fbpx

ภาวะแพ้ที่สูง (High-altitude illness)

ภาวะแพ้ที่สูง (High-altitude illness)

สวัสดีครับ แฟนคลับร้าน elife ทุกคน ช่วงนี้มีใครกำลังอินไปเที่ยวเขา ปีนเขาเหมือนแอดมินบ้างครับ หากใครที่สนใจเรื่องการปีนเขา ท้าทายความสามารถตัวเองบนที่สูงๆเหมือนแอดมิน แอดมินอยากจะมาแชร์ความรู้ที่ควรรู้ไว้ก่อนขึ้นที่สูงมาฝากทุกคนกันครับ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆหากไม่รู้อาจจะเป็นอันตรายจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้เลยทีเดียวกับ “ภาวะแพ้ที่สูง” หรือ “High-altitude illness”

ภาวะแพ้ที่สูง (High-altitude illness)

คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำได้ ทำให้เกิดอาการจากการขาดออกซิเจน อาการมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร (Acute mountain sickness หรือ AMS) จนกระทั่งอาการรุนแรงนำไปสู่ อาการสมองบวม (High altitude cerebral edema หรือ HACE) ซึ่งจะมีอาการสับสน เดินเซ ซึม หรือ อาการปอดบวม (High altitude pulmonary edema หรือ HAPE)  ซึ่งจะมีอาการ เหนื่อย ไอเสมหะสีชมพู อาการรุนแรงเหล่านี้นำไปสู่การเสียชีวิตได้ภายในเวลา 24 ชม.

อาการแพ้ที่สูงจะเกิดได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 2500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยิ่งสูงมากความดันออกซิเจนในบรรยากาศยิ่งลดลง เช่น

  • ที่ระดับความสูง 3000 เมตร ระดับออกซิเจนในบรรยากาศจะอยู่ที่ประมาณ 70% ของระดับน้ำทะเล
  • ที่ระดับความสูง 4000 เมตร ระดับออกซิเจนในบรรยากาศจะอยู่ที่ประมาณ 60% ของระดับน้ำทะเล
  • ที่ระดับความสูง 5000 เมตร ระดับออกซิเจนในบรรยากาศจะอยู่ที่ประมาณ 50% จากระดับน้ำทะเล
  • ที่ระดับความสูง 8000 เมตร เรียกว่า Dead zone ระดับออกซิเจนในบรรยากาศเหลือเพียงแค่ 30% ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ดังนั้น ยิ่งอยู่ที่สูงมาก โอกาสเกิดอาการยิ่งมากขึ้นและรุนแรง หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน

 

กลไกการปรับตัวของร่างกาย

เมื่อเราอยู่ในที่สูงซึ่งความดันของออกซิเจนในบรรยากาศน้อย ร่างกายจะปรับตัวเพื่อให้ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น เช่น อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น หัวใจบีบตัวแรงขึ้น ไตขับด่างออกจากปัสสาวะมากขึ้นเพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ใช้เวลา 3-5 วัน กว่าที่ร่างกายจะปรับตัวได้ ดังนั้นหากร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวในภาวะออกซิเจนต่ำได้ ก็จะเกิดอาการต่างๆ ซึ่งเป็นอาการแพ้ที่สูง

ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะแพ้ที่สูง

ภาวะแพ้ที่สูงนั้นเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ขึ้นกับอายุและความฟิตของร่างกาย กล่าวคือ คนที่มีความฟิตร่างกายเยอะเช่นนักกีฬาก็อาจจะมีโอกาสเกิดอาการแพ้ที่สูงได้ไม่ต่างกับคนที่มีความฟิตน้อย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวได้เร็วหรือช้าของแต่ละคนอาจเนื่องมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งที่หนึ่งที่จะช่วยพยากรณ์ได้ว่าใครจะมีโอกาสเกิดอาการแพ้ที่สูงได้หรือไม่อาจดูจากประวัติแพ้ที่สูงในการเดินทางก่อนหน้านี้ หากมีประวัติแพ้ที่สูงมาก่อน การเดินทางขึ้นที่สูงครั้งต่อไปในระดับความสูงเดียวกันก็อาจเกิดขึ้นได้อีก

ปัจจัยที่มีผลต่อการแพ้ที่สูงได้แก่

  • พันธุกรรม
  • ประวัติแพ้ที่สูงก่อนหน้านี้
  • อัตราการเปลี่ยนแปลงความสูง ถ้ายิ่งมีการเปลี่ยนแปลงความสูงเร็ว ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ก็จะมีโอกาสเกิดอาการแพ้ที่สูงได้มากขึ้น เช่น เดินทางขึ้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล ไปยังระดับ 3500 เมตรในหนึ่งวัน ก็จะมีโอกาสเกิดอาการมากกว่าผู้ที่ขึ้นที่สูงไประดับ 3000 เมตรในหนึ่งวัน หรือระหว่างขึ้นที่สูงหากอัตราการเปลี่ยนแปลงความสูงแต่ละวันมากก็จะมีโอกาสเกิดอาการมากกว่าการค่อย ๆ เปลี่ยนความสูง
  • โรคประจำตัวที่มีผลต่อการหายใจ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง โรคปอดเรื้อรังที่มีผลต่อการแลกเปลี่ยนแก๊ส เช่น ปอดอุดกันเรื้อรัง(COPD) ความดันในปอดสูง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • การรับประทานยาที่กดการหายใจ เช่น ยานอนหลับ
  • การดื่มแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์กดการหายใจ

อาการแพ้ที่สูงแบ่งได้ 2 ระดับความรุนแรง

อาการไม่รุนแรง

  1. Acute mountain sickness หรือ AMS ได้แก่ อาการปวดศีรษะร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาการจะเกิดขึ้นภายใน 2-12 ชม.หลังจากขึ้นที่สูง โดยมักจะมีอาการตอนกลางคืนของวันแรกและอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองหลัง 48 ชม.ไปแล้ว

อาการรุนแรง 

  1. High altitude cerebral edema หรือ HACE คืออาการสมองบวม เป็นอาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจาก AMS โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการขึ้นที่สูงมากขึ้นโดยที่อาการ AMS ยังไม่ดีขึ้น โดยจะมีอาการปวดศีรษะมากขึ้น อ่อนเพลียมากขึ้น สับสน เดินเซ จนกระทั่ง ซึมลง และเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชม. หากไม่นำผู้ป่วยลงมาจากที่สูง
  2. High altitude pulmonary edema หรือ HAPE จะเกิดขึ้นภายใน 2-4 วันหลังจากขึ้นที่สูง โดยอาการแรกคืออาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง ไอแห้ง ๆ จากนั้นจะไอมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้นแม้ขณะอยู่เฉย ๆ ไอเสมหะเป็นฟองสีชมพู และเสียชีวิตได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ภาวะ HAPE นี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดจากภาวะแพ้ที่สูง

 

การรักษาภาวะแพ้ที่สูง

  1. หากมีอาการยังไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ (AMS) และไม่สามารถลงมาจากที่สูงได้ ให้นอนพัก เคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด จนกว่าอาการจะดีขึ้นจึงจะสามารถเดินทางขึ้นไปต่อได้ ส่วนมากอาการจะดีขึ้นใน 24-48 ชม. หากยังฝืนเดินขึ้นที่สูงต่อจะทำให้อาการแย่ลง
  2. รับประทานยาแก้ปวด ยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน เพื่อบรรเทาอาการ อาจรับประทานยา Acetazolamide 250 มิลลิกรัม 1 เม็ดทุก 12 ชม. เพื่อช่วยให้ร่างกายปรับตัวได้เร็วขึ้น หากอาการ AMS รุนแรง อาจใช้ยา Dexamethasone รับประทานหรือฉีด อย่างไรก็ตามการนำยาไปรับประทานควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  3. หากอาการไม่ดีขึ้นและยังลงมาจากที่สูงไม่ได้ ให้หาสถานพยาบาลใกล้เคียงเพื่อรับออกซิเจนสูดดมต่อเนื่องก็จะช่วยให้อาการดีขึ้น แต่หากไม่มีสถานพยาบาลใกล้เคียงให้ลงจากที่สูง ไม่ฝืนเดินทางต่อ
  4. การรักษาภาวะ HACE : หากยังไม่สามารถลงจากที่สูงได้และมีสถานพยาบาลใกล้เคียงสามารถรักษาเบื้องต้นโดยการให้ออกซิเจนต่อเนื่องและยา Dexamethasone ได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรืออยู่ในที่ที่ไม่มีสถานพยาบาลให้รีบลงมาจากที่สูง
  5. การรักษาภาวะ HAPE : เนื่องจากเป็นภาวะที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้รวดเร็ว ดังนั้นหากมีอาการที่สงสัยภาวะนี้ ควรรีบลงมาจากที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการรุนแรง ได้แก่ เหนื่อยขณะพัก หากยังไม่สามารถลงจากที่สูงได้ให้รีบหาสถานพยาบาลเพื่อรับออกซิเจนแบบสูดดมต่อเนื่องระหว่างรอการเคลื่อนย้าย

การใช้ยาป้องกันที่สูง

กรณีที่ต้องขึ้นที่สูงในระยะเวลาอันสั้น เช่นขึ้นที่สูงเกิน 3000 เมตร โดยไม่มีเวลาในการปรับตัว อาจรับประทานยาป้องกันที่สูง โดยควรปรึกษาแพทย์ก่อน ถึงข้อบ่งชี้ การรับประทานยา และผลข้างเคียง ได้แก่

  • ยา Acetazolamide ช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับสภาวะออกซิเจนต่ำได้เร็วขึ้น โดยรับประทานครั้งละ 125 มิลลิกรัม (ครึ่งเม็ด) ทุก 12 ชม. ก่อนขึ้นที่สูง 24 ชม.
  • ยา Dexamethasone ทาน 2 มิลลิกรัมทุก 6 ชม. หรือ 4 มิลลิกรัมทุก 12 ชม. ใช้เป็นทางเลือกกรณีมีข้อห้ามในการใช้ยา Acetazolamide เนื่องจากมีผลข้างเคียงมาก

 

คำแนะนำการป้องกันภาวะแพ้ที่สูง

สิ่งสำคัญของการเตรียมตัวเพื่อป้องกันภาวะแพ้ที่สูงอาจไม่ใช่เพื่อป้องกันอาการเล็กน้อย (Acute mountain sickness) เนื่องจากมีโอกาสเกิดขึ้นได้แม้มีการเตรียมตัวอย่างดีแล้ว แต่เป็นการป้องกันอาการรุนแรงและการเสียชีวิตจากภาวะแพ้ที่สูง จึงควรต้องมีความรู้และการเตรียมตัวที่ดีก่อนการเดินทาง

  • ศึกษาเส้นทางการเดินให้ดี วางแผนการเดินทางว่าจะใช้เวลากี่วัน หยุดพักที่ไหนบ้าง เพื่อให้อัตราการขึ้นไม่เร็วจนเกินไปจนเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแพ้ที่สูง
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนการเดินทางเรื่องการเตรียมตัว การรับประทานยาป้องกันที่สูง การรักษาอาการแพ้ที่สูงเบื้องต้น
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาวะความพร้อมของร่างกายก่อนเดินทาง
  • เมื่ออยู่บนที่สูงให้พยายามเดินช้า ๆ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักหรือมีกิจกรรมทางกายมากในวันแรกของการขึ้นที่สูง เพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ที่สูง
  • ก่อนเดินทางขึ้นที่สูงมากกว่า 3000 เมตรในวันแรก ควรมีเวลาได้นอนบนที่สูง 2500-3000 เมตร อย่างน้อย 1 คืนก่อนที่จะขึ้นที่สูง จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวได้
  • หากขึ้นที่สูงเกิน 3000 เมตร ไม่ควรเปลี่ยนความสูงมากกว่า 500 เมตรต่อวัน และทุก ๆ 1000 เมตร ควรได้นอนพักบนความสูงนั้นอย่างน้อย 2 วันจึงจะเดินทางขึ้นไปต่อ
  • การเดินขึ้นที่สูงมากขึ้นในตอนกลางวันและกลับลงมาที่ต่ำกว่าในตอนกลางคืน จะช่วยให้การปรับตัวดีขึ้น
  • หมั่นสังเกตอาการแพ้ที่สูง หากมีอาการที่สงสัยแม้เล็กน้อย ก็ควรหยุดพักจนกว่าอาการจะดีขึ้น ไม่ควรฝืนเดินทางต่อเพราะจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น หากพักแล้วอาการไม่ดีขึ้นให้ลงมาจากที่สูง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยานอนหลับในขณะขึ้นที่สูงเพราะจะกดการหายใจ
  • ควรทำประกันการเดินทางที่ครอบคลุมการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินโดยครอบคลุมการเคลื่อนย้ายทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์หากมีอาการรุนแรงขณะอยู่บนที่สูง

 

“การมีอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแพ้ที่สูง อย่างเครื่องช่วยผลิตออกซิเจนพกพาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีในการป้องกันการเกิด ภาวะแพ้ที่สูงได้ เช่นกัน”

เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา 4L Spirit3 Lithium-Ion

เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา
เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ออกซิเจนบำบัดแก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องการความเข้มข้นของออกซิเจนมากกว่าอากาศปกติ คล้ายกับเครื่องผลิตออกซิเจนในบ้าน เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพามีขนาดเล็กกว่า พกพาสะดวก และเบากว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้ มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะมีโรคเข้าถามหาตามอายุที่มากขึ้น เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  โรคปอดเรื้อรัง  หรือภาวะหัวใจล้มเหลว โรคเหล่านี้สามารถใช้การบำบัดด้วยออกซิเจนได้เพื่อรักษาผู้ป่วยจากโรคทางเดินหายใจ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาระดับของออกซิเจนในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ

รายละเอียดสินค้า Spitrit-3 เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา  เป็นเครื่องออกซิเจนที่น้ำหนักเบาขนาดเล็กและเหมาะแก่การพกพามีความเสถียรและไว้วางใจได้

  • ขนาดเล็กและพกพาง่าย น้ำหนักเพียว 2.2 Kg.
  • สามารถปล่อยระดับออกซิเจนได้สูงสุด 4 ระดับ
  • ชาร์จแบตเต็มสามารถใช้งานสูงสุด 5 ชั่วโมง
  • มีสัญญาเตือนเมืท่อเครื่องมีปัญหา หรือผิดปกติ
  • ดีไซน์สวยทันสมัย
  • มีชุดอุปกรณ์กระเป๋าสะพายข้างทำให้สะดวกยิ่งขึ้น
  • จอแสดงผล LCDขนาด 2.5 นิ้ว
  • อย.65-2-2-2-0008657

จุดเด่นของเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา

  • ขนาดเล็ก ง่ายต่อการพกพา
  • ผลิตออกซิเจนได้อย่างสม่ำเสมอไม่มีหมด
  • บางรุ่นสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้
  • ประหยัดเวลาไม่ต้องคอยเติมออกซิเจนบ่อย ๆ
  • ใช้งานง่ายแค่เปิดเครื่องก็ใช้งานได้เลย

ความเข้มข้นของออกซิเจน 90 – 96%
อัตราการไหลออกซิเจน ปรับไป 1-4 ระดับ
แรงดันอากาศสูงสุดที่จ่าย 150 kPa
น้ำหนักตัวเครื่องรวมแบตเตอรี่ 2.2 กก.
แบตเตอรี่ Li-ion ขนาด 6400 mAh
ขนาด 22 x 8 x 22 ซม.
ระดับความสูงในการใช้งาน 5,000 เมตร
อัตราการหายใจ 15 – 40 BPM
ระดับเสียง ≤ 55 dB(A)
เวลาใช้งานขึ้นต่ำ 30 นาที
จอแสดงผล LCD ขนาด 2.5 นิ้ว

เครื่องผลิตออกซิเจนพกพา yuwell รุ่น Spirit-3 เป็นเครื่องขนาดเล็กพกพาสะดวกน้ำหนักเพียง 2.2 กิโลกรัม สามารถปล่อยออกซิเจนสูงสุดถึง 4 ระดับ (Pulse Setting 1–4) โดยรักษาความเข้มข้นของออกซิเจนอยู่ในระดับ 90% – 96% ในทุกระดับ Pulse Setting จอแสดงผล LCD ขนาด 2.5 นิ้ว มีความคมชัด ทันสมัย และ มีสัญญาณแจ้งเตือนเมื่อเครื่องมีปัญหา มีความผิดปกติ เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ 5 ชั่วโมง สามารถใช้งานได้สูงสุด 5 ชั่วโมง สามารถใช้ไฟบ้านได้ ผ่านสายชาร์จ AC 100-240 V, 50/60 Hz สามารถใช้งานในรถได้ผ่านอะแดรปเตอร์ DC 12 – 24 V 

ายละเอียดคุณสมบัติ

1. สามารถผลิตความเข้มข้นของออกซิเจนอยู่ที่ 90 – 96% ทุกระดับ Pulse
2. อัตราการไหลออกซิเจนสามารถปรับระดับ Pulse ได้ตั้งแต่ 1 – 4 ระดับ
3. แรงดันอากาศสูงสุดที่จ่ายออกมา 150 kPa
4. ระดับเสียงไม่เกิน 55 dBA
5. น้ำหนักตัวเครื่องรวมแบตเตอรี่ 2.2 กิโลกรัม
6. ขนาดตัวเครื่อง (กว้าง x ยาว x สูง) 22 x 8 x 22 เซนติเมตร
7. จอแสดงผล LCD ขนาด 2.5 นิ้ว อ่านค่าแสดงผลง่าย
8. จอแสดงผล
– ระดับ Pulse 1 – 4 ระดับ ขณะที่ใช้งาน
– สัญลักษณ์ และระดับแบตเตอรี่คงเหลือ (%) สัญลักษณ์ขณะชาร์จแบตเตอรี่
– จำนวนชั่วโมงการใช้งานสะสมทั้งหมดของเครื่อง
– การแจ้งเตือนข้อความต่าง ๆ พร้อมไฟ Alarm การแจ้งเตือนในกรณีที่เครื่องตรวจพบปัญหา

9. การแจ้งเตือนของตัวเครื่อง เมื่อทำการตรวจพบ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ได้แก่
– สัญญาณไฟสีเขียว แสดงระดับความเข้มข้นออกซิเจนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และตรวจพบการหายใจของผู้ใช้
– สัญญาณไฟสีเหลือง มีเซนเซอร์จับจังหวะการหายใจ พร้อมแจ้งเตือนด้วยเสียง เมื่อไม่พบการหายใจ หรือมีการอุดตัน อากาศไม่มีการไหลเวียน และเมื่อแบตเตอรี่ต่ำ จะมีการแจ้งเตือนด้วยเสียง และสัญญาณไฟสีเหลือง
– สัญญาณไฟสีแดง ระบบการทำงานเครื่องมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เครื่องจะทำการแจ้งเตือนและปิดการทำงานเครื่อง หรือถ้าแรงดันลมผิดปกติ เครื่องจะทำการแจ้งเตือนและปิดการทำงานเครื่อง คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำงานผิดปกติ เครื่องจะทำการแจ้งเตือนและปิดการทำงานเครื่อง แบตเตอรี่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เครื่องจะทำการแจ้งเตือน และปิดการทำงานเครื่อง

10. แผงปุ่มควมคุม มีปุ่มเพิ่ม / ลด ระดับอัตาการจ่ายออกซิเจน , ปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง และปุ่มปิดเสียงการแจ้งเตือนชั่วคราว
11. มีไส้กรองอากาศ สำหรับกรองอากาศก่อนเข้าสู่ตัวเครื่อง 2 ชิ้น บริเวณฐานเครื่อง และสามารถถอดเปลี่ยนได้ง่าย
12. มีแบตเตอรี่ Li-ion ขนาด 6400 mAh สามารถใช้งานได้สูงสุด 5 ชั่วโมง (ณ ระดับการทำงานที่ 1 ) พร้อมระบบแสดงสถานะที่ตัวแบตเตอรี่
13. เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ 5 ชั่วโมง
14. สามารถใช้ไฟบ้านได้ ผ่านสายชาร์จ AC 100-240 V, 50/60 Hz
15. สามารถใช้งานในรถได้ผ่านอะแดรปเตอร์ DC 12 – 24 V
16. สามารถใช้งานได้ในระดับความสูง สูงสุด 5000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล จะไม่ทำให้ค่าความเข้มข้นอกซิเจนลดลง
17. การออกแบบพิเศษของตัวเครื่องและระบบการทำงานที่สามารถถอดเปลี่ยนกระบอกสารกรองออกซิเจน (Molecular sieve)
ได้ง่าย

อุปกรที่จะได้ภายในชุด

  • ตัวเครื่องผลิตออกซิเจน Spirit-3
  • แบตเตอรี่ 6400 mAh
  • คู่มือการใช้งานภาษาไทย /ภาษาอังกฤษ
  • สายชาร์จสำหรับไฟบ้าน
  • สายชาร์จสำหรับใช้งานบนรถ
  • สายออกซิเจนแบบเสียบจมูก
  • ไส้กรองอากาศสำรอง
  • ใบรับประกันตัวเครื่อง 2 ปี