fbpx

CGM vs BGM | วัดน้ำตาลแบบเจาะเลือด vs แบบติดวัดผลต่อเนื่อง ต่างกันอย่างไร?

CGM vs BGM | วัดน้ำตาลแบบเจาะเลือด vs แบบติดวัดผลต่อเนื่อง ต่างกันอย่างไร?

วิธีการวัดน้ำตาลมี 3วิธี ทำเองที่บ้านได้ 2วิธี(CGM, BGM)

วิธีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีวิธี 3วิธีหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • HbA1C เป็นแบบเจาะเลือด (ใช้ตย.เลือดเป็นหลอด) อันนี้ส่วนมากจะทำในโรงพยาบาล ทำเองที่บ้านไม่ได้
  • CGM (Contineous Glucose Monitoring) เป็นการวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง ทำเองที่บ้านได้โดยจะมีเครื่องมือติด Sensor เข้าที่ต้นแขน หรือ หน้าท้อง
  • BGM (Blood Glucose Montioring) เป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยใช้เข็มเจาะที่ปลายนิ้ว เพื่อเอาตัวอย่างเลือดใช่เพียงแค่ 1หยด

อันตรายจากเบาหวาน

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกเป็นจำนวนมากกว่า 425 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 642 ล้านคนในปีพ.ศ. 2583 จากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 พบว่าคนไทยประมาณ 4.8 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติพบว่า ประชากรในวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คน (เกือบร้อยละ 10) เป็นโรคเบาหวาน และ กว่าครึ่ง(ร้อยละ 50) ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรค

เบาหวานเป็นสาเหตุให้เกิดโลกต่างๆตามมามากมาย นำมาซึ่งโรคเรื้อรัง ป้องกันไว้ดีกว่าแก้

  • เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้เลือดหนึด เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน
  • แผลเบาหวานที่เท้า
  • โรคจอประสาทตา
  • โรคไตจากเบาหวาน
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว โดยหลักๆแล้วทำให้ น้ำเลือดข้นและหนืด ตามมาด้วยโรคมากมาย ทั้งความดัน โรคทางเส้นประสาท จอประสาทตา แผลหายช้าเป็นต้น

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ศึกษา เรียนรู้พฤติกรรมของแต่ละคน เพื่อหาวิธีการป้องกัน เปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ปัจจุบันเครื่องมือที่นิยมในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดมีอยู่ 2แบบคือ CGM(วัดน้ำตาลแบบต่อเนื่อง) BGM(วัดน้ำตาลแบบเจาะปลายนิ้ว) ซึ่งสามารถวัดได้ที่บ้าน สามารถทำเองได้ทุกคนไม่ยุ่งยาก

CGM (Continuous Glucose Montioring)

ตามชื่อตัวนี้เป็นการวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง มีการพัฒนาการใช้งาน 5-10ปีแล้วและได้รับการยอมรับในวงกว้างทางฝั่งประเทศอเมริกาและยุโรป และในประเทศไทยมีผู้นำเข้าและผ่าน อย.แล้วหลายเจ้า เริ่มใช้งานโดยแปะเซนเซอร์บนร่างกาย นิยมที่ต้นแขน และ บริเวณหน้าท้อง เครื่องมือที่ใช้ฝั่งเซนเซอร์ใต้ชั้นผิวหนังมีลักษณะคล้ายปากกา(หรือคล้ายถ้วย) ทำหน้าที่เจาะเซนเซอร์เข้าไปชั้นใต้ผิวหนัง ตัวเซนเซอร์สามารถอยู่ได้ 7-14วันแล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ โดยมากจะมีตัวส่งสัญญาเรียก Transmitter เพื่อส่งข้อมูลระดับน้ำตาลมาที่มือถือ หรือเครื่องอ่านค่า

  • วิธีการ – แปะเซนเซอร์บนร่างกาย นิยมที่ต้นแขน และ บริเวณหน้าท้อง
  • อุปกรณ์ที่ใช้ – Sensor เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง และ Transmitter ใช้ได้หลายครั้งอยู่ได้เป็นปี
  • วัดค่าตย.จาก – ของเหลวใต้ผิวหนัง
  • การอ่านค่า – จะบอกค่าน้ำตาลทุกๆ 3นาที(แล้วแต่รุ่น) 480ครั้ง/วัน พล็อตเป็นกราฟ ดูแนวโน้มได้
  • ราคาเซนเซอร์ – 1,990-4,000บ. อยู่ได้ 7-14วัน แล้วแต่ยี่ห้อ
  • **รายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น ยี่ห้อ

เครื่อง CGM วัดน้ำตาลแบบต่อเนื่อง เป็น Wareable Device / Disposal smart device ชนิดหนึ่งที่ได้รับการนิยมอย่างมาก เนื่องจากผู้ใช้ไม่ต้องเจ็บตัวหลายครั้ง สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยเบาหวานประเภท1 และ ประเภท2 ได้ ข้อดีอีกประการหนึ่งที่สำคัญมากคือสามารถติดตามผลได้ละเอียดมากๆ บอกสถานะทุกๆ 3-5นาที ทำให้ผู้สังเกตุการเห็นพฤติกรรมของตัวเองได้ชัดเจน สามารถวางแผนการดำเนินชีวิตได้ง่ายกว่า

จุดเด่น

  • ไม่ต้องเจ็บตัวเจาะเลือดวันละหลายๆครั้ง
  • บอกค่าน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง 480ครั้ง/วัน มองเป็นกราฟดูพฤติกรรมได้

จุดด้อย

  • เรื่องราคาที่แพงกว่าระบบอื่นๆ แลกมาด้วยความสะดวก
  • หาซื้อได้ยากกว่า มียี่ห้อให้เลือกน้อยกว่า เพราะเป็นของใหม่
CGM ทำโดยการติดเซนเซอร์ที่ตัว สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ โดยสามารถใช้ได้ 7-14วัน แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ
บอกระดับน้ำตาลในเลือดผ่าน App ในมือถือ โดยตัวเครื่องเชื่อมต่อกับมือถือผ่าน Bluetooth

BGM (Blood Glucose Montioring)

เครื่องนี้เป็นเครื่องที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีให้เลือกในท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อ หาซื้อง่ายและที่สำคัญราคาไม่แพง สามารถตรวจวัดกี่ครั้งก็ได้ในแต่ละวัน หลักการใช้งานแต่ละยี่ห้อจะเหมือนๆกันเอาเข็ม (Lancet) เจาะเข้าที่นิ้ว หรือ ส้นเท้าเด็ก เข็มจะแทงเข้าไปโดยเส้นเลือดฝอยทำให้เลือดไหลออกมา เลือดที่ได้จะเป็นตัวอย่างในการใช้ ส่วนต่อมาคือตัวเครื่อง และ Test Strip ในแถบวัดจะเคลือบด้วยสารเคมีทำปฏิกิริยากับน้ำตาลในเลือดทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าที่ส่งจากตัวเครื่องอ่านจะส่งสัญญาณออกมาให้เครื่องตีค่าเป็นระดับน้ำตาลในเลือด หลังการทดสอบน้ำตาลในเลือดเราต้องทิ้งเข็ม Lancet และแถบวัด Test Strip เครื่องอ่านสามารถใช้ต่อได้หลายครั้ง

  • วิธีการ – ใช้เข็ม Lancet เจาะเลือดที่นิ้ว แตะหยอดเลือดลงในแผ่น Strip เพื่อวัดค่า
  • อุปกรณ์ที่ใช้ – เข็ม Lancet, แถบตรวจ Test Strip ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ตัวเครื่องใช้ได้หลายครั้ง
  • วัดค่าตย.จาก – เลือดจากหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนัง
  • การอ่านค่า – บอกค่า ณ เวลาที่เจาะหนึ่งค่า คนไข้อาจจะวัด 1 – 7ครั้งต่อวันขึ้นอยู่กับความจำเป็น
  • ราคาเซนเซอร์ – 10-20บ. ต่อแผ่น ต่อผล 1ครั้ง
  • **รายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น ยี่ห้อ

BGM เครื่องวัดแบบเจาะตัวอย่างเลือด สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยเบาหวานประเภท1 และ ประเภท2 ได้ แม้มีข้อดีที่หาซื้อง่าย ราคาถูก และเป็นที่ยอมรับในวงกว้างแต่มีข้อจำกัดคือ เจ็บตัวที่ครั้งที่ต้องตรวจค่าเลือด ได้ค่าเลือดไม่ต่อเนื่องเหมือนระบบ CGM ถ้าอยากได้ค่ามากก็ต้องเจาะเลือดมากตาม อาจจะไม่สะดวก หลายๆคนไม่อยากเจาะบ่อยๆ

จุดเด่น

  • ถูก หาซื้อง่าย เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย
  • มีให้เลือกซื้อหลายยี่ห้อ เจาะวัดผล ณ เวลาที่ต้องการ

จุดด้อย

  • เจ็บตัวหลายครั้ง หากต้องการค่าเพื่อดูแนวโน้ม
  • คนไข้หลายคนลืมเจาะ ต้องพกเครื่อง เข็ม แถบตรวจติดตัวตลอด
เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด แบบ BGM มีหน้าตาคล้ายกัน คือมีที่ใส่ Test Strip เพื่อวัดค่าระดับน้ำตาล BGM มีข้อดีคือมีตัวเลือกหลากหลาย การแข่งขันกันจึงทำให้ราคาเป็นที่จับต้องได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือต้องเสียเลือดเจ็บตัวทุกครั้งที่ต้องการรู้ค่า
ตัวอย่างในท้องตลาด มี Lancet ให้เลือกหลากหลาย Test Strip ก็มีให้เลือกหลายหลายเช่นกัน ซึ่งแต่ละยี่ห้ออาจจะมีหน้าตาต่างกันบ้างแต่หลักการทำงานคือแบบเดียวกัน

สินค้าที่เกี่ยวข้อง