fbpx

เตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต++ นอนสบาย แต่อาจส่งผลร้ายกับผู้ใช้งาน จริงหรือไม่ ?

เตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต++ นอนสบาย แต่อาจส่งผลร้ายกับผู้ใช้งาน จริงหรือไม่ ?

เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมเตียงผู้ป่วย หรือเตียงผู้สูงอายุเกือบทุกร้าน ถึงมีแค่ขนาด 3 ฟุต? เพราะผู้ดูแลหลายคนก็อยากเลือกเตียงนอนที่ดูขนาดใหญ่ มีพื้นที่เยอะ ๆ ให้ผู้ใช้งานนอนสบาย ๆ ใช่ไหมล่ะคะ อย่างเตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต หรือ 5 ฟุตขึ้นไป แต่รู้หรือไม่คะว่า ขนาดเตียงผู้ป่วย มีผลต่อความเหมาะสมในการใช้งาน ดังนั้น ที่เตียงผู้ป่วยส่วนใหญ่มีขนาดไม่กว้างมากนั้น มีเหตุผลและความจำเป็นอยู่นะคะ ไปพิจารณาพร้อม ๆ กันค่ะ

เตียงผู้สูงอายุ / เตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต++ ดีจริงไหม?

ขนาดเตียงผู้ป่วยเป็นอีกหนึ่งข้อที่ผู้ดูแลหลายคนกังวลใจ เพราะเตียงผู้ป่วย 3 ฟุตแบบเตียงผู้ป่วยทั่วไป ในสายตาผู้ดูแลอาจจะดูพอดีตัวไป จนทำให้นอนไม่สบาย เพราะผู้ดูแลหลายคนซื้อเตียงผู้ป่วยให้ผู้ใช้งานที่ยังไม่ได้มีอาการป่วยมาก หรือซื้อให้ผู้สูงอายุเพื่อความสะดวกปลอดภัย และซัปพอร์ตสุขภาพขณะนอน ขนาดเตียงผู้ป่วยที่ใหญ่กว่ามาตรฐาน อย่างเตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต , 5 ฟุต หรือ 6 ฟุต ที่ดูกว้างและน่าจะสบาย จึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ก่อนจะตัดสินใจซื้อเตียงผู้ป่วยขนาดใหญ่ มาลองพิจารณากันสักนิดค่ะ

เตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต++ ดีนะ แต่ว่า…

  • ขนาดกว้างดูนอนสบาย แต่ว่า… แต่ขยับร่างกายลำบาก เวลาผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยต้องขึ้น-ลงจากเตียง กว่าจะเขยิบตัวมานั่งที่ปลายเตียงเพื่อลุก หรือเขยิบไปบริเวณกลางเตียงเพื่อนอน ต้องใช้แรงมากขึ้นกว่าเดิม ใช้เวลาเยอะขึ้น ยิ่งถ้าช่วงไหนไม่มีแรงขึ้น-ลงเตียง ผู้ดูแลต้องช่วยเหลือ กลายเป็นว่าจะลำบากขึ้นกว่าเดิมค่ะ ผู้ป่วยคนไหนที่ไม่ค่อยมีแรง บอกเลยว่าไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่งค่ะ
  • เตียงใหญ่ขึ้นเท่าตัว แต่ว่า… ความลำบากก็มากขึ้นเท่าตัวเหมือนกัน เวลาที่ผู้ดูแลต้องดูแลผู้ป่วยบนเตียง เช่น  ทำกายภาพ ตัดเล็บ พลิกตัว ฯลฯ ผู้ดูแลจะทำกิจกรรมได้ไม่ถนัด ลำบากขึ้นกว่าเดิมด้วยระยะที่ไกลจากตัวผู้ป่วยมากกว่าปกติ จนบางครั้งต้องขึ้นมาดูแลผู้ป่วยบนเตียงด้วย ซึ่งเสี่ยงต่อการที่เตียงพังหรือทรุดได้ เพราะน้ำหนักมากเกินที่เตียงรับได้
  • ผู้ป่วยได้พื้นที่มากขึ้น แต่ว่า… คนอื่น ๆ ในบ้านได้พื้นที่น้อยลง เพราะเตียงใหญ่ขึ้น พื้นที่ที่ใช้ติดตั้งเตียงก็ต้องกว้างขึ้นตามไปด้วย ใครที่อยู่บ้านหรือคอนโดที่มีพื้นที่จำกัด ไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่งค่ะ
  • เตียงใหญ่ซื้อง่าย แต่ว่า… ขนย้ายลำบาก เริ่มตั้งแต่การติดตั้ง ใครที่ผู้ป่วยต้องนอนพักที่ชั้น 2-3 ของบ้าน หรืออยู่คอนโด ทางร้านค้าอาจปฏิเสธการเข้ามาติดตั้งให้ได้เลยค่ะ เพราะทั้งหนักและใหญ่ขนย้ายไม่ไหวแน่ ๆ หรือถ้าติดตั้งได้ ใช้ต่อไปเรื่อย ๆ แล้วอยากจะเคลื่อนย้าย อยากจะขยับ บอกเลยว่า คนเดียวเอาไม่อยู่แน่ ๆ
  • ผู้ป่วยนอนแล้วดูไม่อึดอัด แต่ว่า… ผู้ดูแลน่าจะอึดอัดแทนด้วยค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น ราคาเตียงผู้ป่วย ยิ่งใหญ่ = ยิ่งแพง ยังไม่นับรวมค่าบำรุงรักษาและค่าอะไหล่ต่าง ๆ ยิ่งถ้ามีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องมือแพทย์ ฯลฯ ยิ่งทวีคูณค่าใช้จ่ายเข้าไปอีกแน่นอนค่ะ

ถ้าเตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต++ ไม่ดี แล้วเตียงผู้ป่วยที่ดีต้องขนาดเท่าไหร่?

อย่างที่ได้กล่าวถึงข้างต้น เกี่ยวกับข้อแม้ หรือข้อเสียที่มาควบคู่กับไซส์เตียงผู้ป่วยขนาดใหญ่ อย่างเตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต (ประมาณ 107 x 200 ซม.) , เตียงผู้ป่วย 5 ฟุต (ประมาณ 150 x 200 ซม.) และเตียงผู้ป่วย 6 ฟุต (ประมาณ 180 x 200 ซม.) โดยเตียงที่พบบ่อย ๆ คือเตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต ส่วนเตียงผู้ป่วย 5 และ 6 ฟุต ไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก (จะพบเจอบ่อยกับเตียงไฟฟ้าเพื่อสุขภาพ) ถ้าอยากเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยแบบที่เหมาะสม ปลอดภัย และได้มาตรฐานกับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ต้องเลือกขนาดเท่าไหร่?

เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุ สามารถใช้ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

ขนาดเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสม

  • ขนาดเตียงผู้ป่วย 3 ฟุต (ประมาณ 90×200 ซม.) เป็นขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยไม่กว้างหรือแคบเกินไป
  • ความสูงของเตียงถึงพื้นอยู่ราว ๆ 25-40 ซม. เตียงอยู่ในระดับต่ำจะปลอดภัยกับผู้ป่วยขณะขึ้นลงจากเตียงหรือนอนหลับ / เตียงผู้ป่วยที่อยู่ในระดับสูง จะสะดวกกับผู้ดูแลขณะดูแลผู้ป่วยบนเตียง หรือขณะทำความสะอาดพื้นใต้เตียง **ควรซื้อเตียงผู้ป่วยที่ปรับระดับสูง-ต่ำได้**
  • ราวกั้นเตียง เมื่อวัดจากฟูกต้องสูงไม่น้อยกว่า 22 ซม. /ความสูงของขอบราวกั้นด้านล่างถึงพื้นเตียง ไม่เกิน 6 ซม. / ช่องว่างระหว่างราวกั้น ต้องไม่เกิน 12 ซม. / ปลายราวกั้นเตียงถึงปลายเตียง ควรห่างน้อยกว่า 6 เซนติเมตร (ราวเต็มเตียง) หรือมากกว่า 23.5 เซนติเมตร (ราวครึ่งเตียง)
เตียงปรับได้ต่ำ เท้าแตะพื้น สามารถลุกขึ้นยืนได้สะดวก
ราวกันตก ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุ

นอนเตียงไฟฟ้าเพื่อสุขภาพ Elife สบายทั้งตัว-สบายทั้งใจ

หากท่านไหนกำลังมองหาเตียงผู้ป่วย เตียงผู้สูงอายุ หรือเตียงเพื่อสุขภาพ บทความนี้ขอแนะนำเตียงไฟฟ้า Elife เตียงผู้ป่วยนำเข้าจากต่างประเทศ การันตีคุณภาพจากเสียงตอบรับจากทั้งโรงพยาบาลและลูกค้าซื้อซ้ำมากมาย บอกเลยว่า ผู้ใช้งานนอนสบาย สะดวก ปลอดภัย แถมผู้ดูแลก็สบายใจ เพราะคุณภาพดีไม่ต้องซ่อมบ่อย พร้อมบริการหลังการขายแบบจัดเต็ม คุ้มค่าคุ้มราคาแน่นอนค่ะ

Homecare Bed เตียงไฟฟ้าเพื่อผู้สูงอายุ

ทำไมต้องเลือกเตียงไฟฟ้า Elife

  • มาตรฐานความปลอดภัย ทั้งขนาดเตียง ราวกั้น วัสดุ และการผลิตทุกขั้นตอน จากโรงงานต่างประเทศที่ได้รับความไว้วางใจ
  • ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า ฟังก์ชันครบตอบโจทย์ทุกการใช้งานของผู้ป่วย เช่น ปรับนั่งเพื่อกินข้าว / ปรับขาเพื่อลดอาการปวดเมื่อย ฯลฯ
  • มาพร้อมฟังก์ชันเสริมพิเศษ เช่น ไฟใต้เตียงเพิ่มคยวามปลอดภัยในยามดึก / ราวกันตกสามารถเลือกได้ตามความต้องการ ฯลฯ
  • มอเตอร์ทนทาน ปรับท่าทางต่าง ๆ ได้อย่างสมูทลื่นไหล เตียงไม่เสียหรือพังง่าย
  • รับน้ำหนักได้เยอะ สูงสุดถึง 250 kg รับได้ทั้งน้ำหนักผู้ป่วย และผู้ดูแลสำหรับการขึ้นไปทำกายภาพบนเตียง หรือดูแลผู้ป่วย
  • ดีไซน์สวยงาม เหมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งในบ้าน ไม่รู้สึกปลอด ไม่ขัดกับบรรยากาศ สุขภาพจิตดีขึ้น
  • โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์เลือกใช้ มั่นใจในคุณภาพ
  • จัดส่งทั่วประเทศด้วยรถขนส่งของบริษัท พร้อมติดตั้งให้ถึงบ้าน บริการโดยช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญ

สรุป

ขนาดเตียงผู้ป่วยใหญ่ อย่างเตียงผู้ป่วย 3.5 ฟุต ขึ้นไป ใช่ว่าจะเหมาะสมกับผู้ป่วยและผู้สูงอายุทุกประเภทนะคะ เหตุผลที่ตามท้องตลาดหรือร้านขายเครื่องมือแพทย์ส่วนใหญ่ มักขายเตียงผู้ป่วย 3 ฟุต นั่นก็เพราะมีเหตุผลในเรื่องของความเหมาะสม และมาตรฐานความปลอดภัยต่าง ๆ แนะนำว่าหากเป็นผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 3 ฟุต ถือว่าเหมาะสมแล้วค่ะ หากกลัวว่าผู้ใช้งานจะนอนไม่สบาย ก็อาจเสริมด้วยการใช้ที่นอนนุ่ม ๆ อย่างที่นอนโฟมที่เข้ากับรูปสรีระ ก็จะช่วยได้ค่ะ