fbpx

วิธีดูแลความรู้สึกทางจิตใจในวัยสูงอายุ

วิธีดูแลความรู้สึกทางจิตใจในวัยสูงอายุ

ผู้สูงอายุถือว่าเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง อวัยวะต่างๆมีการเสื่อม ไม่ว่าจะเป็นกำลังวังชา หรือสุขภาพร่างกายที่เริ่มถดถอยน้อยลง ความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย กล้ามเนื้อ และสุขภาพทางการเดินเคลื่อนไหวค่อนข้างยากลำบาก สายตาสั้นลง เนื้อหนังเหี่ยวย่น  หรือว่าแม้แต่กระทั่งความรู้สึกทางจิตใจและอารมณ์ ยิ่งอายุมากขึ้นตัวผู้สูงอายุเองจะกลายเป็นคนที่คิดเยอะขึ้น มีบางอารมณ์ก็น้อยใจ เรียกง่ายๆได้ว่าหลายร้อยอารมณ์นั่นเอง เนื่องจากผู้สูงอายุจะประสบพบเจอกับการสูญเสียในชีวิตมากมากเช่น สูญเสียคนใกล้ตัว สูญเสียคู่ชีวิต สูญเสียคู่แต่งงาน และสูญเสียหน้าที่การงาน  หรือมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่อยากเป็นภาระของลูกหลาน ไม่อยากที่จะต้องให้ลูกหลานต้องคอยมานั่งดูแล


“นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุจะต้องปรับตัวมากขึ้น เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สุงอายุ หากผู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวได้และหากสะสมเป็นระยะเวลานานก็อาจจะพบปัญหาเรื้อรังจนทำให้ผู้สูงอายุอาจป่วยกลายเป็นผู้ป่วยโรคซึ่มเศร้า ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงมีความเสี่ยงในการที่จะฆ่าตัวตาย ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่พบบ่อย ได้แก่ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ระแวง และความจำเสื่อม” 

สาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
ปัจจุบันผู้สูงอายุที่เพิ่งจะก้าวเข้าสู่วัยทองหรือสูงอายุเต็มตัวนั้น มักจะพบปัญหาที่รบกวนจิตใจของผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องสัมพันธภาพในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นโดยเฉพาะคนในครอบครัว และสิ่งที่ไวต่อความรู้สึกของผู้สูงอายุเอง โดยจะมีสุขภาพที่ไม่สดชื่นแจ่มใสเท่าที่ควร เนื่องจากมีสาเหตุได้หลากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้สูงอายุ จนทำให้เสียสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ และสิ่งที่ไวต่อความรู้สึกของผู้สูงอายุที่สุดคือการเสียหน้า การเสียคุณค่า และการเสียความเคารพจากผู้อื่น ส่วนปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุก็คือ เรื่องความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกเหงา ความรู้สึกหว่าเว้ จู้จี้ ขี้บ่น การกลัวถูกทอดทิ้ง รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า และนอนไม่หลับ โดยมีความรู้สึกดังนี้

ความเครียด เป็นสภาวะจิตใจและร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่บีบคั้น กดดัน คุกคามให้เกิดความทุกข์ความไม่สบายใจ หรือความไม่พอใจ รู้สึกหงุดหงิด โกรธ คนหรือสภาวการณ์รอบๆตัวอาการความเครียดของผู้สูงอายุเหล่านี้ เราสามารถช่วยเหลือได้โดยวิธีการเข้าไปพูดคุย สร้างสัมพันธภาพให้ผู้สูงอายุ สอบถามสารทุกข์สุขดิบให้สมาชิกคนในครอบครัวสามารถชวนผู้สูงอายุพูดคุย ไม่ให้รู้สึกว่าผู้สูงอายุจะต้องอยู่ตัวคนเดียว ชวนออกไปเที่ยวข้างนอกเปิดหูเปิดตา ทานข้าวนอกบ้าน เดินทางไปเปลี่ยนบรรยากาศการนอนที่ต่างจังหวัด หรืออย่างผู้สูงอายุบางท่าน ไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือ เดินนานๆ ได้ เราก็สามารถหาตัวช่วยสำหรับพาผู้สูงอายุเดินทางออกไปข้างนอก นั่นก็คือรถเข็นไฟฟ้า หรือวีลแชร์ไฟฟ้า ที่เหมาะสำหรับการพกพาใส่ท้ายรถ มีน้ำหนักเบา ให้ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองโดยเป็นการบังคับรถเข็นไฟฟ้าเอง รู้สึกว่าตัวเองเป็นอิสระ ไม่เป็นภาระของใคร อยากจะไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการจะไปก็สามารถไปได้ รถเข็นไฟฟ้าจะช่วยทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกว่ายังสามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง จะให้ความรู้สึกดีกว่าการนอนอยู่บนเตียงที่บ้านด้วยบรรยากาศแบบเดิมซ้ำๆ

เดินทางขึ้นเครื่องบินโดยรถเข็นไฟฟ้า รุ่น Lite1

รีวิวผู้สูงอายุนั่งรถเข็นไฟฟ้าเที่ยวเชียงคาน จังหวัดเลย


การพาผู้สูงอายุได้เดินทางท่องเที่ยว ถือเป็นการเปิดหูเปิดตาที่ดี ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลายความเครียด สนุกสนาน เพลิดเพลิน และทำให้มีความสุขเป็นอย่างมาก วัยสูงอายุเองก็เป็นวัยที่ต้องการท่องเที่ยว ได้พบปะสังสรรค์ พบปะผู้คน ชื่นชมความงานเช่นเดียวกันกับวัยรุ่นหนุ่มสาว แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ที่เป็นปัญหาทำให้ไม่สามารถทำในสิ่งที่ชื่นชอบได้ ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวเองควรเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะพาผู้สูงอายุไปเที่ยวทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เพราะบางทีผู้สูงอายุอาจจะรอคุณชวนอยู่ก็ได้ ที่สำคัญอย่าเพิ่งไปกังวลว่าทริปที่มีผู้สูงอายุร่วมไปด้วย จะทำให้การเดินทางลำบากมากขึ้น หรือจะเคลื่อนพลไปไหนก็กลัวจะไม่สะดวก ไม่คล่องตัว แล้วจะทำให้ทริปนั้นหมดความสนุกไป แต่ที่จริงแล้วหากคุณมีการวางแผนล่วงหน้าที่ดี เตรียมตัวกับเรื่องต่างๆ ให้พร้อม สิ่งที่คุณกังวลก็จะหมดไปได้  หากผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย อาจจะให้ปัญหาที่เกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล  แต่สำหรับผู้สูงอายุหลายๆ ท่านที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเดินช้า เดินไม่ไหว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือ นั่นก็คือรถเข็นวีลแชร์ วีลแชร์ไฟฟ้า หรือรถเข็นไฟฟ้า คงจะมีความกังวลไม่น้อยว่าจะเที่ยวสนุกหรือไม่ พื้นที่ในการพกพารถเข็นวีลแชร์ วีลแชร์ไฟฟ้า หรือรถเข็นไฟฟ้านั้นไม่เพียงพอที่จะสามารถใส่ท้ายรถไปด้วยได้ แต่ในปัจจุบันเรามีรถเข็นที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งรูปลักษณะ คุณสมบัติ ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล หรือเหมาะสำหรับการพกพาให้เลือกหลากหลายยิ่งขึ้น โดยรถเข็นวีลแชร์ วีลแชร์ไฟฟ้า หรือรถเข็นไฟฟ้าที่คนนิยมกันส่วนใหญ่จะเลือกใช้งานจะเป็นรถเข็นวีลแชร์ที่มีน้ำหนักเบา สามารถพับเก็บได้เล็ก กระทัดรัด และที่สำคัญคนดูแลสามารถยกขึ้นรถได้ มีทั้งแบบเป็นรถเข็นวีลแชร์ธรรมดา (Wheelchair Manual) และวีลแชร์ไฟฟ้า,รถเข็นไฟฟ้า (Power Wheelchair) หลากหลายรูปแบบให้ได้เลือกใช้งานได้ตรงตามลักษณะของผู้สูงอายุอีกด้วย

ความวิตกกังวล โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมักจะมีความวิตกกังวลที่ต้องพึ่งพาลูกหลาน และมักจะแสดงออกชัดเจน เป็นความกลัว ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง กลัวไม่มีคนเคารพยกย่องนับถือกลัว ว่าตนเองไร้ค่ากลัวถูกทอดทิ้ง  บางอย่างอาจะจะเป็นปัญหาการวิตกกังวลไปเอง โดยวิธีแก้ปัญหาจะเริ่มด้วยการสอนให้คิด และวิธีปรับมุมมองให้กว้าง หรืออาจจะดึงลูกหลานเข้ามาสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สูงอายุ

รู้สึกว่าลูกหลานไม่เคารพ รู้สึกว่าตนเองถูกลูกหลานทอดทิ้ง รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า เป็นธรรมดาเมื่อผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นก็กลัวว่าลูกหลานที่ค่อยๆเจริญเติบโต จะไม่เชื่อฟังคำสอน และเวลาคุยด้วยจะไม่มีใครฟัง เมื่อบอกลูกหลานแล้วลูกหลานหรือคนในครอบครัวไม่รับฟัง ก็จะมีความรู้สึกน้อยใจ รู้สึกเสียใจคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า การแก้ไขปัญหานี้คือทุกคนในครอบครัวต้องให้เวลากับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก พูดคุยด้วยบ่อยๆ ไม่ให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงา หาเวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกัน หรือพาไปเปลี่ยนบรรยากาศนอกบ้าน เท่านี้ผู้สูงอายุก็รู้สึกว่าคนในครอบครัว และลูกหลานยังให้ความสำคัญ

จู้จี้ขี้บ่น เป็นธรรมชาติและธรรมดาของผู้สูงอายุที่จะจู้จี้ จุกจิก และบ่นเรื่องที่ไม่ได้ดั่งใจมากนัก เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง ด้วยเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและการเคลื่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วย หรือผู้ดูแล เมื่อผู้ช่วยหรือผู้ดูแลทำไม่ถูกใจ ก็จะบ่น จู้จี้ จุกจิก เป็นเรื่องธรรมดา ที่สำคัญต้องไม่ชวนทะเลาะหรือเก็บเรื่องที่ผู้สูงอายุบ่นมาเป็นอารมณ์ แต่พยายามทำความเข้าใจธรรมชาติของผู้สูงอายุที่มีลักษณะ ยํ้าคิดยํ้าทำและติดอยู่กับอดีต และไม่ควรตอบโต้ด้วยอารมณ์ที่รุนแรง

ดังนั้นกล่าวคือสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง ที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันดูแลและเอาใจใส่ จิตใจของผู้สูงอายุเปราะบางคล้ายคลึงกับเราในสมัยเด็กที่ไม่ว่าเจออะไรนิดๆหน่อย ก็มีผลต่อจิตใจ เสียใจ น้อยใจ หรือร้องไห้ นั่นก็เหมือนกับผู้สูงอายุ ที่เมื่ออายุมากขึ้นก็รู้ว่าไม่อยากเป็นภาระของลูกๆหลานๆ และสมาชิกในครอบครัว อยู่ๆ ก็มีอาการน้อยใจ หดหู่ มีความวิตกกังวล เราเป็นลูกเป็นหลาน เป็นคนดูแลผู้สูงอายุ สิ่งที่เราสามารถทำได้นั่นก็คือพูดคุย สอบถามถึงกิจวัตรประจำวัน สารทุกข์สุขดิบทั่วๆไป หรือพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับปัญหาที่เจอในแต่ละวัน ให้คำปรึกษาและให้กำลังใจผู้สูงอายุ ไม่ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่แต่ในบ้าน ควรพาออกไปข้างนอก พบปะสังสรรค์กับครอบครัว หรือพาไปพบเพื่อน แต่หากในขณะที่พาผู้สูงอายุเดินทางออกนอกบ้านแล้วพบปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ อาจจะแนะนำให้ผู้สูงอายุใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน หรืออาจนั่งรถเข็นวีลแชร์ แต่ปกติแล้วผู้สูงอายุที่ยังพอสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จะไม่คอยชอบเป็นภาระของผู้อื่น อยากที่จะเดินทางไปไหนมาไหนอย่างเป็นอิสระ ดังนั้นรถเข็นไฟฟ้า หรือวีลแชร์ไฟฟ้าจึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ชอบใช้ชีวิตแบบอิสระมากที่สุดค่ะ


เตียงไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุรุ่น EB-55 ปรับได้ 5 ฟังก์ชั่น

นอนไม่หลับ ผู้สูงอายุที่มีปัญหานอนไม่หลับ มักจะชอบตื่นขึ้นกลางดึกหรือไม่ก็ ตื่นเช้ากว่าปกติและเมื่อตื่นแล้วก็หลับต่อยาก ทำให้รบกวนสมาธิคนอื่นในบ้านที่กำลังนอนหลับอยู่ด้วย ทั้งนี้สาเหตุของการนอนไม่หลับ อาจเกิดจากการนอนกลางวันมากเกินไป ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือใช้แรงงาน ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียเมื่อได้เวลานอนอาจวิตกกังวลบางเรื่องอยู่ ที่นอนไม่สบายอากาศร้อนหรือเย็นเกินไป มีปัญหาทางร่างกายที่รบกวนการนอน ดังนั้นเราควรสร้างบรรยากาศการนอนให้กับผู้สูงอายุ ให้รู้สึกอบอุ่น เหมือนมีคนคอยดูแลตลอดเวลา หากเป็นผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรใช้เตียงไฟฟ้าปรับระดับได้สำหรับผู้สูงอายุ แต่..จะมีผู้สูงอายุหลายๆ ท่านไม่อยากใช้เตียงไฟฟ้าที่เป็นไฟเบอร์กลาส หรือเตียงผู้ป่วยแบบมือหมุนเนื่องจากจะรู้สึกว่าตัวเองเหมือนผู้ป่วยตามโรงพยาบาล ดังนั้นเตียงไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุที่เราเลือกใช้ ควรเน้นเป็นเตียงไฟฟ้าแบบโฮมแคร์ (Homecare) เตียงไฟฟ้าบ้านๆ ที่สร้างบรรยากาศอบอุ่นให้กับผู้สูงอายุรู้สึกว่าอยู่บ้าน ไม่ใช่ผู้ป่วย เพราะสภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับได้เช่นกัน



และในเวลากลางคืน หากผู้สูงอายุนอนหลับ ไม่ควรที่จะปิดไฟจนมืดเกินไป อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออก นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับก็ได้  เราจึงควรมีแสงไฟเพื่อส่องสว่างให้กับผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุพอจะมองเห็นสิ่งของรอบๆ ตัว ทำให้ไม่อึดอัด แต่หลอดไฟทั่วไปมีแสงที่สว่างจ้ามากเกินไป อาจทำให้รบกวนสายตาของผู้สูงอายุและรบกวนเวลาการพักผ่อนหลับนอนของคนในครอบครัว แต่จะมีอุปกรณ์เสริมไฟใต้เตียงเรียกว่า Smart Care  เป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยในเรื่องดีไซน์ความสวยงาม การสร้างบรรยากาศการนอนให้กับผู้สูงอายุ มีแสงสว่างเล็กน้อยในการนอนเวลากลางคืน และเพื่อฝึกให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ นั่นก็คือการ เปิด-ปิดไฟ หรือปรับระดับแสงสว่างของไฟได้ตามความต้องการ ไฟดวงนี้เป็นไฟ Warm light ถนอมสายตา ไม่สว่างจ้า รบกวนการนอนของผู้สูงอายุและคนในครอบครัว และหากผู้สูงอายุเกิดต้องการลุกขึ้นจากที่นอนกลางดึก ไฟใต้เตียงก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมองเห็นสิ่งกีดขวางได้ ถือว่าช่วยในเรื่องการมองเห็นได้ดีและปลอดภัยมากๆ ค่ะ

“ข้อดีของไฟใต้เตียง จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่น รู้สึกปลอดภัยทุกครั้งเมื่อตื่นขึ้นมากลางดึก ทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นรอบๆ หรือเห็นคนในครอบครัวกำลังหลับอยู่ ดังนั้นความรู้สึกของผู้สูงอายุ ที่รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย รู้สึกเครียดหรือรู้สึกกังวลจะค่อยๆ คลายออกไป การสร้างบรรยากาศในการนอนหลับ เป็นเรื่องที่สมาชิกในครอบครัวสามารถสร้างจำลองให้กับผู้สูงอายุได้ เพื่อการนอนหลับพักผ่อนที่ดีของผู้สูงอายุ “

เตียงไฟฟ้าเพื่อผู้สูงอายุ ติดไฟใต้เตียง (ไฟสามารถปรับระดับความสว่างได้)

วิธีช่วยให้ผู้สูงอายุนอนหลับได้ดียิ่งขึ้นดังนี้
1. ให้ความรู้กับผู้สูงอายุเพื่อปรับแผนการนอนให้เหมาะสม
2. ดูแลให้ผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายให้ได้รับการจัดการหรือควบคุมอาการต่างๆ ที่ทำให้เกิดความไม่สุขสบายตัว ได้รู้สึกดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อการนอนหลับ ลดปัญหาการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน โดยแนะนำให้ผู้สูงอายุปัสสาวะก่อนเข้านอนหรือจัดที่นอนให้อยู่ใกล้ห้องน้ำ หรือเตรียมกระโถนไว้ภายในห้องนอน
3. แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานมื้อเย็นในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป อาหารที่ย่อยยากจะทำให้เกิดการอึดอัดแน่นท้อง นอนไม่หลับ ควรให้ผู้สูงอายุสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย  และสุดท้ายอาจจะให้ผู้สูงอายุดื่มนมอุ่นๆ หรือโอวัลตินก่อนนอน
4. ควรมีกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุได้ทำในระหว่างวัน เช่น ทำความสะอาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ หลีกเลี่ยงการนอนหลับในเวลากลางวัน
5. ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทถั่ว ผักดิบ ของหมักดอง เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดแก๊ซในกระเพราะอาหารมาก ส่งผลให้รู้สึกไม่สบายตัว ทำให้นอนหลับยาก นอกจากนี้ควรงดอาหารที่มีไขมันสูงก่อนนอน เพราะทำให้ระบบการย่อยอาหารต้องทำงานหนัก
6. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนนอน 3 ชั่วโมง เนื่องจากการออกกำลังกายในตอนเย็นหรือก่อนนอนจะเพิ่มระดับการกระตุ้นของระบบประสาทโดยอัตโนมัติ ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น และถ้านอนไม่หลับภายใน 30 นาทีให้ลุกจากเตียงและทำกิจกรรมอื่นเบาๆ จนกว่าจะรู้สึกง่วงนอนอีกครั้ง
7. ช่วยผู้สูงอายุผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอนโดยการนวดตามร่างกายของผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการผ่อนคลายทั้งด้านจิตใจและอารมณ์ ช่วยลดความเครียด การฝึกสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว การฝึกหายใจแบบลึกๆ ก็เป็นการผ่อนคลายร่างกายช่วยให้การนอนหลับของผู้สูงอายุนั้นดีขึ้น
8. ให้ผู้สูงอายุฟังเพลง ฟังธรรมมะเปิดฟังเบาๆ หรืออ่านหนังสือสวดมนต์และหนังสือที่ชอบเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้นด้วยค่ะ

” ปัญหาของผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ เป็นปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการนอนหลับเป็นเวลาที่ร่างกายจะได้พักผ่อนและฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ซึ่งหากผู้สูงอายุไม่ได้นอนหลับพักผ่อนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอแล้ว ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น ความคิดความอ่านช้าลง อ่อนเพลีย ความจำไม่ดี ดังนั้น ต้องหันมาดูแลผู้สูงอายุ ให้สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอประเด็นหลักของอาการนอนไม่หลับเป็นสิ่งที่เกิดกับผู้ที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ คนดูแลหรือคนใกล้ตัวผู้สูงอายุจึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจและปรับตัวเพื่อตั้งรับและแก้ไขปัญหาได้ แนะนำให้ลองนำวิธีทั้ง 8 ข้อข้างต้นไปปฏิบัติตาม  ถ้าอาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้น ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์ตรวจค้นหาโรค ที่เป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับค่ะ ”