fbpx

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์และสติ๊กเกอร์คนพิการ

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์และสติ๊กเกอร์คนพิการ

ในอีดตสังคมไทยมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ คนพิการ หรือผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ แต่ในปัจจุบันนี้สังคมได้ให้ความสำคัญ กับคนพิการ และผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสถานที่ประกอบการ มีการรับคนพิการเข้าทำงาน ซึ่งเป็นการขยายโอกาสให้กับคนพิการได้มีอาชีพ มีงานทำเพื่อสร้างรายได้ หรือคนปกติทั่วไปสามารถใช้ชีวิตร่วมกันกับคนพิการ หรือผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์เพื่อเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ซึ่งหลายครั้งในการเดินทาง เรามักจะพบผู้พิการ หรือผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์เดินทางไปไหนมาไหนด้วยตัวเอง หลายครั้งเจอเพื่อนร่วมทาง หรือพลเมืองดีคอยให้การช่วยเหลือ พอมองดูแล้วเป็นภาพที่น่ารักและอบอุ่นที่คนไทยมีน้ำใจคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

นั่งวีลแชร์ขึ้นรถไฟสายสีม่วง ส่อง"สิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการ" - โพสต์ทูเดย์ รายงานพิเศษ

จะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมมือกันพยายามให้ความสำคัญกับผู้พิการและผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ในการเดินทางในแต่ละวัน และจัดระเบียบสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณพื้นที่สาธารณะให้กับผู้พิการไว้อย่างหลากหลาย เช่น ผู้พิการที่ต้องเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส จะได้รับยกเว้นค่าโดยสารตลอดเส้นทางขางการเดินทาง เพียงแค่แสดงสมุดประจำตัวคนพิการ หรือบัตรประจำตัวคนพิการต่อเจ้าหน้าที่ นอกจากนั้นยังจะได้รับความดูแลจากเจ้าหน้าที่ประจำสถานี จนถึงสถานีปลายทาง รวมถึงขบวนในรถไฟฟ้าเองก็มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ด้วย
หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุที่มีบัตรผู้สูงอายุ หรือมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ก็สามารถได้รับการลดหย่อนค่าโดยสาร เพราะส่วนใหญ่ผู้สูงอายุบางท่านยังแข็งแรง สามารถเดินทางออกไปไหนมาไหนได้ แต่เมื่ออายุเยอะขึ้น ทำให้ไม่มีรายได้ ดังนั้นผู้สูงอายุต้องได้รับสิทธิช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 11 (6) ว่าด้วยสิทธิการช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม

สิทธิการเข้าถึงการขนส่งสาธารณะของคนพิการ และผู้สูงอายุ ต้องเท่าเทียมกัน 

สิทธิการลดค่าโดยสาร ผู้สูงอายุ VS ผู้พิการ


ซึ่งในประเทศไทยเองสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณพื้นที่สาธารณะของคนพิการก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายเลยทีเดียว เป็นเรื่องยากที่ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนกับคนเราทั่วไป เพราะฉะนั้นการมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ทุกๆประเทศบนโลกใบนี้ จะต้องทำและต้องมี มันเหมือนกับเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความเท่าเทียมระหว่างคนปกติทั่วไปกับคนพิการหรือผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ ว่าถึงแม้เขาจะไม่สามารถเดินเคลื่อนไหวได้ แต่ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนทั่วไปได้อย่างปกติสุข แต่โดยส่วนใหญ่ผู้พิการหรือผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ ไม่ค่อยอยากเดินทางออกไปไหนมาไหนนัก เนื่องจากไม่ทราบว่าตามห้างสรรพสินค้า ท้องถนน รถเมล์ หรือรถเข็นไฟฟ้า มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ไม่มากพอที่จะช่วยอำนวยความสะดวกต่อพวกเขา จึงอาจทำให้ความคิดที่พวกเขาอยากจะออกไปข้างนอกนั้นเป็นเรื่องยากลำบากมาก แต่รู้หรือไม่ว่า??? ปัจจุบันนี้เรามีสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุที่มีความจำเป็นจะต้องนั่งรถเข็นวีลแชร์ตามสถานที่ต่างๆ มากขึ้น 

ดังนั้นวันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับ 4 สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ อย่างที่จอดรถคนพิการ ทางลาดสำหรับเข้าอาคารหรือภายในบริเวณอาคาร ห้องน้ำคนพิการ และลิฟต์ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกหลักที่จะทำให้ผู้ใช้วีลแชร์เข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ได้ โดยเราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งอำนวยความสะดวกหลัก ๆกัน ว่าแบบที่ได้ มาตรฐาน ต้องเป็นยังอย่างไรกันบ้าง ดังนี้ค่ะ

ที่จอดรถสำหรับคนพิการ หรือผู้ใช้วีลแชร์

1. ที่จอดรถคนพิการ
นี่คือสิ่งที่เราเห็นได้บ่อยที่สุดสำหรับที่จอดรถของคนพิการ โดยส่วนมากจะเป็นการเว้นพื้นที่โดยมีการทำเครื่องหมายเฉพาะเอาไว้ให้ในบริเวณที่จะทำให้คนพิการสะดวกต่อการใช้บริการสถานที่ต่างๆ อาทิ สถานที่ราชการ, ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยมักจะทำพื้นที่จอดรถคนพิการไว้ใกล้กับทางเข้าออกเพื่อสะดวกในการเดินทางมาทำธุระ โดยจะมีขนาดมาตรฐานดังนี้

  • พื้นที่จอดรถมีขนาดตั้งแต่ 2.4 x 5 เมตรขึ้นไป
  • มีพื้นที่ว่างข้างที่จอดอย่างน้อย 1 เมตร ตลอดความยาวของที่จอดรถ
  • มีสัญลักษณ์คนพิการให้เห็นชัดเจน
  • อยู่ใกล้ทางเข้า สามารถขึ้น-ลงทางเท้าสะดวก

นอกจากการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์สามารถขึ้น-ลงรถได้สะดวกแล้ว อีกปัญหานึงที่เจอบ่อย ๆ คือ คนทั่ว ๆ ไปมาใช้ที่จอดรถตรงนี้ หรือมอเตอร์ไซค์เห็นพื้นที่ว่างข้างที่จอด ก็เข้ามาจอดแทรก เหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้วีลแชร์ตัวจริง ไม่ได้ใช้ที่จอดรถคนพิการจริง ๆ เอาเป็นว่า เราต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา สงวนสิทธิ์ที่จอดรถคนพิการให้คนที่จำเป็นต้องใช้งานกัน


ทางลาดชันสำหรับรถเข็นวีลแชร์

2. ทางลาด
มีไว้เพื่อให้คนพิการที่มีปัญหาเรื่องการเดิน การเคลื่อนไหว หรือเรื่องสายตาสามารถใช้ทางลาดเพื่อเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องก้าวเป็นขั้นขึ้นบันไดเพราะมันอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุสะดุดพลาดล้มได้ ส่วนมากก็มักจะเห็นตามรถไฟฟ้า, ห้างสรรพสินค้า หรือทางเดินทั่วไปที่มีการจัดสรรไว้ให้คนพิการ

  • มีความกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร
  • ไม่ชันเกินไปจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ โดยสัดส่วนทางลาดที่เหมาะสม คือ 1:12
  • หากลาดยาวเกิน 6 เมตร ต้องมีชานพักยาวอย่างน้อย 1.5 เมตร คั่นระหว่างช่วง
  • มีขอบสูงจากพื้นทางลาดอย่างน้อย 5 เซนติเมตร หรือมีราวจับหากทางลาดยาวตั้งแต่ 2.5 เมตร ขึ้นไป

หลาย ๆ สถานที่มีทางลาดหน้าห้างร้าน แต่มาพลาดตรงที่หน้าประตู ดันมีพื้นต่างระดับ เอาเป็นว่า ถ้าจะให้ชาววีลแชร์หมุนล้อได้ฉิว ๆ ไม่สะดุด ต้องไม่มีพื้นต่างระดับเลยจ้ะ หากพื้นที่จำกัด ไม่สามารถทำทางลาดตามมาตรฐานได้ อาจติดตั้งแพลตฟอร์มลิฟต์ สำหรับขึ้น-ลงได้ อย่างที่เคยเห็นในกรุงเทพฯ จะมีแพลตฟอร์มลิฟต์จากรถไฟฟ้าใช้ดิน MRT ไปยังสามย่าน มิตรทาวน์ หรือตรง sky walk หน้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ เข้าไปยังหอศิลป์กรุงเทพฯ เป็นต้น


ห้องน้ำสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ

3. ห้องน้ำคนพิการ
ต้องเข้าใจว่าคนพิการหลายๆ คนไม่สามารถใช้ห้องน้ำแบบเดียวกับคนปกติได้ ด้วยเรื่องของพื้นที่ ความสะดวกสบาย ห้องน้ำคนพิการจึงมักจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติเพื่อเป็นการเผื่อให้รถวีลแชร์สามารถเข้าไปได้ มีราวจับ หรือบางทีทำไว้แบบไม่มีกลอนประตูเผื่อว่าหากเกิดอุบัติเหตุคนที่อยู่ด้านนอกจะได้เข้าไปช่วยเหลือได้ทัน

  • พื้นห้องน้ำไม่มีขั้นต่างระดับ
  • บานประตูเปิดออก หรือเป็นบานเลื่อน
  • มีพื้นที่ว่างในห้องน้ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 1.5 เมตร (ให้หมุนตัวกลับได้)
  • มีราวจับที่เหมาะสม
  • ก๊อกน้ำแบบก้านโยก หรือแบบอัตโนมัติ
  • มีระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน

ห้องน้ำคนพิการบางที่ ติดป้ายสัญลักษณ์คนพิการไว้ แต่ใช้งานไม่ได้จริง เพราะห้องน้ำแคบเกินไป หรือบางที่ขนาดกว้างพอให้วีลแชร์หมุนล้อเข้าไปได้ แต่ประตูเป็นบานเปิดเข้าไปในห้องน้ำ ทำให้วีลแชร์เข้าไปแล้วปิดประตูห้องน้ำไม่ได้ รายละเอียดของห้องน้ำคนพิการเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่จำเป็นกับการใช้งาน


ลิฟต์

4. ลิฟต์ฟ
ลิฟต์ฟ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยให้การเดินขึ้นตึก ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารได้สะดวกมากขึ้นสำหรับคนที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ วีลแชร์ไฟฟ้า เนื่องจากว่ารถเข็นวีลแชร์ที่เราใช้กันอยู่นั้น ไม่สามารถเข็นขึ้นบันไดเลื่อนที่เป็นขั้นได้ ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการก็จะสามารถนั่งวีลแชร์เข้าลิฟต์ฟได้เพื่อความสะดวกสบายและความเท่าเทียม และขนาดของลิฟต์ ความกว้างจะต้องได้มาตรฐานเพื่อผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์สามารถหมุนหรือเข็นกลับตัวรถเข็นได้ด้วย

  • ประตูลิฟต์กว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร
  • พื้นที่ภายในลิฟต์อย่างน้อย 1.1 x 1.4 เมตร

เรื่องของลิฟต์นี้ ดูไม่น่ายาก เพราะบริษัทที่ผลิตลิฟต์ส่วนใหญ่จะได้มาตรฐานกันอยู่แล้ว แต่การติดตั้งลิฟต์นั้น อย่าลืมว่าผู้ใช้วีลแชร์ต้องใช้งานได้จริงด้วยนะ เคยเจอบางที่ติดลิฟต์ไว้ และเปิด-ปิดตรงครึ่งชั้น ต้องเดินขึ้น-ลงบันได ไปอีกครึ่งชั้น ถึงจะไปถึงจุดหมายได้ แบบนี้ใช้ไม่ได้นะจ๊ะ ติดลิฟต์ทั้งที ต้องทำให้ดี ให้ใช้งานได้ด้วย


“แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสถานที่อีกเหมือนกัน เพราะอาจจะมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ หรือวีลแชร์ไฟฟ้า เข้าใช้งานสถานที่ได้อย่างสะดวก เช่นร้านอาหารที่มีโต๊ะสูงพอดีกับระดับของวีลแชร์ เคาน์เตอร์ที่ชาววีลแชร์สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล หรือชำระเงินได้สะดวก หรือโรงแรมที่มีห้องพักที่วีลแชร์เข้าไปใช้บริการได้ทั่วถึงเป็นต้น “

“แต่..ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุบางท่าน ไม่ได้ใช้รถเข็นวีลแชร์ไปตามที่สาธารณะต่างๆ แต่ก็มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงมากนัก การเคลื่อนไหว การเดินก็ลำบาก เวลาเดินทางออกไปข้างนอกตามสถานที่ต่างๆ เรื่องระยะทางการเดินก็จะเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นเราควรจอดรถหรือใช้บริการสถานที่สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ โดยแต่ละสถานที่ได้จัดเตรียมไว้ให้เพื่ออำนวยความสะดวก โดยจะมีสัญลักษณ์ผู้พิการนั่งรถเข็นวีลแชร์ ที่มีลักษณะเป็นสติ๊กเกอร์สีฟ้าติดอยู่กับผนังหรือเป็นป้ายแสดงสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นจุดอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ใช้วีลแชร์ ” 

ไม่พิการ แต่จอดรถช่องคนพิการผิดไหม? เข้าใจสิทธิและการออกแบบที่จอดรถสำหรับทุก คน

ที่จอดรถคนพิการ สำคัญสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์อย่างไร?? 
ที่จอดรถสำหรับคนพิการ และสำหรับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้พวกเขาเหล่านั้น สามารถลงรถ-ขึ้นรถ ได้อย่างสะดวกสบาย พื้นที่ด้านข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวาจะมีขนาดกว้างกว่าที่จอดรถปกติ เนื่องจากว่าคนพิการหรือผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์ สามารถเปิดประตูรถยนต์ได้เต็มบาน ไม่ไปสร้างความเสียหายให้กับรถยนต์คันข้างๆ และที่สำคัญมีทางลาดชันไว้สำหรับเข็นรถเข็นขึ้นไปได้ด้วย ลักษณะที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ที่ดีนั้น ต้องมีขนาดกว้าง ทั้งซ้ายและขวา อย่างน้อยหนึ่งเมตร ตำแหน่งควรอยู่ใกล้กับอาคาร หรือใกล้กับทางลัดชัน เพราะคนพิการ หรือผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์มีแรงที่จะเข็นรถเข็นที่จำกัด สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้จะช่วยซัพพอร์ตข้อจำกัดของผู้พิการและผู้สูงอายุ และเรื่องที่สำคัญอย่างมากนั่นก็คือป้ายสัญลักษณ์ที่ชัดเจน ทั้งสื่อสารกับคนพิการหรือผู้สูงอายุ หรือสื่อสารกับคนปกติทั่วไปไม่ให้มาจอดในที่ของคนพิการ

ทำยังไงล่ะ ??? คนปกติทั่วไปถึงจะรู้ว่านั่นคือสติ๊กเกอร์สำหรับคนพิการ 
คนส่วนใหญ่น่าจะพอรู้จักกับสัญลักษณ์ “ที่จอดรถผู้พิการ” เป็นอย่างดี เป็นไปไม่ได้ว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จักสัญลักษณ์นี้ แต่ก็จะมีคนที่ไม่ชอบที่จะปฏิบัติตาม ดังนั้น สติ๊กเกอร์สำหรับคนพิการ ส่วนใหญ่จะติดกันที่ท้ายรถยนต์ เป็นสติ๊กเกอร์บ่งบอกว่าผู้ที่โดยสารรถยนต์คันนี้ หรือขับรถยนต์คันนี้มา เป็นผู้พิการด้านการเคลื่อนไหว หรือเป็นผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ แต่ยังมีบางท่านที่ยังไม่ทราบว่าสัญลักษณ์ผู้พิการไม่ใช่เพียงแต่เป็นผู้พิการเท่านั้น  หรืออาจจะเป็นคนชราที่ต้องนั่งรถเข็นวีลแชร์ด้วยก็ได้เช่นกัน เพราะส่วนใหญ่ที่สำหรับจอดรถเหล่านี้ จะอยู่ใกล้กับทางลาด บันได หรือทางเข้าอาคาร ห้างสรรพสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวก ไม่ต้องเดินไกล เข้าไปใช้บริการได้ง่าย ดังนั้นประโยชน์ของสติ๊กเกอร์วีลแชร์ (Wheelchair) สติ๊กเกอร์สำหรับคนพิการ เพื่อบ่งบอกว่าถึงสถานะของผู้ใช้งาน ขณะที่เราไปใช้พื้นที่บริการเหล่านี้ก็จะได้รับการบริการที่ดีจากเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่นั้นๆ และที่สำคัญมีความปลอดภัยสูงมากด้วยค่ะ จึงจำเป็นจะต้องมีสติ๊กเกอร์ติดท้ายรถยนต์ด้วยเพื่อบ่งบอกว่าเป็นผู้พิการทุพพลภาพ หรือเป็นผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ เพราะถ้าหากเราไม่มีสติ๊กเกอร์ติดท้ายรถยนต์อาจจะทำให้คนทั่วไปที่มาใช้บริการมองว่าไม่ใช่ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ มาจอด ซึ่งไม่ใช่ที่จอดรถสำหรับคนปกติทั่วไปที่จะสามารถเข้ามาใช้บริการพื้นที่ได้

ป้ายผู้พิการหรือผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ในพื้นที่สาธารณะ

  • รถเข็นแมนนวล

” ดังนั้นหากลูกค้ามาใช้บริการ หรือซื้อรถเข็นวีลแชร์ วีลแชร์ไฟฟ้า รถเข็นไฟฟ้า จากร้าน Elife เรามีของแถมเป็นสติ๊กเกอร์ติดท้ายรถยนต์สำหรับผู้พิการ – ผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ ไว้สำหรับนำไปติดท้ายรถยนต์เพื่อที่จะได้รับสิทธิจอดรถในพื้นที่ผู้พิการหรือผู้สูงอายุ และหากเคยเป็นลูกค้าเก่าที่เคยซื้อรถเข็นไฟฟ้า รถเข็นวีลแชร์ร้านรถเข็นไฟฟ้า Elife ไปแล้ว ยังไม่ได้สติ๊กเกอร์แล้วอยากได้สติ๊กเกอร์ สามารถติดต่อที่เบอร์โทรศัพท์หรือติดต่อทางไลน์ เพื่อขอรับสติ๊กเกอร์ได้เลยค่ะ เพียงเท่านี้ ผู้สูงอายุและผู้พิการที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ก็จะได้รับสิทธิพิเศษความสะดวกสบายและเรียบง่ายในการเดินทางออกไปข้างนอกมากยิ่งขึ้นค่ะ ” 

ติดต่อเกี่ยวกับรถเข็นไฟฟ้า รถเข็นวีลแชร์ผู้พิการ-ผู้สูงอายุ
โทร : 095-348-0712 , 02-415-4347
LINE : @elife

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
“คู่มือสิทธิการลดหย่อนค่าโดยสารขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ”
http://www.mot.go.th/file_upload/2558/brochure_human_rights.pdf