fbpx

การทำความสะอาดเครื่อง CPAP และอุปกรณ์ ต้องทำบ่อยแค่ไหน ?

การทำความสะอาดเครื่อง CPAP และอุปกรณ์ ต้องทำบ่อยแค่ไหน ?

ตามรายงานของ FDA ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการทำความสะอาดเครื่อง CPAP ด้วย OZONE หรือแสง UV มีอันตรายต่อผู้ใช้งานและตัวเครื่อง บริษัทที่ผลิตเครื่อง CPAP ในหลายๆประเทศในอเมริกา ยุโรป ถ้าตรวจพบสารโอโซนในตัวเครื่อง ประกันเครื่องจะขาดจากผู้ผลิตทันที

ตัวกรองละเอียด CPAP

ในปัจจุบันสามารถหาเครื่องโอโซน สำหรับใช้กับเครื่อง CPAP ได้ง่าย ราคาในเว็ปไซต์แค่หลักร้อย แต่หารู้ไม่ว่าทั้งโอโซนและแสงยูวี มีอันตรายต่อผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เป็นอย่างมาก การทำความสะอาดเครื่อง CPAP ที่ได้ผลที่ดีที่สุด ทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง คือการทำความสะอาดโดยน้ำเปล่า , น้ำสะอาด , และน้ำยาทำความสะอาดที่อ่อนโยน วันนี้ Elife เลยอยากจะมาแนะนำขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่อง CPAP และอุปกรณ์ง่ายๆ ด้วยตัวเองที่บ้านค่ะ

ขั้นตอนการทำความสะอาดหน้ากาก CPAP , กล่องสำหรับใส่น้ำทำความชื้น , และท่ออากาศแบบง่ายๆ สามารถทำเองได้ที่บ้าน 

การทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ เป็นประจำจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อโรค หรือแบคทีเรียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้งาน เช่น เหงื่อ คราบความมันบนใบหน้า หรือสิ่งสกปรกต่างๆ โดยวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาด จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด 

  • สบู่ หรือน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยน เช่น น้ำยาล้างขวดนมเด็ก
  • น้ำอุ่น
  • ภาชนะสำหรับรองใส่น้ำ , อ่างล้างหน้า , อ่างล้างจาน แล้วแต่สะดวก
  • ผ้าขนหนูที่สะอาด

การทำความสะอาดเครื่อง CPAP และอุปกรณ์

  • หน้ากาก Mask CPAP Mask Cushion เป็นส่วนที่ต้องทำความสะอาดทุกวัน เพราะหน้ากากจะสัมผัสกับใบหน้าของเราทุกคืน หากไม่ทำความสะอาด คราบมันจากบนใบหน้า จมูก ของเราจะติดกับขอบหน้ากาก และนำมาใช้อีก จะทำให้เราเกิดความระคายเคืองรอบจมูก หรือมีอาการคันได้ ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำ หรือแตะสบู่เพียงเล็กน้อยแล้วเช็ดหน้ากาก โดยเฉพาะบริเวณซิลิโคนที่สัมผัสกับใบหน้าของเรา
  • สายรัดหน้ากาก จะเป็นชิ้นส่วนที่มีการเสียหรือชำรุดบ่อยมากที่สุด ปกติไม่ควรนำสายรัดไปซักทำความสะอาด เพราะตัวตีนตะขาบ , ตีนตุ๊กแก , Velcro , แถบหนามเตย หรือที่เราเรียกกันว่าแคว่ก แคว่ก จะทำให้ติดไม่อยู่ ควรเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะการออกแบบสายรัดของเมืองนอก จะเป็นลักษณะใช้แล้ว 3-6 เดือน ก็จะเปลี่ยนชิ้นใหม่ แต่บ้านเรา ประเทศไทย ทำแบบนั้นไม่ไหว เพราะราคาค่อนข้างสูง

 

  • การเปลี่ยน Filter โดยทั่วไป Filter CPAP จะมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด คือ
    • Filter ฟิลเตอร์กรองหยาบ จะมีสีดำ หรือเป็นลักษณะเหมือนฟองน้ำ เราต้องนำออกมาล้างทุกๆ 3 เดือน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 
    • Filter ฟิลเตอร์แบบกรองละเอียด Bacteria Filter จะมีสีขาว ควรเปลี่ยนทุกๆ 250 ชั่วโมง หรือ 4-5 อาทิตย์ แล้วแต่เราว่านอนกี่ชั่วโมงต่อวัน ห้ามล้างน้ำแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ !!! เพราะฝุ่นโมเลกุลเล็กๆ จะแฝงฝังอยู่ในแผ่นกรอง อาจจะทำให้กรองตัน ก่อให้เกิดเชื้อโรคต่างๆ และอากาศจะผ่านได้ยาก ควรถอดทิ้ง แล้วเปลี่ยนตัวกรองชิ้นใหม่ หากรอให้ตัวกรองเปลี่ยนสีเป็นสีดำ จะทำให้มอเตอร์ทำงานหนักมาก และอาจจะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องสั้นลง และเสียก่อนเวลาอันควร 
  • ท่อช่วยหายใจ (Standard / Heated Tube) โดยปกติควรจะทำความสะอาดทุกๆ 3 เดือน หรือสังเกตุแล้ว ท่อเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนๆ ก็ควรทำความสะอาดได้เลย โดยหยดน้ำยาล้างขวดนมเด็กลงไปในท่อ จำนวน 1-2 หยดลงในท่อ แล้วเปิดน้ำให้น้ำไหลผ่านท่อ โยกปลายท่อทั้งสองฝั่งสลับไปมา เพื่อให้น้ำผสมกับน้ำยาล้างแล้วไปขจัดคราบมันภายในท่อ แล้วหลังจากนั้นก็ใช้น้ำเปล่าล้างทำความสะอาดอีกครั้ง และนำท่อไปแขวนตากในแนวดิ่ง เพื่อให้น้ำที่อยู่ภายในท่อไหลตกลงมา หรือจะเปิดเครื่อง CPAP ให้ลมเป่าน้ำที่ค้างอยู่ภายในท่อออกมา จะช่วยให้ท่อแห้งเร็วมากขึ้น
  • ตัวเครื่อง CPAP ส่วนตัวเครื่องใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบฝุ่นทำความสะอาดปกติ หรืออาจจะใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ด เพื่อฆ่าเชื้อได้
อุปกรณ์  การทำความสะอาด  ควรทำเมื่อไหร่
Mask Cushion

  • ถอดชิ้นส่วนซิลิโคน/เจล (cushion) ออกมาจากโครงหน้ากาก
  • ล้างด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
  • ทิ้งไว้ให้แห้งในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

*ห้ามเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ห้ามตากแดด*

ทุกวันตอนเช้า
สายรัดศีรษะ (Headgear)

  • ถอดสายรัดศีรษะออกมา
  • ล้างด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ หรือน้ำเปล่าผสมน้ำยาซักผ้าอ่อนๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
  • ทิ้งไว้ให้แห้งในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

*ห้ามล้างด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำร้อน และห้ามตากแดด*

ทุก 2 สัปดาห์
ท่ออากาศ  (Standard / Heated Tube)

  • ถอดท่ออากาศออกจากตัวเครื่องและหน้ากาก
  • ล้างท่อด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำสบู่อ่อนๆ ทั้งภายในและภายนอกท่อ
  • แขวนท่อโดยห้อยปลายท่อทั้งสองด้านลง แล้วทิ้งไว้ให้แห้งในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

*ห้ามล้างด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำร้อน และห้ามตากแดด*

ทุก 2 สัปดาห์
เครื่อง CPAP / เครื่องทำความชื้น (Humidifier)

  • ต้องปิดเครื่องให้ลมหยุดก่อนทุกครั้ง
  • ถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้ง
  • ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่า เช็ดรอบๆ ด้านนอกตัวเครื่อง แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกที

*ห้ามใช้น้ำร้อน และห้ามตากแดด
*ควรนำเครื่องเข้ามาตรวจเช็คที่บริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง*

 ทุก 30 วัน
นำเครื่องเข้ามาเช็คปีละ 1 ครั้ง
กระบอกน้ำเครื่องทำความชื้น  (Water chamber)

  • เทน้ำที่เหลือทิ้งทุกเช้า ใช้ผ้าแห้งเช็ด และผึ่งไว้ในที่ร่ม
  • ถ้ามีคราบตะกรัน แนะนำให้ล้างด้วยน้ำยาล้างขวดนม แล้วขัดด้วยฟองน้ำนิ่ม
  • น้ำที่ใช้เติม ไม่แนะนำ : น้ำเกลือ, น้ำแร่, น้ำประปา

– แนะนำ: น้ำต้ม, น้ำดื่มขวด, Sterile water
*ห้ามล้างด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำร้อน และห้ามตากแดด*

ทุกวันตอนเช้า
แผ่นกรองอากาศแบบหยาบ

  • เปิดฝาปิดด้านข้างตัวเครื่อง แล้วดึงแผ่นกรองออกมา
  • ถ้าใช้แผ่นกรองแบบละเอียดร่วมด้วย ให้ถอดออกก่อน
  • ล้างแผ่นกรองหยาบด้วยน้ำเปล่า แล้วสลัดน้ำออกให้มากที่สุด
  • ทิ้งไว้ให้แห้งในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

*แผ่นกรองชนิดนี้ต้องใส่ไว้ในตัวเครื่องตลอดเวลาที่มีการใช้งาน เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าสู่ตัวเครื่อง*

ทำความสะอาดทุก 2 สัปดาห์
เปลี่ยนแผ่นใหม่ทุก 6 เดือน
แผ่นกรองอากาศแบบละเอียด

  • แผ่นกรองชนิดนี้เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable) ไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ ต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่เท่านั้น

*แผ่นกรองแบบละเอียดต้องใช้ร่วมกับแผ่นกรองแบบหยาบเสมอ ไม่สามารถใช้เดี่ยวๆได้*
*แผ่นกรองแบบละเอียดอาจใส่หรือไม่ก็ได้ แต่แนะนำให้ใช้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย*

เปลี่ยนแผ่นใหม่ทุกๆ 1-2 เดือน

ข้อควรระวังในการทำความสะอาด 

      • หลีกเลี่ยงการนำอุปกรณ์ไปตากแดด หรือเป่าแห้งด้วยลมร้อน
      • หลีกเลี่ยงการเช็ดอุปกรณ์ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Petroleum get หรือการอบโอโซน และแสงจากยูวี
      • หลีกเลี่ยงการเอาแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดหน้ากาก และท่อช่วยหายใจ
@elifegear ทำความสะอาดอุปกรณ์ CPAP ต้องทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน เรามาดูกันเลยค่ะ 💜#Cpap #resmed #airsense10 #นอนกรน #หยุดหายใจขณะหลับ #ทำความสะอาด #เครื่องcpap ♬ เสียงต้นฉบับ – elifegear

 

อาการนอนกรนไม่ใช่เรื่องเล็กๆที่ควรมองข้าม หากใครมีภาวะเสี่ยงหรือ มีอาการต่างๆตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็สามารถติดต่อของรับคำแนะนำและรับการรักษา สอบถามข้อมูลต่างๆได้โดยตรงจากโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนินๆ ไม่ให้ทวีความรุนแรง จนเกิดภาวะการหยุดหายใจขณะที่นอนหลับ (OSA) จนเกิดผลร้ายตามมา และส่งผลให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ง่ายกว่าคนปกติ