fbpx

พฤติกรรมจะทำให้เสี่ยงเป็นโรค NCDs

พฤติกรรมจะทำให้เสี่ยงเป็นโรค NCDs

ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายคนกลัวโรคติดต่อ แต่รู้หรือไม่ว่าโรคที่ไม่ติดต่อหรือ NCDs ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องของการรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินของโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องจนทวีความรุนแรงขึ้น หากคุณเป็นกลุ่มโรค NCDs เพียงโรคเดียวก็พอที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

โรค NCDs หรือ non-communicable diseases

คือ กลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้

โรคที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs มีอะไรบ้าง?

  • โรคเบาหวาน : ภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ตาบอด ไตวาย แผลเรื้อรังที่เท้า
  • โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง : เกิดจากการเกาะของคราบไขมันภายในผนังหลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่เพียงพอ นำไปสู่โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • โรคถุงลมโป่งพอง : ถุงลมในปอดเกิดการอักเสบ จนทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติ มักเกิดจากการสูบบุหรี่
  • โรคมะเร็ง : เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ ที่พบมากคือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • โรคความดันโลหิตสูง : เป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ เกิดจากอายุที่มากขึ้น ขาดการออกกำลังกาย ทานอาหารรสเค็ม ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งขึ้น แล้วเกิดภาวะหลอดเลือดตีบ
  • โรคอ้วนลงพุง : เกิดจากระบบการเผาผลาญผิดปกติ รับประทานของหวาน ของมัน ของทอดมากเกินไป และขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ไขมันสะสมบริเวณใต้ผิวหนังและในช่องท้อง ทำให้มีรอบเอวใหญ่ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ใน เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และนอนกรนได้

พฤติกรรมเสี่ยง NCDs

สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs มาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการกิน การทำงาน ความเครียด หรือแม้กระทั่งการพักผ่อน หากเราใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ไม่ละเลยการดูแลสุขภาพ ความเสี่ยงในการเกิดโรคก็มีมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมที่ควรระวังมีดังนี้

  • รับประทานอาหารรสจัด หรืออหารที่มีไขมันสูง
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีภาวะเครียด
  • การรับประทานยาเองโดยไม่ผ่านการปรึกษาแพทย์

ความรุนแรงของโรค NCDs

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเอง นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ดังนั้นเราจึงมีนวัตกรรม CGM หรือ  Continuous glucose monitoring อย่างที่ทราบกันดีกว่า ที่เป็นเครื่องติดไว้บริเวณชั้นใต้ผิวหนังและวัดระดับน้ำตาลจากสารน้ำระหว่างเซลล์ จากนั้นจะส่งสัญญาณผ่านระบบบลูทูธเพื่อแสดงผลระดับน้ำตาลผ่านทางสมาร์ทโฟนได้ตลอดเวลา โดยสามารถวัดได้ถึง  6720 – 7,140ครั้ง อีกทั้งยังสามารถตั้งการแจ้งเตือน ผ่านแอปพลิเคชันเมื่อมีน้ำตาลสูงหรือต่ำได้แม้ขณะนอนหลับ

ตอนนี้เริ่มการใช้ CGM ร่วมกับ Insulin Pump ทำให้การใช้ Insulin มีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก อัตโนมัติ โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง เครื่อง CGM จะแจ้งเตือน ให้ Insulin Pump ทำงานโดยอัตโนมัติ ระบบนี้ยังไม่ผ่านการับรองในประเทศไทย CGM ในอนาคตมีแน้วโน้มจะมีขนาดเล็กลง และ มีค่า MARD น้อยลงเรื่อยๆ

ข่าวอีกส่วนหนึ่งคือ เครื่องวัดน้ำตาลแบบไม่ต้องติดตั้ง (non-invasive blood glucose monitoring) คือไม่ต้องเจาะเลือด ไม่ต้องติดตั้งเซนเซอร์เจาะใต้ผิวหนัง เป็นกระแสกันมานานหลายปีที่ผ่านมา เช่น ออกแบบให้เป็นแผ่น Sticker แปะผิวหนังวัดน้ำตาลจากเหงื่อ หรือ ออกแบบมาในรูป Smart Watch ที่ทาง Samsung และ Apple พยายามพัฒนา แต่ยังไม่ปรากฏข้อมูล ความน่าเชื่อถือที่ใช้ทางการแพทย์ได้เท่ากับ CGM ท่านสามารถลอง Search ตาม Google และมีสินค้าบางตัวออกมาแล้ว แต่ค่าที่ได้มีความแตกต่างกับการตรวจโดย Lab ไม่สามารถหาค่า MARD ได้ แต่อาจจะมีผู้พัฒนาระบบนี้ในอนาคต เนื่องจากมีส่วนแบ่งทางการตลาดเบาหวานและการรักษามากกว่า 1พันล้านดอลล่า (CGM มีมูลค่าตลาดอยู่ 1พันล้านดอลล่าในปี 2022)

ปัจจุบัน CGM เป็นที่นิยมและสามารถใช้ทางการแพทย์ และยังไม่มี Technology ใหม่มาแทนที่ในเวลาอันใกล้ แต่เรายังหวังลึกๆ ให้การตรวจน้ำตาลง่ายขึ้นกว่านี้อีก เราจะมา Update กันต่อไป