fbpx

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุเพิ่มขึ้นการพักผ่อนให้เพียงพอเป็นปัจจัยที่สำคัญ  การนอนไม่หลับเป็นอาการหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุหลาย ๆ ท่านตื่นช่วงกลางดึกแล้วนอนไม่หลับจนถึงช่วงเช้า ทำให้การใช้ชีวิตในช่วงเวลากลางวันไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร หรือบางครั้งนอนไม่หลับเกิน 24 ชั่วโมง ด้วยปกติร่างกายต้องการคือประมาณวันละ 8 ชั่วโมง /  วัน หากผู้สูงอายุนอนไม่เพียงพอ ก็จะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีพลังในการทำกิจกรรมต่างๆ ความสามารถในการจำสิ่งต่างๆ ลดลง คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือคิดได้ช้าลง และก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลได้

 

ปัจจัยการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

 

  1. การเปลี่ยนแปลงของอายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น จะส่งผลกับการนอนหลับของผู้สูงอายุ ทำให้การนอนของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป ความต้องการนอนช่วงกลางคืนลดลง ใช้เวลาจากการเข้านอนกว่าจะนอนหลับมากขึ้น หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนหลับไม่สนิท และตื่นบ่อยขึ้น หากมีพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ให้สังเกตผู้สูงอายุว่าช่วงกลางวัน ผู้สูงอายุมีอาการง่วงนอน อ่อนเพลีย หรือไม่ หากไม่มีผู้สูงอายุมีการนอนหลับที่เพียงพอ

 

    2. การรับประทานยาบางชนิด ยาบางชนิดที่มีผลออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยารักษาอาการสั่น ยารักษาโรคสมองเสื่อม ยาแก้ชัก ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

 

    3. ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ มีสาเหตุ 3 แบบ ได้แก่ การอุดกั้นของทางเดินหายใจ มักเกิดจากการนอนกรน ทำให้รู้สึกไม่สดชื่นในตอนเช้า และง่วงนอนในตอนกลางวันบ่อย ๆ การกรนในขณะนอนหลับนั้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองตีบ

 

    4. ปัญหาทางสุขภาพจิต ผู้สูงอายุบางท่านมีความเครียด ความกังวล หรือภาวะซึมเศร้า ทำให้เกิดตื่นนอนในช่วงกลางดึก และไม่สามารถนอนต่อได้อีก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพในการนอนลดน้อยลง

 

  5. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุบางท่านชอบงีบหลับในตอนกลางวัน เนื่องจากไม่มีกิจกรรมให้ทำในระหว่างวัน รวมไปถึงการดื่มชา กาแฟ ที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับก็ เป็นได้

 

การช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนในผู้สูงอายุ

  1. กำหนดระยะเวลาการเข้านอน – การตื่นนอนให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ
  2. งดการนอนกลางวัน หรือกำหนดเวลาการงีบหลับในตอนกลางวัน ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมงในช่วงบ่าย
  3. สร้างกิจกรรมเพื่อความผ่อนคลาย ลดความเครียด สร้างความสุข
  4. ลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีน ในช่วงเย็น และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน 4 – 5 ชั่วโมง จะได้ไม่ตื่นมาปัสสาวะในส่วนกลางดึก
  5. การใช้ยานอนหลับ แต่ควรอยู่ในความผู้แลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

 

ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูง ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม การนอนที่ดีมีประสิทธิภาพมีผลดีต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เพราะการนอนจะช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อน แต่ถ้ายังพอปัญหาการนอนไม่หลับอาจจำเป็นต้องเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุต่อไป

 


สินค้าเพิ่มเติม