fbpx

4ค่า ต้องรู้เพื่อสุขภาพที่ดี SpO2, อุณหภูมิ, ความดันโลหิต, น้ำตาลในเลือด

4ค่า ต้องรู้เพื่อสุขภาพที่ดี SpO2, อุณหภูมิ, ความดันโลหิต, น้ำตาลในเลือด

คุณรู้ไหมว่านอกจากน้ำหนักและส่วนสูงแล้ว ยังมี 4ค่าสำคัญที่คุณควรรู้เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ และที่สำคัญคุณสามารถวัดค่าดังกล่าวได้เองที่บ้าน

  • ความดันโลหิต Blood Pressure หัวใจทำหน้าที่บีบตัวดันให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย การวัดความดันสากลใช้หน่วย มิลลิเมตรปรอท ความดันบีบตัวไม่ควรเกิน 120mmHg, คลายตัวไม่เกิน 80mmHg โรคที่เกี่ยวเนื่องกับความดันคือ ความดันต่ำนำมาซึ่งอาการ หน้ามืด, วิงเวียนศรีษะ อ่อนแรง, ซีด ส่วนภาวะความดันสูงทำให้มีความเสี่ยง เป็นโรคหลอดเลือดในสมอง(Stroke) โรคหัวใจ
  • ความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือด SpO2 หรืออากเรียกว่าบปริมาณ ออกซิเจนในเลือด เป็นปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เช่น 99%SpO2 แสดงว่าในเลือดมีออกซิเจนอยู่ถึง 99% เต็มความจุ/ความอิ่มตัวที่เลือดสามารถรับได้ เป็นดัชนีชี้การทำงานของระบบหายใจ และไหลเวียนโลหิต ปกติไม่ควรต่ำกว่า 96%
  • อุณหภูมิร่างกาย Body Temperature อุณหภูมิร่างกายมนุษย์อาจแตกต่างตามชาติพันธุ์ อายุ เพศ แต่จะอยู่ในช่วง 35.4-37.4°C หากสูงกว่าแสดงอาการไข้ต่ำ อาจเกิดจากการอักเสบ หรือ การติดเชื้อในร่างกาย
  • ระดับน้ำตาลในเลือด Blood Glucose ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด แม้ว่ากลูโคสมีความสำคัญอย่างมากกับร่างกาย เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ แต่ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลมากไป ส่งผลทำให้เกิดผลร้ายตามมากมาย ภาวะเบาหวาน เป็นต้นกำเนิดของโรคเรื้องรังมากมาก เพื่อเลือดจะข้นขึ้นเมื่อมีน้ำตาลสูง ส่งผลให้ความดันสูง, โรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดในสมอง เป็นต้น

เราจึงความตรวจ เฝ้าระวังตัวเอง และคนที่คุณรักอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอาการเสี่ยง หรือ ป้องกันได้อย่างทันท่วงที ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ไว้ตรวจค่าทั้ง 4สามารถหาซื้อได้ทั่วไป **โปรดอ่านคู่มือ เอกสารแนบประกอบการใช้งาน**

Blood Presure Meter

เครื่องวัดความดัน ใช้วัดความดันของเลือดนิยมวัดที่แขน หลักการทำงานคือการสูงแรงดันลมเข้าที่สายรัดบริเวณเส้นเลือดดำเหนือข้อพับแขน 2-3cm แรงดันมีหน่วนเป็นมิลิเมตรปรอท(สมัยก่อน ระบบแมนนวลจะได้หลอดที่บรรจุปรอทใช้ในการวัดความดัน ปัจจุบันแม้เป็นระบบ Digital แล้วก็ยังใช้หน่วนนี้อยู่) โดยมากเครื่องจะบอกอยู่ทั้งหมด 3ค่า แรงดันเมื่อหัวใจบีบตัว (Systolic), แรงดันเมื่อหัวใจคลายตัว (Diastolic) และอัตราการเต้นของหัวใจในหนึ่งนาที เครื่องมือในปัจจุบันใช้ค่อนข้างง่าย สามารถตรวจวัดได้ด้วยตัวเอง

รัดแถบวัดบริเวณเหนือข้อพับ กดปุ่มให้เครื่องทำงาน เครื่องปั๊มลมเข้ามาในแถบรัด กระบวนการทั้งหมดอาจจะเวลา 20-60วินาที แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ

Oximeter

เครื่องปริมาณออกซิเจนในเลือด เป็นเครื่องยอดนิยมในช่วงที่ไวรัส Covid-19 เนื่องจากเชื่อสร้างความเสียหายแก่ปอด ทำให้ผู้ป่วยมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติที่อยู่ 96-100% หลักการทำงานของเครื่องออกซิมิเตอร์ จะใช้การปล่อยแสงในช่อง 2ความยาวคลื่น(940nm สำหรับฮีโมโกลบินที่มีออกซิเจน 660nm สำหรับฮีโมโกลบินที่ขาดออกซิเจน) ความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือด = ปริมาณHb ที่มีออกซินเจน / ปริมาณHb ที่ขาดออกซิเจน

ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนปริมาณ Hb ที่ออกซิเจนในเลือดที่ Hb นำพาสู่เซลล์เพื่อใช้ในกระบวนสร้างพลังงาน หากร่างกายขาด O2 จะทำให้อ่อนเพลีย ปวดหัว ไม่มีเรี่ยวแรง โดยมาก Oximeter จะสามารถวัค่า Pulse Rate การเต้นของหัวใจด้วย

หลักการทำงานของเครื่อง Oximeter ที่มา : Chem Chula ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา

Thermometer

เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักปรอทวัดไข้กันทุกคน ต้องเคยใช้และผ่านตามมาไม่มากก็น้อย ปัจจุบัน Thermometer วัดไข้นิยมใช้หลักการแสง อินฟราเรด สะท้อนจุดที่ต้องการวัดแปลงเป็นค่าอุณหภูมิ ระบบนี้หลีกเลี่ยงการสัมผัส non-contact thermometer ใช้งานโดยเล็งไปที่หน้าผาก ให้เครื่องอ่านอยู่ห่างประมาณ 3-4cm โดยปกติแล้วมนุษย์มีอุณหภูมิร่างกายอยู่ในช่วง 35.4-37.4 °C

**การตรวจที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอดรับที่สุดคือ ปรอทวัดไขแบบขยายตัวของของเหลว เช่น น้ำปรอทหรือสารเคมี(มักใส่สีแดง) แต่ใช้เวลานานในการอ่านค่า อาจจะใช้ประกอบกันระหว่าง Thermometer แบบ Digital

Blood Glucose Meter

การวัดระดับกลูโคสในเลือด ทั้งแบบ BGM และ CGM สามารถทำได้ที่บ้าน แบบเจาะปลายนิ้ว BGM ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและหาซื้อง่าย อาจจะมีตัวเลือกอื่นที่ลดการเจาะนิ้วและให้ผลน้ำตาลอย่างต่อเนื่องทุก 3นาที เป็นระบบ CGM(Continuous Glucose Monitoring) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ CGM CT10(ผ่าน อย.ไทยแล้ว)

หลักการทำงานของ BGM ระบบเจาะนิ้ว เริ่มด้วยการเอาเข็มเจาะที่ปลายนิ้ว เพื่อให้ตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง นำเครื่องอ่านค่า BGM ใส่ตัวอย่างเลือดจากแถบ เลือดที่ออกมาจะทำปฏิกิริยาเคมีกับแถบวัดน้ำตาล(แต่ละยี่ห้อให้ สารเคมีไม่เหมือนกัน) ออกมาเป็นค่าน้ำตาล ณ จุดเวลานั้นๆ การเจาะอาจจะมีเริ่มตั้งแต่ 1-8ครั้งต่อวัน ตามแต่อาการและพฤติกรรม โดยระดับน้ำตาลขณะอดอาหารควร 70-100mg/dl และหลังอาหาร <200mg/dl

BGM ใช้หลักการในการ
CGM ทำโดยการติดเซนเซอร์ที่ตัว สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ โดยสามารถใช้ได้ 7-14วัน แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ

**ข้อระวัง ความทำความสะอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วย แอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้ง ไม่ควรใช้เข็มเจาะซ้ำ ห้ามใช้เจาะร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด การทิ้งเข็ม,แถบตรวจวัดต้องดำเนินตามหลักการสุขอนามัย เพื่อตัวคุณและคนอื่น**


เครื่องวัดสุขภาพทั่วไป

เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด