fbpx

ซื้อรถเข็นวีลแชร์ และเครื่อง CPAP สามารถเบิกสิทธิราชการได้รู้ยัง ?

ซื้อรถเข็นวีลแชร์ และเครื่อง CPAP สามารถเบิกสิทธิราชการได้รู้ยัง ?

Elife เป็นร้านจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพ และอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย และตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด จำหน่ายสินค้ากลุ่ม รถเข็นวีลแชร์ , วีลแชร์ไฟฟ้า , เตียงเพื่อสุขภาพ , เตียงปรับระดับไฟฟ้าผู้สูงอายุ , เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า , เครื่องผลิตออกซิเจน และ เครื่อง CPAP (เครื่องอัดแรงดันอากาศผ่านทางจมูกหรือปากขณะหายใจเข้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น ช่วยลดอาการนอนกรน) โดยสินค้าที่เราจำหน่าย ได้รับรองมาตรฐานผ่าน อย. ไทย “สำนักงานอาหารและยา” (Food and Drug Administration) ประเทศไทย

สำหรับข้าราชการ/ข้าราชการบำนาญ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และบุคคลเกี่ยวข้องที่มีสิทธิ์ เช่น บิดา มารดา คู่สมรส (บุตร-ธิดา ที่อายุไม่เกิน 20 ปี) จะมีสวัสดิการการรักษา แตกต่างกันออกไป โดยสิทธิการรักษามีทั้งเบิกได้และเบิกไม่ได้ สิทธิที่สามารถเบิกได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเองหรือเบิกได้ให้กับบุคคลในครอบครัว ก็สามารถเบิกได้ทั้งสิ้น และเครื่องมือทางการแพทย์ก็เป็นหนึ่งในรายการ ที่สามารถเบิกสิทธิประโยชน์ตรงนี้ได้เช่นกัน แต่ละรายการ สามารถเบิกได้ไม่เท่ากัน อาจจะต้องขอรายการจากหน่วยงามต้นสังกัด หรือกรมบัญชีกลางเพื่อตรวจสอบรายการเบิกเพิ่มเติมได้ค่ะ สำหรับบทความนี้ แอดมินจะมาแนะนำขั้นตอนวิธีการเบิกสิทธิราชการ ในการซื้อรถเข็นวีลแชร์และอุปกรณ์เครื่อง Cpap กันค่ะ ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?

รถเข็นวีลแชร์ สามารถเบิกราชการได้หรือไม่ และมีขั้นตอนอย่างไร ? 

รถนั่งคนพิการชนิดพับได้ทำด้วยโลหะแบบปรับไม่ได้

สำหรับข้าราชการ/ข้าราชการบำนาญ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และบุคคลเกี่ยวข้องที่มีสิทธิ์ เช่น บิดา มารดา คู่สมรส (บุตร-ธิดา ที่อายุไม่เกิน 20 ปี) สามารถใช้สิทธิ์ได้ดังนี้ให้หมอพิจารณาดูอาการ เมื่อแพทย์เห็นว่าจำเป็นต้องใช้วิลแชร์ก็จะต้องลงความเห็นในใบสั่งแพทย์ว่าจำเป็นต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ โดยใบรับรองจากแพทย์ต้องระบุรายละเอียดถึงความจำเป็น หลังจากนั้นก็นำใบสั่งแพทย์ไปซื้อรถเข็นวีลแชร์ อาจจะสั่งเบิกจ่ายจากโรงพยาบาล หรือว่าจะนำใบสั่งแพทย์ไปซื้อจากร้านข้างนอกได้ โดยจะต้องมีใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน จากทางร้านหรือบริษัทที่ซื้อรถเข็นวีลแชร์มา โดยในเอกสารใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน จะต้องระบุข้อความให้ตรงกับกรมบัญชีกลางดังนี้

  • รถนั่งคนพิการชนิดพับได้ทำด้วยโลหะแบบปรับไม่ได้
    • รหัสอุปกรณ์ 8902 (สามารถเบิกได้ 4400 บาท)
    • ข้อบ่งชี้  :  สำหรับคนพิการที่ไม่สามารถเดินได้

เป็นอุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนที่ด้วยล้อ มีโครงสร้างหลักผลิตจากโลหะ สแตนเลส อลูมิเนียม อัลลอยด์หรือโลหะอื่น ที่ผ่านกระบวนการชุบหรือพ่นสี สามารถพับเก็บได้

  • รถนั่งคนพิการชนิดพับได้ทำด้วยโลหะแบบปรับให้เหมาะสมกับความพิการได้ 
    • รหัสอุปกรณ์ 8901 (สามารถเบิกได้ 6600 บาท) 
    • ข้อบ่งชี้  :  สำหรับคนพิการ โดยรถนั่งคนพิการที่ได้ต้องปรับให้เหมาะสมกับความพิการนั้น

เป็นอุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนที่ด้วยล้อ มีโครงสร้างหลักผลิตจากโลหะสแตนเลส อลูมิเนียม อัลลอยด์หรือโลหะอื่นที่ผ่านกระบวนการชุบหรือพ่นสี สามารถพับเก็บได้และสามารถปรับส่วนต่างๆ ให้เข้ากับขนาดร่างกายของผู้ใช้งานได้

โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่จะไม่เลือกซื้อหรือเบิกจ่ายจากทางโรงพยาบาล เนื่องจากรถเข็นวีลแชร์ในโรงพยาบาลมีตัวเลือกไม่มากนัก และที่สำคัญรถเข็นวีลแชร์ตามโรงพยาบาลก็จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างหนัก เพราะดีไซน์วัสดุล้อหลังเป็นล้อใหญ่ ทำให้น้ำหนักรถเข็นวีลแชร์ค่อนข้างหนัก

เนื่องจากว่าจุดประสงค์หลักๆ ที่ใครต่างก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้รถเข็นวีลแชร์นั่นก็คือ จำเป็นต้องใช้รถเข็นวีลแชร์เพื่อพกพาเดินทางออกนอกบ้าน ดังนั้นรถเข็นวีลแชร์ที่มีน้ำหนักเยอะ จึงเป็นปัญหาสำหรับผู้ดูแล จึงทำให้ผู้ป่วย คนไข้ หรือคนดูแล เลือกที่จะซื้อรถเข็นวีลแชร์ที่มีน้ำหนักเบาเพื่อใช้ในการเดินทาง ทางกรมบัญชีกลาง หรือหน่วยงานต้นสังกัดนั้นๆ ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องสั่งเบิกจ่ายจากทางโรงพยาบาลเท่านั้น ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกซื้อรถเข็นวีลแชร์ที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคลได้ ดังนั้นร้าน Elife จึงสามารถออก ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน เพื่อใช้เป็นเอกสารแนบกับใบสั่งแพทย์เพื่อขอเบิกจ่ายได้ แต่วิธีการลำดับแรกคือ

  1. จะต้องไปขอพบคุณหมอประจำตัว หรือแพทย์เกี่ยวกับเวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นผู้พิจารณา และเขียนใบสั่งแพทย์ให้อนุญาตใช้รถเข็นวีลแชร์ได้ โดยต้องลงวันที่ในใบสั่งแพทย์
  2. ไปเลือกรถเข็นวีลแชร์ที่ต้องการจะซื้อ และให้ร้านจำหน่ายรถเข็นวีลแชร์เป็นผู้ออกเอกสาร ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ด้วย โดยวันที่ในเอกสารใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ต้องลงวันที่หลังจากวันที่ในใบสั่งแพทย์ หรือพูดง่ายๆ ว่าต้องได้ใบสั่งแพทย์ก่อน แล้วใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ลงวันที่ให้ตรงในใบสั่งแพทย์ หรืออาจจะลงวันที่หลังจากได้รับใบสั่งแพทย์แล้ว แต่จะต้องเป็นผู้สำรองจ่ายเงินออกไปก่อน แล้วเบิกคืนได้ทีหลัง
  3. นำเอกสารใบสั่งแพทย์ , ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน แนบคู่กัน และยื่นส่งเอกสารให้กับหน่วยงานต้นสังกัดของตนเอง เพื่อขอทำเบิกคืนตามยอดการซื้อ โดยปกติแล้วจะเบิกได้ตั้งแต่ 4400-6600 บาท แล้วแต่หน่วยงานต้นสังกัด (ต้องสอบถามกับหน่วยงานต้นสังกัดเองว่าเบิกได้เท่าไหร่)

รถเข็นไฟฟ้ารุ่นยอดนิยม


เครื่อง CPAP สามารถเบิกราชการได้หรือไม่ และมีขั้นตอนอย่างไร ?

เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous Positive Airway Pressure – CPAP)

เครื่อง CPAP สามารถเบิกราชการได้ 20,000 บาท โดยผู้ซื้อจะต้องเป็นข้าราชการสังกัดกรมบัญชีกลาง และมีแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาลเป็นผู้ออกใบสั่งแพทย์ให้ ถ้าท่านซื้อ CPAP กับเรา ทางเราสามารถดำเนินเรื่องเอกสารกับทางโรงพยาบาลให้ท่านได้ ท่านเพียงแต่นำเอกสารที่สมบูรณ์จากทางเราไปเบิกกับหน่วยงานต้นสังกัดของท่านครับ ข้าราชการที่ต้องการใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรง จะต้องพบแพทย์และผ่านการตรวจการนอนหลับจากทาง รพ. ก่อนเท่านั้น สำหรับข้าราชการ/ข้าราชการบำนาญ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และบุคคลเกี่ยวข้องที่มีสิทธิ์ เช่น บิดา มารดา คู่สมรส (บุตร-ธิดา ที่อายุไม่เกิน 20 ปี) สามารถใช้สิทธิ์ได้ดังนี้

ข้อบ่งชี้ :: สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์แล้วไม่ได้ผลและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดที่ไม่ซับซ้อน หรือผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องมีระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งดูจาก Apnea-hypoapnea Index (AHI) ที่ได้จากการวัดด้วยวิธี Full polysomnagraphy ในการตรวจการนอนหลับ ดังนี้ (ข้อใดข้อหนึ่ง) 1. AHI มากกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมง 2. AHI ระหว่าง 5 ถึง 15 ครั้งต่อชั่วโมง แต่มีโรคประจำตัวที่อาจเลวลงจากภาวะหยุดหายใจ ขณะนอนหลับ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดสมอง

คุณสมบัติแพทย์ผู้สั่งใช้/หมายเหตุ  :   1. อายุรแพทย์ 2. โสต ศอ นาสิกแพทย์ 3. กุมารแพทย์ 4. แพทย์เฉพาะทางที่จบเกี่ยวกับการรักษาโรคการนอนหลับ 

  • สามารถเบิกค่าตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ (Sleep Test) ได้ตามสิทธิ (7,000 บาท)
  • สามารถเบิกค่าเครื่องรักษา (CPAP) ได้ตามสิทธิ์ (20,000 บาท) กรณีเครื่องเสียซ่อมไม่ได้ สามารถให้เปลี่ยนได้ทุกๆ 5 ปี
    • รหัสอุปกรณ์ 3012 เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous Positive Airway Pressure – CPAP)
    • คุณสมบัติแพทย์ผู้สั่งใช้/หมายเหต : ในกรณีที่เครื่องเสียไม่สามารถซ่อมได้ สามารถให้เปลี่ยนได้ทุกๆ 5 ปี
  • สามารถเบิกค่าหน้ากากชนิดครอบจมูกหรือปากที่่ใช้กับเครื่อง CPAP ได้ (4,000 บาท) ปีละ 1 ชุด
    • ข้อบ่งชี้  :  สำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP – รหัส 3012) เพื่อใช้ทดแทนกรณีที่หน้ากากครอบจมูกหรือปากที่ใช้อยู่ชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ โดยเบิกได้ไม่เกิน 1 07/ปี

อ้างอิงจากระบบตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล >> https://mbdb.cgd.go.th/wel/searcheqpandmed2.jsp


ดังนั้น หากต้องการซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภท รถเข็นวีลแชร์ , วีลแชร์ไฟฟ้า , รถเข็นไฟฟ้า และเครื่อง CPAP จากทางร้าน Elife ทางบริษัทฯ สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน เพื่อนำไปแนบคู่กับใบสั่งแพทย์ เพื่อยื่นเรื่องขอเบิกสิทธิกับหน่วยงานต้นสังกัดได้ค่ะ