โรคอ้วนเป็นโรคสำคัญที่ WHO ขึ้นบัญชีและเราทุกคนมีความเสี่ยงกับโรคนี้มากขึ้นจากพฤติกรรมการกิน และการออกกำลังกาย ดัชนีชี้วัดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือดัชนีมวลรวมร่างกาย Body Mass Index แบบทดสอบนี้ทำเพื่อประโยชน์ เพื่อทราบดัชนีของตนเองและวิธีปฏิบัติให้เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของทุกคน
อ้วนมาก(อันตราย) >35 (Severe obesity)
ความอ้วนอยู่ในระดับอันตราย ควรลดน้ำหนัก หรือ ปรึกษาแพทย์เพื่อลดน้ำหนัก โดยเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย 40.0 ยิ่งแสดงถึงความอ้วนที่มากขึ้น ควรไปตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์ หากปล่อยไว้อาจนำมาซึ่งโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต หัวใจ และอื่นๆ
อ้วนมาก 30 – 34.9 (Obesity)
ค่อนข้างอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในระดับนี้ จะต้องปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และควรเริ่มออกกำลังกาย และหากเลขยิ่งสูงกว่า 40.0 ยิ่งแสดงถึงความอ้วนที่มากขึ้น ควรไปตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์
อ้วน 25.0 – 29.9 (Overweight)
อ้วนในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก ๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพ
ปกติ เหมาะสม 18.5 – 24.9 (Normal weight)
น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทยคือค่า BMI ระหว่าง 18.5-24 จัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลโรคที่เกิดจากความอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ น้อยที่สุด ควรพยายามรักษาระดับค่า BMI ให้อยู่ในระดับนี้ให้นานที่สุด และควรตรวจสุขภาพทุกปี
ผอมเกินไป < 18.5 (Underweight)
น้ำหนักน้อยกว่าปกติก็ไม่ค่อยดี หากคุณสูงมากแต่น้ำหนักน้อยเกินไป อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย การรับประทานอาหารให้เพียงพอ และการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อสามารถช่วยเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
Note : ค่า BMI จากโปรแกรมคำนวณนี้ เป็นค่าสำหรับชาวเอเชียและคนไทย ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติ ค่า BMI เฉลี่ยของหญิงไทยคือ 24.4 และของชายไทยคือ 23.1 (อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป)
แบบประเมินอื่นๆ
อีไลฟ์ได้ทำแบบประเมินสุขภาพอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของท่านในการรู้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังการรักษาสุขภาพให้ดียิ่งๆขึ้น