fbpx

แบตเตอรี่รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าความจุเท่าไหร่จึงจะสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้

แบตเตอรี่รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าความจุเท่าไหร่จึงจะสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้

สำหรับหลายๆ ท่าน ที่กำลังมีแพลนเดินทางไปเที่ยวในช่วงนี้ ไม่มากก็น้อยที่กำลังมองหารถเข็นวีลแชร์หรือวีลแชร์ไฟฟ้าสำหรับช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ ในการพาผู้สูงอายุไปเที่ยว และสำหรับใครหลายๆ ท่านก็คงเกิดความสงสัย ว่ารถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าจากร้าน Elife สามารถใช้เดินทางโดยสารโดยเครื่องบินได้หรือไม่ ?? วันนี้แอดมินจะมาไขข้อสงสัยต่างๆ ให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น โดยเริ่มจากการทำความรู้จักประเภทของแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนว่าทำงานอย่างไร และมีข้อดีอย่างไร

รถเข็นไฟฟ้าน้ำหนักเบาเพียง 13.5 กก. พกพาไปเที่ยวได้ง่าย

จุดเริ่มต้นของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนถูกพัฒนามาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 โดยบริษัท Asahi Chemicals และได้วางตลาดในปี 1991 โดยบริษัท Sorry ซึ่งแบตเตอรี่รุ่นแรกนี้ได้ใช้ในศัพท์มือถือของ Kyocera [1] จุดเด่นของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคือความจุพลังงานและกำลังไฟฟ้าที่สูงกว่าแบตเตอรี่ตระกูลนิกเกิลและกรดตะกั่ว นอกจากนี้ยังมีค่าศักย์ไฟฟ้าสูง มีอัตรการสูญเสียประจุระหว่างไม่ใช้งาน (self-discharge rate) ที่ต่ำ ไม่มีปรากฎการณ์ความจำ และมีความปลอดภัยสูงกว่าแบตเตอรี่ใช้โลหะลิเธียมเป็นขั้ว

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทำงานอย่างไร

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ

  • ขั้วลบ มีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์บอนที่มีรูพรุน (เช่น แกรไฟต์) เคลือบบนแผ่นทองแดง
  • ขั้วบวก เป็นลิเธียมเมทัลออกไซต์เคลือบบนแผ่นอลูมิเนียม
  • สารละลายอิเล็กโทรไลต์ ประกอบด้วยเกลือของลิเธียม เช่น LiPF หรือ LiBF ในตัวทำละลาย เช่น เอทิลีนคาร์บอเนต (ethylene carbonate) ไดเอทิลคาร์บอเนต (diethyl carbonate) และ/หรือโดเมทิลคาร์บอเนต (dimethyl carbonate)
  • เยื่อเลือกผ่าน (separator) กั้นระหว่างขั้วทั้งสอง ทำจากพอลิโพรพิลีน (polypropylene , PP) และ/หรือ พอลิเอทิลีน (polyethylene , PE)

ซึ่งเมื่อมีการอัดประจุ (Charge) ไอออนของลิเธียม จะเคลื่อนออกจากโครงสร้างของขั้วบวกผ่านเยื่อเลือก ผ่านเข้าสู่ขั้วลบเกิดเป็นสารประกอบของลิเธียมและคาร์บอน และขณะเดียวกันอิเล็กตรอนจะเคลื่อนจากขั้วบวกสู่ขั้วลบ ผ่านวงจรภายนอกและขณะเกิดการคายประจุ (Discharge) ปฏิกิริยาจะเกิดในทางตรงกันข้าม ซึ่งกระบวนการที่ไอออนของลิเธียมสอดแทรกเข้าไปอยู่ในโครงสร้างของวัสดุขั้วบวกหรือขั้วลบ เรียกว่า Lithium intercalation และ Lithuim insertion

ข้อดีของแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium Ion)

  1. น้ำหนักเบา :: ธาติลิเธียมที่นำมาใช้ผลิตแบตเตอรี่นั้นเป็นโลหะอัลคาไลน์ที่มีน้ำหนักเบา จึงทำให้ตัวแบตเตอรี่มีน้ำหนักเบาตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้รถพลังงานไฟฟ้าจึงใช้พลังงานในการขับเคลื่อนที่น้อยลงเพราะน้ำหนักที่น้อยลงของแบตเตอรี่ เลยทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
  2. อายุการใช้งานนาน :: เนื่องจากการพัฒนามาหลายรุ่นของแบตเตอรี่ จึงทำให้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมีประจุไฟฟ้าที่สูงกว่า และเก็บประจุไฟได้นาน (Low Discharge) กว่าแบตเตอรี่เจเนอเรชั่นอื่นๆ ทั้งยังมีประสิทธิภาพในเรื่องขิงการชาร์จที่สูงกว่าและใช้งานได้ยาวนานกว่า
  3. ให้พลังงานสูง คงที่ และชาร์จได้เร็วขึ้น :: ในส่วนประกอบของธาติลิเธียมนั้นมีเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่สูงกว่าเซลล์จากโลหะอื่น เป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่มีแรงดันไฟฟ้าสูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจึงถือเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่จะเข้ามาแทนที่พลังงานเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เป็นเซลล์แห้ง :: แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนนั้น ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ เช่น ของเหลว กรด หรือตะกั่ว จึงสามารถรับประกันเรื่องของความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมมากกว่าแบตเตอรี่แบบอื่นๆ

การนำแบตเตอรี่รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน 

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) ได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพาแบตเตอรี่ลิเธ๊ยมไปกับอากาศยาน พ.ศ.2559 โดยมีใจความสำคัญดังนี้

  1. แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำรองขนาดเล็กที่มีค่าความจุไฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100Wh หรือ 20,000 mAh สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องบินได้เลย แต่ไม่สามารถโหลดใต้ท้องเครื่องได้
  2. แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำรองขนาดกลางทีมีค่าความจุไฟฟ้ามากกว่า 100 ถึง 160 Eh หรือ 20,000 ถึง 32,000 mAh สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องบินได้ คนละไม่เกิน 2 ชิ้น แต่ไม่สามารถโหลดใต้ท้องเครื่องบินได้
  3. แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำรองขนาดใหญ่ที่มีค่าความจุไฟฟ้ามากกว่า 160 Wh หรือ 32,000 mAh ไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบินและโหลดใต้ท้องเครื่องบิน นอกจากนี้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำรองที่ไม่ระบุพลังงานไฟฟ้า วัตต์-ชั่วโมง (Wh) หรือระบุขนาดบรรจุของลิเธียมไอออน หรือระบุไม่ชัดเจน ไม่สามารถนำขึ้นเครื่องบิน หรือโหลดใต้ท้องเครื่องบินได้ 

ข้อกำหนดของสมาคมการบินสากล IATA

แบตเตอรี่จะต้องมีลักษณะดังนี้ 

  • ขนาดประจุของแบตเตอรี่ต้องไปเกิน 300Wh
  • ในกรณีที่มีแบตเตอรี่ 2 ก้อน แต่ละก้อนต้องไม่เกิน 160 Wh
  • ภายในแบตเตอรี่ต้องมีฉนวนกันร้อนป้องกันการเกิดการลัดวงจร
  • แบตเตอรี่สามารถถอดออกจากตัวรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าได้

เมื่อผ่านข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้นนี้แล้ว ท่านก็สามารถที่จะนำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินได้ และดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

รถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน
การเดินทางโดยสายการบินแอร์เอเชีย

วิธีการติดต่อสายการบินก่อนเดินทาง

เมื่อท่านได้ทำการจองตั๋วเครื่องบินเรียบร้อยแล้ว ท่านจำเป็นที่จะต้องโทรศัพท์ติดต่อไปแจ้งกับทางสายการบินว่าจะมีรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินไปด้วย เราควรจะแจ้งก่อนที่จะเดินทางอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของสายการบินของแต่ละสาย และเมื่อทางสายการบินได้รับการแจ้งแล้ว ก็จะจัดเตรียมอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่เดินทาง ด้วยนโยบายของสายการบินต่างๆ จะแตกต่างกันออกไป บางสายการบินจะขอให้ท่านกรอกเอกสารเล็กน้อย เพื่อเป็นการให้ข้อมูล

รถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน
แจ้งการนำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินตรงจุด Check-In

วิธีการ Check-In รถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน 

เมื่อถึงสนามบินแล้ว ให้คุณทำการเช็คอินตามปกติ และทำการแจ้งกับทางสายการบินว่าคุณได้โทรมาแจ้งเกี่ยวกับความต้องการที่จะนำรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินล่วงหน้าแล้ว ณ จุดนี้เอง ทางสายการบินหรือทางการท่าอากาศยาน จะนำรถเข็นไฟฟ้าของคุณไป และจะจัดเตรียมรถเข็นผู้ป่วยแบบมือเข็น , รถเข็นผู้สูงอายุ , มาเปลี่ยนให้ท่านนั่ง เพื่อผ่านจุดตรวจรักษาความปลอดภัย และนั่งรถเข็นวีลแชร์ขึ้นเครื่องบิน โดยคุณจะได้รับสิทธิพิเศษในการขึ้นเครื่องบินเป็นลำดับแรก และมีผู้ช่วยในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่นั่งของท่าน

” เมื่อถึงท่าอากาศยานปลายทาง ผู้โดยสารจะได้รับการช่วยเหลือให้นั่งวีลแชร์ผู้สูงอายุ ไปยังสถานที่สายพานรับกระเป๋า ซึ่งจะเป็นที่ ที่รถเข็นไฟฟ้าที่โหลดใต้ธเครื่องบินของคุณจะถูกนำมาให้คุณในจุดนั้น “

วิธีการเก็บรถเข็นไฟฟ้าก่อนขึ้นเครื่องบิน (เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหาย) เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ทางเราแนะนำให้ท่านทำ 3 อย่างดังต่อไปนี้

  1. ไม่ควรนำรถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้าใส่กระเป๋า เพราะถ้าใส่ในกระเป๋าเดินทาง หรือกระเป๋าที่มีลักษณะมิดชิดแล้ว เจ้าหน้าที่ทางสายการบินจะไม่เห็นว่าข้างในเป็นสิ่งของประเภทใด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายผิดวิธีได้เช่น การตกหล่นจากที่สูง
  2. แนะนำให้แร็ปห่อพลาสติกบางๆ (Plastic Wrap) ที่หน้าสนามบิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่เห็นว่าข้างในเป็นวีลแชร์ไฟฟ้า (ซึ่งมีมูลค่า) จะช่วยให้ทางสายการบินช่วยดูแล และเทคแคร์ในการขนย้ายได้เป็นอย่างดี
  3. ควรถ่ายรูปสภาพรถเข็นไฟฟ้า หรือ วีลแชร์ไฟฟ้าของท่านก่อนที่จะมอบให้กับทางเจ้าหน้าที่สายการบิน เพื่อเป็นการยืนยันสภาพความสมบูรณ์ของตัวรถเข็นไฟฟ้า และหากเกิดความเสียหาย ท่านสามารถมีสิทธิเรียกร้องจากทางสายการบินได้

สรุปได้ว่า รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของใครหลายๆ ท่านอีกต่อไป อีกทั้ง สายการบินจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสายที่เดินทางโดยเครื่องบินตามหลักความเท่าเทียมกัน แต่ท่านจะต้องทำตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของทางสายการบินเท่านั้นเอง  นั่นหมายความว่า ท่านต้องเลือกรถเข็นไฟฟ้า หรือวีลแชร์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามหลักการบินพลเรือนตั้งแต่แรก เพื่อให้การเดินทางของท่านเป็นไปได้อย่างราบรื่น เพราะหากท่านเลือกซื้อรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าที่ไม่ผ่านข้อบังคับและเงื่อนไขของทางสายการบินสากล หรือ IATA แล้ว จะนำมาซึ่งผลกระทบที่ไม่สามารถนำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินได้

หากหลายๆ ท่านยังไม่เข้าใจ แอดมินจะอธิบายให้ฟังง่ายๆ 3 ข้อดังนี้ 

  • คุณสามารถนำแบตเตอรี่วีลแชร์ขึ้นเครื่อง ได้ 1 อันซึ่งจะไม่เกิน 300 w h หรือแบตเตอรี่ 2 ก้อน ในกรณีที่แต่ละก้อนจะไม่เกิน 160 WH
  • แบตเตอรี่ต้อง สามารถถอดออกได้และจำเป็นที่ผู้โดยสารจะต้องถือขึ้นในห้องโดยสารเพื่อป้องกัน ในกรณีที่เกิดประกายไฟ จะสามารถที่จะมีคนพบเห็นได้ และสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที
  • อุปกรณ์พิเศษอย่างอื่นเช่นถังออกซิเจน จะไม่เกี่ยวกับข้อกำหนดของ iota แต่จะขึ้นอยู่กับนโยบายของสายการบิน แต่ละสายที่ผู้โดยสารใช้งาน

รถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ถูกต้องตามหลักการบินสากล