fbpx

“Office Syndrome ในเด็ก”

“Office Syndrome ในเด็ก”

“Office Syndrome ในเด็ก”

หากพูดถึง Office Syndrome หลายคนคงรู้จักกันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นอาการที่พบเจอได้มาก ในคนทำงานออฟฟิศ นักศึกษา และเกมเมอร์ ยิ่งในปัจจุบันที่โลกต้องเจอโรคระบาด ทำให้คนต้องทำงานแบบWork from Home มากขึ้นจนอัตราการเกิด Office Syndrome พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก และร้ายแรงจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังต้องพบหมอกันเลยทีเดียว

 

แต่หลายคนคงลืมไปว่า มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องปรับตัวหันมานั่งเรียนจากหน้าจอเช่นกัน นั้นคือ “เด็ก” แล้วรู้หรือไม่ว่า Office Syndrome ในเด็ก ส่งผลเสียร้ายแรงไม่ต่างจากผู้ใหญ่ จากบทความเรื่อง Office Syndrome ในเด็ก หลายฉบับระบุว่า เนื่องจากร่างกายของเด็กต่างกับผู้ใหญ่ ขนาดหัวของเด็กเมื่อเทียบกับขนาดตัวแล้วมีขนาดใหญ่กว่า นั่นหมายถึงน้ำหนักหัวที่ร่างกายเด็กต้องรับจึงมากตามไปด้วย เมื่อเด็กอยู่ในท่านั่งก้มอ่านหนังสือนานๆทำให้เสี่ยงกับปัญหากล้ามเนื้อ กระดูก และระบบประสาท ไหนจะเรื่องของสายตาที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่เท่าผู้ใหญ่ แต่กลับต้องมานั่งจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือหนังสือเป็นเวลานานๆอีกแน่นอนว่าในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะส่งผลเสียกับตัวเด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Bumm Montira” ได้โพสต์เล่าว่า ลูกของตนที่อยู่ชั้น ป.6 อายุเพียง 12 ปี ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ที่มักจะเกิดในผู้ใหญ่วัยทำงานที่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ โดยลูกมีอาการอาเจียน ปวดหัวหนัก เหมือนมีไข้ คล้ายเป็นไมเกรน จนต้องประคบร้อนบริเวณต้นคอและนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ สาเหตุเป็นเพราะตนปล่อยให้ลูกเล่นโทรศัพท์นานเกินไป

วันที่ 26 ส.ค.61 นางมณฑิรา คงยศ ผู้โพสต์ เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 17 ส.ค. ลูกตนเพิ่งปิดเทอม จากนั้นลูกเล่นโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์อย่างหนัก ราววันละ 5-6 ชั่วโมงติดต่อกัน จนกระทั่งวันเสาร์ที่ 18 ส.ค. 61 ลูกตนมีอาการปวดหัว เมื่อยตามตัว และมีไข้ ตอนนั้นตนก็ให้กินยาพารา จนอาการไข้ลดหายไป แต่อาการปวดเมื่อยคงอยู่ จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ 22 ส.ค. 61 ลูกตนบ่นว่า ปวดหัวอย่างหนักจนอาเจียนจนบอกตนให้พาไปหาหมอ เมื่อถึงโรงพยาบาล หมอแจ้งว่าลูกตนป่วยเป็นออฟฟิศซินโดรม ตอนนั้นก็ตกใจว่าอาการนี้เป็นในเด็กได้ด้วยหรือ ซึ่งแพทย์ก็ระบุว่า เด็กสามารถเป็นได้ หลังใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานด้าน นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลว่า อาการออฟฟิศซินโดรม สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่กรณีนี้เด็กมีการเล่นสมาร์ทโฟนอยู่ในระยะเวลานาน จึงทำให้มีผลต่อกล้ามเนื่องจากบริเวณดังกล่าวทำงานหนัก และมีอาการปวด เกร็ง หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจมีผลต่อ สายตา น้ำหนักที่อาจเพิ่มมากขึ้น (ที่มา//:Amarintv)

 

 

“ในสถานการณ์ปัจจุบันการจะให้เด็กออกไปวิ่งเล่น ไปเรียนรู้นอกบ้านก็เสี่ยงโรค เสี่ยงมลพิษ จะให้อยู่บ้านอ่านหนังสือก็มีปัญหา
Office Syndrome เข้ามาอีก ทำไงดีละ?!”

 

งั้นวันนี้ elife ขอนำเสนอทางออกดีๆให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังปวดหัวกับปัญหานี้ นั้นคือ “EarlyLife สินค้าสุขภาพสำหรับเด็ก เพื่อสุขภาพและสร้างบุคลิกที่ดี”

Kiddy Study Set                                              

 

     Alpha Chair    

 

 

Alpha Desk

 

 

Raise3

 

สินค้าข้างต้นเป็นสินค้า EarlyLife สินค้าสุขภาพสำหรับเด็ก ของแบรนด์ elife ซึ่งสามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการ Office syndrome ในเด็กได้ นอกเหนือจากการรักษาโดยแพทย์แล้วการมีอุปกรณ์ช่วยลดและบรรเทาอาการให้เด็กก็จำเป็นเช่นกัน ซึ่งสินค้าของแบรนด์ elife เป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองและออกแบบตามหลักการยศาสตร์(Ergonomic)ซึ่งเป็นหลักที่ศึกษาสภาพการทำงานที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเป็นการพิจารณาว่าสถานที่ทำงานดังกล่าว มีการออกแบบหรือปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงานและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานรวมไปถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น แสงสว่าง เสียงดัง อุณหภูมิ ความสั่นสะเทือน การออกแบบหน่วยงานที่ทำงาน การออกแบบเครื่องมือ การออกแบบเครื่องมือ การออกแบบโต๊ะเก้าอี้ และการออกแบบงาน ซึ่งหลักการยศาสตร์(Ergonomic)ได้ถูกนำมาประยุกต์เข้ากับเด็กในยุคปัจจุบันที่ต้องนั่งเรียนหลายชั่วโมงติดต่อกันไม่ต่างจากผู้ใหญ่วัยทำงานเลย

     

“พ่อแม่ไม่ควรละเลยลูกๆในจุดนี้เด็ดขาดเพราะนอกจากจะทำให้เด็กเกิดอาการป่วยแล้วยังส่งผลในระยะยาว เช่น สายตาผิดปกติ กระดูกผิดรูป หลังค่อม จนนำไปสู่การเสียบุคคลิกภาพที่ดีในอนาคตอีกด้วย”