การป้องกันผู้ป่วยตกเตียง
การพลัดตกเตียง เป็นปัญหาสำคัญ มักพบเจอในผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ซึ่งพบถึงร้อยละ 70-80 และ 2 ใน 3เป็นเรื่องที่สามารถป้องกันได้ และการพลัดตกเตียงมักเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นลงเตียง การเดินเข้าห้องน้ำ เป็นต้น ซึ่งเรามักจะพบเห็นในข่าวอยู่เสมอ
ผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ประสบอุบัติเหตุตกเตียงส่วนมากจะเป็นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ ผู้เป็นโรคลมชัก โรคละเมอเดิน หรือมีพฤติกรรมที่ผิดปกติขณะหลับ อันตรายจากการตกจากเตียงของผู้สูงอายุอาจทำให้กระดูกในส่วนต่าง ๆ หัก และเกิดผลเสียตามมาอย่างใหญ่หลวง
แม้จะมีอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ เช่น ราวกันตก แต่มันก็อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุอย่างอื่นตามมาอีก โดยที่มันมีโอกาสที่แขน หรือศีรษะของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุจะเข้าไปติดขณะที่เขาไม่รู้สึกตัว ทำให้เกิดอันตรายซ้ำซ้อน
บางคนเลือกจะใช้สายรัดผู้ป่วยให้อยู่กับที่ แต่ก็สร้างความอึดอัด ไม่สบายตัวกับผู้ป่วย และยังเป็นภาพที่ไม่น่าดูอีกด้วย
บางคนอาจจะใช้เบาะรองข้างเตียง ซึ่งก็ช่วยลดแรงกระแทกได้เล็กน้อย เนื่องจากระดับความสูงของเตียงก็ยังสูงมากพอให้เกิดอาการบาดเจ็บของอวัยวะภายในได้อยู่ดี
วิธีป้องกันการตกเตียงอีกอย่างหนึ่งที่ได้ผลดีมาก และไม่เป็นการทำร้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น นั่นก็คือการเลือกใช้เตียงชนิดที่ปรับได้ต่ำเป็นพิเศษ จะตัดโอกาสที่คนป่วยจะเกิดการบาดเจ็บจากการพลัดตกเตียงได้ โดยเตียงระดับต่ำพิเศษควรมีความสูงไม่เกิน 10 ซม. จากพื้นจึงจะป้องกันการบาดเจ็บได้สูงสุด
เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงอันตรายจากการตกเตียง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่ จนถึงคนชราก็มีโอกาสบาดเจ็บรุนแรงจากการตกเตียงได้ ขอให้คุณผู้อ่านและครอบครัวมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดไปนะคะ