fbpx

การปรับเตียงไฟฟ้ามีความสำคัญกับท่านอนผู้สูงอายุอย่างไร?

การปรับเตียงไฟฟ้ามีความสำคัญกับท่านอนผู้สูงอายุอย่างไร?

การปรับเตียงไฟฟ้าแต่ละไกร์ อาจเป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คน ไม่คาดคิดว่าจะมีประโยชน์อย่างไร บางท่านคิดว่าเตียงนอนผู้สูงอายุ หรือเตียงไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยนั้นไม่จำเป็นเท่าไหร่นัก แต่..การปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ กลับส่งผลดีทั้งกับตัวผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลอีกด้วย

สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีภาวะเคลื่อนไหวได้น้อย หรือถึงขั้นวิกฤติที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับท่าทาง หรือจับพลิกตัวผู้ป่วย การที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว อาจจะก่อให้เกิดภาวะหรือโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา อาจจะทำให้อาการป่วยที่เป็นอยู่เกิดความรุนแรงขึ้น ซึ่งความสามารถของเตียงปรับระดับไฟฟ้าถูกออกแบบมาเพื่อการปรับท่าทางของผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้ยากโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างคือ ท่าศรีษะต่ำ – ปลายเท้าสูง , ท่าชันเข่า , ท่านั่ง ท่าทางเหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับตัวผู้ใช้งาน หรือผู้ดูแลอย่างไร วันนี้มีคำตอบค่ะ

เตียงปรับระดับไฟฟ้า เป็นเตียงที่ถูกออกแบบมา เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องของสุขภาพ และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยเฉพาะในเรื่องของฟังก์ชั่นในการปรับ่ท่าทางต่างๆ ซึ่งแต่ละท่าทาง เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้างนั้น ไปอ่านกันเลยค่ะ  (อ้างอิงข้อมูลจาก : การพยาบาลพื้นฐาน ปฏิบัติการพยาบาล อาจารย์กรวรรณ สุวรรณสาร)

1.ท่านอนศรีษะสูง – เท้าต่ำ หรือเรียกว่าท่านั่งหลังตรง

ท่าทางนี้ จะช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยหายใจได้สะดวกมากขึ้น ทำให้ปอดสามารถขยายตัวได้ดี ช่วงบรรเทาอาการกรดไหลย้อน หรือผู้ป่วยที่มีแผลผ่าตัด บริเวณหน้าท้อง ท่าท่างนี้จะช่วยระบายหนองออกจากแผล หรือท่อระบายได้ดียิ่งขึ้น จึงช่วยลดอาการอักเสบภายในช่องท้อง นอกจากนี้สำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ สามารถใช้ท่านี้ในการอำนวยความสะดวกในกิจกรรมต่างๆได้ เช่น การกินข้าว รับประทานอาหาร , อ่านหนังสือ การล้างหน้าแปรงฟัน เป็นต้น และการปรับท่านี้จะช่วยในเรื่องของการลุกออกจากเตียงได้ หากผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการลุกออกจากเตียงยาก ฟังก์ชั่นนี้จะช่วยในเรื่องการลุกออกจากเตียงได้ด้วย

2.ท่าชันเข่า
จะช่วยในการหมุนเวียนเลือดที่บริเวณปลายขา ช่วงเข่า ลดอาการปวดเมื่อยและอาการบวมของขาได้ นอกจากนี้ ท่าชันเข่ายังใช้ในการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ได้ง่ายขึ้นด้วย

3.ท่าปรับระดับความสูง-ต่ำ ของเตียง

การปรับระดับความสูง-ต่ำของเตียงนั้น จะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ดูแล และผู้ใช้งานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
🔷 การปรับระดับของเตียงได้ต่ำ จะเหมาะสำหรับคนใช้งาน ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยบางท่านสามารถลุกนั่งแล้ววางเท้าแตะไปกับพื้นได้อย่างพอดี ทำให้ไม่สูญเสียการทรงตัว และลดการเกิดอุบัติเหตุ จะทำให้ผู้สูงอายุนั้นไม่ต้องใช้แรงในการพยุงตัวเองขึ้นมากนัก และสามารถลุกขึ้นจากเตียงได้โดยง่าย
🔷 การปรับระดับของเตียงได้สูง จะเหมาะสำหรับผู้ดูแล เนื่องจากผู้ดูแลจะสามารถป้อนขาว เปลี่ยนแพมเพิส หรือเช็ดตัวทำความสะอาดได้ ในระดับความสูงที่คนดูแลสามารถยืนได้ ผู้ดูแลไม่ต้องก้มๆ เงยๆ บ่อยๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วคนดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุจะเป็นวัยกลางคืน ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าหากก้มๆเงยๆ บ่อยๆ สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างแน่นอน การปรับความสูงของเตียงไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหาการปวดหลังของผู้ดูแลได้

4.ท่านอนศีรษะต่ำ-เท้าสูง

การปรับท่าทางนี้จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่เสียเลือดมาก ต้องการให้เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงสมองให้มากขึ้น และช่วยในการลดอาการบวมที่ขา ให้เลือดไหลเวียนกลับสู่หัวใจได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถไปประยุกต์ใช้ในการรักษาพยาบาล เช่น การสวนล้างของช่องคลอด เป็นต้น

5. การปรับทั้งโครงเตียงลาด 45 องศา

หลายๆ คนคงสงสัยว้า ฟังก์ชั่นนี้จะเหมาะสำหรับใคร ฟังก์ชั่นตัวนี้จะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน เพราะหากจัดท่านอนหงายและท่านอนคว่ำอาจก่อนให้เกิดภาวะปอดแฟบได้ง่าย เพราะมีความจำกัดของการขยายตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมและผนังทรวงอก จากแรงกดของน้ำหนักตัว ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปริมาตรอากาศลมหายใจออกลดลง ทำให้อัตราการหายใจเร็วขึ้น ลักษณะต่างๆของผู้ป่วยโรคอ้วนพบว่า การนอนในท่านอนศีรษะสูงปลายเท้าต่ำที่ระดับ 45 องศา มีผลให้เพิ่มปริมาตรลมหายใจออก และอัตราการหายใจลดลง หรืออีกกรณีนึงคือ ช่วงปลายเท้ามีขอบเตียงบดบังทัศนียภาพรอบๆ บ้าน หรือรอบๆ ห้อง ก็สามารถปรับในกึ่งท่านั่งแล้ว จากนั้นปรับโครงสร้างของเตียงให้อยู่ในระดับ 45 องศา ก็จะสามารถมองเห็นทรรศนียภาพโดยรอบ


ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนท่าทางการนอนของผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย จะส่งผลเสียอะไรบ้าง ?? 

หลายคนอาจจะคิดว่า การปรับเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ อาจจะมีปล่อยปะละเลยไปบ้าง แต่รู้ไหมคะ การที่ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน จะส่งผลเสียทำให้เกิดโรค หรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้น้อย หรือไม่ได้เลย ถ้าไม่มีผู้ที่พลิกตัวหรือจัดท่าทางให้ บอกเลยว่าอันตรายมากจนถึงขั้นอาจจะทำให้เสียชีวิตได้เลยค่ะ

  • แผลกดทับ จะเกิดมาจากแรงกดทับที่บริเวณผิวหนังเป็นเวลานาน ซึ่งเกิดมาจากการที่ผู้ป่วยไม่ได้เปลี่ยนท่าทางในการนอนหรือการนั่ง
  • มีปัญหาเกี่ยวกระดูกและกล้ามเนื้อ เนื่องจากการที่ไม่ได้ขยับตัว หรือเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้มีอัตราการสลายตัวของแคลเซียม มากกว่าการสร้างเพิ่ม ทำให้กระดูกเปราะบาง เสี่ยงต่อการหัก หรือข้อติดขัดได้ง่ายมาก นอกจากนี้ยังส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็กลง หรืออาจจะมีอาการปวดหลังตามมาได้
  • หัวใจทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในท่านอนเกือบตลอดเวลา ทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจมากกว่าปกติ ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของปริมาณเลือดที่เข้าออกจากหัวใจ
  • เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง มักส่งผลให้เลือดคั่งในหลอดเลือดดำ โดยเฉพาะบริเวณขา จึงอาจส่งผลให้เกิดอาการขาบวมได้ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งอาจจะทำให้ไปอุดตันในหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ อีกด้วย
  • ปอดขยายตัวลดลง ซึ่งเกิดจากการนอนในท่านอนหงายเป็นเวลานาน ทำให้เสมหะคั่งค้างมากขึ้น เสี่ยงต่อภาวะปอดแฟบ เลือดเป็นกรดจากการหายใจด้วย
  • ภาวะเบื่ออาหาร เพราะการนอนในท่าเดิมๆ อาจจะทำให้เกิดความอยากอาหารน้อยลง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร มีอาการอ่อนเพลีย หรือเพิ่มความวิตกกังวลได้
  • ท้องผูก เพราะการที่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนอนอยู่ในท่าเดิมนานๆ ทำให้ลำไส้บีบตัวลดลงส่งผลให้อุจจาระค้างในลำไส้ ขับถ่ายได้ยากลำบาก เกิดภาวะท้องอืด ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว
  • นิวในทางเดินปัสสวะ เนื่องจากที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย ทำให้แคลเซียมเกิดการสลายตัวอยู่ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ แล้วตกผลึกกลายเป็นนิ่วไปอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะ
  • ด้านจิตใจ ถ้าหากผู้ป่วยต้องอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ อาจจะทำให้เกิดภาวะที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยมากกว่าเดิมในระยะยาวอาจส่งผลให้อาการที่กำลังเป็นอยู่แย่ลงได้

สำหรับท่านที่กำลังตัดสินใจที่เลือกซื้อเตียงไฟฟ้าเพื่อผู้สูงอายุ แต่ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ สามารถชมรีวิวและวิธีการแนะนำการใช้งานเตียงไฟฟ้าได้ตามได้เลยค่ะ
 สิ่งที่ควรคำนึงถึงการตัดสินใจในการเลือกซื้อเตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุนั้น ควรเลือกเตียงที่สามารถช่วยลดภาระของผู้ดูแล เรื่องดีไซน์ของเตียงไฟฟ้า ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะยังสามารถช่วยฟื้นฟูจิตใจให้กับผู้สูงอายุให้ดีขึ้นได้ 

” ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องวิธีการดูแลเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของคนดูและ และทุกคนในครอบครัว และเตียงไฟฟ้าปรับระดับได้ จึงเป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย ทั้งการรับประทานอาหาร การทำความสะอาดร่างกาย เตียงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมา เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแล โดยเฉพาะฟังก์ชันในการปรับท่าทางต่าง ๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดท่าผู้ป่วย โดยที่ผู้ดูแลไม่ต้องใช้แรงเยอะ ส่งผลดีให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ น้อยลง และยังป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ดูแล ในขณะที่ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย การจัดท่านอนและสภาพแวดล้อม หรือทำกายภาพบำบัดเล็กน้อยเพื่อให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟู ซึ่งหากมีอาการผิดปกติใดๆ ต่างไปจากเดิม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที  ”