fbpx

หกล้ม ในผู้สูงวัย เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

หกล้ม ในผู้สูงวัย เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
            ชวนใส่ใจ “ผู้สูงอายุ” ญาติผู้ใหญ่ในบ้าน ที่เราควรใส่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ โดยเฉพาะ >> บ้าน << สถานที่ ที่คิดว่าปลอดภัยที่สุด อาจร้ายที่สุดก็ได้ ปัญหาที่เรามักพบบ่อยใน ผู้สูงอายุ จะเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุพลัดตก หกล้มเป็นส่วนมาก คือกระดูกสะโพกหัก และศรีษะได้รับความกระทบกระเทือน เป็นสาเหตุที่ทำให้พิการ และมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงมาก ที่สำคัญหากผู้สูงอายุในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ หรือแม่ หากได้พลัดตกหกล้มแล้ว ย่อมไม่ใช่คนเดียวที่เจ็บ แต่สมาชิกทุกคนในบ้านก็เจ็บไปด้วย !!
            จากข้อมูลของการเกิดอุบัติเหตุใน “ผู้สูงอายุ” มักมีสาเหตุจากความเสื่อมและการถดถอยของร่างกาย อีกทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดลง ซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65-75 ปี และเนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน เมื่อหกล้มกระดูกจึงเกิดการแตกหรือหักได้ง่าย
photoในแต่ละปี “ผู้สูงอายุ” มักประสบอุบัติเหตุจากการลื่นล้มและส่วนใหญ่ล้มมากกว่า 1 ครั้ง การลื่นล้มนั้นทำให้กระดูกสะโพกหัก การบาดเจ็บจากกระดูกสะโพก เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต โดยส่วนใหญ่การลื่นล้มมักจะเกิดขึ้นในที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในห้องน้ำและบันได และยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่กระดูกหักในครั้งแรกยังไม่เคยตรวจหรือรักษา “โรคกระดูกพรุน” เลย นอกจากนี้ “ผู้สูงอายุ” ที่เคยหกล้มในครั้งแรกแล้ว มีแนวโน้มที่จะหกล้มเพิ่มขึ้น และยังมีโรคประจำตัวซึ่งได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง โรคหัวใจ บางรายมีไตวายเรื้อรัง ดังนั้นจึงทำให้การดูแลรักษาซับซ้อนมากขึ้น ทำให้สมาชิกในบ้านต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และขณะอยู่ในโรงพยาบาลก็เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ ปอดบวม ติดเชื้อในระบบต่างๆ เป็นต้นการลื่นหกล้มเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ โดยต้องทราบสาเหตุของการลื่นล้ม เช่น สาเหตุทางกาย ได้แก่ การทรงตัวไม่ดี ขาอ่อนแรง ชา อ่อนเพลีย หน้ามืด มีปัญหาด้านสายตาและการได้ยิน การรับยาที่มีผลต่อระบบการไหลเวียนโลหิต เป็นโรคกระดูกพรุนสาเหตุจากสิ่งแวดล้อม พื้นลื่น เปียก มีหยดน้ำ พื้นผิวขรุขระมีขั้นสูงต่ำ ขอบไม่เรียบแสงสว่างไม่เพียงพอ อุปกรณ์ของใช้ไม่มั่นคงชำรุด ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินไม่เหมาะสม สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้าไม่พอดีphoto                   สำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับ “ผู้สูงอายุ” ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอ เน้นผักและผลไม้ เพื่อรักษาสมดุลของร่างกายและต้านทานโรค ไม่ควรงดอาหาร ทำให้อ่อนเพลีย มึนงง มีการเคลื่อนไหวทุกวัน เดินหรือออกกำลังกายตามวัย เช่น ไทจี๋ เพื่อรักษาความยืดหยุ่นของข้อและสมดุลของร่างกาย สอบถามแพทย์หรือเภสัชทุกครั้งที่รับยาถึงผลข้างเคียงของยา ได้แก่ ยาที่ทำให้ง่วงซึม ยากล่อมประสาท ยาลดความดันโลหิต และยาขับปัสสาวะ หรือมีประวัติการใช้ยาเป็นประจำตั้งแต่ 4 ชนิดขึ้นไป (ไม่รวมวิตามิน) ถ้ารับยาที่มีผลทำให้ง่วงซึม หลับ ต้องปรับเปลี่ยนการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการลื่นล้ม ห้ามผสมยากับแอลกอฮอล์ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นสาเหตุของการลื่นล้ม ไม่อายที่จะใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยเดินให้มีความสูงเหมาะสมและมั่นคง อุปรณ์ช่วยเดินที่ดี ควรมีลักษณะที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ สามารถปรับสูง-ต่ำ ตามความสูงของผู้ใช้งานได้ เพราะหากอุปกรณ์ช่วยเดินต่ำเกินไป โดยที่ต้องก้ม ก็อาจจะทำให้ผู้สูงอายุหลังคร่อม และเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกได้ อุปกรณ์ช่วยเดินรุ่น Ew-21 มีลักษณะเด่นคือ สามารถช่วยพยุงตัวในการเดินได้ มีล้อทั้ง 4 ล้อ ช่วยให้ผู้สูงอายุเดินและเข็นไปพร้อมกันได้เลย ไม่เสี่ยงต่อการหกล้ม โดยทั่วไปปกติแล้ว Walker ที่เราพบโดยทั่วไป จะต้องใช้ยกและเดิน ส่วนใหญ่แล้วจังหวะที่จะเกิดการล้มของผู้สูงอายุ คือ ขณะที่ยก Walker ขึ้น หากผู้สูงอายุที่ไม่สามารถทรงตัวยืนได้ อาจจะทำให้เกิดการลื่นล้มนั่นเอง
Ew-21 รถเข็นช่วยเดินสำหรับคนชรา หรือ ทำกายภาพบำบัด ใช้เพื่อช่วยเดิน ให้ร่างกายได้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง เมื่อเหนื่อยสามารถใช้เป็นเก้าอี้นั่งได้ ในชุดประกอบด้วยกระเป๋าใส่ของ ตัวรถน้ำหนักเบาเป็นพิเศษเนื่องผลิตจากวัสดุอลูมิเนียม ออกแบบมาให้พับได้ และที่สำคัญสามารถปรับระดับตัวรถตามความสูงของผู้ใช้แต่ละคนได้                         สุดท้ายเทคนิคกันล้มที่ลูกหลานควรใส่ใจ นั่นคือ “บ้าน” สถานที่คิดว่าปลอดภัยที่สุด แต่สำหรับ “ผู้สูงวัย” แล้วบ้านอาจเป็นอันตรายหรือร้ายกว่าที่คิด หากเราไม่เตรียมพร้อมป้องกันให้ดีอาจทำให้ท่านลื่นหกล้มบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต จนอาจกลายเป็นฝันร้ายของคนในบ้าน ฉะนั้นจึงมีเทคนิคกันล้มง่ายๆ  มาฝากกันง่าย 8  ได้แก่

photo                                       1. เพิ่มแรงเสียดทานให้พื้น คือติดแผ่นกันลื่น ใช้วัสดุไม้สังเคราะห์ หรือถ้าเป็นกระเบื้องในห้องน้ำควรใช้กระเบื้องแผ่นเล็ก มีผิวด้านหรือผิวสัมผัสเป็นลวดลาย  2. ทางลาดต้องมี เพื่อผ่อนแรงผู้ป่วยพักฟื้นที่ใช้วีลแชร์ ควรทำทางลาดไว้ตามทางลงบันใดต่างๆ ให้มีความชันไม่เกิน 5 องศา กว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. ทางลาดยาวไม่เกิน6 เมตร

3. ขนาดเตียงที่เหมาะสม เลือกเตียงให้มีทางยาวไม่น้อยกว่า 180 ซม. สูงประมาณ 40 ซม. (สำหรับการใช้รถเข็น) หรือสูงจากพื้นถึงข้อพับเข่า โดยให้รอบเตียง3 ด้านมีพื้นที่ว่างอย่างน้อยด้านละ 90 ซม. หากใช้เตียงปกติทั่วไป รถเข็นวีลล์แชร์ จะไม่สามารถสอดเข้าไปใต้เตียงเพื่อที่จะนำรถเข็นไปเทียบด้านข้างได้ เนื่องจากเตียงโดยทั่วไป ที่ไม่ใช่เตียงปรับระดับ จะมีขนาดที่ต่ำจนไม่สามารถสอดเข้าไปได้ ดังนั้นผู้สูงอายุ ที่ต้องใช้รถเข็นวิลล์แชร์ จำเป็นต้องเลือกใช้เตียง ที่สามารถปรับระดับได้ และเตียงปรับระดับ ที่เราพบเห็นได้ทั่วไป ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะเหมือนเตียงโรงพยาบาลที่โครงสร้างเป็นพลาสติกหรือ PVC ปรับระดับโดยการใช้มือหมุนและต้องมีผู้ช่วยคอยปรับระดับให้อยู่ตลอดเวลา แต่หากว่าผู้สูงอายุที่ต้องการช่วยเหลือตัวเองนั้น จะไม่สามารถก้มลงไปหมุนเองได้ จึงทำให้การเคลื่อนย้ายตัวออกจากเตียงลำบาก ดังนั้น Elife จึงมีเตียงไฟฟ้าที่เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุง่ายขึ้น คือ เตียงไฟฟ้า ที่โครงสร้างทำจากเนื้อไม้ กรุด้วยโลหะ แข็งแรง ทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี กรุด้วยเนื้อไม้ โดยถูกออกแบบมาให้เหมือนกับเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้ในงานในบ้าน มอเตอร์เป็นแบรนด์จากแบรนด์เยอรมัน  Motor Dewert คุณภาพสูง ใช้งานได้ยาวนาน ควบคุมด้วยรีโมท มีกุญแจล็อคปุ่มกด (กรณีไม่ต้องการให้เด็กๆกดเล่น ) เหมาะกับการใช้งานในบ้าน โดยมีให้เลือกลักษณะแตกต่างออกไปดังนี้
เตียงไฟฟ้ารุ่น EB-35 เตียงไฟฟ้ารุ่นนี้จะเน้นราคาประหยัด แต่คุณภาพดี สามารถปรับได้ 3 ไกร์
1.  ยกส่วนบนเอียงสูง-ลาด
2. ยกส่วนขาเอียงสูง-ลาด
3. ยกพร้อมกันทั้งส่วนบน และส่วนขาเอียงสูง-ลาด แต่การปรับระดับสูง-ต่ำ เป็นการปรับในลักษณะ Manual ปรับได้ขนาด 40-45-50 Cm.
เตียงไฟฟ้ารุ่น EB-55 เตียงไฟฟ้ารุ่นนี้จะปรับสรีระท่าทางการนั่ง-นอน หรือทำกิจวัตรประจำวันได้ค่อนข้างดี สามารถปรับได้ 5ไกร์
1. ยกส่วนบนเอียงสูง-ลาด
2. ยกส่วนขาเอียงสูง-ลาด
3. ยกพร้อมกันทั้งส่วนบน และส่วนขาเอียงสูง-ลาด
4. ปรับระดับเตียงให้ยกสูง-ยกลงต่ำ
5. ปรับระดับเฉพาะโครงสร้างหัวเตียง-ปลายเตียงให้เป็นมุมขนาด 45 องศา รุ่นนี้ฟังก์ชั่นของเตียงจะครบ และใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างสมบูรณ์

เตียงไฟฟ้ารุ่น EB-77 รุ่นนี้เป็นเตียงลักษณะพิเศษ ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับระดับได้ต่ำจนติดพื้น เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ใช้งาน ที่จะมีแนวโน้มจะตกจากเตียง เช่น ผู้ป่วยวัยรุ่น , ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ , หรือผู้ป่วยต้องการความปลอดภัยเป็นพิเศษ ออกแบบเพื่อให้ใช้งานที่บ้าน โดยดีไซน์โดยใช้วัสดุเนื้อไม้กรุโครงโลหะทำให้ดูสวยงามเข้ากับการใช้งานที่บ้าน มอเตอร์เป็นของเยอรมัน Motor Limoss คุณภาพดีเยี่ยม เตียงไฟฟ้าสามารถ ปรับได้ 5 ไกร์
1. ยกส่วนบนเอียงสูง-ลาด
2. ยกส่วนขาเอียงสูง-ลาด
3. ยกพร้อมกันทั้งส่วนบน และส่วนขาเอียงสูง-ลาด
4. ปรับระดับเตียงให้ยกสูง-ยกลงต่ำ
5. ปรับระดับเฉพาะโครงสร้างหัวเตียง-ปลายเตียงให้เป็นมุมขนาด 45 องศา รุ่นนี้ฟังก์ชั่นของเตียงจะครบ และใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างสมบูรณ์

photo      4. ประตูดีต้องเปิดง่าย เปลี่ยนลูกบิดแบบหมุนมาเป็นคันโยกเพื่อทุ่นแรง ประตูต้องกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. หรือมีความกว้างมากกว่าความกว้างของวีลแชร์ หรือจะเปลี่ยนเป็นประตูบานเลื่อนแบบไม่มีธรณีประตูก็ได้

photo                            5. ราวจับกระชับทุกก้าว ติดตั้งราวจับลักษณะสั้น-ยาว หรือตัวแอล-ตัววี ที่เหมาะกับการใช้งานไว้ตามจุดต่างๆ เช่น บันได ห้องน้ำ ผนังทางเดิน เป็นต้น โดยติดตั้งไว้สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80-100 ซม.

photo6. แสงไฟส่องสว่าง เลือกใช้แสงแบบ Day Light สวิตช์ไฟควรมีขนาด 5-7.5 ซม. ให้อยู่ในระยะเอื้อมถึงสะดวก สูงจากพื้นอย่างน้อย 45 ซม. แต่ไม่เกิน 90 ซม.

photo7. ฟังก์ชั่นเพื่อผู้สูงวัย ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านควร จะมีฟังก์ชั่นที่เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน เช่น ราวแขวนผ้าที่ปรับระดับสูงต่ำได้ ไม่ต้องเอื้อม เป็นต้น

photo8. ตัวช่วยยามฉุกเฉิน ติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น สวิตช์ดึงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในห้องน้ำหรือที่หัวเตียง เป็นต้น