fbpx

สาเหตุนอนคอตกหมอน

สาเหตุนอนคอตกหมอน

คอตกหมอน เหตุการที่เป็นดังฝันร้ายของใครหลายๆคนที่พบเจอ การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญของสิ่งที่มีชีวิตไม่น้อยไปกว่าการได้รับประทานอาหารที่ดี และการได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์ สังเกตได้ว่ามนุษย์เราใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอนหลับ การนอนหลับนั้นเป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และแอดมินยังคงเชื่อว่าหลายคนไม่รู้จักมาค่ะมาทำความรู้จักอาการคอตกหมอนกัน  คอตกหมอน เป็นคำเรียกอาการปวดคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า คอแข็ง และมีอาการเจ็บปวดบริเวณคอเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่วมกับจำกัดการเคลื่อนไหวคอในทุกทิศทาง ซึ่งเป็นอาการที่รบกวนการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ส่วนมากอาการสามารถหายเองได้ภายใน 3-5 วันนอนจากหมอนที่เรานอนแล้วอาจจะเกี่ยวกับเตียงที่เรานอนด้วยเช่นกัน

คอตกหมอน คือ  อาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอเฉียบพลันทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อส่งผลให้เกิดอาการปวดตึงคอ เมื่อคลำอาจจะพบการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นลำ (muscle spasm) ชัดเจน หรือรู้สึกผิวหนังบริเวณนั้นอุ่นกว่าบริเวณอื่น3,4 นอกจากนี้อาจมีอาการปวด และเกร็งของกล้ามเนื้อบ่า และสะบักข้างเดียวกันได้อีกด้วย โดยส่วนมากมักมีอาการปวดข้างเดียว

สาเหตุ

สาเหตุมักเกิดจากการที่ลำคอและศีรษะอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นท่าทางที่ทำให้ “คอเอียงตะแคง” หรือหันหน้าไปทางใดทางหนึ่ง มักเกิดจากการนอนหนุนหมอนที่ไม่เหมาะสม เช่น หมอนแบนเกินไป ทำให้ศีรษะแหงนเงยเล็กน้อยเมื่อนอนหงาย และทำให้คอเอียงเมื่อนอนในท่าตะแคง หรือหนุนหมอนที่หนาเกินไป ไม่ยุบตัวรองรับลำคอและบ่า จะทำให้คออยู่ในท่าก้มเมื่อนอนหงาย และเอียงมาด้านตรงข้ามเมื่อนอนตะแคง เกิดการตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบลำคอ

ข้อควรระวัง

ไม่ควรกดบีบ หรือยืดกล้ามเนื้อจนรู้สึกเจ็บ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากขึ้น และไม่ควรให้ผู้อื่นดัดคอเด็ดขาด หลายคนมักคิดว่า เมื่อมีอาการปวดจะต้องเข้านวดเสมอ โดยเฉพาะการนวดแผนไทย วิธีนี้อาจทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อได้หากปฏิบัติตามที่แนะนำแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดจะดีกว่า อย่าไปมัวเสียเงินให้อาการปวดต้นคอย่ำแย่ไปมากกว่านี้

อาการ

  1. ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ และอาจมีอาการปวดของกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ เช่น กล้ามเนื้อบ่า ไหล่ หรือสะบัก
  2. มีอาการปวดแบบรำคาญ (achy or throbbing pain) ที่กล้ามเนื้อลึก ๆ เป็นบางครั้งหรือตลอดเวลาจนรบกวนการนอน
  3. มีอาการปวดแปล๊บที่กล้ามเนื้อ (sharp pain) ขณะเคลื่อนไหวคอ
  4. อาการแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวคอแล้วทำให้อาการปวดเพิ่มมากขึ้น
  5. กล้ามเนื้อเกร็งตัวเป็นลำทำให้เกิดจุดกดเจ็บบนกล้ามเนื้อ หรือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดร้าวไปที่อื่นได้
  6. คอแข็งหรือเคลื่อนไหวคอได้ลำบาก ไม่สามารถหันคอไปทิศตรงข้ามกับบริเวณที่มีอาการได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะมีอาการปวด บวม และอักเสบ

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันอาการคอตกหมอน

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับท่านอนให้เหมาะสม จะช่วยทำให้ป้องกันและลดอาการบาดเจ็บที่สามารถเกิดขึ้นได้
  2. การเลือกหมอนและที่นอนให้เหมาะกับสรีระร่างกายของผู้นอน คือไม่แข็งหรือนุ่มจนเกินไป มีความยืดหยุ่นระดับกลาง เมื่อนอนแล้วกระดูกสันหลังเรียงกันเป็นเส้นตรง
  3. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคออย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดอัตราการเกิดอาการคอตกหมอนได้

เมื่อทุกคนทราบว่าคอตกหมอนเป็นอารการที่สามารถพบได้ง่าย ดังนั้นแอดมินขอแนะนำหมอนจากร้านอีไลฟ์หมอนน้ำยางพาราแท้ 100%รุ่น Flexi Bean เป็นหมอนยางพาราที่ลักษณะภายนอกเหมือนถั่ว มีลักษระเล็กกระทัดลัดถูกออกแบบมาเพื่อเป็นหมอนที่สามารถยึดติดและเคลื่อนที่ได้น้อยการลื่นไถลจะไม่มี เหมาะสำหรับคนนอนดิ้น และรุ่น Flexi Curve หมอนยางพาราออกแบบคล้ายคลื่นด้านหนึ่งสูงอีกด้านหนึ่งต่ำ ด้านโดยถูกออกแบบมาเพื่อให้ท่านที่ชอบหนุนหมอนสูง หรือ หบุนหมอนต่ำในหมอนใบเดียวกันได้ มีผิวเป็นปุ่ม ช่วยในการไหลเวียนโลหิตได้เป็นอย่างดีและเพื่อรองรับลำคอที่พอดี ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกจะดีที่สุดนะคะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก กภ. ลดาวรรณ เติมวรกุล