ทำที่โรงบาลหรือ Lab เท่านั้น
  • เจาะเลือดที่ปลายนิ้ววันละ 1-7 ครั้ง
  • ซื้อได้ทั่วไป
  • ติด sensor ที่แขนหรือหน้าท้อง
  • บอกค่าต่อเนื่อง
  • ทำเองที่บ้านได้
  • บอกระดับน้ำตาลในเลือดแบบกราฟ
  • เป็นการตรวจมาตราฐานในปัจจุบัน
  • ราคาไม่แพง
  • ราคาไม่แพง*
  • ใช้งานง่าย
  • เก็บข้อมูลครบถ้วน
  • ช่วยรักษาระดับน้ำตาล
  • ลดจำนวนการเจาะเลือด
  • ต้องตรวจที่โรงบาล*
  • ใช้เวลานาน
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่ม
  • ลืมตรวจ ตรวจผิดเวลา
  • ได้ข้อมูลเฉพาะเวลาที่เจาะเท่านั้น
  • เจ็บปลายนิ้วทุกครั้งที่เจาะ
  • ราคาสูงกว่า*
  • เซ็นเซอร์จะติดตัวตลอดตามเวลากำหนด

 

 

เปรียบการวัดแบบ BGM (Fingerstick) กับ CGM
กราฟทางซ้ายของ BGM จะเห็นจุดที่เจาะเลือดทั้งหมด 4ครั้งในหนึ่งวัน จะเห็นว่าระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงที่ดีทุกช่วงเลย แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างงั้น ระดับน้ำตาลในเลือดเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากสภาพร่างกายของบุคคลนั้น การกินอาหาร ณ เมื่อเวลานั้น ๆ กราฟ CGM ทางขวาจะเห็นว่ามีช่วงที่ระดับน้ำตาลสูง และต่ำกว่าขอบเขตควบคุม CGM จึงเป็น Personalize Medical ที่ดีกว่าจะเห็นพฤติกรรมหรือ Pattern ของบุคคลนั้น ๆ แบบ Realtime
ตย.อย่างประกอบไม่ใช่ข้อมูลของบุคคลในรูปจริง ๆ
จะเห็นว่าแต่ละบุคคลมี Pattern ของระดับน้ำตาลในร่างกายไม่เหมือนกัน การทราบ Pattern ของตัวเองสามารถปรับการรักษาโดยแพทย์ หรือเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายได้ดียิ่งขึ้น

แบบประเมินอื่นๆ

อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น