Description
เงื่อนไข
- มัดจำเครื่อง 5,000บาท คืนเงินเต็มจำนวน เมื่อคืนเครื่องมือในเวลาที่กำหนด
- บริการนี้เพื่อการ Sleep Test ต่อคนเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ร่วม โดยระบบจะบันทึการนอนคืนที่มากที่สุดเท่านั้น โดยจะลบคืนที่มีจำนวนการนอนน้อยกว่า
- หากเกิด Fail Night เราเปิดโอกาสให้ท่าน Test ได้อีก 1ครั้งในคืนถัดไป แต่หากคืนที่1 ทำการนอนได้เกิน 4ชม.แล้ว และ Sensor ทำงานปกติ ไม่แนะนำให้ทำคืนที่สอง เพื่อป้องกันการซ้อนทับของข้อมูล
- สามารถรับผล Digital (PDF ส่งทาง email, Line) หรือ/และแบบกระดาษ (รับได้ที่หน้าร้าน)
รายละเอียด | ค่าใช้จ่าย | หมายเหตุ |
มัดจำเครื่องมือ (คืนเต็มจำนวน) | มัดจำ 5,000บ. | คืนเต็มจำนวนเมื่อคืนเครื่องมือ ตรงเวลา (สงวนสิทธิ์ปรับ เพื่อประโยชน์ให้เครื่องได้ใช้กับผู้อื่นในคิวต่อไป) |
ค่าใช้จ่าย Sleep Test | ค่าใช้จ่าย 3,990บ. | หากเป็น Fail Night เปิดโอกาสให้ทำ Sleep Test ในคืนที่2 ได้ |
ส่วนลด ในการซื้อสินค้า | ส่วนลด 3,990บ. | สามารถนำค่าใช้จ่าย มาเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าได้ |
คำถามที่พบบ่อย
Sleep Test มีกี่ระดับอะไรบ้าง?
Type 1 : ประเภทที่ 1 คือการทำ sleep test แบบทำที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีแพทย์เป็นผู้ดูแลและมี sleep tech เฝ้าตลอดทั้งคืน
- คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), คลื่นไฟฟ้าลูกตา (EOG), คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), คลื่นกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อคาง (EMG)
- การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
- ลมหายใจ (Airflow)
- O2 ในเลือด (Oximetry)
Type 2 : ประเภทที่ 2 คือการทำ sleep test แบบที่ทำนอกโรงพยาบาล ไม่ต้องมี Sleep tech ไม่ต้องเฝ้าตลอดทั้งคืน เพียงมีเจ้าหน้าที่เข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ให้ อาจจะทำที่บ้านหรือคลินิกที่ร่วมกับโรงแรม แบบนี้จะดีที่คนไข้สามารถทำที่บ้านได้ (แล้วแต่คลินิก) ประหยัดค่าใช้จ่าย รอคิวน้อยกว่า
- คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), คลื่นไฟฟ้าลูกตา (EOG), คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), คลื่นกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อคาง (EMG)
- การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
- ลมหายใจ (Airflow)
- O2 ในเลือด (Oximetry)
Type 3 : ประเภทที่ 3 คือการทำ sleep test แบบจำกัดข้อมูล ได้ข้อมูลไม่ครบเท่า Type 1 และ Type 2 แต่สำหรับคนที่ต้องการทราบอาการเบื้องต้น จะทำได้เลย รอคิวไม่นาน ประหยัดกว่า สำหรับคนที่ติดอุปกรณ์เยอะๆแล้วนอนไม่หลับ ตัวนี้เป็นตัวเลือกที่ดี
- วัดชีพจร (Heartrate)
- การขยายตัวของทรวงอกและช่องท้อง (Thorac-Abdominal movements)
- ลมหายใจ (Airflow)
- O2 ในเลือด (Oximetry)
Type 4 : ประเภทที่ 4 คือการทำ sleep test แบบวัดเฉพาะ O2 ในเลือด และลมหายใจขณะหลับ แบบนี้จะมีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด
- ลมหายใจ (Airflow)
- O2 ในเลือด (Oximetry)
Fail Night คืออะไร?
คือการที่ทำ Sleep test ในคืนนั้นของคนไข้ไม่สามารถอ่านผลได้ หรือเรียกว่า “เกิดความผิดพลาด” นั้นเอง การเกิด Fail Night มีสาเหตุมามาจาก
- อุปกรณ์มีปัญหาที่เกิดเกิดปัญหาที่อุปกรณ์มีความผิดปกติ เครื่องชำรุดที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง จนไม่สามารถวาัดผลในคืนนั้นได้
- อุปกรณ์มีปัญหาจากการติดอุปกรณ์ไม่ถูกต้อง เกิดจากการติดอุปกรณ์ผิดวิธี ผิดตำแหน่ง ติดไม่แน่ จนทำให้หลุดออกระหว่างนอน
- เกิดจากคนไข้ สภาพร่างกายของคนไข้ไม่พร้อม เกิดความตื่นเต้น นอนไม่หลับ หรือนอนหลับน้อยกว่าเวลาที่กำหนด 4-6 ชม. (แล้วแต่เครื่องแต่ละที่) ทำให้เครื่องอ่านค่าขณะหลับไม่ได้
ข้อควรปฏิบัติในการทำ Sleep test?
- คนไข้ควรอาบน้ำ สระผม มาให้เรียบร้อยพก่อนติดอุปกรณ์
- คนไข้ควรทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนทำ sleep test (แต่หากต้องการเข้าห้องน้ำระหว่างคืนสามารถเข้าได้ปกติ)
- ห้ามคนไข้ดื่ม กาแฟอีน แอลกอฮอล์ หรือหากกินยาประจำตัวมาต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย
- ทำให้สภาพแวดล้อมเหมือนตอนนอนปกติที่สุด เพื่อให้ไม่กังวลจนเกินไป
- คนที่ทำเล็บเจล ต่อเล็บมา แนะนำให้ถอดออกหรือล้างออกก่อน เพราะะมีผลต่อการวัด O2 ในเลือด
OSA คืออะไร?
คำศัพท์เบื้องต้น อาการหยุดหายใจ OSA นอนกรน ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
- OSA – Obstructive Sleep Apnea คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการปิดกัน/ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ภาษาง่ายๆคือ มีการตีบตัน-บังของทางเดินหายใจ เช่น โคนลิ้นหรือกล้ามเนื้อช่องคอหย่อน ปิดทางเดินหายใจ ภาวะนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากเกิดจากความอ้วน และ อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนปิดกั้นทำให้อากาศไหลไปสู่ปอดได้น้อยลง-หยุดหายใจ โดยมากจะมีอาการนอนกรนร่วมด้วย ภาวะนี้เป็นอันตรายอย่างมากในระยะสั้นทำให้รู้สึกไม่สดชื่นเพราะขณะหลับออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เพลีย อารมณ์แปรปรวน ระยะยาวนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับสมอง ชาวบ้านอาจมีคำศัพท์ว่า “ไหลตาย” มีความเกี่ยวเนื่องกับ OSA
- AHI – Apnea Hyponea Index คือ ดัชนีใช้ในการวัดการหยุดหายใจ (AI – Apnea Index) และ หายใจแผ่ว (HI – Hypopnea) โดยค่านี้เป็นการวัดระดับความรุนแรงของภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ OSA โดยค่านี้จะเป็นหน่วยเป็น ครั้ง/ชม. เช่น ตัวผู้เขียนเองก่อนรักษามีค่า AHI = 41 หมายความว่า ตอนนอนมีการหยุดหายใจ/หายใจแผ่ว 41ครั้ง/ชม. ซึ่งค่านี้ถือว่าอันตรายต้องรีบรักษา
- AHI < 5 ปกติ คนทั่วไปอาจเกิดอาการหายใจได้แต่ไม่ควรเกิน 5ครั้ง/ชม.
- 5≤AHI<15 ภาวะหยุดหายต่ำ อาจจะปรับท่านอน ออกกำลัง ลดน้ำหนัก
- 15≤AHI<30 ภาวะหยุดหายกลาง ควรเริ่มรักษา ควบคู่กับการควบคุมน้ำหนัก ใช้งาน CPAP
- AHI≥30 ภาวะหยุดหายใจรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษา เป็นระดับอันตรายกับร่างกายทั้งระยะสั้นและยาว รักษาด้วย CPAP, เครื่องทางทันตกรรม, ผ่าตัด ตามคำแนะนำแพทย์
- SPO2 – ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด %ออกซิเจนในเลือด โดยค่านี้แปรผันกับค่า AHI ผู้ที่มี AHI สูงมีการหยุดหายใจสูงค่าออกซิเจนจะลดลงต่ำขณะหลับ ตย. ผู้เขียนก่อนมีการรักษามีค่า SPO2 อยู่ที่ 86% จากปกติตอนตื่นมีค่าอยู่ประมาณ 97% จะเห็นว่าอาการหยุดหายใจขณะหลับมีอันตรายกว่าที่คิดมาก
คลิปรีวิวการทำ Sleep test จากลูกค้าของเรา
@elifegear Home Sleep test กับ elife สิค่ะ #ราคาถูกของดี #ขายดี #นอนไม่หลับ #นอนกรน #สุขภาพดี ♬ เสียงต้นฉบับ – elifegear
แบบประเมินอื่นๆ
อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น