fbpx

รู้หรือไม่…5อาหารช่วยควบคุมสาเหตุน้ำตาลในเลือดสูง

รู้หรือไม่…5อาหารช่วยควบคุมสาเหตุน้ำตาลในเลือดสูง

“ ผู้ป่วยเบาหวาน หรือ บุคคลทั่วไปอาจละเลยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพราะเข้าใจว่าสุขภาพแข็งแรงดี เพราะช่วงแรกของการเริ่มต้นอาการไม่รุ่นแรงถ้าไม่สังเกตุอาการตัวเองดีๆอาจไม่เห็นความผิดปกติเลยบางท่านมีความผิดปกติเล็กน้อยจนอาจคิดว่าอาการเหล่านี้สามารถหายเองได้ ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงโดยไม่รู้ตัว และเมื่อไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมาได้!”

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง 

น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไม่ได้รับการรักษานั้นอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยส่งให้เส้นประสาท หลอดเลือด หรืออวัยวะต่าง ๆ ถูกทำลายจนมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมาได้

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

สาเหตุที่น้ำตาลในเลือดสูง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นมีระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติ ต่างจากคนทั่วไปที่ฮอร์โมนอินซูลินจะถูกผลิตและหลั่งจากตับอ่อนหลังมื้ออาหาร โดยทำหน้าที่เป็นตัวนำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายเพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงในระดับปกตินอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะนี้ได้ง่าย เช่น ได้รับฮอร์โมนอินซูลินหรือรับประทานยาเบาหวานไม่เพียงพอ ไม่ควบคุมอาหาร มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้ออกแรง ได้รับบาดเจ็บหรือเข้ารับการผ่าตัด รับประทานยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

สาเหตุที่หลายคนเห็นได้ชัดคือน้ำหนักขึ้น จากการเครียด
  • กินคาร์โบไฮเดรต มากกินไป
  • เครียดสะสม
  • ไม่ชอบออกกำลังกาย
  • กินไม่เลือก
  • เป็นโรคเกี่ยวกับตับ
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • มีน้ำหนักตัวมากเกินไป

หรืออาจจะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวานที่อินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่นั้นเอง “หากไม่อยากมีปัญหาสุขภาพ ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี”

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ต้องเฝ้าระวัง

Old Thai woman massages the eye socket because of eye pain. Health care concept.

 

น้ำตาลในเลือดสูงมักไม่มีอาการบ่งบอกในช่วงแรก แต่เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติได้เมื่อระดับน้ำตาลสูงเกิน 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป อาการในช่วงเริ่มต้นสังเกตได้จาก

    • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
    • มองเห็นไม่ชัด
    • กระหายน้ำมาก
    • น้ำหนักลด
  • อ่อนเพลียง่าย
  • แผลหายช้าและติดเชื้อง่าย

สำหรับผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงเกิน 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากการสะสมของสารคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นของเสียในเลือดและปัสสาวะ ทำให้มีอาการอื่นตามมา เช่น ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้, หายใจสั้น, ปากแห้ง, คลื่นไส้ อาเจียน, ปวดท้อง, อ่อนเพลีย, น้ำหนักลด ในรายที่อาการรุนแรงอาจรู้สึกสับสน ซึมลง และหมดสติ

จะลดน้ำตาลทั้งทีหลายคนคงคิดว่าคงจะมีแต่เมนูรสชาติไม่อร่อยวันนี้แอดมินเลยอยากจะมาช่วยแชร์ 5 อาหารสุดอร่อยตัวช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ทานง่ายๆมาดูกันเลยค่ะ

1. ผักใบเขียว
มีสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ บำรุงผิวพรรณ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และจะมีแมกนีเซียมช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีช่วยช่วยเปลี่ยน น้ำตาลไปเป็นพลังงาน แถมแมกนีเซียมยังเป็นอาหารชั้นยอดของเลือดและยังจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาท  และจำเป็นต่อการทำงานกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ผักใบเขียวยังเป็นผักที่มีใยอาหารสูง ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย พบมากใน ผักบุ้ง ผักคะน้า ตำลึง บร็อกโคลี ผักโขม

ผักใบเขียวเช่น คะน้า บล็อคลี่ เซอร์ลารี่เป็นต้น

2. แซลมอน
แซลมอนถือได้ว่าเป็นสุดยอดปลาที่นอกจากความอร่อยแล้วยังมีคุณประโยชน๋ต่อสุขภาพมากมาย โดยในแซลมอนจะมีทั้งสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย เช่น โปรตีน โอเมก้า3 วิตามินดี วิตามินบี3 ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และยังช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและยังช่วยบำรุงให้หัวใจแข็งแรงขึ้นอีกด้วย การทานแซลมอนเป็นประจำ จึงช่วยลดระดับไขมันในเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น และมีส่วนช่วยในการป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด แถมยังช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง โรคข้ออักเสบ (รูมาตอยด์รวมถึงมีส่วนช่วยพัฒนาสมองและการจดจำได้เป็นอย่างดีแถมยังช่วยให้ลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

แซลมอนเมนุที่หลายคนโปรดเป็นปรธโยชน์ต่อร่างกาย

3. ข้าวโอ๊ต
ข้าวโอ๊ตเป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ข้าวโอ๊ตจึงถูกจัดให้เป้คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนรู้จักกันดีว่าเป็นธัญพืชที่ให้พลังงานสูง แต่ไขมันต่ำ มีวิตามิน และเกลือแร่ที่ร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที รวมถึงมีเส้นใยอาหารที่ช่วยทำให้อิ่มนาน อยู่ท้องนาน โดยเฉพาะ โอ๊ตมีล ที่มีค่า GI หรือดัชนีการแปลงเป็นน้ำตาลในระดับประมาณ 55 ซึ่ง กว่าข้าวขาวและขนมปังที่อยู่ประมาณ 70-80 ทำให้ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ค่อนข้างดีเลย ทั้งนี้ยังมีผลการศึกษาจากงานวิจัยกว่า 16 งานในปี 2015 ที่เผยว่า ข้าวโอ๊ตช่วยควบคุมระดับกลูโคสในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2ได้

ข้าวโอ๊ตข้าวที่มีประโยชน์สูงเหมาะกับกลุ่มคนลดน้ำตาล

4. อัลมอนด์
อัลมอนด์ มีส่วนประกอบของไขมันดีและมีสารอาหารต่าง ๆ ช่วยในการทำงานของสมองและช่วยให้นอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้น และที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ลดไขมันในเลือดซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคเบาหวาน อีกทั้งยังดีต่อลำไส้เพราะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ นอกจากนี้การกินอัลมอนด์ยังช่วยทำให้เราอิ่มท้องได้นาน จึงเหมาะกับการกินเป็นอาหารว่างระหว่างวันสำหรับคนที่ควบคุมอาหารอีกด้วย ถ้าหาร่างกายขาดแมกนีเซียมมากไปก็จะทำให้การทำงานของอินซูลินแย่ลงและเกิดผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดและควรทานวันละ 1 กำมือก็เพียงพอ

อัลมอลควรท่านไม่เกินวันละ 1กำมือร่างกายจะดึงประโยชน์ไปใช้ได้มากสุด

5. อะโวคาโด
อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันชนิดดี (HDL) และยังช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL)ช่วยควบคุมและลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์ ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือกหัวใจตีบ ช่วยลดความดันโลหิต เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง ช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย ช่วยบำรุงผิว ชะลอริ้วรอยแห่งวัย เพราะมีวิตามินอี อุดมด้วยวิตามินซี ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ชะลอความเสื่อมของดวงตาช่วยลดความอ้วน ลดน้ำหนัก ช่วยลดไขมันเลวในหลอดเลือด

อะโวคาโดที่เมื่อก่อนราคาสูงเพราะเป็นผลไม้นำเข้าตอนนี้มีพันธุ์ไทยราคาประหยัดประโยชน์เท่ากันลองไปหาซื้อดูนะคะ

ทั้งนี้การควบคุมน้ำตาลก็ควรเอาที่เหมาะสมกับร่างกายอย่าให้การควบคุมน้ำตาลเกินไปจนมีผลกระทบกับมาที่ร่ายกายเช้นเดิม วันนี้แอดจึงมีเครื่องมือสำตัวช่วยสำหรับการควบคุมน้ำตาลมาฝากค่ะ นั้นก้คือ CGM เครื่องมือที่สามารถรายงานผลน้ำตาลแบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนเมื่อระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำกว่าค่าที่กำหนด ช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลอย่างได้ผล การแสดงผลแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้ทราบว่าอาหารชนิดใดที่ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทราบปริมาณการกินที่เหมาะสม นำไปสู่การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลได้แบบต่อเนื่องตลอดเวลา และส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือได้แบบเรียลไทม์ มีระบบเตือนเมื่อระดับน้ำตาลตก ช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ และส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต แพทย์ประจำตัวสามารถเข้าถึงผลน้ำตาลแบบเรียลไทม์ วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

บอกระดับน้ำตาลในเลือดผ่าน App ในมือถือ โดยตัวเครื่องเชื่อมต่อกับมือถือผ่าน Bluetooth
CGM ทำโดยการติดเซนเซอร์ที่ตัว สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ โดยสามารถใช้ได้ 7-14วัน แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ