fbpx

ผลกระทบของการนั่งทำงานคอมพิวเตอร์นานๆ ส่งผลต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

ผลกระทบของการนั่งทำงานคอมพิวเตอร์นานๆ ส่งผลต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

ปัญหาการยศาสตร์มักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาว เป็นปัญหาสะสม และมีผลกระทบต่อส่วนของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ ข้อมือ หลังส่วนล่าง เข่า เป็นต้น ปัญหาการยศาสตร์จะพบทั่วไปในพนักงานออฟฟิศทั่วไปของสถานประกอบกิจการในอุตสาหกรรมภาคการผลิตและภาคการให้บริการ ตัวอย่างเช่น พนักงานยกวัสดุในโกดังสินค้าของโรงงาน มีอาการปวดเมื่อยหรือที่บริเวณหลังส่วนล่าง พนักงานที่นั่งปฎิบัติงานคอมพิวเตอร์มีอาการปวดเมื่อยที่บริเวณ คอ ไหล่ และหลังส่วนล่าง

ออฟฟิศซินโดรม 

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการของปัญหาสุขภาพและโรคต่างๆ ที่มักจะพบในลูกจ้างสำนักงาน พนักงานออฟฟิศ ที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการปฎิบัติงาน ตัวอย่างของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม คือ

  1. กลุ่มปัญหาที่พบในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal System) ของร่างกายได้แก่ อาการปวดเมื่อยและบาดเจ็บที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ ไหล่ ข้อมือ และส่วนต่างๆ ขา เท้า เป็นต้นส
  2. กลุ่มปัญหาที่พบในระบบการมองเห็น เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตา อาการตาแห้ง อาการตาพร่ามัว และอาการวุ้นในลูกตาเสื่อมเป็นต้น
  3. กลุ่มปัญหาด้านจิตใจ เช่น อาการเครียด กังวล นอนไม่หลับ เป็นต้น
  4. กลุ่มปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ความดันโลหิตสูง น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดศรีษะเรื้อรัง กรดไหลย้อน เป็นต้น

ในกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่กล่าวมาในข้างต้นนี้ กลุ่มปัญหาที่พบในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของร่างกายเป็นกลุ่มปัญหาที่เด่นชัด และพบในลูกข้างสำนักงาน หรือพนักงานออฟฟิศเป็นจำนวนมาก พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งเป็นผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เนื่องจากการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ โดยมีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ปฏิบัติงานในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง นั่งในท่าเดิมไ ยม่เคยเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นระยะเวลานานเกินไป ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก เป็นต้น
  • ปฏิบัติงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สถานที่ทำงานมีเสียงดังรบกวนการทำงาน ระดับแสงสว่างที่บริเวณทำงานไม่พอเพียง มีแสงสะท้อนบนจอภาพจากไฟเพดาน หรือจากแสงสว่างภายนอก อุณหภูมิร้อนหรือเย็นเกินไป เป็นต้น
  • ใช้อุปกรณ์ปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม เช่น เก้าอี้นั่งมีเบาะที่มีความลึกมากเกินไป ที่พักแขนปรับระดับไม่ได้ โต๊ะวางเครื่องคอมพิวเตอร์

ปัญหาการยศาสตร์ที่มักพบเจอและเป็นสาเหตุหลักๆ

ผลกระทบของปัญหาการยศาสตร์ต่อสุขาพของลูกจ้างพนักงานออฟฟิศทั่วไป คือปัญหาที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น อาการไม่สบาย ร่างกายบริเวณ คอ ไหล่ แขน ข้อมือ หรือหลังส่วนล่าง และขา เป็นต้น ปัญหาหรืออาการบาดเจ็บที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ

  1. อาการบาดเจ็บเนื่องจากการปฏิบัติงานหนักเกินไป มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณคอ ไหล่ หลังส่วนล่างและขา โดบมีสาเหตุหลักมาจากการที่ลูกจ้างปฏิบัติงานหนักเกินไป ปฏิบัติงานนานต่อเนื่องนานเกินไป หยุดพักไม่เพียงพอ ออกแรงมากจนเกินไปและมีท่าทางในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม อาการบาดเจ็บดังกล่าวนี้มักจะพบในลูกจ้างที่ต้องออกแรงในการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกาย และลูกค้าจ้างที่นั่งหรือยืนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องในท่าที่ไม่เหมาะสม
  2. อาการบาดเจ็บเนื่องจากการปฏิบัติงานที่ซ้ำซาก มักจะเกิดขึ้นที่นิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก และไหล่ เนื่องขากความเค้นที่เกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างซ้ำซาก โดยมีสาเหตุหลักมาจากที่ลูกจ้างปฏิบัติงานโดยใช้กล้ามเนื้อชุดเดียวกันตลอดเวลา หยุดพักไม่เพียงพอ และมีท่าทางในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะพบได้ทั้งในลูกจ้างฝ่ายผลิต และลูกจ้างฝ่ายสำนักงาน พนักงานออฟฟิศทั่วไป

ลูกจ้างสำนักงานหรือพนักงานออฟฟิศทั่วไปซึ่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการและท่าทางที่ไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์เป็นประจำและอย่างต่อเนื่อง จะได้รับผลกระทบของปัญหาการยศาสตร์ที่บริเวณ คอ ไหล่ และหลังส่วนล่าง หัวเข่าและขา โดยระดับอาการจะเริ่มจากอาการปวดเมื่อยก่อน ถ้าไม่นำการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงระบบในการทำงานให้เหมาะสม ผลกระทบนั้นก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นอาการบาดเจ็บ

สาเหตุหลักๆ ของการเกิดอาการไม่สบายร่างกาย เนื่องจากการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ คือ 

  1. ใช้โต๊ะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ เก้าอี้ หน้าจอ แป้นพิมพ์ เมาส์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกายกับลูกค้าจ้างหรือพนักงานออฟฟิศ
  2. จัดสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ต้องทำงานไม่เหมาะสมเช่น แสงสว้่ง เสียง ความร้อน-เย็น ทิศทางของลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  3. ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสมเช่น จัดตำแหน่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง มีนิสัยหรือพฤติกรรมในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม
  4. นั่งปฏิิบัติงานที่หน้าคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์

วิธีการรักษา...กลุ่มอาการ Office Syndrome | โรงพยาบาลสินแพทย์

อาการปวดเมื่อยคอและไหล่ 

  • อาการปวดเมื่อยคอและไหล่มีสาเหตุหลักมาจากการใช้กล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อไหล่มากจนเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากการนั่งก้มคอ เอียงคอ บิดคอ และแหงนคออย่างมากหรือค่อนข้างมาก การนั่งกางไหล่หรือยกไหล่ขณะปฏิบัติงานกับแป้นพิมพ์และเมาส์ และการนั่งในท่าทางที่ไม่เหมาะสมนั้นอย่างต่อเนื่อง
  • การนั่งก้มคอ มาจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ประกอบกับการอ่าน เขียน หรือตรวจสอบเอกสาร โดยวางเอกสารดังกล่าวบนโต๊ะบริเวณด้านหน้าหรือด้านข้าง
  • การนั่งเอียงคอหรือบิดคอ ที่ต้องมองเอกสารที่ถูกวางอยู่บนโต๊ะบริเวณด้านข้าง ที่ต้องพูดโทรศัพท์พร้อมกับใช้แป้นพิมพ์ไปด้วยในเวลาเดียวกัน โดยการหนีบหูโทรศัพท์ที่ซอกคอ-ไหล่ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดเมื่อยคอและไหล่ด้วย
  • การนั่งแหงนคอไปด้าน ที่ต้องมองอยู่ในระดับสูงกว่าระดับสายตา (ขณะนั่งหลังตรงและคอตั้งตรง) การใช้คอมพิวเตอร์และปรับระดับจอที่สูงกว่าระดับสายตาที่เหมาะสม มักจะนั่งแหงนคอไปด้านหลังขณะมองจอคอมพิวเตอร์ซึ่ง พนักงานออฟฟิศเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการปวดเมื่อยคอ

Carpal Tunnel Syndrome

อาการปวดเมื่อยข้อมือ 

บริเวณของข้อมือจะมีโพรงหรืออุโมงค์ (carpal tunnel) หรืออุโมงค์พังผืดบริเวณข้อมือ (Transverse carpal ligament) ซึ่งเป็นที่ลอดผ่านของเส้นประสาทมีเดียนหรือเส้นประสาทกลางฝ่ามือ โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความดันในโพรงข้อมือสูงขึ้น มาจากการหนาตัวของเนื้อเยื่อและพังผืดบริเวณข้อมือทำให้โพรงข้อมือเกิดการตีบแคบลงจึงเกิดการกดทับของเส้นประสาทได้ ส่งผลให้เลือดไม่มาเลี้ยงเส้นประสาทกลางฝ่ามือและทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของมือ ซึ่งสาเหตุของการกดทับก็มีด้วยกันหลายสาเหตุ ดังนี้

  • เพศและพันธุกรรม ส่วนใหญ่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย เพราะโครงสร้างร่างกายผู้หญิงเป็นคนตัวเล็กกว่า ดังนั้นข้อมือจึงเล็กกว่าทำให้อาจเกิดการตีบแคบของโพรงบริเวณข้อมือได้ง่าย
  • ความผิดปกติทางโครสร้าง เช่น ข้อมือหัก หรือเคลื่อน สามารถทำให้เกิดการกดทับของเส้นประสาทได้
  • ภาวะอ้วน ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงของการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
  • โรคที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน รูมาตอยด์ และไฮโปไทรอยด์
  • การใช้ข้อมือซ้ำๆ โดยต้องกระดกข้อมือตลอดเวลา เช่น เกมเมอร์ การตัดต่อคลิปวิดิโอ หรือพนักงานที่ต้องใช้เม้าส์หรือแป้นพิมพ์บ่อยๆ เป็นต้น

ปวดหลังส่วนล่าง ปวดเรื้อรัง ร้าวลงสะโพก ร้าวลงขา รักษาตรงจุด หยุดอาการปวด | World Medical Hospital

อาการปวดเมื่อยหลังส่วนล่าง

ปวดหลังส่วนล่าง : เป็นบริเวณที่มีอาการปวดมากที่สุดของทุกกลุ่มวัย เพราะส่วนกระดูกสันหลังส่วนเอวที่ระดับ L4- 5 เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักของน้ำหนักร่างกายที่กดทับลงมามากที่สุด โดยพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดได้ก็คือ การยืนนานเกินไป หรือ นั่งผิดท่า เช่น นั่งตัวไถ นั่งไขว่ห้าง นั่งหลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำให้หลังของเราพังได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

อาการปวดหลังเป็นอาการที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นหลัก หากเราปรับแก้พฤติกรรมได้ก็สามารถช่วยลดและป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ง่ายที่สุดก็คือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การนั่งหลังค่อม นั่งตัวไถ ไขว่ห้าง หรือนั่งเท้าลอย ซึ่งถ้านั่งท่าเหล่านี้เป็นเวลานาน ๆ ก็ทำให้เกิดอาการปวดตามร่างกายได้ นอกจากการปรับท่านั่งและพฤติกรรมแล้วก็ควรดูสภาพแวดล้อมร่วมด้วย เช่น เก้าอี้ โต๊ะทำงาน ว่าเหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ หากอุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมก็ยิ่งส่งผลต่อการทำงานที่อาจไม่ได้ประสิทธิภาพ และยังทำให้ร่างกายอ่อนล้าจากการทำงานได้อีกด้วย

สาเหตุของอาการปวดเข่า เกิดจากอะไร | POBPAD

อาการปวดเมื่อยขาและหัวเข่า 

เข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักตัว เ ปลายของกระดูกจะมีกระดูกอ่อนปกคลุมอยู่ ทำหน้าที่ให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวด้วยความราบเรียบ ระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งจะมีกระดูกอ่อนรูปวงแหวนช่วยรับน้ำหนักด้วย รอบ ๆ ข้อจะมีเอ็นและเยื่อหุ้มข้อทำหน้าที่ส่งเสริมความแข็งแรงให้กับข้อ ถุงน้ำรอบ ๆ ข้อเข่าจะทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานระหว่างเอ็นกับกระดูกเมื่อข้อมีการเคลื่อนไหว

สำหรับคนที่ชอบนั่งขัดสมาธิในเวลาทำงาน ก็จะส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดทำงานไม่สะดวกและไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณขาได้อย่างเพียงพอ จึงทำให้เป็นเหน็บชาบ่อย และมีอาการปวดหัวเข่าร่วมด้วย อีกทั้งในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ ยังส่งผลให้เป็นข้อเข่าเสื่อมและกล้ามเนื้อรอบหัวเข่ายืดหรือหดตัวผิดปกติได้อีกด้วย

การนั่งทำงานในท่าที่ผิดวิธีจะสามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ ดังนั้น จึงควรปรับท่าทางการนั่งให้มีความเหมาะสมเพื่อที่จะได้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้าในขณะนั่งทำงาน นอกจากนี้ควรมีการพักเดินไปเดินมาเพื่อยืดเส้นยืดสายให้กล้ามเนื้อได้คลายตัวมากขึ้นบ้าง ความเสี่ยงจากการเกิดโรคร้ายแรงก็จะลดลงแน่นอน


นอกจากการจัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์(Ergonomics)แล้ว ควรทำอะไรอีกบ้าง ?
1. การนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อซึ่งส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บตามมา ควรแบ่งเวลาพักในการทำงานทุกๆชั่วโมงเป็นเวลาประมาณ 10 นาที
2. ลุกเดินบ้าง อย่าอยู่แต่กับที่ ไม่ว่าจะลุกไปเติมน้ำหรือลุกไปเข้าห้องน้ำก็ได้
3. ลองยืดเส้นยืดสายบ้าง อาจจะเป็นการบริหารคอ หมุนหัวไหล่ หรือบิดตัวก็ช่วยได้
4. พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์บ้าง เพราะเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ ก็จะทำให้ดวงตาล้าได้ ลองหลับตาดูสัก 5 นาที หรือกรอกตาเป็นวงกลม
5. หมั่นทำความสะอาดและจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ บริเวณที่ใช้งานบ่อยๆ หรือมีผู้อื่นสัมผัสบ่อย

ปัญหาทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากค่านิยมในการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนท่าทางของคนในปัจจุบันซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดล้าของกล้ามเนื้อและเมื่อเกิดอาการเหล่านี้บ่อยครั้งจะทำให้มีอาการปวดเรื้อรังตามมา ดังนั้นการจัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์จึงเป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันและลดปัญหาทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้อย่างถาวร