fbpx

กรน…เกิดจากอะไร

กรน…เกิดจากอะไร

สวัสดีครับ ชาว Elife ผมเชื่อว่าทุกรู้กันอยู่แล้วว่าการนอนหลับ ทำให้ร่างกายของเราได้พักผ่อนเหมือนเป็นการชาร์จแบตเตอรี่เพื่อให้เรามีพลังใช้ชีวิตในวันต่อไปได้ และการหลับพักผ่อนของเรานั้นนอกจากจะเป็นการเติมพลังให้ร่างกายแล้ว ยังเป็นการให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนต่างๆที่สึกหลอไปจากการใช้งานตอนกลางวันอีกด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นสาเหตุหลักสำคัญว่าทำไมร่างกายจึงควรได้รับการหลับพักผ่อน การที่บอกว่านอนดึก พักผ่อนน้อย ทำให้หน้าแก่และโทรมลงเร็วกว่าปกติจึงไม่ใช่เรื่องเกินจริง

แต่ถ้าเราก็นอนตรงเวลาทุกวัน หรือก็นอนครบ 7-8 ชม. แล้วแต่ยังรู้สึกเพลีย และนอนไม่พอละ หน้าก็โทรมตลอดเหมือนคนนอนไม่พอตลอด แถมคนที่บ้านก็บอกว่าได้ยินเสียงเราหายใจดังมากๆนอนตอนนอนด้วยจนบางทีทำเขานอนไม่หลับไปด้วย โอ้! แบบนี้ดูจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะซีเรียสแล้วละ เพราะเสียงนี้คือเสียง “กรน” และอาจจะเป็นสิ่งที่เป็นสัญญาณบอกสาเหตุว่าทำไมเราถึงรู้สึกว่าตอนเองนอนไม่พอแม้จะนอนเยอะมากๆก็ตาม ก่อนอื่นไปดูกันก่อนดีกว่าว่าการนอนกรนเกิดจากอะไร?

การนอนกรนเกิดจากการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังหลอดลมส่วนบน ลิ้นไก่ และเพดานอ่อน ที่แคบลงจากหย่อนตัวของกล้ามเนื้อขากรรไกรล่าง ลิ้น และเพดานอ่อน ในขณะหลับทำให้ไปขัดขวางทางลมผ่านของการหายใจ โดยเสียงดังจากการนอนกรนเกิดจากตำแหน่งการสั่นของอวัยวะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าเกิดการสั่นที่เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ ก็จะทำให้เสียงของการนอนกรนเกิดจากในลำคอ หรือถ้ามีการสั่นที่เนื้อเยื่ออ่อนด้านหลังโพรงจมูก ก็จะทำให้มีเสียงนอนกรนแบบขึ้นจมูก

นอกจากนี้อาการนอนกรนเกิดจากสาเหตุโดยอ้อมอย่างความผิดปกติของขากรรไกร โครงสร้างใบหน้า โรคต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในโพรงจมูก ภูมิแพ้ การรับประทานยานอนหลับ หรือปัจจัยร่วม ดังนี้

  • น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งวัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) : ค่า BMI เกิน 35 Kg/m2
  • ไขมันในช่องคอหนา : รอบคอเกิน 40 cm
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้
  • นอนกรนมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ความเหนื่อยที่สะสมในแต่ละวัน
  • นอนหงายเป็นประจำ

การนอนกรนอันตรายไหม?

ปัญหาการนอนกรนนั้นมีทั้งแบบที่อันตรายและไม่อันตราย โดยจะสามารถแยกเป็นระดับอาการ ดังนี้

ระดับกรนธรรมดา : เป็นอาการนอนกรนเกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจบางส่วนขณะนอนหลับ ซึ่งในขณะที่นอนหลับก็ยังสามารถหายใจได้ ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย แต่เสียงกรนจะสร้างความรำคาญให้กับรอบข้าง

ส่งผลให้นอนหลับยาก จนเกิดปัญหาความสัมพันธ์  อีกทั้งยังทำให้ผู้ที่นอนกรนเกิดความไม่มั่นใจ และก่อให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคมได้

ระดับกรนที่อันตราย : เป็นอาการนอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย โดยการนอนกรนเกิดจากทางเดินหายใจที่ตีบแคบมากขึ้นเรื่อย ๆ จนปิดสนิทไปชั่วขณะ ทำให้อากาศผ่านไม่ได้ โดยจะมีอาการนอนกรนเสียงดัง แล้วหยุดเงียบไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง

การนอนกรนเป็นประจำ ก็ทำให้ผู้นอนกรนต้องประสบกับความยากลำบากในการหายใจ กลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย สุขภาพจิตเสีย สมาธิและความจำไม่ดี การเผาผลาญอาหารของร่างกายด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดโรคอ้วน ความดัน และเบาหวานได้อีกด้วย

วิธีการรักษานอนกรน

เนื่องจากสาเหตุหลักของการนอนกรนเกิดจากความผิดปกติของทางเดินหายใจและกล้ามเนื้อคอที่หย่อนลงจากอายุที่เพิ่มขึ้นโดยการรักษาอาการนอนกรนในปัจจุบันนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามอาการและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล คือ

1. การรักษานอนกรนโดยการผ่าตัด : เป็นวิธีแก้ปัญหานอนกรน ด้วยวิธีรักษาผ่าตัดแก้นอนกรน ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละคน โดยมีวิธีดังนี้

  • การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า
  • การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน และลิ้นไก่ โดยใช้เลเซอร์
  • การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกคด

2. การรักษานอนกรนโดยไม่ผ่าตัด : เป็นวิธีการแก้ปัญหานอนกรนที่แพทย์เฉพาะทางจะแนะนำเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด หากว่าไม่สามารถรักษาการกรนได้ หรือมีปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด โดยมีวิธีดังนี้

  • อุปกรณ์แก้นอนกรน iNAP
  • อุปกรณ์แก้นอนกรน CPAP
  • เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance)
  • การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)

*โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินการักษา*

การ Sleep test เพื่อตรวจหาอาการความรุนแรงของโรคการนอนหลับต่างๆ

“แล้วการกรนมันทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่พออย่างไรในเมื่อเราก็นอนหลับแม้จะกรนก็ตาม?”

นี่แหละครับประเด็นสำคัญ หากคุณเป็นคนที่นอนกรนระดับธรรมดาก็อาจจะไม่ได้แย่เท่าไหร่นอกจากทำให้คนที่นอนด้วยรำคาญ แต่ถ้าคุณเป็นระดับอันตรายละก็แย่ชัวร์ เพราะการที่คุณกรนเสียงดังแล้วอยู่ดีๆเงียบไปนั้นแปลว่าทางเดินหายใจของคุณโดนอุดกั้นและหายใจไม่ได้ตามปกติ แต่กระบังลมของคุณก็ยังทำงานอยู่ตามปกติ เมื่อไม่มีออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย สมองของคุณจากที่อยู่ในช่วงพักผ่อนก็จะตื่นเข้ามาเพื่อสั่งให้การทำงานของทางเดินหายใจทำงานเพิ่มขึ้นหรือหายใจแรงขึ้นเพื่อทำให้ทางเดินหายใจเปิดออก นี่เป็นที่มาของเสียงให้ใจเฮิอกใหญ่หลังจากการเงียบไปตอนหยุดหายใจ คนปกติก้มีการหยุดหายใจบ้างอยู่แล้ว <5AHI แต่คนที่อยู่ในระดับอันตราย สามารถหยุดหายใจได้ >30AHI ซึ่งมากพอที่จะส่งผลต่อการพักผ่อนของสมอง เท่ากับเรานอนจริงแต่สมองตื่นมาสั่งให้เราหายใจตลอดคืนก็เท่ากับสมองไม่ได้พักอยู่ดี ซึ่งอาการแบบนี้คือ OSA (Obstructive sleep anea) หรือ ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น นี่แหละคือคำตอบ

ซึ่งการรักษาที่ค่อนข้างได้ผลดีและนิยมคือ CPAP (Continuous positive airway pressure) ซึ่งจะทำงานสร้างแรงดันลมบวกที่เครื่องสร้าง ส่งไปช่องทางหายใจทำให้หายใจได้สะดวก ลมสามารถผ่านเข้าปอดได้ รักษาอาการ OSA หยุดหายใจขณะหลับ อาการนอนกรนหากใครพบปัญหาแบบนี้อยู่ที่ Elife มีจำหน่ายเครื่องนะครับเป็นแบรนด์ระดับโลกที่จำหน่ายมายาวนาน มีหลายแบรนด์และหน้ากากให้เลือกใช้มากมายเลย สนใจคลิ๊กที่สินค้าข้างล่างได้เลยครับ

ตารางเปรียบเทียบ CPAP น่าใช้ประจำปี 2023 เทียบราคา Spec YH-450, AirSense, AirMini

CPAP รุ่นไหนดี? 2024 เทียบสเปค ราคา ข้อดี-ข้อเสีย CPAP Guide

เพื่อนๆหลายคน กำลังตัดสินใจซื้อเครื่อง CPAP หรือเครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกอยู่ เพื่อรักษาอาการนอนกรน อาการหยุดหายใจขณะหลับหรือ OSA (Obstructive Sleep Apnea) โดยทั่วไปเครื่องช่วยหายใจ จะมี Brand หลักอยู่ในตลาด 2-3แบรนด์ด้วยกัน ที่ได้รับความนิยมคือ Resmed, Yuwell และ Philips แต่จากข่าวเรื่องการเรียกคืนเครื่องช่วยหายใจทั่วโลก Global recall จาก Philips

แชร์ปสก. Sleep Test คิดว่าแค่นอนกรน เจออาการ OSA หยุดหายใจรุนแรง ต้องการรักษา ไม่อยากอายุสั้น

แชร์ประสบการณ์ส่วนตัวครับ นอนกรน อันตรายกว่าที่เราคิด!! ตอนแรกคิดว่าเราแค่นอนกรน ทำงานได้ปกติแค่ง่วงนิดหน่อย ปรากฏเจออาการ OSA ร้ายแรงกว่าที่คิด บทความนี้เกิดจากประสบการณ์โดยตรง คือเจออาการ OSA หนัก > ทดลองใช้ CPAP ครั้งแรกอยากจะโยนทิ้ง อยากผ่าตัดแทน > ทนทดลอง CPAP ครั้งที่สอง เริ่มปรับตัวได้ ต้องเลือกหน้ากากให้ตรงกับเราสำคัญมาก สำหรับผมการรักษาอันนี้เหมือนการช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด

CPAP คืออะไร? / รักษานอนกรน OSA หยุดหายใจ?

หลายคนสงสัยและคงเคยได้ยิน เครื่องซี-แพบ CPAP กันมาบ้างจากช่องทาง Social และ Youtube วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเครื่องช่วยหายใจ PAP, APAP, BiPAP, CPAP เครื่องมือที่ช่วยทำให้สุขภาพการนอนของคุณดีขึ้น รักษาอาการกรน OSA อาการหยุดหายใจขณะหลับ ที่ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย ง่วงทั้งวัน นอนไม่อิ่ม เนื่องจากร่างกายขาด Oxygen ขณะนอนหลับ คำศัพท์ควรรู้อาการ OSA AHI

CPAP Mask 3ชนิดเลือกอย่างไง? ข้อดี-เสีย หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ

หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ หรือเรียก Oxygen Mask หรือ CPAP Mask ในท้องตลาดมีให้เลือกหลายชนิดครับ แต่ที่นิยมกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3ชนิด มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เหมาะกับลักษณะบุคคลแตกต่างกันไป บทความนี้จะสรุปให้คุณทำความรู้จัก จุดเด่นของ CPAP Mask ทั้ง 3แบบ ให้คุณเลือกแบบที่เหมาะสม มีสุขภาพที่ดีกันต่อไป บทความนี้เขียนจากประสบการณ์ใช้งานจริงของผู้เขียน ผมใช้งานทุกวันครับ แมสจะทำหน้าที่ครอบรักษาความดัน เป็นทางผ่านของอากาศรวมถึงออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และหน้าที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือการป้องกันการรั่วของอากาศ

เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องผลิตออกซิเจน ความแตกต่างของการช่วยชีวิต

เครื่องช่วยหายใจ ( Ventilator) และเครื่องผลิตออกซิเจน ( Oxygen Concentrator) ฟังดูแล้ว ทั้งสองเครื่องนี้อาจจะดูคล้ายกัน แต่ทุกท่านทราบมั้ยคะว่า ประโยชน์ และการใช้งานของทั้งสองเครื่องนั้น มีความแตกต่างกันอยู่ ในวันนี้ เรามาทำความรู้จักกับทั้งสองเครื่อง เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกันนะคะ   เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หายใจลำบาก หรือไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก และรับออกซิเจนได้ในปริมาณที่มากขึ้น