fbpx

ค่าน้ำตาลจาก CGM แม่นยำไหม?

ค่าน้ำตาลจาก CGM แม่นยำไหม?

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง หรือ Continuous glucose monitoring (CGM) ที่เป็นเครื่องติดไว้บริเวณชั้นใต้ผิวหนังและวัดระดับน้ำตาลจากสารน้ำระหว่างเซลล์ จากนั้นจะส่งสัญญาณผ่านระบบบลูทูธเพื่อแสดงผลระดับน้ำตาลผ่านทางสมาร์ทโฟนได้ตลอดเวลา โดยสามารถวัดได้ถึง  6720 – 7,140ครั้ง (ขึ้นกับรุ่นของเครื่องและแต่ละแบรนด์) อีกทั้งยังสามารถตั้งการแจ้งเตือน (alarm) ผ่านแอปพลิเคชันเมื่อมีน้ำตาลสูงหรือต่ำได้แม้ขณะนอนหลับ จึงมีกลุ่มคนไม่น้อยที่ที่ตั้งคำถามว่า ค่าน้ำตาลจาก CGM แม่นยำไหม? แล้วแม่นยำแค่ไหน สามารถช่วยเค้าให้การควบคุมน้ำตาลได้ดีขนาดนั้นเลยหรือไม่วันนนี้เรามีคำตอบ

CGM หรือ Continuous glucose monitoring อย่างที่ทราบกันดีกว่า ที่เป็นเครื่องติดไว้บริเวณชั้นใต้ผิวหนังและวัดระดับน้ำตาลจากสารน้ำระหว่างเซลล์ จากนั้นจะส่งสัญญาณผ่านระบบบลูทูธเพื่อแสดงผลระดับน้ำตาลผ่านทางสมาร์ทโฟนได้ตลอดเวลา โดยสามารถวัดได้ถึง  6720 – 7,140ครั้ง อีกทั้งยังสามารถตั้งการแจ้งเตือน ผ่านแอปพลิเคชันเมื่อมีน้ำตาลสูงหรือต่ำได้แม้ขณะนอนหลับ

หลักการในการวัดระดับน้ำตาลของ CGM นั้น จะไม่ได้วัดตรงๆในเลือดเหมือนวิธี BGM(วัดน้ำตาลโดยการเจาะปลายนิ้ว) และ HbA1C(เจาะเลือดในหลอดทดลองเวลาตรวจร่างกาย) CGM ใช้หลักการที่แตกต่างออกไป โดย CGM จะตรวจวัดระดับ Glucose ในของเหลวใต้ผิวหนัง โดยการติดตั้งไม่เจ็บ Microneedle หรือ Sensor นั้นทำจากโพลิเมอร์เคลือบสารทำปฏิกิริยากับ Glucose ตามในรูป โดยมากในปัจจุบันจะทำแท่นติดเซอเซอร์เป็นลักษณะถ้วย ปากกา เราความสะอาดบริเวณที่จะติดตั้งก่อนด้วยแอลกอฮอล์ ติดตั้งตำแหน่งที่เหมาะ หน้าท้องน้อยเยืองจากสะดือราว 5-10cm หรือ ใต้ท้องแขนซ้ายหรือขวา ตามที่ระบุในแต่ละรุ่น เมื่อพร้อมแล้วกดยิ่ง (แนะนำให้ทำด้วยตัวเอง) เท่าที่ทีมงาน elife ใช้กันเจ็บแต่จะไม่มากเท่าการเจาะปลายนิ้ว ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการบอกค่า 7-15วัน แทนการเจาะเลือดหลาย 6000-7000ครั้ง จึงเป็นที่นิยมให้อเมริกา หมอจะสั่งเป็น Prescription ส่วนในยุโรปและจีน แถบเอเซีย สิงคโปร์สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมี Prescription

CGM เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่รับการยอมรับจาก FDA สหรัฐและยุโรป เป็นการติดตั้ง Sensor วัดระดับน้ำตาลใต้ผิวหนัง โดยการวัดระดับน้ำตาลจากของเหลวใต้ผิวหนัง ทำให้สามารถเห็นระดับน้ำตาลต่อเนื่อง เป็น Report ได้ ลดการเจ็บตัวจากการเจาะปลายนิ้ว แต่มีจุดด้อยเช่นกัน โดยค่าน้ำตาลจะมีความ Delay จากการเจาะน้ำตาลจากเลือดเล็กน้อยประมาณ 15-20นาที เนื่องจากต้องใช้เวลาที่ของเหลวใต้ผิวหนังมีการแลกเปลี่ยนน้ำตาลกับเลือด

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.elifegear.com/cgm-guide/

ค่าที่ได้สรุปเป็น Report ต่างๆให้เลือกดูได้ นักโภชณา คุณหมอดูอาการของคนไข้ เป็นต้น

แล้วทำไมค่า CGM ถึงไม่ตรงกับค่าที่เจาะปลายนิ้ว?

ทั้งนี้ต้องแจ้งก่อนว่าการตวรน้ำตาลในเลือดมีอยู่หลัก 3 ประเภทคือ

HBA1C เป็นการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด ที่โรงบาลใช้เวลาการตรวจและอ่านผล3-5วันแล้วแต่ความพร้อมของแต่ละที่

BGM เป็นการเจาะปลายนิ้วโดยจะเป็นการตรวจวัดผลน้ำตาลในเลือดทั่วไป ไม่สามารถวัดผลอย่างแน่ชัดว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานได้หรือไม่ อาจจะเป็นเพียงแนวทางเพื่อไปสู่กระบวนการ HBA1C

CGM เป็นการตรวจในรู้แบบที่คล้ายกับ BGM แต่ CGM คือการตรวจน้ำตาลผ่านน้ำใต้ชั้นเซล์ ไม่ได้ตรวจจากเลือดโดยตรง ดังนั้นผลก็จะต้องมีความคลาดเคลื่อนกว่าตรวจแบบ BGM และ HBA1C  ทั้งนี้ CGM มีไว้เพื่อดูแนวโน้มน้ำตาลในการทางอาหาร เพื่อให้กลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวาน หรือกลุ่มคนสายรักสุขภาพวัดน้ำตาลอย่ามีประสิทธิภาพ

สรุปแล้วค่าที่ได้จาก CGM และ BGM จะไม่เท่ากันแต่มีแนวโน้มจะใกล้เคียงกันที่สุด เมื่ออยู่ในภาวะ Base Line งดอาหาร ไม่ได้ออกกำลัง โดยค่าความแตกต่างควรต่ำกว่า 10% และไม่ควรเกิน 20% บางบริษัทอย่าง Dexcom จึงทำ Function ในการ Calibration ขึ้นมาคือสามารถใส่ค่าเจาะเลือดลงไปได้ ให้ปรับกราฟให้แม่นยำมากขึ้น **CT และ i3 ณ ปัจจุบันที่เขียนบทความนี้ยังไม่ได้ Function Calibration**

ขนาดเราเจาะเลือดแบบ BGM 3ครั้งติดกัน ใน 5นาที ค่าที่ได้ยังไม่เท่ากัน ค่าการตรวจโลหิด A1C กับ BGM ก็ไม่เท่ากัน แต่มีแนวโน้มไปในแนวทางเดียวกัน CGM เป็นการวัดแบบใหม่ที่ลดการเจาะเลือด ไว้ศึกษาแนวโน้มของร่างกายเพื่อการทานยาและรับประทานอาหาร ติดตามไม่เกิดอาการไฮโป (Hypoglycemia) เพื่อคนใช้ และ คนที่คุณรักต่อไป

BGM แบบเจาะปลายนิ้วจะวัดปริมาณกลูโคสในเลือดโดยตรง ส่วน CGM จะวัดปริมาณกลูโคสในของเหลวใตัชั้นผิวหนัง ดังนั้นจะมีเวลาในการแพร่กลูโคส 10-15นาที

คลิปเพื่อสั้นในการอธิบาย

@elifegear #cgm #เบาหวาน #CGM #เครื่ิองตรวจวัดน้ําตาลในเลือด #วัดระดับน้ําตาล #เบาหวาน ♬ เสียงต้นฉบับ – elifegear

CGM เชื่อถือได้ไหม? MARD

เราจะรู้ได้อย่างว่า CGM ตัวไหนแม่นยำกว่าอีกตัวหนึ่ง ค่าที่ใช้คือ MARD (Mean absolute relative difference) เรียกว่า “มาร์” ปัจจุบันค่า MARD เกือบทุกแบรนด์ใกล้เคียง 10% เช่น Dexcom G7 มีมาร์ 7%, Libre3 และ i3 มีมาร์ 8%, CT3 มีมาร์ 9% เป็นต้นดูแล้วไม่ได้หนีกันมาก จะเห็นว่าแม้ว่ายี่ห้อที่ดีที่สุดในตลาดก็ยังมีค่าเบี่ยงเบน 7-9% เนื่องจากการวัดเป็นการตรวจที่ของเหลวใต้ผิวหนังไม่ใช่เลือดโดยตรง

ยิ่งมีค่า MARD น้อยยิ่งดี โดยการทดลองทางคลินิค จะระบุเลยว่าทดสอบที่ต่ำแหน่งติดตรงไหน เช่น Brand A ทดสอบที่ติดท้องแขน ได้ MARD 8% เป็นต้น

                                                                                                             
MARD เป็นตัวที่ไว้ใช้วัดความแม่นยำใน CGM ขณะนี้แบรนด์ชั้นนำของโลกมีค่า MARD อยู่ที่ 7-9% ในรูป CGM ที่ดีควรจะอยู่ใน Zone A ให้ มากที่สุด

ทำไมต้องซื้อ CGM กับสินค้าที่ผ่าน อย. และตัวแทนที่น่าเชื่อถือเท่านั้น?

CGM มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศไทยเพิ่งได้มีการเริ่มใช้เมื่อไม่นานมานี้ โดยผ่านอนุมัติที่ถูกต้อง แต่ปัจจุบันยังมี Grey Market ที่นำเข้ามาไม่ถูกต้อง เสี่ยงกับการได้สินค้าไม่ได้มารตฐาน สินค้าเสื่อมคุณภาพ หมดอายุ และ ไม่รองรับการใช้งานผ่านแอพ

  • เลือกซื้อ CGM กับตัวแทนอย่างเป็นทางการ และ สินค้ามีอย. เท่านั้น
  • เลี่ยงการซื้อสินค้า Grey Market เสี่ยงกันสินค้าเสื่อมคุณภาพ สินค้า Defect หมดอายุ หรือ การเก็บรักษาไม่ถูกต้อง
  • กรณีซื้อกับตัวแทน สามารถเคลมสินค้าได้ หากเข้าเงื่อนไขการรับประกัน
  • สามารถการใช้งานผ่านแอพ โดยไม่ต้องหลบ หากผิด Serial Number อาจจะใช้บางฟังก์ชั่นไม่ได้

ทำไมใน App ขึ้นเตือนความผิดปกติ Sensor “Abnormal”?

หลายครั้งในการใช้ CGM จะขึ้นการแจ้งเตือนว่า การเชื่อมต่อผิดพลาด, Abnormal Sensor หรือ แจ้งให้เปลี่ยน Sensor โดยสาเหตุจากเหตุการณ์นี้อาจจะมาจากมือถือ หรือ ระบบปฏิบัติการลูกค้าใช้เอง เท่าที่เราทดลองใช้ผ่านระบบ Android และ iOS ระบบแอนดรอยมีแนวโน้มขึ้นสถานะเชื่อมต่อผิดพลาด หรือ Abnormal Sensor มากกว่า นอกจากนี้อาจจะเป็นที่มือถือเครื่องนั้นของทางผู้ใช้

การเชื่อมต่อสัญญาณใช้ Bluetooth เป็นหลัก การเชื่อมต่อไม่เสถียรอาจจะเกิดจากที่มือถือของผู้ใช้เอง หรือ ระบบปฏิบัติการ

อนาคตของ CGM — Insulin Pump

ตอนนี้เริ่มการใช้ CGM ร่วมกับ Insulin Pump ทำให้การใช้ Insulin มีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก อัตโนมัติ โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง เครื่อง CGM จะแจ้งเตือน ให้ Insulin Pump ทำงานโดยอัตโนมัติ ระบบนี้ยังไม่ผ่านการับรองในประเทศไทย CGM ในอนาคตมีแน้วโน้มจะมีขนาดเล็กลง และ มีค่า MARD น้อยลงเรื่อยๆ

ข่าวอีกส่วนหนึ่งคือ เครื่องวัดน้ำตาลแบบไม่ต้องติดตั้ง (non-invasive blood glucose monitoring) คือไม่ต้องเจาะเลือด ไม่ต้องติดตั้งเซนเซอร์เจาะใต้ผิวหนัง เป็นกระแสกันมานานหลายปีที่ผ่านมา เช่น ออกแบบให้เป็นแผ่น Sticker แปะผิวหนังวัดน้ำตาลจากเหงื่อ หรือ ออกแบบมาในรูป Smart Watch ที่ทาง Samsung และ Apple พยายามพัฒนา แต่ยังไม่ปรากฏข้อมูล ความน่าเชื่อถือที่ใช้ทางการแพทย์ได้เท่ากับ CGM ท่านสามารถลอง Search ตาม Google และมีสินค้าบางตัวออกมาแล้ว แต่ค่าที่ได้มีความแตกต่างกับการตรวจโดย Lab ไม่สามารถหาค่า MARD ได้ แต่อาจจะมีผู้พัฒนาระบบนี้ในอนาคต เนื่องจากมีส่วนแบ่งทางการตลาดเบาหวานและการรักษามากกว่า 1พันล้านดอลล่า (CGM มีมูลค่าตลาดอยู่ 1พันล้านดอลล่าในปี 2022)

ปัจจุบัน CGM เป็นที่นิยมและสามารถใช้ทางการแพทย์ และยังไม่มี Technology ใหม่มาแทนที่ในเวลาอันใกล้ แต่เรายังหวังลึกๆ ให้การตรวจน้ำตาลง่ายขึ้นกว่านี้อีก เราจะมา Update กันต่อไป