fbpx

ขนาดและความหนาของล้อมีผลต่อการเข็นรถเข็นวีลแชร์อย่างไร?

ขนาดและความหนาของล้อมีผลต่อการเข็นรถเข็นวีลแชร์อย่างไร?

ขนาดและความหนาของล้อมีผลต่อการเข็นรถเข็นวีลแชร์อย่างไร?

สวัสดีครับแฟนคลับร้าน Elife ทุกคนนะครับ หลายคนที่กำลังมองหาวีลแชร์มาให้ผู้สูงอายุใช้อยู่ หรือจะเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว หรือจะเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ดี อาจจะกำลังคิดไม่ตกกับการเลือกซื้อวีลแชร์ให้เหมาะสม ให้ตอบโจทย์ และต้องการมั่นใจว่าสิ่งที่ซื้อมานั้นมันดีและไม่เสีนเปล่า ซึ่งจริงๆแล้ว วิธีการเลือกรถเข็นวีลแชร์ คงไม่ใช่เรื่องที่หายากเกินไปในยุคนี้ เพราะเพียแค่พิมพ์เข้าไปในเว็บไซต์ค้นหา ข้อมูลเป็นร้อยๆชุดก็พร้อมใจกันเด้งขึ้นมาให้เราเพียงแค่ปลายนิ้วคลิ๊ก

รถเข็นแต่ละคันก็มีคุณสมบัติต่างกันออกไปตามการใช้งานมีสเป็คสินค้าให้อ่านอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นในแง่ของวัสดุที่นำมาใช้ น้ำหนักรถเข็น ขนาดรถเข็น และประเด็นนึงที่คนที่กำลังเลือกซื้อวีลแชร์ใส่ใจเป็นพิเศษคือเรื่อง ล้อ ที่เราเห็นรถเข็นวีลแชร์ทั่วไปก็จะมีล้อเล็ก ล้อใหญ่ ชวนงง ซึ่งตรงนี้ผมสามารถให้คำตอบกับเพื่อนๆได้เลยว่า ล้อเล็กนั้นเนี่ยมีไว้สำหรับคนใช้งานที่มีผู้ดูแลเข็นให้ตลอด ไม่จำเป็นต้องเข็นเอง ส่วนแบบที่เป็นล้อใหญ่จะเหมาะกับคนใช้งานที่จำเป็นต้องเข็นเอง ไม่ต้องมีคนดูแล มีแรงพอที่จะเข็นรถเข็นเองได้โดยการบังคับทิศทางจากล้อโดยตรง ซึ่งแน่นอนหลายคนอาจจะทราบในข้อมูลตรงนี้อยู่แล้ว แต่บางครั้งผมก็ยังโดนลูกค้าถามผมต่ออีกว่า “แล้วรุ่นล้อเล็กมันก็มีทั้งล้อ 7 นิ้ว ล้อ 12 นิ้ว ล้อ 16 นิ้ว หรือมีทั้งล้อหนา ล้อบาง ตรงนี้มีผลทำให้เข็นยากเข็นง่ายต่างกันหรือไม่?” วันนี้ผมจึงได้ทำการหาข้อมูล รวบรวม เรียบเรียง และสรุปมาให้เพื่อนๆเข้าใจง่ายและได้คลายข้อสงสัยกัน

ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆรู้จักความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรื่อง แรงเสียดทาน หรือ Friction กันก่อน หรือก็คือ แรงต้านการเคลื่อนที่บนผิวสัมผัสที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ หรือแรงที่ต้านทานการเคลื่อนที่ของวัตถุไปบนพื้นผิวสัมผัส ซึ่งส่งผลให้วัตถุดังกล่าวเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่งไปในท้ายที่สุด ดังนั้นแล้ว “แรงเสียดทานจึงมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุและมีขนาดขึ้นอยู่กับ ลักษณะของพื้นผิวสัมผัสและแรงหรือน้ำหนัก ที่กระทำในลักษณะตั้งฉากต่อพื้นผิวดังกล่าว หากแรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัสมีขนาดมากเท่าใดย่อมส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานมากขึ้นเท่านั้น”

เมื่อผ่านกาลเวลาที่มนุษย์ได้มีการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก ศึกษาจนสามารถใช้ประโยชน์จากแรงเสียดทานได้ ในสมัยก่อนนั้นมนุษย์มีการนำท่อนไม้ทรงกลมกระบอก มาใช้วางเป็นฐานแล้ววางวัตถุที่มีนำ้หนักข้างบน ออกแรงผลักก็ค้นพบว่าสามารถเคลื่อนวัตถุได้ง่ายกว่า ต่อมาจึงได้มีการประดิษฐ์เป็นล้อเกวียน จนกระทั่งสามารถประดิษฐ์ล้อรถยนต์ได้ในที่สุด วัตถุทรงกลมเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นผิวและยังใช้แรงเสียดทานให้เป็นประโยชน์ในการหมุนวงล้อไปข้างหน้า เช่นเดียวกับความสามารถในการยึดเกาะบนพื้นผิวสัมผัสที่ทำให้เราบังคับทั้งทิศทางและการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ตามต้องการ

การลดแรงเสียดทาน

การลดแรงเสียดทานสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

1. การใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือจาระบี

2. การใช้ระบบลูกปืน ตลับลูกปืน

3. การออกแบบรูปทรงยานภาหนะให้ปราดเปรียว ต้านแรงเสียดทานน้อย ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น

 

การเพิ่มแรงเสียดทาน

การเพิ่มแรงเสียดทานในด้านความปลอดภัยของมนุษย์ มีวิธีดังนี้

1. ออกแบบยางล้อรถให้มีดอกยางเป็นลวดลาย เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างล้อกับพื้นที่สัมผัส

2. การเบรคล้อรถต้องเพิ่มแรงเสียดทานให้ล้อ โดยการนำเบรคมาเพิ่มแรงเสียดทาน ให้รถหยุดหรือชะลอความเร็ว

3. บริเวณพื้นรองเท้ามีลวดลาย เพิ่มแรงเสียดทานของรองเท้า

4. ปูพื้นห้องน้ำให้มีผิวขรุขระเพื่อเพิ่มแรงเสียดทาน ป้องกันคนลื่นล้มเนื่องจากแรงเสียดทานที่น้อยลงจากน้ำ

 

สรุปประเด็นสำคัญ

1. แรงเสียดทาน จะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวสัมผัส ผิวสัมผัสหยาบหรือขรุขระจะมีแรงเสียดทานมากกว่าผิวเรียบและลื่น

2. แรงเสียดทาน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้น ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดมาก แรงเสียดทานก็จะมากขึ้นด้วย

3. แรงเสียดทาน ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดหรือพื้นที่ของผิวสัมผัส

 

ดังนั้นจากเรื่องของแรงเสียดทานจึงสามารถสรุปได้ว่า

“ขนาดของล้อและความหนาของล้อ ไม่มีผลต่อการเข็นง่ายกว่าหรือยากกว่าหรือลื่นกว่ากัน แต่ประเด็นที่มีผลทำให้คนเข็นรู้สึกเข็นลื่นหรือฝืดกว่ากันคือ น้ำหนักของคนนั่งและสภาพของพื้นที่เข็นนั่นเอง!”