เตียงไฟฟ้า (Electric Adjustable Bed)… หรือเตียงผู้ป่วยเป็นเฟอร์นิเจอร์ทางการแพทย์ที่มีการออกแบบพิเศษเพื่อความสะดวกสบายของผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยเตียงไฟฟ้าผู้ป่วยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงานและปรับระดับต่างๆโดยรีโมท สามารถปรับทิศทาง ความสูง-ต่ำ การงอเข่า ปรับองศาต่างๆได้ นอกจากสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยและผู้ดูแล เตียงไฟฟ้าผู้ป่วยยังสามานถป้องกันแผลกดทับในคนไข้ที่ไม่สามารถขยับตัวได้ ลดอาการปวดเมื่อยในการพักรักษาตัว ซึ่งเตียงไฟฟ้านี้จะเข้ามาช่วยให้การเคลื่อนไหวของผู้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้นและลดภาระให้กับผู้ดูแลได้อีกด้วย
เตียงปรับไฟฟ้าของอีไลฟ์… เป็นเตียงที่โครงสร้างแข็งแรงทำจากเหล็ก กรุด้วยวัสดุไม้ ทำให้ดูหรูหราเหมาะกับการตกแต่งบ้าน ไม่เหมือนกับเตียงผู้ป่วย เป็นสิ่งสำคัญที่จะไม่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง เตียงไฟฟ้าผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
มอเตอร์ไฟฟ้าเยอรมัน… ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าจาก Dewert Okin เกรดทางการแพทย์ ยี่ห้อดังจากเยอรมัน ผู้ผลิตเตียงผ่าตัด เตียงศัลยกรรม ชื่อเสียงยาวนานกว่า 60ปี
-
Sale!
EB-35 เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุ ปรับระดับได้ 3ไกร์ 6 ฟังก์ชัน
39,900.00฿ Add to cart -
Sale!
EB-55 เตียงผู้สูงอายุไฟฟ้า ปรับระดับ 5ไกร์ 11ปุ่มฟังก์ชั่น โครงโลหะกรุวัสดุไม้
59,900.00฿ Add to cart -
Sale!
EB-77 เตียงไฟฟ้า 5ไกร์ Ultra-Low ต่ำพิเศษ กันตกเตียง
69,900.00฿ Read more -
Sale!
SetA หลับอุ่นใจจ่าย1 ได้ถึง6 คุ้ม ครบ จบในเซตเดียว (จำกัด10ชุด/เดือน) เตียงไฟฟ้า EB-55
59,900.00฿ Add to cart -
Sale!
SetB หลับอุ่นใจจ่าย1 ได้ถึง5 คุ้ม ครบ จบในเซตเดียว (จำกัด10ชุด/เดือน) เตียงไฟฟ้า EB-35
39,900.00฿ Add to cart
อุปกรณ์เสริมเตียงไฟฟ้า
-
Sale!
M6 | 3D FOAM Mattress ฟูกนอนหนาพิเศษ 6นิ้วสำหรับเตียงไฟฟ้า
10,900.00฿ Add to cart -
Sale!
ราวกั้นอลูมิเนียมสำหรับเตียงไฟฟ้า ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย Bed rail รุ่น EB-3C
8,000.00฿ Add to cart -
Sale!
โต๊ะคร่อมผู้ป่วย ปรับระดับแบบสปริง อีไลฟ์รุ่น ET-771
2,990.00฿ Add to cart -
Sale!
โต๊ะคร่อมเตียงผู้ป่วย มีกันตก พื้นไม้ อีไลฟ์รุ่น ET-770
1,990.00฿ Add to cart -
Sale!
ไฟส่องใต้เตียงป้องกันอุบัติเหตุ ปรับหรี่ไฟได้ อุปกรณ์เสริมเตียงไฟฟ้า Smartcare รุ่น Sc-112
5,990.00฿ Add to cart
ตารางเปรียบเทียบเตียงไฟฟ้าอีไลฟ์
เตียงไฟฟ้าของอีไลฟ์ ประกอบด้วย 3 รุ่นใหญ่ๆ คือ Eb-35 Eb-55 และ Eb-77
เตียงไฟฟ้าแตกต่างจากเตียงนอนธรรมดาอย่างไร?
เตียงนอนธรรมดา…ออกแบบมาสำหรับคนที่ไม่มีปัญทางร่างกายใดๆ จึงไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ป่วย การให้ผู้ป่วยนอนเตียงธรรมดาก็อาจจะสามารถทำได้ แต่เราก็จะต้องเสี่ยงกับอะไรหลายๆอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน ตารางเปรียบเทียบเตียงทั้ง 3 ประเภทคือ เตียงนอนธรรมดา เตียงผู้ป่วย และเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า อาจจะทำให้เห็นภาพมากขึ้นค่ะ
ตารางเปรียบเทียบเตียงนอน
เตียงนอนธรรมดา | เตียงนอนผู้ป่วยแบบโรงพยาบาล | เตียงนอนผู้ป่วยปรับไฟฟ้า |
ปรับระดับไม่ได้ | ปรับระดับแบบแมนนวล | ปรับระดับผ่านไฟฟ้า |
สำหรับคนธรรมดา | สำหรับผู้ป่วย | สำหรับผู้ป่วย |
ไม่สามารถเคลื่อนที่โดยเตียงได้ | เตียงสามารถเคลื่อนที่ได้ | เตียงสามารถเคลื่อนที่ได้ |
เป็นเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป | เป็นเฟอร์นิเจอร์ทางการแพทย์ | เป็นเฟอร์นิเจอร์ทางการแพทย์ |
มีหลายดีไซน์ให้เลือก | เตียงลักษณะเหมือนโรงพยาบาล | มีหลายดีไซน์ให้เลือก |
มีหลากหลายราคา | ราคา 1-2 หมื่นบาท | ราคา 30,000-300,000 บาท |
เตียงนอนปรับไฟฟ้าอีไลฟ์ต่างจากที่อื่นอย่างไร ?
เพราะเตียงเป็นเครื่องใช้ในบ้านที่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยใช้งานอยู่ด้วยนานที่สุด จำเป็นต้องเลือกใช้เตียงที่มีคุณภาพสูงสามารถไว้วางใจได้ ดังนั้นเตียงนอนไฟฟ้าของอีไลฟ์นั้นมีราคากลางๆ ในหมวดของเตียงไฟฟ้าคุณภาพพรีเมียม ลักษณะภายนอกเหมือนเตียงนอนทั่วไปตอบโจทย์กับผู้สูงอายุที่อยากเริ่มทดลองใช้งานเตียงไฟฟ้าไปจนถึงผู้ป่วยติดเตียง ให้ความรู้สึกที่เป็นมิตรทั้งกับสมาชิกภายในบ้างเองและผู้ป่วยเองด้วย
- ลักษณะหน้าตาเตียงผู้ป่วยที่ไม่เหมือนเตียงผู้ป่วย ด้วยดีไซน์ที่ออกแบบมาเป็นโทนโฮมมี่ กรุด้วย “ไม้แท้” (ไม่ใช้ไม้พลาสติกบางๆนะคะ เคาะแล้วจะรู้ถึงความหนาเลย) สวยงาม มีความหนาแน่น ทนทาน ทำให้เตียงของเราไม่เหมือนเตียงไฟฟ้าทั่วไป
- มอเตอร์ที่ใช้ เตียงของอีไลฟ์ทั้ง 3 รุ่น EB-35,EB-55 ใช้ DewertOkin EB-77 ใช้ Limoss ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์เป็นมอเตอร์ที่ใช้กับเครื่องมือทางการแพทย์ของเยอรมัน เชื่อถือได้ ทำให้เตียงอีไลฟ์อาจมีราคาค่อนข้างสูง เพื่อความปลอดภัยในระยะยาว คุ้มค่าแกการลงทุนค่ะ
- ราวกั้นกันตก อีไลฟ์มีการออกแบบราวพิเศษ ให้ตอบโจทย์กับคนใช้งานมากที่สุดทำให้เลือกถึง 3 แบบ คือ ราวไม้ ราวเหล็กพับได้ และราวอลูมิเนียมพับได้ 2 ตอน
- การรับประกันสินค้า เตียงไฟฟ้าทุกรุ่นรับประกันสินค้าหากมีปัญหาเรื่องอะไหล่ เรามีซัพพอร์ตลูกค้าทุกชิ้น ไม่ขายขาดนั้นเอง
- ระบบไฟใต้เตียงเสริมพิเศษ ตอนนี้เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทยที่มีการพัฒนาไฟสำหรับใต้เตียง(ซึ่งรองรับเฉพาะของอีไลฟ์เท่านั้น) ชื่อว่า Smartcare เป็นไฟใต้เตียงที่สามารถปรับหรี่ได้บนเตียงโดยไม่ต้องลุก
ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของ เตียงผู้ป่วย
- มีขนาดไม่ต่ำกว่า 90×200 เซนติเมตร
- มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 25-40 เซนติเมตร
- ความสูงของราวกั้นเตียงผู้ป่วยเมื่อวัดจากฟูก ไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
- วัสดุที่ใช้ผลิตมีความแข็งแรง ไร้สนิม ง่ายต่อการทำความสะอาด
- ระบุน้ำหนักสูงสุดที่เตียงสามารถรับได้ (Safe working load)
หลักการจัดวางเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสม
- การวางเตียงควรต้องเว้นพื้นที่ว่างทั้ง 3 ด้าน คือด้านข้างและปลายเท้า โดยเว้นระยะประมาณข้างละ 90 เซนติเมตร เพื่อไว้วางของจำเป็น เช่น เก้าอี้ โต๊ะ รถเข็นวีลแชร์ และเพื่อให้ดูแลผู้ป่วยได้สะดวกมากขึ้น
- จัดห้องให้เป็นห้องโล่ง ระบายอากาศได้ดี
- จัดเตียงผู้ป่วยให้ได้กับองศาของห้องน้ำให้สะดวกมากที่สุด
- ควรเลือกเตียงเป็นเตียงไม้ พื้นผิวเรียบ ขอบโค้งมน ไม่มีเหลี่ยมของไม้
- ควรมีราวจับข้างเตียงและหัวเตียง เพื่อให้ผู้ป่วยพยุงตัวลุกขึ้นได้ การที่มีที่พยุงให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุจะทำให้ปลอดภัยมากกว่าผู้ดูแลพยุงเอง ไม่เสี่ยงต่อการพลัดตก
เลือกซื้อเตียงไฟฟ้าต้องคำนึงอะไรบ้าง?
- เตียงไฟฟ้าควรมีพื้นล่างโปร่ง ระบายอากาศได้ดี
- ตรวจสอบมอเตอร์ของเตียงไฟฟ้า
- ประเภทของกลไกปรับระดับซึ่งมีผลต่อราคา
- ตรวจสอบการดูแลหลังการขาย การรับประกันสินค้า เพราะเตียงไฟฟ้าหากเกิดปัญหาขึ้นภายหลังอะไหล่ส่วนใหญ่ไม่สามารถให้ร้านไฟฟ้าปกติเปลี่ยนให้ได้
- หากมีโอกาสได้ทดลองเตียงไฟฟ้าจริงๆ ควรทดลองก่อนสั่งซื้อหรือศึกษาจากรีวิวก่อน
- สินค้ามีราคาค่อนข้างสูงควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้านค้าให้ดีก่อน อ่านเพิ่มเติม>>>
เตียงไฟฟ้าแบบไหน? ปลอดภัย100%
เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ได้รับมาตรฐานอย่างถูกต้อง เพราะเตียงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์และใช้กับผู้ป่วย เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความอ่อนไหวดังนั้นมาตรฐานของสินค้าสำคัญมาก
ขนาดของเตียง
- เตียงนอนผู้ป่วยควรมีความกว้างตั้งแต่ 90-130 เซนติเมตร ความยาวขั้นต่ำคือ 200 เซนติเมตร และความสูงจากพื้นถึงเตียง 25-40 เซนติเมตร
- เตียงมาตรฐานผู้ป่วยต้องเล็กแค่ 3ฟุต คล้ายกับเตียงนอนผ่าตัดต้องมีขนาดเล็กและกว้างน้อยที่สุดให้แพทย์เข้าทำการรักษาได้ง่าย เตียงผู้ป่วยถึงแม้จะไม่ได้เล็กเหมือนเตียงผ่าตัด แต่มีเหตุผลการออกแบบให้เป็น 3 ฟุตลักษณะเดียวกัน คือให้ผู้ดูแล สามารถดูแลผู้ป่วยได้สะดวก อ่านเพิ่มเติม>>>
ไฟใต้เตียงต่างจากไฟธรรมดาอย่างไร ?
- ไฟธรรมดาไม่ว่าจะเป็นไฟห้อง ไฟฉาย ไฟหัวเตียง แสงไฟจากโทรศัพท์ สามารถให้แสงสว่างได้ แต่อาจจะเหมาะสมกับคนธรรมดามากกว่าผู้สูงอายุเพราะด้วยปัญหาเรื่องสายตา สภาพร่างกาย และความสามารถในการใช้งานสิ่งของเหล่านี้ อาจสร้างความลำบากกว่าไฟใต้เตียงที่อยู่ใกล้ตัวผู้สูงอายุ
- ไฟธรรมดามีความสว่างจ้ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ไฟใต้เตียงจะให้แสงสว่างที่กำลังพอดีและเป็นไฟที่สม่ำเสมอ
- ไฟใต้เตียงสามารถเปิดทิ้งไว้ได้ทั้งคืน เพราะเป็นไฟที่สว่างเฉพาะจุดจึงสามารถเปิดได้โดยไม่รบกวนสมาชิกในครอบครัว
- ไฟใต้เตียงใช้งานไม่ซับซ้อนผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้ด้วยตัวเอง
url: https://www.youtube.com/watch?v=LcA4m5T2-g8&t=9s
src in: https://www.youtube-nocookie.com/embed/LcA4m5T2-g8?start=9&feature=oembed
src gen: https://www.youtube-nocookie.com/embed/LcA4m5T2-g8Actual comparison
url: https://www.youtube.com/watch?v=LcA4m5T2-g8&t=9s
src in: https://www.youtube-nocookie.com/embed/LcA4m5T2-g8?start=9
src gen: https://www.youtube-nocookie.com/embed/LcA4m5T2-g8
คำถามที่พบบ่อย
อ่านต่อ
บทความที่เกี่ยวข้อง