fbpx

ทำไมคนไทยถึงติดกินหวาน?

ทำไมคนไทยถึงติดกินหวาน?

เคยสงสัยกันมั้ยคะว่า “ทำไมเราถึงได้ติดกินหวาน” อย่างที่ทราบกันดีของกินยอดนิยมส่วนมากก็มักจะมีรสชาติหวาน ไม่ว่าจะเป็น ชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่ช็อกโกแลตก็ตาม ต่างก็เป็นอาหารที่มีรสชาติหวาน และหลายคนมักชอบทานรสหวานมากกว่ารสอื่น ๆ เพราะถูกปาก แถมเวลาเครียด ๆ ถ้าได้ทานเข้าไปยังรู้สึกดีอีกด้วย โดย สถิติจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยข้อมูลว่า คนไทยกินน้ำตาลถึงวันละ 25 ช้อนชา ซึ่งมากกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) กำหนดไว้ คือ ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา แสดงให้เห็นว่าคนไทยกินน้ำตาลมากกว่าถึง 4 เท่า ที่สำคัญยังพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากถึง 300,000 คนต่อปี แต่เมื่อทานของหวานมาก ๆ แล้ว บางคนก็เกิดอารมณ์หงุดหงิด หรืออยากทานของหวานอยู่ตลอด แม้ไม่ได้มีน้ำตาลต่ำ ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณของ ภาวะเสพติดหวาน”

ภาวะเสพติดน้ำตาล

ภาวะเสพติดน้ำตาลมีงานวิจัยหลายชิ้นได้นำเสนอเรื่องของการเสพติดน้ำตาล  โดยได้มีการกล่าวถึงว่า การที่คนติดสารเสพติดนั้น ก็เพราะเกิดความพึงพอใจจากการเสพยา จึงทำให้เกิดการใช้ซ้ำที่นำไปสู่การเสพติดจนขาดไม่ได้ในที่สุด ภาวะการเสพติดน้ำตาลเองก็เช่นกัน เมื่อเราได้ทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เช่น ขนมหวาน เครื่องดื่มเย็นต่าง ๆ (ชาเขียว กาแฟเย็น ชาเย็น) ก็จะทำให้เราเกิดความพึงพอใจในรสชาติของมัน ส่งผลให้สมองมีการจดจำไว้ว่า ถ้าหากต้องการพึงพอใจเช่นนี้ ก็ควรมีการดื่มหรือรับประทานซ้ำอีกครั้ง ถ้าหากเราฝืนการทำงานนี้ คือการบังคับตัวเองไม่ให้ทาน ก็อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ไม่ต่างกับผู้ที่ใช้ยาเสพติดเลย ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นคนจำนวนมากที่จะต้องดื่มหรือทานขนมหวานเป็นประจำทุกวัน ถึงแม้จะรู้ตัวดีว่า อาหารเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายก็ตาม

อาการของผู้ที่เสพติดน้ำตาล

  • อยากทานของหวานตลอดเวลา อะไรก็ไดเ้ที่เป็นของหวานหรือมีส่วนประกอบของน้ำตาลเป็นหลัก บางคนทานของหรือของหวานมากกว่าอาหารหลักเมื่อไม่ได้ทานจะเริ่มรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์ไม่ดีแต่ถ้าได้ทานเมื่อไร ก็จะกลับมายิ้มแย้มได้แทบจะในทันที
  • ทานของหวานได้อย่างเต็มที่  บางคนชอบทานของหวานมากจนน่ากลัว เช่น การทานบุฟเฟ่ต์เค้กที่มากกว่า 3 ชิ้นขึ้นไป หรือการดื่มเครื่องดื่มชงเย็นอยู่ตลอดเวลาแบบแก้วต่อแก้ว ซึ่งแต่ละเมนูก็จะใส่น้ำตาลลงไปในปริมาณมากๆเช่นกัน
  • ไม่สามารถทาอาหารรสจืดได้ แม้ว่าหลายคนจะรู้ตัวและพยายามที่จะลดอากการติดหวานนี้ลง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะไม่ตักน้ำตาลใส่จานตัวเองแต่ผลสุดท้ายก็ไม่สามารถต้านทานความต้องการของสมองได้ และต้องตักใส่เข้าไปอีก 2-3 ช้อนชา และแน่นอนว่าหวานจนเกือบเลี่ยนเลยทีเดียว

สาเหตุของอาการติดหวาน

พฤติกรรม

  • เมื่อรับประทานของหวานเข้าไปแล้ว จะไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขที่ชื่อว่า โดพามีน จนเกิดการเสพติด ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในผู้ที่ประสบกับภาวะเครียดเรื้อรัง นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ตามกลไกของธรรมชาติจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ขาดสมดุล ความอยากรับประทานอาหารหวาน หรือมีไขมันสูงจึงมีมากขึ้น รับประทานในปริมาณมากเท่าใดก็ไม่อิ่ม หากรสชาตินั้นไม่หวานจัด

กรรมพันธุ์

  • ผู้ที่ประสบภาวะเสพติดน้ำตาล บางรายมียีน (Gene) ที่ติดความหวานมาจากบรรพบุรุษ รวมทั้งความแตกต่าง การเลี้ยงดูแลบุตรหลานของแต่ละบ้านก็ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องของการรับประทานอาหาร หากพ่อ แม่ ไม่มีวินัยในเรื่องของโภชนาการ ก็เป็นเรื่องที่ยากจะปลูกฝังให้เด็กเป็นคนรักสุขภาพ

โรคที่ตามมาจากการทานหวาน

  1. โรคเบาหวาน เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลเข้ากระแสเลือดในปริมาณมากจนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง และแน่นอนว่าถ้าหากเราไม่สามารถหยุดทานหวานได้ ก็จะทำให้เกิดการต้านอินซูลินอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานได้ โรคนี้หากเป็นมากอาจอันตรายถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น
  2. โรคอ้วน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง แบบที่อินซูลินก็ช่วยอะไรไม่ได้ น้ำตาลจะมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นไขมัน และจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้กลายเป็นโรคอ้วน โรคที่เป็นจุดกำเนิดของโรคร้ายต่าง ๆ ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นโรคอ้วนและตามมาด้วยโรคอื่นๆ อีกมากมาย ก็ไม่ควรกินหวานมากเกินไปอย่างเด็ดขาด
  3. โรคหัวใจ การที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลให้ระบบสูบฉีดโลหิตของร่างกายมีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดคือการเพิ่มคอเลสเตอรอลเลว (LDL) เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ รวมถึงทำให้อินซูลินมีการหลั่งมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจแบบโดยตรง

**และโรคอื่น เช่น  โรคหลอดเลือด,โรคความดันโลหิตสูง, โรคเส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น **


การตราจน้ำตาลมีกี่แบบ

  1. แบบ CGM สามารถรายงานผลแบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนเมื่อระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำกว่าค่าที่กำหนด ช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลอย่างได้ผล การแสดงผลแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้ทราบว่าอาหารชนิดใดที่ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทราบปริมาณการกินที่เหมาะสม นำไปสู่การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  2. แบบ BGM  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบเจาะที่ปลายนิ้วมือและจะมีตัวเครื่องประมวณค่าน้ำตาล บางเครื่องต้องจดค่าเพื่อนำส่งคุณหมอบางเครื่องเก็บค่าไว้ในเครื่องเราก็ไม่สามารถรู้ได้ แต่ตอนนี้มีการเชื่อมตัวเครื่องตรวจเข้ากับแอพพิเคชั่นทำให้ผู้ตรวจสังเกตุและปรับพฤติกรรมเบื้องต้นได้เองแต่ก็ต้องเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์เหมือนเดิม
  3. แบบ HbA1C เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดที่โรงพยาบาลได้ค่าที่คงที่ แต่จำเป็นต้องไปทำที่โรงบาลเท่านั้นและใช้เวลาอ่านผลนาน
 

HbA1C

Hemoglobin A1C

 

BGM

Blood Glucose Monitoring

 

CGM

Continuous Glucose Monitoring

  • เก็บตัวอย่างเลือดปริมาก
  • ทำที่โรงบาลหรือ Lab เท่านั้น
  • เจาะเลือดที่ปลายนิ้ววันละ 1-7 ครั้ง
  • ซื้อได้ทั่วไป
  • ติด sensor ที่แขนหรือหน้าท้อง
  • บอกค่าต่อเนื้อง
  • ทำเองที่บ้านได้
  • บอกระดับน้ำตาลในเลือดแบบกราฟ
  • เป็นการตรวจมาตราฐานในปัจจุบัน
  • ราคาไม่แพง
  • ราคาไม่แพง*
  • ใช้งานง่าย
  • เก็บข้อมูลครบถ้วน
  • ช่วยรักษาระดับน้ำตาล
  • ลดจำนวนการเจาะน้ำตาล
  • ต้องตรวจที่โรงบาล*
  • ใช้เวลานาน
  • ไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่ม
  • ลืมตรวจ ตรวจผิดเวลา
  • ได้ข้อมูลเฉพาะเวลาที่เจาะเท่านั้น
  • เจ็บปลายนิ้วทุกครั้งที่เจาะ
  • ราคาสูงกว่า*
  • เซ็นเซอร์จะติดตัวตลอดตามเวลากำหนด

ข้อดีของ CGM การตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง

เครื่องวัดน้ำตาลแบบเจาะปลายนิ้ว (BGM) สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและมีราคาถูก แต่ก็มีจุดด้อยที่ผู้ใช้จะต้องเจ็บตัวทุกครั้งเมื่อต้องเจาะนิ้ว และการผลบอกผลมีลักษณะเป็นจุดของเหตุการณ์เท่านั้น ไม่ได้เห็นกราฟต่อเนื่อง

สามารถติดด้วยตัวเอง สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ปกติ กินข้าว ออกกำลังกาย ลดการเจาะเลือด เจ็บตัว

CGM เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่รับการยอมรับจาก FDA สหรัฐและยุโรป เป็นการติดตั้ง Sensor วัดระดับน้ำตาลใต้ผิวหนัง โดยการวัดระดับน้ำตาลจากของเหลวใต้ผิวหนัง ทำให้สามารถเห็นระดับน้ำตาลต่อเนื่อง เป็น Report ได้ ลดการเจ็บตัวจากการเจาะปลายนิ้ว แต่มีจุดด้อยเช่นกัน โดยค่าน้ำตาลจะมีความ Delay จากการเจาะน้ำตาลจากเลือดเล็กน้อยประมาณ 10-15นาที เนื่องจากต้องใช้เวลาที่ของเหลวใต้ผิวหนังมีการแลกเปลี่ยนน้ำตาลกับเลือด

✅ ผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งประเภท1 และ 2
✅ คนรักสุขภาพ ต้องการดูระดับน้ำตาลในเลือด
✅ ดูพฤติกรรมของตนเอง
✅ ดูภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
✅ ต้องการลดการเจาะเลือด ลดเจ็บ
🔥 บอกระดับน้ำตาลทุก 3นาที สร้างเป็นกราฟ
🔥 Realtime Report
🔥 Daily Report
ข้อมูลจาก CDC ชาวอเมริกา 84ล้านคน หรือกว่า 1ใน3 เสี่ยงเป็นโรคก่อนเบาหวาน คือระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ไม่ถึงขั้นเป็นเบาหวานประเภท2 แต่มีโอกาสสูงมากที่จะพัฒนาเป็นเบาหวาน

ผู้ใหญ่กว่า 1ใน3 เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน Prediabetes คือระดับน้ำตาลเกินกว่าค่าเฉลี่ย แต่ยังไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะพัฒนาต่อไปเป็นเบาหวานประเภท2 หากยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน พักผ่อน และออกกำลังกาย อีไลฟ์ทำแบบประเมินความเสี่ยงเบาหวาน ใช้เวลาทำเพียง 2นาที เพื่อคัดกรองสำรวจตัวท่านเอง