fbpx

Auto CPAP กับ Manual CPAP ต่างกันอย่างไร?

Auto CPAP กับ Manual CPAP ต่างกันอย่างไร?

คุณมีปัญหาเรื่อง “นอนกรน” และกำลังมองหา “เครื่องCPAP” มาใช้อยู่ใช่ไหมครับ หนึ่งในวิธีรักษาการนอนกรนที่ดีที่สุดและได้รับความนิยมมากวิธีหนึ่งคือการใช้เครื่องCPAP เนื่องจากใช้งานง่าย ไม่ต้องผ่าตัด แต่ก็จะเริ่มงงว่า CPAP แยกออกเป็น Manual และ Auto อีก งงเลยทีนี้ ต่างกันยังไง ทำงานต่างกันไหม วันนี้ elife มีคำตอบให้ลูกค้าครับ
ที่เราจะพูดกันวันนี้จะขอพูดถึงแค่เฉพาะ CPAP เลยนะครับ ไม่รวม BiPAP นะครับ ซึ่งการทำงานจะคนละอย่างกัน สำหรับ CPAP นั้นแบ่งออกเป็น Auto CPAP และ Manual CPAP อย่างที่เกริ่นไปแล้วข้างต้น หลักๆเลยคือทั้ง 2 แบบ ใช้ในการรักษา OSA หรือ Obstructive Sleep Apnea คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการปิดกัน/ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ภาษาง่ายๆคือ มีการตีบตัน-บังของทางเดินหายใจ เช่น โคนลิ้นหรือกล้ามเนื้อช่องคอหย่อน ปิดทางเดินหายใจ ภาวะนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากเกิดจากความอ้วน และ อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนปิดกั้นทำให้อากาศไหลไปสู่ปอดได้น้อยลง-หยุดหายใจ โดยมากจะมีอาการนอนกรนร่วมด้วย ภาวะนี้เป็นอันตรายอย่างมากในระยะสั้นทำให้รู้สึกไม่สดชื่นเพราะขณะหลับออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เพลีย อารมณ์แปรปรวน ระยะยาวนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับสมอง ชาวบ้านอาจมีคำศัพท์ว่า “ไหลตาย” มีความเกี่ยวเนื่องกับ OSA เครื่องCPAP จะถูกคิดค้นขึ้นเพื่อรักษาอาการนี้

@elifegear ซีแพพแมนนวลกับออโต้ต่างกันอย่างไร? #cpap #cpapmachine #cpapmask #หยุดหายใจขณะหลับ #กรน #กรนเป็นเหตุสัตเกตได้ #สุขภาพดี #นอนกรน ♬ เสียงต้นฉบับ – ชรินทร์

เครื่องรักษาอาการนอนกรน (CPAP) หรือเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก ช่วยรักษาอาการหยุดหายใจขณะหลับ Sleep Apnea, นอนกรน ลดอาการอ่อนเพลียเหมือนนอนไม่พอระหว่างวัน อาการหยุดหาย นอนกรนส่งผลร้ายในระยะยาวกับผู้ป่วย ทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ ความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงสูงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคทางสมอง ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก เครื่อง CPAP ช่วยลดการปิดกั้นในระบบทางเดินหายใจขณะหลับ ลดอาการกรนและภาวะการหยุดหายใจระหว่างหลับ SOP

เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกมีชื่อรวมๆกันว่า PAP โดย CPAP สามารถแบ่งออกเป็นแบบแรงดันคงที่ กับแรงดัน Auto โดยเราจะเรียกเครื่องปรับแบบอัตโนมัติว่า Auto CPAP หรือ APAP
ส่วน BiPAP นั้นแตกต่างออกไปโดยเครื่องจะสร้างแรงดันสูงเพื่อให้หายใจเข้าปอด และ แรงดันต่ำเพื่อให้หายใจออก ใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการหายใจและการทำงานของปอด

Manual CPAP 
คือ CPAP แบบไม่จ่ายแรงดันอากาศเดียวตลอดทั้งคืน อาจจะทำให้อึดอัด ไม่มีการปรับลมเพิ่มขึ้นหรือลดลงระหว่างคืน จ่ายแรงดันที่ตั้งไว้ ซึ่งคนไข้แต่ละรายก็จะมีแรงดันลมที่เหมาะกับแต่ละบุคคลไป ดังนั้นการจะทราบค่าแรงดันได้ก็ต้องผ่านการทำ sleep test มาเสียก่อน เพื่อหาความดันที่เหมาะสมสำหรับทางเดินหายใจส่วนบนที่ตีบแคบ หรือ  CPAP titration

Auto CPAP
จะปรับแรงดันลมที่เหมาะสมให้กับเราให้โดยอัตโนมัติตลอดทั้งคืน แล้วแต่การตั้งค่า เครื่่องก็จะจ่ายแรงดันลมให้ตามสภาพการหายใจของเรา สามารถปรับเพิ่ม-ลดแรงต้านของแรงดัน คนไข้จะนอนสบายมากขึ้น หากในขณะที่เครื่องให้แรงดันอยู่ที่ 5 แล้วเราเกิดมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือกรนรุนแรงขึ้น เครื่องก็จะคำนวณและจ่ายแรงดันสูงขึ้นเป็น 6 หรือ 7 เป็นต้น

สรุป

เครื่อง Manual CPAP
ข้อดี:
-ราคาถูกกว่าแบบ Auto
ข้อเสีย:
-อึดอัดมากกว่า โดยเฉพาะถ้าต้องการใช้งานที่แรงดันสูงๆ
-ต้องคอยมาปรับตั้งแรงดันเรื่อยๆ

เครื่อง Auto CPAP
ข้อดี:
-ปรับแรงดันที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติ
-อึดอัดน้อยกว่า เนื่องจากแรงดันไม่ได้สูงตลอดทั้งคืน
ดูแลง่าย ไม่ต้องคอยมาปรับตั้งแรงดันเรื่อยๆ
ข้อเสีย:
-ราคาแพง


บทความที่เกี่ยวข้อง