fbpx

ง่วงนอนตลอดเวลาเสี่ยงเป็นโรคร้าย

ง่วงนอนตลอดเวลาเสี่ยงเป็นโรคร้าย

การนอนไม่เพียงพอเกิดจากหลายสาเหตุ การนอน เป็นการพักผ่อนร่างกายและจิตใจที่ดี ไม่ว่าในแต่ละวันเราพบเจอกับเหตุการณ์อะไรที่หนักหน่วงมาก็ตาม การนอนจะช่วยเยียวยาทุกอย่างให้ดีขึ้น แต่ถ้าหากมีอาการนอนมากเกินกว่า 8 ชั่วโมง แต่ทำไมเมื่อตื่นมามีอาการง่วงนอนอยู่ ไม่สดชื่น เหมือนคนที่ได้รับการพักผ่อน นี่เป็นความเสี่ยงของโรคนอนเกิน (Hypersomnia) คือ ภาวะที่มีความการต้องการเวลานอนมากขึ้น ตื่นยาก ไม่อยากลุกจากเตียง และมีการงีบหลับในช่วงระหว่างวัน โรคนี้จะส่งผลให้เป็นโรคต่างๆ และเสียบุคลิกภาพ ทั้งนี้การนอนมากเกินไป จนทำให้เป็นโรคนอนเกินไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการเกียจคร้าน แต่เกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย และจิตใจ ควรที่จะพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษา พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าชาย ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหรือวัยเริ่มทำงาน ภาวะที่มีความง่วงนอนมากผิดปกติคือ มีอาการง่วงอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ติดต่อกันเกิน 3 เดือน โดยไม่สามารถฝืนตัวเองให้ตื่นได้ ทั้งๆ ที่ได้นอนเพียงพอแล้ว (เกิน 9 ชั่วโมง) โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะนอนหลับเกิน 10 ชั่วโมง และมีการงีบหลับหลายครั้งในเวลากลางวัน มีอาการงัวเงียมากหลังตื่นนอนในตอนเช้า ตื่นยาก หรืองัวเงียมากแม้กระทั่งหลังตื่นจากการงีบหลับกลางวัน  ตื่นมารู้สึกไม่สดชื่น เพลีย ไม่มีแรง และอารมณ์หงุดหงิด

สาเหตุของโรคนอนเกินเกิดจากอะไร

  • นอนหลับไม่เพียงพอเป็นเวลานาน
  • ปรับเวลานอนไม่ถูกต้อง
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย และการหลั่งของสารในสมองที่ผิดปกติ
  • ความผิดปกติทางระบบสมอง เช่น โรคทางสอง หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ
  • ความผิดปกติในช่วงเวลาของการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ หรือนอนกรน

นอจากจจะเสี่ยงเป็นโรค Hypersomnia นี้แล้วยังเสี่ยงเป็นโรคอื่นๆตามมา เช่น

โรคนอนไม่หลับ 

ข้อสันนิษฐานแรกอาจเดาว่าอาการหาวบ่อย ๆ เป็นเพราะอาการนอนไม่หลับ ควรสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับของตัวเองร่วมด้วย ว่าเรานอนไม่หลับจริงไหม เช่น มักจะสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ รู้สึกเพลีย และง่วงนอนตอนกลางวัน นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอนหลับไม่สนิท ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น โดยไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย เพราะอาการเหล่านี้บ่งชี้ว่าคุณอาจเป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย เพิ่มโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า และยังสามารถเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และอาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้อีกด้วย

โรคเบาหวาน 

อาการอ่อนเพลียและง่วงนอนบ่อย ๆ เป็นสัญญาณแรก ๆ ที่เตือนให้ร่างกายทราบว่ากำลังอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในอนาคตอันใกล้ได้ โดยหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ เหนื่อยง่าย หิวน้ำบ่อยขึ้น ทานอาหารเยอะแต่น้ำหนักตัวกลับลดฮวบฮาบ การมองเห็นพร่ามัว แผลหายช้า หรือมีอาการชาที่ปลายมือและเท้า ควรรีบปรึกษาแพทย์

โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง 
เกิดจากความผิดปกติของกลไกในร่างกาย ซึ่งยังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ แต่ที่เห็นชัดคือผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรังจะมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อีกทั้งมักจะมีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ทำให้ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น และง่วงในช่วงกลางวันจนต้องหาวบ่อย ๆ

โรคโลหิตจาง 

คนที่มีภาวะโลหิตจาง หรือในผู้หญิงที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ ก็อาจรู้สึกง่วงนอนบ่อย ๆ ได้ เนื่องจากภาวะที่ร่างกายมีระบบไหลเวียนเลือดไม่สมบูรณ์อาจนำมาซึ่งอาการอ่อนเพลีย และทำให้รู้สึกอยากนอนหลับพักผ่อนมากกว่าปกติ

โรคไทรอยด์ 
โรคไทรอยด์เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย หรือมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ก็อาจทำให้ร่างกายแสดงอาการของโรคมาในรูปแบบอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย ๆ จนผิดปกติได้

โรคเครียด

อาการนอนไม่หลับก็อาจเป็นสัญญาณของโรคเครียดได้ เนื่องจากความเครียดจะส่งผลกระทบมาถึงระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย และส่งผลต่อมายังระบบการทำงานอื่น ๆ ในตัวของเรา เป็นที่มาของอาการนอนไม่หลับ และทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย

โรคนอนกรน

โรคนี้กระทบกับสุขภาพการนอนหลับของร่างกายอย่างมาก เพราะคนที่นอนกรนมักจะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือนอนหลับไม่สนิทนั่นเอง ดังนั้นจึงมักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย ๆ

โรคเหล่านี้ หากปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรัง อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาวตามมาได้ นอกจากนี้การหาวบ่อยจนผิดปกติก็อาจบ่งชี้ถึงการเกิดจากโรคอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นได้อีกด้วย เช่น ภาวะเลือดออกบริเวณในหรือรอบ ๆ หัวใจ โรคหัวใจ โรคมะเร็งสมอง การมีก้อนเนื้อในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคปลอกประสาทอักเสบ ภาวะตับวาย เป็นต้น

รักษาโรคการนอน

วิธีการรักษาโรคเกี่ยวกับการนอนที่ถูกต้องจะต้องมีการทำ Sleep Test เพื่อดูพฤติกรรมการนอนของผู้ป่วย โดยทำการเทสต์ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน เพื่อทำการวินิจฉัยสาเหตุอย่างถี่ถ้วนจากแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาท โรคลมชักและการนอนหลับผิดปกติ โดยหลังจากพบแพทย์แล้วจะมีการนัดที่ Sleep Lab เพื่อทำการหาสาเหตุโดยต้องเข้าพักที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 1 คืน โดยมีรายละเอียดในการตรวจดังนี้

  • Sleep Test ใช้การตรวจในช่วงกลางคืน ติดอุปกรณ์เพื่อวัดลมหายใจ ความดัน ทรวงอก ตำแหน่งการนอน ขากระตุกช่องท้อง เสียงกรน เพื่อดูว่ามีการหยุดหายใจแบบไม่ชัดหรือไม่ โดยใช้เวลานอน 7 – 8 ชั่วโมงขึ้นไป และเทสต์ตอนกลางวัน เพื่อตรวจอาการง่วงนอนกลางวันเพื่อดูช่วงงีบว่าใช้เวลาหลับสั้นแค่ไหน หลับเร็วกี่นาที ฝันกี่นาที โดยให้ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในห้องมืด ปิดไฟให้พยายามหลับแล้วดูว่าใช้เวลากี่นาทีถึงจะหลับ โดยจะให้งีบทั้งหมด 4 – 5 งีบ (ช่วงเวลาเริ่มต้นของแต่ละงีบห่างกัน 2 ชั่วโมง) ถ้าใช้เวลาน้อยกว่า 8 – 10 นาทีถือว่าผิดปกติ ตั้งแต่เริ่มปิดไฟจนเริ่มนอนหลับ ถือว่าง่วงมากผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีฝันร่วมด้วยในขณะงีบ (ที่อีไลฟ์มีบริการ Sleep Test  ง่ายรู้ผลเร็ว)
Home Sleep Test by elife สลีปเทสทำที่บ้าน มาตรฐาน US, Europe ง่าย คิวไม่นาน ได้ Sleep Report ได้ผลเพื่อใช้ในการรักษาต่อไป
  • การรักษาด้วยการใส่เครื่อง CPAP เป็นอีกวิธีที่ได้ผลดีโดยไม่ต้องผ่าตัด เครื่องนี้ช่วยทำให้หลับสบาย หายใจคล่อง ลดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ตื่นมาแล้วรู้สึกสดชื่น เครื่อง CPAP หรือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก ช่วยรักษาอาการหยุดหายใจขณะหลับ Sleep Apnea, นอนกรน ลดอาการอ่อนเพลียเหมือนนอนไม่พอระหว่างวัน อาการหยุดหาย นอนกรนส่งผลร้ายในระยะยาวกับผู้ป่วย ทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ ความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงสูงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคทางสมอง ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก เครื่อง CPAP ช่วยลดการปิดกั้นในระบบทางเดินหายใจขณะหลับ ลดอาการกรนและภาวะการหยุดหายใจระหว่างหลับ SOP

รู้แบบนี้แล้ว คุณยังคิดว่าอาการง่วงนอนตอนกลางวันบ่อย ๆ เป็นเรื่องเล็ก ๆ ไม่น่าจะเป็นอะไรอยู่อีกหรือไม่?! Elife เราให้บริการตรวจปัญหาภาวะการนอนหลับโดย Sleep Tech ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมการตรวจโรคการนอนหลับ และผลการตรวจได้รับการรับรองมาตรฐานทางการแพทย์ยอมรับและเป็นที่นิยมทำใน USA, Europe และ ประเทศพัฒนาแล้ว พร้อมกับเจ้าหน้าที่ ที่คอยให้บริการอย่างอบอุ่น สุภาพและเป็นกันเอง ตามหลักเกณฑ์ของ AASM ของสหรัฐเมริกา ข้อดีของเราคือ

  • ง่าย สามารถทำได้ที่บ้านของคุณ เตียงนอนของคุณ (หลายคนตื่นเต้นเมื่อไปโรงพยาบาล)
  • รอคิวไม่นาน ไม่ต้องรอคิวหลายเดือน จองคิวได้เลย
  • ไม่กดดัน หากเกิด Fail Night เราให้โอกาสนอนคืนที่2 (Fail Night คือการนอนsหลับไม่ถึง 4ชม. หรือ จากเหตุผลอื่น ถ้าทำใน รพ.จะให้แค่คืนเดียวเท่านั้น)
  • รู้ผลเร็ว Sleep Report ใน3วันทำการ บอกผลการนอนอย่างละเอียด AHI, OSA, Central Apnea, Oxygen ผลการกรน พร้อม Highlight ช่วงวิกฤต
  • ใช้เป็นส่วนลดได้ ในการซื้อสินค้ากับอีไลฟ์ได้**