fbpx

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.5 น่ากลัวขนาดไหน?

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.5 น่ากลัวขนาดไหน?

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.5 น่ากลัวขนาดไหน?

โควิด 19 ยังคงวนเวียนอยู่รอบตัวเรา เพราะมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ อยู่ตลอดเวลา อย่างล่าสุดในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2566 ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ที่คาดกันว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของโลกในช่วงต่อจากนี้ เนื่องจากแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งในประเทศไทยก็พบผู้ป่วยโควิด XBB.1.16 แล้ว

          ว่าแต่…XBB.1.16 เป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่จริงไหม มีอาการอะไรบ้างที่สังเกตเห็นได้ แล้วอันตรายมาก-น้อยแค่ไหน มาศึกษาข้อมูลให้เข้าใจกันก่อนตื่นตระหนก

      โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่มีการคาดการณ์ว่าจะระบาดในปี 2566 เป็นสายพันธุ์ XBB.1.5 โดยต้นตระกูลของมันคือโอมิครอน BA.2 โดยเป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่างโอมิครอน 2 สายพันธุ์ คือ BJ.1 และ BM.1.1.1 ไวรัสชนิดนี้มีอัตราการแพร่ระบาดรวดเร็วมาก และเป็นสายพันธุ์ที่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดสายพันธุ์หนึ่งในปัจจุบัน วันนี้เรามีข้อแตกต่างของสายพันธุ์นี้มาฝากทุกคน

  • จับยึดกับผิวเซลล์บริเวณโปรตีน ACE-2 ของผู้ติดเชื้อได้แน่นที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง ทำให้เป็นสายพันธุ์ที่แทรกรุกรานเข้าสู่เซลล์และแพร่ระบาดได้ดีที่สุดในปัจจุบัน
  • มีวิวัฒนาการกลายพันธุ์ต่างจาก XBB.1 ในส่วนของโปรตีนหนาม 1 ตำแหน่งคือ “F486P” เป็นสายพันธุ์ที่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดสายพันธุ์หนึ่งในปัจจุบัน
  • XBB.1.5 หลบเลี่ยงต่อภูมิคุ้มกันแบบผสม อันเกิดจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติ ได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม (อู่ฮั่น) ถึง 104 เท่า ทำให้ติดซ้ำได้ง่ายขึ้น
  • ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกบ่งชี้ว่า XBB.1.5 ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง แตกต่างไปจากโอมิครอนสายพันธุ์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ

XBB.1.5 แพร่ได้รวดเร็วกว่าโควิดทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบัน หลบเลี่ยงภูมิคุ้มทั้งจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติได้ดีที่สุด ส่วนโปรตีนหนาม มีแรงยึดเกาะกับผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อได้แน่นมากที่สุด ทำให้แพร่ติดต่อเข้าสู่เซลล์ได้โดยง่าย ดื้อต่อยาฉีดสร้างภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปทุกชนิดที่หลายประเทศมีใช้กันอยู่ ถูกยับยั้งหรือทำลายได้ด้วยยาต้านไวรัสทั้งชนิดเม็ดและชนิดฉีด ปัจจุบันยังไม่พบเชื้อดื้อยา ยังสามารถตรวจคัดกรองได้ดีด้วย ATK และ PCR ผู้ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้ว สามารถช่วยลดโอกาสเกิดความรุนแรงได้

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.5 น่ากลัวขนาดไหน_.png

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 อาการเป็นอย่างไร

อาการที่พบได้ทั่วไปมีความคล้ายคลึงกับโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ มีไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ ไอ คัดจมูก มีน้ำมูก อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นคัน

        แต่ที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ก็คือ พบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 จำนวนหนึ่งที่มีอาการเยื่อบุตาอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายตาแดง คันตา ระคายเคืองตา ขี้ตาเหนียว เปลือกตาลืมไม่ขึ้น หรือบางคนก็มีอาการเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ ส่งผลให้มีเลือดกำเดาออกจากจมูกด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ยืนยันอย่างชัดเจนว่า โควิด XBB.1.16 มีส่วนทำให้ตาแดงได้จริงหรือไม่ เนื่องจากอาการตาแดงอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ไอ-จามมาก ๆ จนเส้นเลือดฝอยในตาแตก เป็นต้น จึงต้องรอการศึกษาที่แน่ชัดต่อไป

สถานการณ์โควิดในประเทศไทย

โควิด 19
ภาพจาก : 1000 Words/Shutterstock.com

 สำหรับในประเทศไทย ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดขณะนี้ยังอยู่ในตระกูลโอมิครอน โดยสายพันธุ์หลักเป็นสายพันธุ์ลูกผสม XBB.1.5 มากที่สุด รองลงมาคือ XBB.1.9.1 ในขณะที่สายพันธุ์ XBB.1.16 พบมากขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกันทั่วโลก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่า XBB.1.16 มีแนวโน้มแทนที่สายพันธุ์อื่น ๆ ทั้งหมดในที่สุด หรือกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักที่จะระบาดในช่วงต่อไป แต่ปัจจุบันยังไม่พบว่า XBB.1.16 มีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่น ๆ

          ขณะที่ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิเคราะห์จากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม พบว่า โอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (Relative Growth Advantage) เหนือกว่า BN.1.3 ประมาณ 148% และเหนือกว่า XBB.1.5 ประมาณ 90% โดยคาดว่าจะเข้ามาแทนที่ BN1.3 และ XBB.1.5 ในประเทศไทยได้ภายใน 2-3 เดือนจากนี้

          จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน (เดือนเมษายน 2566) เราอาจจะยังไม่ต้องวิตกกังวลกับโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มากนัก แต่ก็อย่าปล่อยปละละเลยจนเกินไป เพราะโควิด 19 ยังไม่หายไปไหน โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อยรุ่นใหม่ ๆ ยิ่งทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น

          ด้วยเหตุนี้ทุกคนยังจำเป็นต้องป้องกันตัวเอง ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นประจำปี และหากมีอาการเจ็บป่วยต้องสงสัย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ ต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปคลุกคลีกับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ และรีบตรวจ ATK เพื่อป้องกันการนำเชื้อไปติดต่อยังคนใกล้ตัว

อีกทั้ง ภาวะโลกร้อนทำให้วัฎจักรเกิดการเปลี่ยนแปลง ไวรัสก็มีการเปลียนแปลง  จึงต้องระวัง อย่างไรก็ตามหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทั่วประเทศเกิดการเรียนรู้ เฝ้าระวัง มีนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงยา เวชภัณฑ์ วัคซีนเข้ามารองรับสถานการณ์อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเชื่อว่าหากเกิดอะไรขึ้นน่าจะเอาอยู่ แต่เราก็ควรมีอุปกรณ์การตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อไว้สำหรับตรวจสุขภาพของตัวเอง ว่ามีไข้ ความดันต่ำ ออกซิเจนต่ำ หรือไม่

ค่าความปกติ-ผิดปกติ ของร่างกาย
  • ความดันโลหิต Blood Pressure หัวใจทำหน้าที่บีบตัวดันให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย การวัดความดันสากลใช้หน่วย มิลลิเมตรปรอท ความดันบีบตัวไม่ควรเกิน 120mmHg, คลายตัวไม่เกิน 80mmHg โรคที่เกี่ยวเนื่องกับความดันคือ ความดันต่ำนำมาซึ่งอาการ หน้ามืด, วิงเวียนศรีษะ อ่อนแรง, ซีด ส่วนภาวะความดันสูงทำให้มีความเสี่ยง เป็นโรคหลอดเลือดในสมอง(Stroke) โรคหัวใจ
  • ความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือด SpO2 หรืออากเรียกว่าบปริมาณ ออกซิเจนในเลือด เป็นปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เช่น 99%SpO2 แสดงว่าในเลือดมีออกซิเจนอยู่ถึง 99% เต็มความจุ/ความอิ่มตัวที่เลือดสามารถรับได้ เป็นดัชนีชี้การทำงานของระบบหายใจ และไหลเวียนโลหิต ปกติไม่ควรต่ำกว่า 96%
  • อุณหภูมิร่างกาย Body Temperature อุณหภูมิร่างกายมนุษย์อาจแตกต่างตามชาติพันธุ์ อายุ เพศ แต่จะอยู่ในช่วง 35.4-37.4°C หากสูงกว่าแสดงอาการไข้ต่ำ อาจเกิดจากการอักเสบ หรือ การติดเชื้อในร่างกาย
  • ระดับน้ำตาลในเลือด Blood Glucose ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด แม้ว่ากลูโคสมีความสำคัญอย่างมากกับร่างกาย เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ แต่ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลมากไป ส่งผลทำให้เกิดผลร้ายตามมากมาย ภาวะเบาหวาน เป็นต้นกำเนิดของโรคเรื้องรังมากมาก เพื่อเลือดจะข้นขึ้นเมื่อมีน้ำตาลสูง ส่งผลให้ความดันสูง, โรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดในสมอง เป็นต้น

เราจึงความตรวจ เฝ้าระวังตัวเอง และคนที่คุณรักอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอาการเสี่ยง หรือ ป้องกันได้อย่างทันท่วงที ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ไว้ตรวจค่าทั้ง 4สามารถหาซื้อได้ทั่วไป **โปรดอ่านคู่มือ เอกสารแนบประกอบการใช้งาน**


เครื่องวัดสุขภาพทั่วไป

เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด