fbpx

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia)

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia)

“โอ้ย วันนี้รู้สึกน้ำตาลต่ำจังเลย คงต้องจัดชานมไข่มุกสักแก้วซะแล้ว” ประโยคแบบนี้หลายคนคงได้ยินเพื่อนๆชอบบ่นกันขำๆ เพื่อเป็นข้ออ้างในการกินของที่อยากกิน หรืออาจะเป็นตัวเราเองซะด้วยที่ใช้เหตุผลนี้ในการบอกถึงความจำเป็ในการกินครั้งนี้ แต่ทราบกันไหมครับว่า “ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ” นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงๆ และยังอันตรายถึงขั้นโคม่ากันเลยที่เดียว วันนี้ Elife จึงจะพาทุกคนมารู้จักกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกันครับ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มักทำให้เกิดอาการใจสั่นอ่อนเพลียซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาลดน้ำตาลหรือฉีดอินซูลิน

อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

-เหงื่อออก

-ไม่มีแรง

-เวียนศีรษะ

-สับสน

-ผิวหนังเย็น

-อ่อนเพลีย

-ตาพร่า

-หิวบ่อย

-ตัวสั่น

-ชัก

-ขาดสติ

-หัวใจเต้นเร็ว

-อาการโคม่า

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

1.มักเกิดจากการกินอาหารน้อยไป หรือกินอาหารไม่ตรงเวลา

2.กินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดบางชนิดเกินขนาด หรือฉีดยาอินซูลินมากเกินไป

3.การออกกำลังกายหนักจนเกินไป หรือทำงานมากกว่าปกติ

การแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เมื่อเริ่มมีอาการ ควรรีบตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด โดยวิธีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และแก้ไขตามระดับอาการ ดังนี้

  • อาการไม่มากและรู้สึกตัวดี

ให้กินอาหารทันที ถ้าเวลาที่เกิดใกล้มื้ออาหารหลัก แต่หากอยู่ระหว่างมื้ออาหาร ควรกินอาหารว่าง เช่น นมพร่องมันเนย (240 ซีซี) หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ลูก หรือ แครกเกอร์ 2-3 แผ่น

  • อาการค่อนข้างมาก แต่รู้สึกตัวดี

ให้กินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็วอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

-น้ำผลไม้คั้นสดไม่เติมน้ำตาล ปริมาณ ½ แก้ว

-ลูกอม 2 เม็ด หรือน้ำตาล 2 ก้อน

-น้ำหวาน ½ แก้ว (น้ำหวานเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำให้ได้ปริมาณ 120 ซีซี)

-น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา

-น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา

หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปัง ข้าว หรือก๋วยเตี๋ยว ต่อเลยทันที

  • อาการเป็นมาก

ไม่รู้สึกตัวหรือมีอาการชัก ห้ามให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักเข้าปอด ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

1.รับประทานอาหารตรงเวลาและมีปริมาณเหมาะสมตามความต้องการพลังงานของร่างกายแต่ละคน

2.ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง

3.ฉีดอินซูลินหรือกินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดตามแพทย์สั่ง ไม่เพิ่มหรือลดยาเอง (ยกเว้นกรณีแพทย์แนะนำให้ปรับยาเองได้) ออกกำลังกายอย่างสม่ำสมอ ไม่หักโหมจนเกินไป ถ้าออกกำลังกายมากกว่าปกติ ควรกินอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย ประมาณ 15-30 นาที เช่น นมพร่องมันเนย 1 แก้ว หรือ ขนมปัง แครกเกอร์ 2-3 แผ่นใหญ่ หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล เช่น ส้ม กล้วยน้ำว้า หรือ ผลไม้ใหญ่ ½ ผล เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ กล้วยหอม

4.ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ

5.ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องกินยาสำหรับรักษาโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้

6.บอกให้ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดทราบว่าเป็นเบาหวานและอธิบายการแก้ไขที่ถูกต้องให้รับทราบ

7.ควรมีลูกอม น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ 100% หรือขนมปังแครกเกอร์เก็บไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา เผื่อยามฉุกเฉิน

8.ช่วงที่เจ็บป่วย หากทานอาหารไม่ได้ ควรพบแพทย์เพื่อปรับยา

 

ซึ่งสำหรับคนที่มีภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูงที่ค่อนข้างสวิงมากๆ หรือผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆที่ยามีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด การที่จะทราบผลเลือดอยู่ตลอดนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ในบางรายอาจจะเลือกเป็นวิธีเจาะเลือดตรวจแบบ BGM หรือการเจาะเลือดปลายนิ้ว ซึ่งวิธีนี้ทำให้ทราบผลได้ง่ายและเร็ว แต่อาจจะต้องเจ็บตัววันละหลายครั้งมากๆ ในผู้ป่วยบางรายเจาะมากกว่า 5 ครั้ง/วัน ในปัจจุบันมีวิธีที่ง่ายกว่านั้นและไม่ต้องเจ็บตัวเจาะเลือดบ่อยๆ นั้นคือนวัตกรรม CGM หรือเครื่องตรวจน้ำตาลแบบ Real Time ที่สามารถวัดผลได้ตลอดอยากทราบเมื่อไหร่เพียงยกมือถือมาดูก็สามารถทราบผลได้เลยง่ายๆ

 

ตัว Transmitter ส่งค่าระดับน้ำตาลในเลือดผ่าน Boothtooth

  • เก็บข้อมูลชัดเจนบนเครื่องส่งสัญญาณ
  • เป็นตัวเครื่องที่สามารถใช้ซ้ำได้นาน 2 ปี
  • ใช้ถ่ายกระดุม 1 ก้อน
  • ขนาด 31.5 x 21 x 23.5 cm
  • ส่งสัญญาณเข้าตัวแอพพิลเคชั่นทุกๆ 3 นาที
  • อย.65-2-2-2-0012022

 

ตัว Sensor CT-2-CGM ปากกาเซ็นเซอร์ตรวจวัดน้ำตาล

  • มีอายุการใช้งาน 10 วัน
  • ขนาด 43.5 x 33.5 x 18.5 cm
  • มีการแก้ไขสัญญารบกวนทางเคมีไฟฟ้า
  • กาวที่ติดมีประสิทธิภาพทนน้ำ
  • อย.65-2-2-2-0012022