fbpx

เตียงไฟฟ้าสำคัญกับผู้ป่วยอย่างไร ?

เตียงไฟฟ้าสำคัญกับผู้ป่วยอย่างไร ?

ห้องนอนผู้สูงอายุคือสถานที่หนึ่งที่คนสูงวัยในครอบครัวของคุณใช้พักผ่อน อยู่อาศัย และทำกิจวัตรประจำวัน บางคนอาจจะอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือเคลื่อนไหวลำบาก มีความแตกต่างของ “เตียงผู้ป่วย” เมื่อเทียบกับเตียงธรรมดา คือเตียงผู้ป่วยผ่านการออกแบบเรื่องความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุหรือคนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุและคนดูแล เช่น การปรับท่าพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า ปรับระดับความสูงของเตียง เป็นต้น

“ที่นอนสำหรับเตียงผู้ป่วย” เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับแก่ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ที่นอนผู้ป่วยมีหลายประเภท เช่น ที่นอนลมแบบลอนขวางและที่นอนลมแบบรังผึ้ง ที่อาศัยแรงปั๊มลมไฟฟ้าในการทำให้ร่างกายขยับอย่างต่อเนื่อง หรือที่นอนโฟม ข้อดีคือไม่มีเสียงมอเตอร์ และควรเลือกเนื้อโฟมที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ไม่ยุบตัว

ดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุในบ้านให้ดียิ่งขึ้นด้วยเตียงผู้สูงอายุ

เตียงผู้สูงอายุ ตัวช่วยให้การพักผ่อนสะดวกสบาย ลดอาการแผลกดทับ

การเจ็บป่วยนั้นเกิดขึ้นเกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าจะเป็นโรคเล็กน้อยเพียงใด หรือผู้ป่วยในวัยไหน ไม่ว่าจะเป็นอาการป่วยเรื้อรังหรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน การดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ดูแลต้องนึกถึง ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนั่ง หรือการนอน ผู้ดูแลก็ต้องใส่ใจอย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้ป้องกันอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่จะตามมา การเลือกอาหารที่ดี เตียงผู้ป่วยที่มีคุณภาพ จะทำให้ผู้ป่วยหายวันหายคืนอย่างแน่นอน มากไปกว่านั้นการมีเตียงผู้สูงอายุสำหรับคนบ้านของคุณ ก็ยิ่งจะทำให้ผู้แลนั้นสะดวกสบายมากขึ้นเช่นกัน

สำหรับปัญหาพื้นฐานที่ผู้ป่วยคนไหนที่ต้องพักผ่อนรักษาตัว หรือผู้สูงอายุที่ต้องใช้เวลาพักผ่อนในบ้านมากกว่าครึ่งวัน มักจะมีอาการที่เรียกว่าแผลกดทับ เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เนื่องจากเตียงผู้สูงอายุที่คุณมีอยู่อาจทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดแผลกดทับเช่นเดียวกัน อาการแผลกดทับนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ อีกทั้งยังเกิดได้หลายจุดในร่างกาย ถึงแม้จะเป็นปัญหาที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่จริงๆ อากรแผลกดทับนั้นมีหลายระดับ ทำให้สมาชิกที่ต้องดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในบ้านต้องระวังเป็นพิเศษทีเดียว

อาการแผลกดทับนั้นมีสาเหตุมาจากการนอนบนเตียงผู้ป่วยเป็นเวลานานเพื่อพักรักษาตัวหรือพักผ่อนในท่าเดิมๆ เป็นเวลานานเกินไป ประกอบกับพื้นผิวของเตียงผู้ป่วยที่นอนอยู่ อาจเกิดการเสียดสีกับผิว การไม่ระบายความร้อน ความอับชื้น และประกอบกับการที่ผู้สูงอายุอาจจะไม่สะดวกขยับตัวเปลี่ยนท่านอนได้บ่อยก็อาจทำให้เกิดแผลกดทับได้เช่นเดียวกัน แต่ระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นก็ต่างกันออกไป ผู้แลควรรู้แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้ทัน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มคุณภาพเตียงผู้ป่วยหรือการเรียกให้ผู้ป่วยขยับตัว ระดับความรุนแรงมีดังนี้

ผิวหนังเริ่มเป็นสีแดง แต่เมื่อใช้นิ้วมือกดรอยแดงไม่จางหายไป อาจปวดแสบปวดร้อนนิดหน่อย

แผลกดทับ - MATSUNAGA THAILAND - รถเข็นวีลแชร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก วอร์คเกอร์

ชั้นผิวหนังแท้บางส่วนเริ่มหายไป เห็นเป็นแผลเปิดตื้น มีพื้นผิวแผลสีแดงหรือเป็นตุ่มน้ำใสเพราะเตียงผู้สูงอายุเริ่มสะสมความร้อน เกิดอาการสูญเสียของเนื้อเยื่อถึงชั้นไขมัน พื้นผิวแผลบางส่วนอาจมีเนื้อตายสีเหลือง อาจจะมีโพรงแผล และหลุมแผลเกิดขึ้น ระดับที่มีการบาดเจ็บเนื้อเยื่อชั้นลึก ลักษณะสีของผิวหนังจะเปลี่ยนไปเป็นสีม่วง หรือสีน้ำตาลแดงหรือมีผิวหนังพองที่มีเลือดอยู่ข้างใน เนื่องจากเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายจากแรงกดหรือแรงเลื่อนไถลที่ผิวสัมผัสกับเตียงผู้ป่วย

จากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าอาการแผลกดทับนั้นเริ่มจากการจุดเริ่มต้นเล็กๆไปสู่แผลลึกจนเกินจะแก้ไขได้เอง ดังนั้นแล้วดูแลควรหมั่นสังเกตบริเวณของร่างกายบริเวณเหล่านี้ให้ดีเพื่อจะรักษาได้ทันการ อวัยวะที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับได้นั้นมักเป็นบริเวณที่ไม่มีไขมันปกคลุมผิวหนังมากและต้องรับแรงกดทับโดยตรงจากเตียงผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้และต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาเตียงผู้สูงอายุที่ใช้อยู่ ทำให้เสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า ข้อเท้า ส้นเท้า เท้า กระดูกสันหลัง หรือกระดูกก้นกบ ซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับเตียงผู้สูงอายุโดยตรงนั่นเอง

“ปัญหาแผลกดทับนั้นอันตรายกว่าที่คิด การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในบ้านนั้นจึงต้องใส่ใจมากกว่าที่เคย ดังนั้นแล้วการเริ่มต้นได้ง่ายๆ เพื่อหลีกเลี่ยงแผลกดทับนั้นคือเลือกเตียงผู้สูงอายุให้ดีกับผู้สูงอายุในบ้านของคุณ”

เทคโนโลยีเตียงลมนั้นผลิตขึ้นมาเพื่อให้สะดวกสบายกับเตียงผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

เพราะจากการที่ต้องขอร้องให้ผู้ป่วยขยับตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากนั้น ก็เปลี่ยนไปได้ด้วยการทำให้เตียงขยับออกจากตัวผู้สูงอายุเอง เพราะเตียงลมนั้นเป็นเตียงแบบไฟฟ้าที่ทำให้ตัวเตียงนั้นขยับได้เองด้วยการเป่าลมเข้าออก ทำให้สร้างระยะห่างจากตัวผู้นอนได้มากขึ้น เตียงผู้สูงอายุหรือเตียงผู้ป่วยแบบนี้จะทำให้ผู้นอนไม่จำเป็นต้องขยับโยกย้ายมากมาย แต่ก็ทำให้ลดอาการแผลกดทับได้มากขึ้นได้การระบายลมและความร้อน รวมไปถึงการปรับลดพื้นผิวของเตียงผู้สูงอายุเอง ซึ่งสะดวกสบายขึ้นมากกว่าในอดีตที่บ้านมา

ลอน ที่นอน ลม คน ป่วย ราคาถูก ซื้อออนไลน์ที่ - ต.ค. 2023 | Lazada.co.th

สำหรับท่านใดที่มีผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านและต้องนอนติดเตียงเป็นเวลานาน ทางเลือกของเตียงผู้สูงอายุหรือเตียงผู้ป่วยแบบลมไฟฟ้าเป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสมอย่างมากในการแก้ปัญหานี้ หากคุณกำลังลังมองหาเตียงผู้สูงอายุหรือเตียงผู้ป่วยที่มีคุณภาพแล้วล่ะก็ อย่าลืมนึกถึง ฟาร์ซิแคร์ จำกัด ผู้นำด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุคุณภาพ ที่เชื่อใจได้และราคาเป็นกันเอง ทำให้คุณได้สินค้าคุณภาพในราคาที่ถูกใจ แน่นอนว่าปัญหาแผลกดทับนั้นก็จะลดลง ทำให้ผู้สูงอายุที่บ้านของคุณได้พักรักษาตัวอย่างเต็มที่บนเตียงผู้สูงอายุที่คุณไว้ใจได้ในคุณภาพ

เตียงผู้ป่วย ต้องดูอะไรบ้าง?

เมื่อแพทย์ได้ทำการอนุญาต หรือเห็นชอบให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปรักษาตัวได้เองที่บ้านแล้วนั้น สิ่งต่อไปที่ทางครอบครัวผู้ป่วยอย่างเรา ๆ ต้องคำนึงถึงหลักนั้นคือ เตียงสำหรับให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน และทำการหัตถการต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน เตียงผู้ป่วยนั้นมีจำหน่ายหลากหลายรูปแบบ หลายลักษณะโดยเตียงที่เราจะต้องเลือกซื้อนั้นมีปัจจัยอะไรบ้างในการพิจารณา วันนี้ทางเราได้ทำการคัดสรร ปัจจัยหลักๆ ในการเลือกซื้อเตียงสำหรับผู้ป่วย ดังต่อไปนี้

  1. ขนาดเตียง

ขนาดของเตียงที่เลือกใช้นั้นจะต้องรองรับกับตัวของผู้ป่วยโดยเตียงผู้ป่วยตามท้องตลาดนั้นจะมีความกว้างตั้งแต่ 80 – 90 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งจะต้องวัดพื้นของเตียง มิใช่วัดความกว้างของเตียงทั้งหมด เนื่องจากฟูก หรือที่นอนนั้นจะถูกวางบนพื้นเตียง และน้ำหนักของผู้ป่วยจะถูกทิ้งตัว หรือกดทับลงฟูกที่นอนโดยมีพื้นของเตียงรองรับน้ำหนัก ถ้าหากเราใช้ฟูกที่มีความกว้างที่กว้างกว่าพื้นเตียงมากจนเกินไป หรือพื้นที่เตียงน้อยเกินไป เมื่อผู้ป่วยทิ้งน้ำหนักลงบนฟูกที่ไม่มีพื้นรองรับแล้วจะเกิดการไหลและพลิกของฟูกได้ รวมไปถึงความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับและเป็นแห่งสะสมเชื้อโรคได้เมื่อเกิดการเปื้อน

นอกจากการเลือกขนาดของเตียงให้เหมาะสมแล้ว อีกสิ่งที่ต้องนึกถึง คือ พื้นที่ของบ้านเราที่จะต้องนำเตียง และอุปกรณ์อื่น ๆ มาวางภายในบ้าน ดังนั้นเราจะต้องมีขนาดของเตียงคร่าวๆ จากการวัดพื้นที่คราวๆ อยู่ภายในใจเพื่อให้สามารถเข้ากับผู้ป่วยและบ้านของเราได้พอดีนั้นเอง

  1. การใช้งาน
เตียงปรับระดับไฟฟ้าเพื่อผู้สูงอายุ
    • การปรับฟังก์ชั่นเตียง

ฟังก์ชั่นของเตียงนั้นจะหมายถึง การปรับเตียงในลักษณะทางท่าที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย และผู้ดูแล โดยการใช้งานนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ว่าต้องการการใช้งานฟังก์ชั่นในลักษณะใดได้บ้าง ซึ่งโดยหลักๆ นั้นจะมีฟังก์ชั่นการปรับเริ่มที่ 2 ฟังก์ชั่น พื้นฐาน คือ 1. การปรับพิงหลัง 2.การปรับชันหรืองอเข่า ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยทั่วไป หากสำหรับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มในการติดเตียง หรือการเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ ก็จะแนะนำว่าควรพิจารณาการใช้งานเตียงในฟังก์ชั่นอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งจะมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายมากขึ้น ตั่งแต่การปรับชันเข่าและพิงหลังพร้อมกัน , การปรับตะแครงซ้าย – ขวา , การปรับพื้นเตียงส่วนหัว-ท้ายเตียงขึ้นลง รวมไปถึงการปรับให้อยู่ในตำแหน่งคล้ายกับลักษณะท่านั่งได้อีกด้วย

    • ไฟฟ้า หรือ แบบมือหมุน

ปัจจัยนี้ก็สำคัญในการเลือกซื้อด้วยเช่นเดียวกันเพราะในปัจจุบันนั้นเตียงส่วนใหญ่จะได้รับความนิยมเป็นแบบไฟฟ้าเนื่องจากมีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายให้ผู้ใช้ได้เลือกซื้อ การใช้งานที่ง่ายและสะดวก ซึ่งในบางรุ่นนั้นมาพร้อมแบตเตอรี่สำรอง ซึ่งจะอยู่ในข้อถัดไป แต่สำหรับเตียงแบบมือหมุนก็นับเป็นเตียงรุ่นพื้นฐานที่สามารถใช้งานได้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ หากแต่ฟังก์ชั่นในการปรับสูงต่ำอาจจะไม่มีในบางรุ่น มีเพียงการปรับพิงหลัง กับชันเข่าเท่านั้น ซึ่งทำให้การใช้งานฟังก์ชั่นอื่นๆถูกลดทอนลงไป

    • แบตเตอรี่ หรือ ไม่มีแบตเตอรี่

ในข้อนี้นั้น สำหรับผู้ที่พิจารณาในการเลือกใช้เตียงเป็นแบบไฟฟ้าแล้ว เรื่องถัดไปนั้นก็คือ เตียงของเราต้องใช้แบบมีแบตเตอรี่หรือไม่มีแบตเตอรี่อันไหนดีกว่ากันนะ ซึ่งในกรณีนี้นั้นให้เราพิจารณาจากอัตราการเกิดไฟดับในบริเวณที่พักอาศัยของเรา ว่าเกิดบ่อยครั้งหรือไม่ ซึ่งอาจจะรวมไฟกระชาก ไฟตกไปด้วย เพราะเนื่องจากการที่กระแสไฟฟ้ามาไม่คงที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อมอเตอร์ได้ ดังนั้นหากมีอุบัติการณ์ทางไฟฟ้าของบ้านท่านมีการเสี่ยงสูง แนะนำให้เลือกใช้เป็นรูปแบบเตียงที่มีแบตเตอรี่สำรอง เพราะไฟจะถูกเก็บผ่านแบตเตอรี่ก่อนและนำมาจ่ายไฟให้แก่เตียงซึ่งจะทำให้ได้กระแสฟ้าไฟได้เสถียรมากกว่า หรือเรียกง่ายๆ ว่าใช้ร่วมกับ UPS ก็จะช่วยได้เป็นอย่างมาก แต่โอกาสก็น้อยมากๆ ที่ขณะใช้งานเตียงไฟฟ้าอยู่แล้วนั้น ไฟจะดับ 

    • อุปกรณ์ที่คนไข้ต้องการใช้งานร่วมกับเตียง

อุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้งานร่วมกับผู้ป่วย หรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสาสำหรับแหวนถุงน้ำเกลือ , อาหารเหลว หรือยาต่างๆ ให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งถ้าหากเตียงที่เราเลือกซื้อนั้นมีแท่นสำหรับรองรับเสาน้ำเกลือทั้ง 4 มุมจะทำให้เราสะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้น  หรือการที่สามารถใช้งานรวมกับโต๊ะคร่อมเตียง , ถาดอาหารได้ก็จะสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้นนั้นเอง

  1. รูปร่างลักษณะต่าง ๆ
เตียงปรับไฟฟ้า Cozy3 ขนาด 6 ฟุต (Kingsize)
    • วัสดุ ไม้ หรือพลาสติก

ในกรณีที่เราเลือกวัสดุของเตียงนั้น โครงสร้างหลักจะสร้างมาจากอะลูมิเนียมแข็งแรง ส่วนหัวเตียง ท้ายเตียง และราวกั้นนั้นจะถูกผลิตจากพลาสติก หรือไม้ เป็นส่วนที่เราจะต้องเลือก เนื่องจากวัสดุทั้งสองอย่างนี้จะทำให้เกิดรูปร่างที่แตกต่างกัน โดยพลาสติกนั้นจะขึ้นรูปแบบที่ทันสมัยมีที่แบบราวกันตก ที่คล้ายคลึงกับที่เราพบเห็นในโรงพยาบาลทั่วไป รวมไปถึงเป็นลักษณะคล้ายปีกนกแต่จะดูค่อยข้างทึบ หรือปิดบังการมองเห็นด้านข้าง เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเห็นพยาบาลหรือผู้ดูแลจัดเตรียมอุปกรณ์ แต่จะไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบที่แคบ แต่ถ้าหากเตียงแบบพลาสติกนั้นอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนอยู่โรงพยาบาลได้ ลองมองหาเป็นเตียงแบบไม้นำไปใช้ในบ้านแทนเพื่อทำให้กลมกลืนกับบ้านของเรามากกว่า ความสบายใจของผู้ป่วยก็มากขึ้นอีกด้วย

    • ระบบการล็อคล้อ

การล็อคล้อจะมีอยู่อย่างง่าย ๆ คือ ล็อคเพียง 2 ล้อหลัง กับล็อคทั้ง 4 ล้อ ซึ่งแนะนำให้เลือกระบบการล็อคล้อ เป็นแบบ 4 ล้อ โดยการล็อคจะมีการล็อคแบบล็อคที่ละล้อ หรือล็อคพร้อมกันทั้ง 4 ล้อในการล็อคครั้งเดียว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล

    • ราคา

ในปัจจัยของนี้ ก็สำคัญดังนั้นควรศึกษารายละเอียดข้างต้นที่ได้กล่าวมา แล้วพิจารณาว่า ผู้ป่วยนั้นเหมาะสมกับรูปแบบเตียงแบบไหน และผู้ดูแล หรือคนในครอบครัวสามารถใช้งานได้สะดวกที่สุด คุณก็จะได้รูปแบบเตียงในใจ จากนั้นทำการเลือกร้านที่น่าเชื่อถือ ที่คุ้มค่ากับราคา รวมไปถึงการประกันคุณภาพหลังการขายว่าเพียงพอหรือครอบคลุมอะไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ของคุณอย่างถึงที่สุด

  • Hospital Bed ออกแบบให้ใช้กับคนไข้หลายคน ดูแข็งพิวสัมผัสเป็นพลาสติก เพื่อให้ทำความสะอาดง่าย
  • Home Care Bed ออกแบบเพื่อใช้ส่วนบุคคล ออกแบบให้ดูสวยน่าใช้ อบอุ่นมากกว่า เน้นใช้ที่บ้าน หรือ ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ผลทางจิตวิทยารู้สึกสบายใจอยู่บ้านไม่ได้อยู่รพ.
  • ราวกันตก (Side Rails) ราวกันตกเป็นส่วนประกอบสำคัญของเตียงนอนผู้ป่วย แต่ก็มีข้อแตกต่างเหมือนกัน
    • ราวกันตกไม้ — สวยงาม ดูเรียบร้อย เป็นตัวมาตรฐานที่มากับเตียง  ข้อเสียคือ เอาขึ้นลงยากกว่าแบบอื่นๆ
    • ราวกันตกเหล็ก ครึ่งตอน — เอาขึ้นลงง่าย แข็งแรง สามารถทิ้งน้ำหนักบางส่วนลงได้ ข้อเสียคือ อาจจะไม่ค่อยสวย
    • ราวกันตกอลูมิเนียม สองตอน — เอาขึ้นลงง่าย สามารถเอาขึ้นลงเป็นส่วนได้ สวยงาม ข้อเสียคือ มีราคาสูง

Tric :: เตียงผู้ป่วย รุ่นปรับความสูงต่ำด้วยระบบไฟฟ้าได้ มีประโยชน์อย่างไร?

เตียงผู้ป่วย รุ่นปรับสูงต่ำด้วยระบบไฟฟ้าได้ 

เตียงผู้ป่วยที่สามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้ตามปกติ แต่ข้อแตกต่างจากเตียงที่ความสูงทั่วไปตามโรงพยาบาลมาตรฐาน ปรับได้ต่ำสุดประมาณ 55 ซม.(ไม่รวมฟูก) แต่รุ่นปรับต่ำได้ต่ำพิเศษ คือ รุ่นที่สามารถปรับได้ต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไป เช่น ปรับได้ต่ำสุด 38 ซม.(ไม่รวมฟูก) เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุแต่ละท่านมากที่สุด

เตียงผู้ป่วย รุ่นปรับด้วยระบบไฟฟ้าได้ มีประโยชน์อย่างไร ?

  • ป้องกันอุบัติเหตุจากการตกเตียง เพิ่มความปลอดภัย
  • ช่วยให้ลุกนั่งสะดวก และเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ตัวเล็กช่วงขาสั้น ไม่สูงมาก
  • เวลานั่งจะช่วยให้ขาจะหยั่งถึงพื้น ขาไม่ลอย ทำให้การลุกนั่งสะดวกและปลอดภัยกว่า

ประโยชน์ต่อผู้ดูแล

รุ่นนี้ทำให้การปฎิบัติงานกับคนป่วยสะดวกมากขึ้น เช่นเวลา เช็ดตัว ดูดเสมหะ วัดความดัน หรือโดยเฉพาะเวลาเคลื่อนย้ายคนป่วยลุกจากเตียงจะสะดวกกว่ารุ่นที่ไม่สามารถปรับระดับสูง-ต่ำได้เลย เวลาคนดูแลเช็คตัวเปลี่ยนเสื้อผ้าให้คนไข้จะสะดวกมาก เตียงสามารถปรับขึ้นสูงได้เลย ช่วยเพิ่มความสะดวกทำให้คนดูแลไม่ต้องก้มโน้มตัวลงไปปฏิบัติงาน (กรณีคนดูแลที่ค่อนข้างมีอายุ จะไม่ปวดหลังเวลาก้ม เช็คตัวคนไข้ เปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือ เวลาดูดเสมหะ)