fbpx

แชร์ปสก. Sleep Test คิดว่าแค่นอนกรน เจออาการ OSA หยุดหายใจรุนแรง ต้องการรักษา ไม่อยากอายุสั้น

แชร์ปสก. Sleep Test คิดว่าแค่นอนกรน เจออาการ OSA หยุดหายใจรุนแรง ต้องการรักษา ไม่อยากอายุสั้น

แชร์ประสบการณ์ส่วนตัวครับ นอนกรน อันตรายกว่าที่เราคิด!! ตอนแรกคิดว่าเราแค่นอนกรน ทำงานได้ปกติแค่ง่วงนิดหน่อย ปรากฏเจออาการ OSA ร้ายแรงกว่าที่คิด บทความนี้เกิดจากประสบการณ์โดยตรง คือเจออาการ OSA หนัก > ทดลองใช้ CPAP ครั้งแรกอยากจะโยนทิ้ง อยากผ่าตัดแทน > ทนทดลอง CPAP ครั้งที่สอง เริ่มปรับตัวได้ ต้องเลือกหน้ากากให้ตรงกับเราสำคัญมาก สำหรับผมการรักษาอันนี้เหมือนการช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ค่าใช้จ่ายไม่เยอะมากแลกมาด้วยกับสุขภาพที่ดีขึ้น บทความนี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย

เริ่มความคิดจะทำ Sleep Test

ตั้งแต่อายุ 30ปีขึ้นมา ผมเริ่มมีอาการกรน แฟนบอกและลูกบอก และที่เป็นมาช่วงหลังๆคือ “อาการง่วงกลางวัน เหมือนนอนไม่อิ่ม” สังเกตุตัวเองชัดๆเลยคือชอบหายใจทางปาก ตื่นบ่อย ตามสไตล์ไม่เคยดูแลตัวเองปล่อยให้น้ำหนักขึ้นไม่ได้คุมนน.เลย เพิ่มจาก 70Kg ตอนอายุ 20s ตอนนี้ 30ปลายๆเป็น 90Kg อาการกรน และง่วงนอนเริ่มรุงแรงขึ้น สังเกตุตัวเองไม่รู้หลอกว่าตัวเองนอนกรน แต่ที่รู้คือตื่นบอก เจ็บคอเวลาตื่น ตื่นแล้วเหมือนนอนไม่สนิท กลางวันโดยเฉพาะหลังกินอาหารกลางวัน จะง่วงแบบจะนอนให้ได้ คิดว่าตัวเองมีปัญหาภูมิแพ้

เลือกทำ Sleep Test ที่ไหน?

ผมต่างจากคนอื่นๆ คือไปหาหมอเพื่อทำ Sleep Test เลย ตอนแรกเราเข้าใจว่าเราน่าจะเป็นภูมิแพ้จมูกตัน หายใจไม่ออกเลยเริ่มไปหาหมอภูมิแพ้ ปรีกษาหมอภูมิแพ้จัดมาทั้งยาพ่น และ ยากิน อาการบวมตันของจมูกดีขึ้นอย่างมาก ผมว่าดีเลยเรารักษาถูกจุดแล้ว แม่แฟนก็ยังบอกว่านอนกรนมาก เสียงดังอยู่ พอ Follow Up กับหมอภูมิแพ้ หมอจึงแนะนำให้ลองทำ Sleep Test ดู

หมอแนะนำ ทำ Sleep Test จากไม่เคยมีความคิดนี้เลย ผมจึงตัดสินเลือกของ รพ. ที่รักษาโรคภูมิแพ้อยู่ (รพ. ที่ผมเลือกค่อนข้างราคาสูงกว่าที่อื่นๆ ตอนหลังมาศึกษาดูที่อื่นราคาไม่แพงหลัก 4000-6000บ. ก็ทำได้แล้วมีแบบให้เลือกที่ คลินิก กับโรงพยาบาล แบบคลินิค ก็ดีนะครับเพราะหมอเปิดของเค้าเอง) สรุปไม่เลือกไม่ได้ศึกษา หมอบอกก็ลงใช้ของโรงพยาบาลดู

พอสมัคร ชำระเงินมัดจำ พยาบาลนัดหมายวันเวลา บอกว่าการตรวจนี้คือติด Sensor ต่างๆที่ร่างกาย และเรานอนโดยจะมี Senser หลายตัวแล้วกล้องถ่ายพฤติกรรมการนอนของเราด้วย ให้เราทำตัวสบายๆมาช่วงเย็นๆ ไม่เครียด ผมกังวลเล็กน้อย เพราะกลัวนอนไม่หลับเป็นคนไม่ชอบมีอะไรมาติดตามตัว นาฬิกา แหวนนี่ไม่ชอบเลย รำคาญ

ผมว่าเพื่อนๆ ศึกษาสถานที่ทำ Sleep Test กันใน Internet ไม่ต้องเลือกราคาแพง เพื่อใช้เครื่องเหมือนกันๆ เอาแบบเราสะดวกเรา และเงินในกระเป๋า การทำ Sleep Test ทุกที่ให้เราไปตอนเย็น นอน เช้าวันรุ่งขึ้นออกไปทำงานต่อ/กลับบ้านได้เลย หมอจะนัดอ่านค่ากับเราอาทิตย์ต่อมา

ห้องดูดีเหมือนโรงแรมเลย แนะนำให้ใช้ชุดนอนที่เราใช้ประจำ บางคนถึงขั้นเอาหมอนที่ตนเองใช้ประจำ สำหรับคนติดหมอน ทำใจสบาย

ประสบการณ์วันทำ Sleep Test

ผมไปทำทดสอบการนอน วันธรรมดา เพราะวันเสาร์-อาทิตย์คิวยาว วันธรรมดาทำได้เลย วันนั้นก็ทำงานปกติลางานออกเร็วขึ้น 2ชม. เพื่อไปโรงพยาบาล ได้ห้องนอน ของผมห้องดูดีเลยเหมือนโรงแรม มีเตียงนอนเพื่อผู้ติดตามด้วย แต่ผมมาคนเดียว พยาบาลบอกให้กินข้าวปกติ ถามว่าปกติเรานอนกี่โมง นัดหมายเวลา ของผม 2ทุ่มเพื่อมาติด Sensor

มีเทคนิคคนที่จะไปทำ Sleep Test เค้าแนะนำให้เราใช้ชุดนอนที่เรานอนประจำ ใครจะเอาหมอนส่วนตัวมาก็ได้ บางคนติดหมอนตัวเอง นอนหมอนอื่นนอนไม่สนิท

พอ 2ทุ่มตามนัด มีคนเข้ามาติด Sensor แต่แต่งชุดต่างจากพยาบาลทั่วไป แจ้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่ Sleep Test ติดเซนเซอร์วัดคลื่นสมองที่หัว (ผมเดาว่าดูภาวะว่าเรานอนลึกขนาดไหน) Sensor วัดการหายใจเข้าออก ติดที่จมูก(อันนี้รำคาญสุด), เซนเซอร์ที่คาง (น่าจะดูว่าเรากรน หรือหายใจทางปาก), Oximeter วัดปริมาณ (Oxygen การเต้นของหัวใจ) ตามในรูป

พอติดเซนเซอร์เจ้าหน้าที่บอกว่าจะมีกล้องถ่ายเราทั้งคืน เพื่อดูพฤกติกรรมการนอน การพลักตัว อื่นๆ และออกจากห้องไป เราก็ต้องพยายามนอน โชคดีผมนอนหลับครับ จากรูปคงเดากันได้ว่า คงยากที่จะนอนหลับสนิททั้งคืน Serson เยอะมาก ผมตื่นนอนบ่อยกว่าปรกติมากตอนทำ Sleep Test

สภาพก่อนนอน เมื่อติด Sensor ทุกอย่างเสร็จแล้ว ติดเยอะมากกว่าที่คิดไว้ คงเดากันได้เลยว่านอนไม่ค่อยสนิทหลอก คืนที่ผมนอนตื่นบ่อยกว่าปกติครับ แต่ก็ยังนอนได้

นัดแพทย์ เพื่ออ่านผล

หลังจากทำ Sleeptest ทางโรงพยาบาลจะนัดให้เข้าไปฟังผลเพื่อจะหาทางรักษากันต่อไป ผมมั่นใจว่านอนโอเค และไม่น่าจะมีปัญหาอะไร หมออธิบายเรื่องผลการนอนและผลการทดสอบมา ผมไม่สามารถเอาของตัวเองออกมาแสดงได้ ด้วยเหตุผลความเป็นส่วนตัว ขออนุญาติเอาตัวอย่างโดยไม่ระบุตัวตนมาโชว์นะครับ ซึ่งมาหลายๆส่วนใกล้เคียงของผม

ตย. ผล Sleep Test Report

ใน Report มีผลออกมาโดยมีค่าหลายตัวมากครับ โดยหลักๆแล้วต้องดูหลายอย่างประกอบกัน แต่ตัวสำคัญที่หมอดูจะเป็น AHI ดัชนีวัดการหยุดหายใจขณะหลับ(รวม AI และ HI) คนปกติไม่ปัญหาควรจะมีค่านี้น้อยกว่า 5 แต่จากตัวอย่าง นาย ก.(นามสมมุติ) มีค่า AHI 41.7 ครั้ง/ชม. คือมีการหยุดหายใจ 41.7ครั้งในทุกๆหนึ่งชม. ซึ่งค่านี้ถือว่ารุนแรงต้องรีบรักษา อีกค่าหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ SPO2 คือปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด โดยปกติควรมีค่าอยู่ 96% ขึ้นไป นาย ก. มีค่า Oxygen อยู่เฉลี่ย 94% และ ช่วงที่หยุดหายใจออกซิเจนตกไปต่ำถึง 80% ซึ่งตกไปต่ำ

สรุปผลวินิจฉัย คือ มีอาการ OSA หรือ Obstructive Sleep Apnea อาการหยุดหายใจขณะหลับจากการปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน อาการระดับรุนแรงต้องรักษาโดยด่วน โดยระบุว่าแนะนำให้ใช้เครื่อง PAP หรือ ทางอื่นๆ ให้ดูคำอธิบายด้านล่าง

เป็นเคสของผมผลค่อนข้างรุนแรงเหมือนกัน โดยหมอแนะนำให้ใช้วิธีง่ายที่สุดและเจ็บตัวน้อยที่สุด รวมไปถึงทางเลือกอื่นๆด้านล่าง หากไม่รักษาจะมีผลระยะสั้นเหมือนเดิมหรือหนักกว่า คือ อ่อนเพลีย นอนไม่อิ่มระหว่างวัน ระยะยาวคือ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ระบบประสาท และ ถ้าไม่รักษาจะอายุสั้น

  • OSA – Obstructive Sleep Apnea คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการปิดกัน/ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ภาษาง่ายๆคือ มีการตีบตัน-บังของทางเดินหายใจ เช่น โคนลิ้นหรือกล้ามเนื้อช่องคอหย่อน ปิดทางเดินหายใจ ภาวะนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากเกิดจากความอ้วน และ อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนปิดกั้นทำให้อากาศไหลไปสู่ปอดได้น้อยลง-หยุดหายใจ โดยมากจะมีอาการนอนกรนร่วมด้วย ภาวะนี้เป็นอันตรายอย่างมากในระยะสั้นทำให้รู้สึกไม่สดชื่นเพราะขณะหลับออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เพลีย อารมณ์แปรปรวน ระยะยาวนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับสมอง ชาวบ้านอาจมีคำศัพท์ว่า “ไหลตาย” มีความเกี่ยวเนื่องกับ OSA
  • AHI – Apnea Hyponea Index คือ ดัชนีใช้ในการวัดการหยุดหายใจ (AI – Apnea Index) และ หายใจแผ่ว (HI – Hyponea) โดยค่านี้เป็นการวัดระดับความรุนแรงของภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ OSA โดยค่านี้จะเป็นหน่วยเป็น ครั้ง/ชม. เช่น ตัวผู้เขียนเองก่อนรักษามีค่า AHI = 41 หมายความว่า ตอนนอนมีการหยุดหายใจ/หายใจแผ่ว 41ครั้ง/ชม. ซึ่งค่านี้ถือว่าอันตรายต้องรีบรักษา
    • AHI < 5 ปกติ คนทั่วไปอาจเกิดอาการหายใจได้แต่ไม่ควรเกิน 5ครั้ง/ชม.
    • 5≤AHI<15 ภาวะหยุดหายต่ำ อาจจะปรับท่านอน ออกกำลัง ลดน้ำหนัก
    • 15≤AHI<30 ภาวะหยุดหายกลาง ควรเริ่มรักษา ควบคู่กับการควบคุมน้ำหนัก ใช้งาน CPAP
    • AHI≥30 ภาวะหยุดหายใจรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษา เป็นระดับอันตรายกับร่างกายทั้งระยะสั้นและยาว รักษาด้วย CPAP, เครื่องทางทันตกรรม, ผ่าตัด ตามคำแนะนำแพทย์

แนวทางการรักษา

หมอและแนวทางรักษามา 3-4ข้อ โดยแนะนำให้ใช้ CPAP ก่อนโดยให้ยืม CPAP 2อาทิตย์ไปใช้

  1. การใช้เครื่อง CPAP เครื่องช่วยหายใจโดยดันอากาศเปิดทางเดินหายใจ ให้อากาศเข้าสู่ปอดของเรา – ซื้อเครื่อง 3หมื่น – 5หมื่นบาท มีหลายยี่ห้อ
  2. ใช้เครื่องมือทางทันตกรรม – เคสผมหมอไม่แนะนำ เพราะควรจะใช้กับอาการระดับกลาง ไม่สูงมาก
  3. ผ่าตัดเล็ก คือการผ่าตัดเนื้อเยื้อ กระดูกอ่อน ขยาย เปิดทางให้อากาศไหลเข้าดีขึ้น
  4. ผ่าตัดใหญ่ อันนี้โหดสุด ผ่านตัดโครงหน้า กราม เลื่อนเปิดให้ทางเดินหายใจส่วนบนใหญ่ขึ้น

ปล. ทุกวิธีที่กล่าวไว้ข้างต้น ต้องมีการออกกำลังการและคุมน้ำหนักเข้าร่วมด้วย

ปล.2 อ่านข้อมูล่า CPAP คืออะไร? ทำงานอย่างไรได้ที่นี่ครับ

OSA คือภาวะการหยุดหายใจจากการปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน คืออากาศถูกปิดทางเข้าปอด ทำให้ร่ายกายขาดออกซิเจน OSA สามารถวัดได้ด้วย ดัชนีการหยุดหายใจหรือ AHI เครื่อง CPAP ช่วยดันอากาศให้ช่องที่ปิดกั้นนี้เปิดให้อากาศสามารถไหลเข้าปอดได้ดีขึ้น ทำให้สุขภาพกานอนดี และออกซิเจนไปเลี้ยงสมองร่างกายดีขึ้น

ใช้ CPAP อาทิตย์แรก อยากโยนทิ้ง

ผมได้ยืมเครื่อง CPAP มาใช้โดย เจ้าหน้าที่เลือกหน้ากากแบบ Nasal Mask มาให้ผมครับ กลับมาบ้านเปิดเครื่องลองใช้งาน บอกเลยว่าไม่ชอบ อึดอัดอย่างมาก ส่วนตัวไม่สามารถใส่อะไรนอนได้เช่นพวกแหวน หรือ นาฬิกา ต้องถอดก่อนนอนไม่อย่างงั้นนอนไม่ได้ เป็นคนนอนหลับยากถ้าใส่เสื้อผ้าไม่สบาย

ผมฝืนใช้คืนแรก นอนไม่ค่อยหลับ ตื่นบ่อยเพราะไม่ชิน คืนแรกนอนไปได้แค่ 3ชม. ต้องถอดเครื่องออก วันต่อมาใช้ได้ประมาณ 2ชม. ลองใช้ทั้งหมดแค่ 4วัน ผมหมดความอดทนคิดว่าถ้าต้องใช้เครื่องนี้ตลอดไม่ไหวแน่นอน ไม่ชอบมากๆ อยากหาวิธีอื่นรักษาแทน

บอกหมอยากคืน และ สนใจการผ่าตัดแทน

ไม่ชอบไม่สบาย คือเหตุผลหลักในการคืนเครื่อง CPAP ของผม นัดเจอหมอเพื่อหาวิธีอื่นๆ ซึ่งถ้าเป็นเคสผมสามารถไปต่อที่การผ่าตัดเล็ก เท่าคุยกับหมอคือต้องส่งต่อไปให้หมออีกคนดู โพร่งจมูก และ ลิ้นไก่และคอ หมอใช้กล้องส่องในจมูก แบบลึกและเจ็บ ตรวจดูคอ

จากการปรึกษา หมอบอกว่าแล้วแต่เคส บางเคสทำแล้วคุ้มกันการเจ็บตัว เจ็บแล้วผลออกมาดี แต่เคสผมด้วยลักษณะทางกายภาพแล้วทำแล้วไม่ค่อยเหมาะทำแล้วไม่ค่อยคุ้ม เจ็บไม่คุ้มได้ เดี๋ยวอายุขึ้นอีกหน่อยเนื้อเยื้อที่ตัดไปก็จะหย่อนมาปิดอีก

ปิดทางผ่าตัดเล็กแล้ว หมออธิบายการผ่าตัดใหญ่คือต้องตัดกรามและเลื่อนกรามกันเลยทีเดียว เห็นวิธีการแล้วถ้าไม่คอขาดบาดตายไม่ทำแน่นอนครับ ดูน่ากลัวมาก ทำให้เหลือว่าจะใช้ CPAP หรือ ปล่อยตัวเองไม่ต้องรักษา

ทนใช้ CPAP ครั้งที่สอง ปรับตัวได้ ได้หน้ากากใหม่

พอไม่มีทางเลือกอื่นๆ อย่างไงผมก็อยากรักษาไม่อยากให้เป็นภาระกับแฟนและลูกๆ ก็ต้องไปสุดที่ด้าน CPAP ผมจึงเริ่มศึกษาว่าเราจะไม่รำคาญและนอนได้ดีขึ้นด้วย CPAP ได้อย่างไง การศึกษาแบบจริงจังจึงเริ่มขึ้นครับ โดยหลักแล้ว CPAP มีทั้งหมด 3แบบครับ

  • Full Mask – หน้ากาก CPAP ชนิดชนิดครอบปากและจมูก ชนิดนี้มีโอกาศเกิดลมรั่วน้อยที่สุด แต่อาจจะทำให้อึดอัด เหมาะสำหรับผู้มีพฤติกรรม นอนอ้าปาก ผู้สูงอายุ
  • Nasal Mask – หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ แบบครอบจมูก วัสดุซิลิโคนนิ่ม สบายกว่าการใช้งาน Full Mask แต่ก็มีโอกาสรั่วของอากาศ แนะนำสำหรับผู้ใช้ครั้งแรก
  • Nasal Pillows – หน้ากากแบบหมอดรองจมูก เป็นซิลิโคนรองอยู่ใต้จมูก มีรู2รูเข้าจมูมเลย แบบนี้จะสัมผัสกับร่างกายน้อยที่สุด (สบายสุด) ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งาน สบายแต่อาจแลกมาด้วยการรั่วขณะพลิกตัว

สำหรับผู้ที่สนใจอ่านเรื่องหน้ากาก สามารถอ่านตัวเต็มได้ที่นี่ CPAP Mask 3ชนิดเลือกอย่างไง? ข้อดี-เสีย หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ

ไม่มีแบบไหนดีสุด แล้วแต่ความชอบลเลยครับ ผมลองเลือกใช้แบบ Nasal Pillows คิดว่าน่าจะสบายขึ้นเพราะเราเป็นคนขี้รำคาญ ทดลองใช้แล้วดีขึ้นครับแต่ก็ยังมีอาการนอนไม่หลับไม่สนิทอยู่ กว่าจะปรับตัวและนอนได้หลับจริงๆ คือ 1-2อาทิตย์

ปล. เพื่อนผมกลับกันครับ เค้าเป็นคนนอนอ้าปาก ถึงแม้ว่าใช้สายรัดคางแล้วก็ยังนอนอ้าปากอยู่ทำให้ลมรั่วตลอด เค้ากลับต้องไปใช้แบบ Full Mask ที่ครอบทั้งปากและจมูก จะเห็ฯว่าการเลือก Mask ขึ้นอยู่กับกายภาพของแต่ละคน

CPAP Mask ทั้ง3แบบ Infographic เผื่อช่วยให้ใครหลายๆคนตัดสินใจได้

สรุป Sleep Test ดีไหม?

ผมเริ่มจาก แฟนบอกนอกกรน บวกกับตัวเองคัดจมูกหายใจทางปากเวลานอน ผมเริ่มไปหาหมอเพื่อรักษาอาการภูมิแพ้ด้วยยาพ่นยากิน หายใจโล่งขึ้นแต่แฟนยังบอกว่ากรนดังมากอยู่ หมอภูมิแพ้แนะนำให้ทำ Sleep Test เจออาการ OSA ขั้นหนักคือ AHI มากกว่า 30ครั้ง/ชม. ต้องรีบรักษา ผมโชคดีมากที่เจอแต่เนิ่นๆ การรักษาทำให้คุณภาพชีวิต คุณภาพการนอนดีขึ้นอย่างมาก

  • ถ้าสงสัย ยิ่งนอนกรนด้วย แนะนำให้ไปทำ Test ครับ
  • ถ้านอนกรนอยู่แล้ว แถมเพลียระหว่างวัน จะใช้เครื่อง CPAP เลยก็ได้ ตอนนี้มีหลายที่ให้ทดลองใช้ เช่าได้ก่อนซื้อจริง

ปล. ผมเพิ่งมารู้จากการแชร์ประสบการณ์ส่วนตัว เจอว่าคนรอบตัวใช้เครื่อง CPAP เยอะมากกว่าที่คิด คนผอมๆก็ใช้ แปลกใจมาก ตอนแรกคิดว่าตัวเองผิดปกติอยู่คนเดียว

ปัจจุบันเป็นอย่างไร

ปัจจุบันผมใช้ CPAP ทุกวันครับ วันไหนไม่ใช้จะรู้สึกว่านอนไม่ค่อยดี อาการอ่อนเพลียตอนกลางวันดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สำคัญที่สุดคือผมไม่กรนอีกแล้ว

ผมใช้ CPAP แม้จะไปเที่ยวเมืองนอกบ่าสุดไป Swiss และ Italy 15วันผมก็ใช้ CPAP ทุกวันครับ บทความต่อไปคิดว่าจะเขียน CPAP แต่ละตัวที่ผมใช้ทั้งข้อดีและข้อเสีย

เที่ยว 15วัน เอา CPAP ไป และใช้ทุกวัน

แนะนำเลือกซื้อ CPAP กับ Mask

ผมว่าการเลือก Mask มีผลอย่างมากกับการใช้งานมาก (CPAP ยังไม่เท่าไหร่เพราะมีฟังก์ชั่นการทำงานคล้ายๆกัน) สำคัญให้เลือกที่ Mask ครับ


CPAP รุ่นไหนดี? 2024 เทียบสเปค ราคา ข้อดี-ข้อเสีย CPAP Guide

เพื่อนๆหลายคน กำลังตัดสินใจซื้อเครื่อง CPAP หรือเครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกอยู่ เพื่อรักษาอาการนอนกรน อาการหยุดหายใจขณะหลับหรือ OSA (Obstructive Sleep Apnea) โดยทั่วไปเครื่องช่วยหายใจ จะมี Brand หลักอยู่ในตลาด 2-3แบรนด์ด้วยกัน ที่ได้รับความนิยมคือ Resmed, Yuwell และ Philips แต่จากข่าวเรื่องการเรียกคืนเครื่องช่วยหายใจทั่วโลก Global recall จาก Philips

แชร์ปสก. Sleep Test คิดว่าแค่นอนกรน เจออาการ OSA หยุดหายใจรุนแรง ต้องการรักษา ไม่อยากอายุสั้น

แชร์ประสบการณ์ส่วนตัวครับ นอนกรน อันตรายกว่าที่เราคิด!! ตอนแรกคิดว่าเราแค่นอนกรน ทำงานได้ปกติแค่ง่วงนิดหน่อย ปรากฏเจออาการ OSA ร้ายแรงกว่าที่คิด บทความนี้เกิดจากประสบการณ์โดยตรง คือเจออาการ OSA หนัก > ทดลองใช้ CPAP ครั้งแรกอยากจะโยนทิ้ง อยากผ่าตัดแทน > ทนทดลอง CPAP ครั้งที่สอง เริ่มปรับตัวได้ ต้องเลือกหน้ากากให้ตรงกับเราสำคัญมาก สำหรับผมการรักษาอันนี้เหมือนการช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด

CPAP คืออะไร? / รักษานอนกรน OSA หยุดหายใจ?

หลายคนสงสัยและคงเคยได้ยิน เครื่องซี-แพบ CPAP กันมาบ้างจากช่องทาง Social และ Youtube วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเครื่องช่วยหายใจ PAP, APAP, BiPAP, CPAP เครื่องมือที่ช่วยทำให้สุขภาพการนอนของคุณดีขึ้น รักษาอาการกรน OSA อาการหยุดหายใจขณะหลับ ที่ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย ง่วงทั้งวัน นอนไม่อิ่ม เนื่องจากร่างกายขาด Oxygen ขณะนอนหลับ คำศัพท์ควรรู้อาการ OSA AHI

CPAP Mask 3ชนิดเลือกอย่างไง? ข้อดี-เสีย หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ

หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ หรือเรียก Oxygen Mask หรือ CPAP Mask ในท้องตลาดมีให้เลือกหลายชนิดครับ แต่ที่นิยมกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3ชนิด มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เหมาะกับลักษณะบุคคลแตกต่างกันไป บทความนี้จะสรุปให้คุณทำความรู้จัก จุดเด่นของ CPAP Mask ทั้ง 3แบบ ให้คุณเลือกแบบที่เหมาะสม มีสุขภาพที่ดีกันต่อไป บทความนี้เขียนจากประสบการณ์ใช้งานจริงของผู้เขียน ผมใช้งานทุกวันครับ แมสจะทำหน้าที่ครอบรักษาความดัน เป็นทางผ่านของอากาศรวมถึงออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และหน้าที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือการป้องกันการรั่วของอากาศ

เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องผลิตออกซิเจน ความแตกต่างของการช่วยชีวิต

เครื่องช่วยหายใจ ( Ventilator) และเครื่องผลิตออกซิเจน ( Oxygen Concentrator) ฟังดูแล้ว ทั้งสองเครื่องนี้อาจจะดูคล้ายกัน แต่ทุกท่านทราบมั้ยคะว่า ประโยชน์ และการใช้งานของทั้งสองเครื่องนั้น มีความแตกต่างกันอยู่ ในวันนี้ เรามาทำความรู้จักกับทั้งสองเครื่อง เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกันนะคะ   เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หายใจลำบาก หรือไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก และรับออกซิเจนได้ในปริมาณที่มากขึ้น