fbpx

โรคเบาจืดคืออะไร เหมือนเบาหวานไหม?

โรคเบาจืดคืออะไร เหมือนเบาหวานไหม?

ผมเชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก โรคเบาหวาน อยู่แล้ว ว่าเป็นโรคที่เกี่ยวกับการที่น้ำตาลในเลือดมากกว่าปกติ แต่ผมคิดว่าน้อยคนจะรู้จัก โรคเบาจืด และน้อยคนจะรู้ว่าถึงชื่อโรคจะคล้ายกันและดูเกี่ยวข้องเป็นโรคเดียวกัน แต่จริงๆแล้วกลับเป็นคนอย่างกันแทบจะสิ้นเชิงเลยด้วยซ้ำ

โรคเบาจืด คืออะไร? แตกต่างจากโรคเบาหวานอย่างไร?

โรคเบาจืด คือ โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายเสียสมดุลน้ำ จากการขาดฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone) ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้หลอดไตดูดน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้ร่างกายปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ โดยคนปกติจะปัสสาวะวันละ 1-2 ลิตร แต่ในผู้ป่วยโรคเบาจืดจะปัสสาวะมากกว่าวันละ 2 ลิตร ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจปัสสาวะได้มากถึงวันละ 20 ลิตร และก่อให้เกิดอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง

ในขณะที่โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ เนื่องจากการขาดหรือดื้ออินซูลิน สิ่งที่โรคเบาหวานคล้ายโรคเบาจืด คือเรื่องของลักษณะอาการเด่นที่พบ คือ ปัสสาวะบ่อย-มากผิดปกติ และกระหายน้ำ แต่ในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีน้ำตาลถูกขับออกมาด้วย ในขณะที่โรคเบาจืดจะขับแค่เพียงน้ำออกมาเท่านั้น

โรคเบาจืด แบ่งตามสาเหตุได้ 4 ชนิด

1.โรคเบาจืดจากความเสียหายของสมอง บริเวณสมองส่วนไฮโปทาลามัส หรือบริเวณต่อมใต้สมอง ทำให้ไม่สามารถผลิต สะสม และหลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกได้ตามปกติ จึงทำให้ของเหลวจำนวนมากถูกกำจัดออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งการที่สมองเกิดความเสียหายนั้น เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิ

  • อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • ผลพวงจากการผ่าตัดสมอง
  • การสูญเสียเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงต่อมใต้สมอง
  • เนื้องอกบริเวณสมองส่วนไฮโปทาลามัส หรือต่อมใต้สมอง
  • การติดเชื้อที่สมอง
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคบางชนิดที่ส่งผลให้สมองบวม
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม

2.โรคเบาจืดจากความผิดปกติของไต หลังจากที่ต่อมใต้สมอง หลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกออกมาสู่กระแสเลือดและท่อไต ไตจะเกิดการดูดน้ำกลับเข้าเลือด ทำให้ปริมาตรของเลือดเพิ่มขึ้น และขับถ่ายปัสสาวะได้น้อยลง แต่หากไตเกิดความผิดปกติหรือเสียหาย จนไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกได้ จะทำให้ปัสสาวะออกมามากผิดปกติ โดยสาเหตุที่ส่งผลให้ไตผิดปกติ อาทิ

  • โรคไตเรื้อรัง
  • ทางเดินปัสสาวะอุดตัน
  • ระดับแคลเซียมในร่างกายสูง หรือโพแทสเซียมในร่างกายต่ำจนเกินไป
  • การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของไต เช่น ยารักษาอาการทางจิต(ลิเทียม) ยาต้านไวรัสบางชนิด

3.โรคเบาจืดจากความผิดปกติของกลไกควบคุมการกระหายน้ำ อาจเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจิต หรือการใช้ยาบางชนิด

4.โรคเบาจืดขณะตั้งครรภ์ เกิดจากเอ็นไซม์บางตัวที่สร้างขึ้นจากรก เข้าไปทำให้ไตตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกลดลง ทำให้กลายเป็นโรคเบาจืดขณะตั้งครรภ์ได้

อาการของโรคเบาจืด

  • ปัสสาวะบ่อยและมากกว่าปกติ โดยปัสสาวะมักจะมีสีอ่อน หรือใสเหมือนน้ำเปล่าได้
  • หิวน้ำมากผิดปกติ ดื่มน้ำเท่าไหร่ก็รู้สึกว่าไม่พอ จนแทบจะต้องดื่มน้ำตลอดเวลา
  • ปากแห้ง คอแห้ง รู้สึกอ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย จนอาจมีปัญหาเรื่องสมาธิ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริวง่าย
  • ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว
  • อาจปัสสาวะรดที่นอน เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ขณะนอนหลับ

การรักษาโรคเบาจืด

  • เกิดความเสียหายบริเวณสมอง จะต้องทำการรักษาความเสียหายนั้นให้ปกติก่อน ในรายที่ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกไม่เพียงพอ แพทย์อาจให้ทานยาทดแทนฮอร์โมนที่ขาดไป แต่ถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจพิจารณาให้ไม่ต้องรักษา แต่เพิ่มปริมาณการดื่มน้ำให้มากขึ้นแทน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • ไตทำงานผิดปกติ ก็จะต้องทำการรักษาความผิดปกตินั้นก่อนเช่นเดียวกัน แต่หากความผิดปกตินั้นเกิดจากการใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยา (ห้ามหยุดยาเอง) ถ้าอาการเบาจืดไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
  • กลไกควบคุมการกระหายน้ำผิดปกติ และโรคเบาจืดขณะตั้งครรภ์ การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่ลดปริมาณของเหลวที่บริโภคเข้าไป และอาจสั่งใช้ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกสังเคราะห์ เพื่อช่วยให้ปริมาณปัสสาวะลดลงด้วย ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการทางจิตร่วมด้วย การรักษาอาการทางจิตก็สามารถช่วยให้โรคเบาจืดทุเลาลงได้เช่นกัน และหากการใช้ยาไม่สามารถช่วยได้ก็อาจต้องใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นแทน เพื่อปริมาณลดปัสสาวะลง

 

“เรารู้จักโรคเบาจืดกันมาพอสมควรแล้ว เรามาดูเรื่องโรคเบาหวานบ้างดีกว่า”

 

โรคเบาหวาน (Diabetes) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินซูลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ

ในภาวะที่อินซูลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินซูลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินสุลิน) จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ

สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ซึ่งปกติไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน” หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด

อ่านกันมาถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มกังวลกันแล้วระดับน้ำตาลในเลือดของเรานั้นอยู่ในระดับที่เรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน หรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือยัง แต่ก่อนที่ทุกคนจะรีบโทรไปจองนัดหมดตรวจสุขภาพ ผมจะบอกว่าปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมากจนเราสามารถตรวค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตัวเอง ทำได้ง่ายๆ ด้วยการนำเลือดของเราเข้าเครื่องตรวจแล้วเครื่องก็สามารถแจ้งค่าน้ำตาลออกมาได้ในเวลาเพียง 8 วินาทีเท่านั้น โอ้โห! พูดไปก็หาว่าเว่อร์ แต่สามารถทำได้จริงและสามารถใช้ผลตรวจนี้ยื่นให้หมอดูได้เลย วิธีนี้เรียกว่า การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง (Self Monitoring of Blood Glucose) ซึ่งสามารถตรวจได้เองเป็นประจำ มีข้อดีคือทำให้ทราบความเสี่ยงว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ และทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ทันที

 

ซึ่งนิยมเรียกกันว่า เครื่องตรวจน้ำตาล หรือ เครื่องตรวจเบาหวาน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อความแม่นยำในการวางแผนการรักษา และประเมินความเสี่ยงการเป็นโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือคนที่ชอบทานหวานอย่างเราก็แอบมีไว้ตรวจเพื่อความสบายใจก็ไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ

แล้วระดับน้ำตาลเท่าไหร่จึงจะเรียกว่าเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานละ?

  • ระดับน้ำตาลในเลือด เมื่องดอาหารอยู่ระหว่าง 70-100 mg/dl หลังทานอาหารน้อยกว่า 140 mg/dl : คุณอยู่ในภาวะปกติ

 

  • ระดับน้ำตาลในเลือด เมื่องดอาหารอยู่ระหว่าง 100 – 125 mg/dl หลังทานอาหารอยู่ระหว่าง 140-200 mg/dl : คุณมีภาวะความเสี่ยง หรือเรียกว่า เบาหวานแฝง

 

  • ระดับน้ำตาลในเลือด เมื่องดอาหารระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 mg/dl หลังทานอาหารมากกว่า 200 mg/dl : คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้พัฒนาให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถตรวจน้ำตาลในเลือด ทั้งระบบที่พบเห็นได้ทั่วไปคือเจาะเลือดที่ปลายนิ้วตรวจ BGM และ CGM การตรวจกลูโคสแบบต่อเนื่อง ด้วยการติดตั้ง Sensor 10-15วัน CGM ใช้กันแพร่หลายใน อเมริกาและยุโรป และประเทศพัฒนาแล้ว แต่อาจจะยังใหม่ในไทย อีไลฟ์เป็นศูนย์รวม CGM ชั้นนำในไทยมีให้เลือกมากที่สุด

CGM สามารถทดแทนการเจาะเลือดได้ 6,000-7,000ครั้ง และยังทราบระดับน้ำตาลเป็นกราฟ แทนที่จะเป็นแบบจุดของเวลา BGM ทำให้ตระหนักรู้การกินอาหาร การทานยา และ ทราบเทรนสุขภาพของตน ปัจจุบัน CGM อยู่ในประกันขั้นพื้นฐานในอเมริกา รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่าย เพราะช่วยให้คนรู้สุขภาพของตนได้บละเอียดขึ้น ตระหนักให้ตนรักษาสุขภาพ เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่ให้คนไทยได้ใช้เทคโนโลยีนี้

การตราจน้ำตาลมีกี่แบบ

  1. แบบ CGM สามารถรายงานผลแบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนเมื่อระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำกว่าค่าที่กำหนด ช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลอย่างได้ผล การแสดงผลแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้ทราบว่าอาหารชนิดใดที่ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทราบปริมาณการกินที่เหมาะสม นำไปสู่การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  2. แบบ BGM  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบเจาะที่ปลายนิ้วมือและจะมีตัวเครื่องประมวณค่าน้ำตาล บางเครื่องต้องจดค่าเพื่อนำส่งคุณหมอบางเครื่องเก็บค่าไว้ในเครื่องเราก็ไม่สามารถรู้ได้ แต่ตอนนี้มีการเชื่อมตัวเครื่องตรวจเข้ากับแอพพิเคชั่นทำให้ผู้ตรวจสังเกตุและปรับพฤติกรรมเบื้องต้นได้เองแต่ก็ต้องเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์เหมือนเดิม
  3. แบบ HbA1C เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดที่โรงพยาบาลได้ค่าที่คงที่ แต่จำเป็นต้องไปทำที่โรงบาลเท่านั้นและใช้เวลาอ่านผลนาน

 

 

HbA1C

Hemoglobin A1C

 

BGM

Blood Glucose Monitoring

 

CGM

Continuous Glucose Monitoring

  • เก็บตัวอย่างเลือดปริมาก
  • ทำที่โรงบาลหรือ Lab เท่านั้น
  • เจาะเลือดที่ปลายนิ้ววันละ 1-7 ครั้ง
  • ซื้อได้ทั่วไป
  • ติด sensor ที่แขนหรือหน้าท้อง
  • บอกค่าต่อเนื้อง
  • ทำเองที่บ้านได้
  • บอกระดับน้ำตาลในเลือดแบบกราฟ
  • เป็นการตรวจมาตราฐานในปัจจุบัน
  • ราคาไม่แพง
  • ราคาไม่แพง*
  • ใช้งานง่าย
  • เก็บข้อมูลครบถ้วน
  • ช่วยรักษาระดับน้ำตาล
  • ลดจำนวนการเจาะน้ำตาล
  • ต้องตรวจที่โรงบาล*
  • ใช้เวลานาน
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่ม
  • ลืมตรวจ ตรวจผิดเวลา
  • ได้ข้อมูลเฉพาะเวลาที่เจาะเท่านั้น
  • เจ็บปลายนิ้วทุกครั้งที่เจาะ
  • ราคาสูงกว่า*
  • เซ็นเซอร์จะติดตัวตลอดตามเวลากำหนด

 

หลักการทำงานของ CGM เซนเซอร์จะได้ไม่วัดน้ำตาลที่เลือดโดยตรง แต่จะวัดน้ำตาลที่ชั้นของเหลวใต้ผิวหนัง ขณะติดตั้ง เครื่องจะยิงเข็มเล็กเซนเซอร์เล็กๆ ทำจาก Polymer ไปยังชั้นใต้ผิวหนัง
เมื่อ Micro Needle ทำปฏิกิริยากับ Glucose จะส่งสัญญาณ Bluetooth ไปที่มือถือ

ข้อดีของ CGM การตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง

เครื่องวัดน้ำตาลแบบเจาะปลายนิ้ว (BGM) สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและมีราคาถูก แต่ก็มีจุดด้อยที่ผู้ใช้จะต้องเจ็บตัวทุกครั้งเมื่อต้องเจาะนิ้ว และการผลบอกผลมีลักษณะเป็นจุดของเหตุการณ์เท่านั้น ไม่ได้เห็นกราฟต่อเนื่อง

CGM เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่รับการยอมรับจาก FDA สหรัฐและยุโรป เป็นการติดตั้ง Sensor วัดระดับน้ำตาลใต้ผิวหนัง โดยการวัดระดับน้ำตาลจากของเหลวใต้ผิวหนัง ทำให้สามารถเห็นระดับน้ำตาลต่อเนื่อง เป็น Report ได้ ลดการเจ็บตัวจากการเจาะปลายนิ้ว แต่มีจุดด้อยเช่นกัน โดยค่าน้ำตาลจะมีความ Delay จากการเจาะน้ำตาลจากเลือดเล็กน้อยประมาณ 15-20นาที เนื่องจากต้องใช้เวลาที่ของเหลวใต้ผิวหนังมีการแลกเปลี่ยนน้ำตาลกับเลือด

✅ ผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งประเภท1 และ 2
✅ คนรักสุขภาพ ต้องการดูระดับน้ำตาลในเลือด
✅ ดูพฤติกรรมของตนเอง
✅ ดูภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
✅ ต้องการลดการเจาะเลือด ลดเจ็บ
🔥 บอกระดับน้ำตาลทุก 3นาที สร้างเป็นกราฟ
🔥 Realtime Report
🔥 Daily Report

 

เปรียบการวัดแบบ BGM (Fingerstick) กับ CGM
กราฟทางซ้ายของ BGM จะเห็นจุดที่เจาะเลือดทั้งหมด 4ครั้งในหนึ่งวัน จะเห็นว่าระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงที่ดีทุกช่วงเลย แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างงั้น ระดับน้ำตาลในเลือดเราเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากสภาพร่างกายของบุคคลนั้น การกินอาหาร ณ เมื่อนั้นๆ กราฟ CGM ทางขวาจะเป็นว่ามีช่วงที่ระดับน้ำตาลสูง และ ต่ำกว่าขอบเขตควบคุม CGM จึงเป็น Personalize Medical ที่ดีกว่าจะเป็นพฤติกรรมหรือ Pattern ของบุคคลนั้นๆแบบ Realtime
ตย.อย่างประกอบไม่ใช่ข้อมูลของบุคคลในรูปจริงๆ
จะเห็นว่าแต่ละบุคคลมี Pattern ของระดับน้ำตาลในร่างกายไม่เหมือนกัน การทราบ Pattern ของตัวเองสามารถปรับการรักษาโดยแพทย์ หรือ เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายได้ดียิ่งขึ้น
สามารถติดด้วยตัวเอง สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ปกติ กินข้าว ออกกำลังกาย ลดการเจาะเลือด เจ็บตัว
บอกผล Realtime ทุกๆ3นาที ติดตามพฤติกรรมของบุคคลนั้นได้ รู้แนวโน้ม ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก หรือ การฉีดอินซูลิน
ค่าที่ได้สรุปเป็น Report ต่างๆให้เลือกดูได้ นักโภชณา คุณหมอดูอาการของคนไข้ เป็นต้น

ข้อมูลจาก CDC ชาวอเมริกา 84ล้านคน หรือกว่า 1ใน3 เสี่ยงเป็นโรคก่อนเบาหวาน คือระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ไม่ถึงขั้นเป็นเบาหวานประเภท2 แต่มีโอกาสสูงมากที่จะพัฒนาเป็นเบาหวาน

ผู้ใหญ่กว่า 1ใน3 เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน Prediabetes คือระดับน้ำตาลเกินกว่าค่าเฉลี่ย แต่ยังไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะพัฒนาต่อไปเป็นเบาหวานประเภท2 หากยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน พักผ่อน และออกกำลังกาย อีไลฟ์ทำแบบประเมินความเสี่ยงเบาหวาน ใช้เวลาทำเพียง 2นาที เพื่อคัดกรองสำรวจตัวท่านเอง


Highlight


แบบทดสอบประเมินอื่นๆ

อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง