fbpx

กรดไหลย้อน ปรับท่านอนอย่างไร เพื่อให้หลับสบายตลอดคืน

กรดไหลย้อน ปรับท่านอนอย่างไร เพื่อให้หลับสบายตลอดคืน

กรดไหลย้อน ปรับท่านอนและที่นอนยังไง ให้ไม่อันตรายและหลับสบายตลอดคืน

“กรดไหลย้อน” สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะการดื่มน้ำอัดลม/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป กินแล้วนอนทันที ไปจนถึงพันธุกรรม ใครที่เคยเป็นคงทราบดีว่า โรคนี้ทรมานขนาดไหน แต่ทราบหรือไม่ว่า ถ้ารักษาและปรับพฤติกรรมบางอย่างก็สามารถหายขาดได้นะ โดยเฉพาะท่านอนและที่นอน แต่จะต้องปรับยังไงบ้าง มาดูกัน!

การนอนเกี่ยวอย่างไร กับ กรดไหลย้อน??

เชื่อหรือไม่ งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า กว่า 60% ของผู้ที่มีปัญหากรดไหลย้อน แสบทรวงอก ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับได้โดยตรง ทำให้นอนไม่หลับ หรือเกิดอาการเสียดท้อง เจ็บหน้าอก และไอ บางครั้งส่งผลกระทบถึงการใช้ชีวิตในช่วงกลางวันด้วย รวมถึงพบแนวโน้มว่า ผู้ที่มีปัญหากรดไหลย้อนอาจมีปัญหาหยุดหายใจขณะนอนหลับ เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตด้วย หากมองในอีกมุมหนึ่งการนอน ท่านอน และที่นอนก็มีผลต่อการรักษาของผู้ที่มีปัญหากรดไหลย้อนด้วยเช่นกัน

ปรับท่านอน ให้เหมาะกับชาวกรดไหลย้อน

1) หลีกเลี่ยงท่านอนราบแบบหงาย เพราะจะทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาให้แสบบริเวณช่วงอกขึ้นไปได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเกณฑ์อ้วน แรงกดที่กระเพาะอาจขับกรดเข้าไปในหลอดอาหารและดันไปในส่วนต่างๆ ได้

ท่านอนราบแบบหงาย

2) ท่านอนที่เหมาะสมคือ นอนตะแคงซ้าย แทนที่จะนอนตะแคงขวา เนื่องจากถุงเก็บอาหารของกระเพาะอาหารจะอยู่บริเวณด้านซ้าย หากตะแคงขวารูเปิดหลอดอาหารจะอยู่ต่ำกว่าทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาได้ รวมถึงควรปรับที่นอนให้ช่วงลำตัวในส่วนบนสูงขึ้น ประมาณ 4-6 นิ้ว หรือใช้หมอนที่มีความหนาประมาณ 6-10 นิ้ว เพื่อไม่ให้ท่านอนกลายเป็นท่านอนราบตรงอย่างข้อ 1)

นอนตะแคงซ้าย แทนที่จะนอนตะแคงขวา

ปรับแต่งที่นอนอย่างไร ให้กรดไหลย้อนหายขาด!

หลังจากที่ Elife ได้พูดถึงเรื่องท่านอนกันไปแล้ว มาดูกันดีกว่าว่า ชาวกรดไหลย้อนควรปรับแต่งที่นอนอย่างไรให้อาการเหล่านี้หายขาดดี

1) เตียงนอนรองรับสรีระ สามารถเลือกใช้เตียงปรับไฟฟ้าที่สามารถปรับได้เพื่อรองรับสรีระทุกท่านอนของผู้มีปัญหากรดไหลย้อนได้ดี ไม่ว่าจะนอนหงายหรือนอนตะแคงซ้าย

เตียงไฟฟ้า Cozy3 ปรับได้ตามสรีระ ป้องกันอาการกรดไหลย้อน

2) หมอนหนา หมอนที่นำมาใช้พิงตั้งแต่ในส่วนช่วงบนไปจนถึงศีรษะควรมีความหนาประมาณ 6-10 นิ้ว และไม่อ่อนนุ่มยวบจนทำให้ความสูงของหัวไม่เหมาะสมกับท่านอนของคนที่มีปัญหากรดไหลย้อนและอาจทำให้กรดไหลขึ้นสู่ช่วงบนเหมือนการนอนราบได้

หมอนหนุนมีความหนาไม่น้อยกว่า 6-10 นิ้ว

3) หลีกเลี่ยงผ้าห่ม หรือการกอดตุ๊กตา/หมอนข้างที่มีน้ำหนักมาก อาจทำให้อึดอัดและเกิดอาการเสียดแน่นท้องได้ หากท่านอนไม่เหมาะสม

นอนโดยหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าห่ม

” สำหรับท่านใดที่กำลังพบปัญหากรดไหลย้อน แต่รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายขาดซักที นอกจากการรักษาตามที่แพทย์สั่งแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน ท่านอน ที่นอน หมอน ฯลฯ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะฉะนั้นมาปรับเพื่อเปลี่ยนให้กรดไหลย้อนของคุณดีขึ้นกันเถอะ “