fbpx

การพกพารถเข็นไฟฟ้าไปใช้งานนอกสถานที่

การพกพารถเข็นไฟฟ้าไปใช้งานนอกสถานที่

การเตรียมตัวที่จะนำรถเข็นไฟฟ้าพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในการเดินทางนั้นต้องมีความสะดวกแล้วยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้รถเข็น ซึ่งอาจจะเป็นผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ คนชราด้วย การศึกษาหาข้อมูลสเปคของรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก

เรามาพูดถึงเริ่มต้นกันเลยค่ะ เราต้องเริ่มต้นตั้งแต่การเลือกรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า ที่สามารถพับเก็บได้ โดยมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากมากจนเกินไป ไม่ต้องถอดอุปกรณ์เสริม และมีขนาดที่เล็กกระทัดรัดสามารถบรรทุกใส่ท้ายรถยนต์ได้ ที่สำคัญน้ำหนักของรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า ต้องมีน้ำหนักเบาที่สุดเท่าที่จะเบาได้ และแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถเข็นไฟฟ้าก็ต้องมีน้ำหนักที่เบาด้วย ซึ่งแบตเตอรี่ที่ใช้ ควรจะเป็นแบตเตอรี่ประเภทลิเธ๊ยมไอออน ซึ่งจะมีน้ำหนักที่เบากว่าแบตเตอรี่ประเภทกรด-ตะกั่วกรด Lead Acid น้ำหนักรถเข็นไฟฟ้า ที่เหมาะสำหรับการพกพา ควรมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 13.5-25 กิโลกรัม หรือไม่ควรเกินกำลังที่ผู้ดูแลเดินทางไปด้วย เพราะผู้ดูแลต้องยกรถเข็นไฟฟ้าขึ้นและลงจากรถ ถ้าน้ำหนักมากเกินไปอาจจะทำให้ผู้ดูแล ไม่สามารถพกพารถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าออกไปใช้งานนอกบ้านด้วยได้ และอาจจะทำให้ผู้ดูแลเกิดการบาดเจ็บ จากการยกรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าขึ้น-ลง ได้

การเตรียมตัวในเรื่องของการเดินทางก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ควรศึกษาข้อมูลสถานที่ ที่ต้องการจะไปโดยการสอบถามล่วงหน้า เช่น สถานที่ที่ต้องการจะไปควรมีทางลาดชันสำหรับรถเข็นวีลแชร์ เพื่อขึ้นทางต่างระดับ หรือบันไดทางเข้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางสำหรับรถเข็นไฟฟ้า ลิฟต์สำหรับผู้ใช้รถเข็น รวมไปถึงห้องน้ำสำหรับผู้ป่วย และผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีประตูกว้างสำหรับให้รถเข็นไฟฟ้า สามารถขับเข้า-ออกได้ แต่โดยปกติทั่วไปแล้ว รถเข็นไฟฟ้าผู้สูงอายุ มีขนาดมาตรฐาน สามารถขับเข้า-ออกผ่านประตูที่มีขนาดมาตรฐาน 70 ซม. ได้อย่างง่ายดายเลยค่ะ

“ในส่วนของรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า ที่มีน้ำหนักเบา พกพาได้ง่าย หลักๆ จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 รุ่นหลักๆ ที่ลูกค้านิยมใช้ วันนี้จะมาแนะนำรถเข็นผู้สูงอายุ รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าน้ำหนักเบากันค่ะ”

รถเข็นไฟฟ้า รุ่น Lite1 รถเข็นไฟฟ้าน้ำหนักเบา 13.5 กิโลกรัม โครงสร้างแมกนิเซียม พับเก็บได้(หนีบ) แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนถอดออกมาชาร์ตได้ ออกแบบสำหรับการพกพาใส่ท้ายรถ เที่ยวในห้าง สามารถขึ้นเครื่องบินได้ เบาจากโครงสร้างและการออกแบบมอเตอร์เล็ก DC 200watt*2

รถเข็นไฟฟ้า Lite1 รถเข็นไฟฟ้าน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

ข้อดีของรถเข็นไฟฟ้า รุ่น Lite1 เป็นรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้า ที่มีน้ำหนักเบามากที่สุดในตลาดตอนนี้ คือมีความเบาเพียง 13.5 กก. ใช้แบตเตอรี่ประเภทลิเธียมไอออน เป็นแบตเตอรี่ที่สามารถใช้เดินทางขึ้นเครื่องบินได้ ถูกต้องตามกฎพลเรือน โดยเวลาพับเก็บรถเข็น ก็สามารถพับเก็บได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องถอดแบตเตอรี่ออก ก็สามารถพับเก็บได้ ไม่ยุ่งยาก โดยรถเข็นไฟฟ้ารุ่น Lite1 สามารถรองรับน้ำหนักผู้ใช้งาน 100-120 กก. ค่ะ ล้อเป็นล้อยางตันทั้ง 4 ล้อ รุ่นนี้จะเบาที่สุดในตลาด และเป็นรุ่นที่มีคนนิยมใช้กันค่อนข้างมาก เนื่องจากมีน้ำหนักเบา จึงทำให้เป็นที่นิยม โดยคนใช้งานส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้สูงอายุที่ยังพอเดินได้ แต่ไม่สามารถเดินไกลๆ และเดินนานๆ ได้ จึงจำเป็นจะต้องมีตัวช่วยในการช่วยเรื่องการเคลื่อนไหว


รถเข็นไฟฟ้า Lite7 หรือ Lite pro เป็นรถเข็นไฟฟ้าอีกหนึ่งรุ่น ในกลุ่มรถเข็นไฟฟ้าน้ำหนักเบาอีกหนึ่งรุ่น ที่ผู้สูงอายุเลือกใช้งาน เนื่องจากรถเข็นไฟฟ้ารุ่นนี้ มีดีไซน์ที่ทันสมัย สวยงาม มองแล้วไม่เหมือนรถเข็นวีลแชร์รุ่นเก่าๆ ที่ใหญ่เทอะทะ มีขนาดที่เล็กกระทัดรัด ง่ายต่อการใช้งาน และสะดวกสำหรับการพกพา

รถเข็นไฟฟ้า Lite7 น้ำหนัก 16 กก. คันเล็ก กระทัดรัด น้ำหนักเบา

เป็นอลูมิเนียมเกรดพรีเมียม คุณสมบัติน้ำหนักเบาไม่ก่อให้เกิดสนิม ลดการผุ กร่อน ของรถเข็นไฟฟ้า ถึงจะ มีน้ำหนักเพียง 16 กิโลกรัมแต่สามารถรับน้ำหนักผู้นั่งได้สูงสุดถึง 100 กิโลกรัมรถเข็นไฟฟ้า Lite7 ประกอบด้วยมอเตอร์ Brushless Motor จำนวน 2 ตัว ซึ่งมีความเคลื่อนไหวที่นิ่มนวล ไม่มีเสียง ไม่สะดุด และแบตเตอรีเป็นลิเธียม ขนาด 24V 10AH เป็นแบตชนิดเดียวกับ Power Bank สามารถถอดติดตัวนำขึ้นเครื่องบินได้

บังคับรถเข็นไฟฟ้า
มีตัวบังคับไร้สาย สามารถให้คนอื่นบังคับให้ด้วยได้ค่ะ
LitePro จะมีจอยสติ๊กหรือ Controller มีหน้าทีสำหรับ เปิด-ปิดรถเข็นไฟฟ้า บังคับทิศทาง ปรับระดับความเร็ว แสดงปริมาณแบตเตอรีและระดับความเร็วที่ใช้งาน โดยรุ่นนี้มาให้ทั้งหมด 2 ตัว ตัวที่ 1 สำหรับผู้ใช้งานบังคับเองขณะนั่งรถเข็นไฟฟ้าและตัวที่ 2 Wireless Controller สำหรับผู้ดูแลบังคับรถเข็นไฟฟ้าให้ผู้ป่วย(ระยะห่างไม่เกิน 3 เมตร)

แต่ถ้าหากในกรณีตามสถานที่ต่างๆ ไม่มีทางลาดชัน แต่จำเป็นจะต้องเดินทางไป เราอาจจะต้องพกพาทางลาดชันแบบพกพาไปด้วย เลือกทางลาดที่มีขนาดเล็กกระทัดรัด สามารถพับเก็บใส่กระเป๋าได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในระหว่างทาง ดังนี้

  1. หากรถเข็นวีลแชร์หรือรถเข็นไฟฟ้า มีน้ำหนักเยอะมากจนเกินไป ก็สามารถใช้ทางลาดชันช่วยทุ่นแรงในการยกใส่ท้ายรถ เปลี่ยนจากต้องใช้แรงในการยก เป็นการเข็นขึ้น Ramp เพื่อใส่ท้ายรถยนต์แทน ก็จะสามารถช่วยเบาแรงให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุได้
  2. สามารถใช้กับพื้นที่ต่างระดับ ที่ไม่มีทางลาดชันได้ ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทางให้กับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นวีลแชร์แบบธรรมดา หรือวีลแชร์แบบไฟฟ้า ก็สามารถใช้ได้ทั้งสองชนิด

สำหรับคนนั่งวีลแชร์แล้ว ทางลาด(Ramp) ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆในการเดินทางไปยังที่ต่างๆ เพราะล้อของวีลแชร์โดยทั่วไปไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้ข้ามทางต่างระดับได้ ดังนั้นการเดินทางของคนนั่งวีลแชร์นั้นต้องเดินทางโดยทางที่เลียบพอสมควร ซึ่งพื้นฟุตบาทของประเทศเรานั่นค่อนข้างจะตรงข้ามกับคำว่าเลียบอยู่ไกลโขเลยทีเดียว ยังไม่ต้องพูดถึงสถานที่บางสถานที่ ที่ไม่มีแม้กระทั่งทางลาดขึ้นบันไดอาคารสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุยังไม่มี

R7 คือทางลาดสำหรับรถเข็นวีลแชร์แบบพกพา ที่ทำให้คนนั่งรถเข็นวีลแชร์สามารถพกวีลแชร์ออกไปเที่ยวนอกบ้านได้อย่างอุ่นใจไม่ต้องกลัวว่าจุดหมายจะมีทางต่างระดับหรือไม่ และเมื่อเที่ยวเสร็จคนดูแลก็สามารถเก็บรถเข็นได้โดยไม่ต้องออกแรงยก แฮปปี้ทั้งคนนั่งวีลแชร์และคนดูแล เพียงแค่นำทางลาดพาดลงไปกับทางต่างระดับ    เพียงเท่านี้ก็สามารถเข็นวีลแชร์ไปได้เลย สะดวกสบายหายห่วง

” การตรวจดูความเรียบร้อย หรือความพร้อมในการใช้งานของรถเข็นไฟฟ้าพับได้ที่นำไปใช้ก็สำคัญเช่นกัน ควรตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ว่ามีแบตเตอรี่เพียงพอสำหรับการเดินทางรึเปล่า ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการเดินทางไกล หรือต้องใช้รถเข็นไฟฟ้าพับได้เป็นเวลานาน และเช็คสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง เช่นตัวควบคุม ว่าใช้ง่ายได้ปกติ เช็คมอเตอร์ว่าใช้งานได้ปกติไม่มีเสียงดังหรือมีอาการเอียงซ้ายหรือขวา และควรตรวจสอบลมยางของรถเข็นไฟฟ้าพับได้ว่ามีลมยางในปริมาณที่พอเหมาะกับการวิ่งใช้งาน ไม่ควรปล่อยให้ยางแบนเกินไป ควรตรวจสอบสภาพยางว่ายังอยู่ในสภาพใหม่และใช้งานได้ดี เท่านี้การนำรถเข็นไฟฟ้าพับได้ น้ำหนักเบาไปใช้นอกสถานที่ก็จะราบรื่นและปลอดภัยค่ะ “