fbpx

ให้ความสำคัญกับชีวิต…มารู้จัก Ergonomics

ให้ความสำคัญกับชีวิต…มารู้จัก Ergonomics

ยุค 2021 นี้เป็นยุคที่คนทุกเพศทุกวัยใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น ทำให้ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่พัฒนาเพื่อ support กับความต้องการของมนุษย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกิน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งมีการออกแบบมาเพื่อรองรับกับสรีระร่างกายของมนุษย์สามารถลดความเสียหายและความเจ็บปวดของร่างกาย หรือที่เราอาจเคยได้ยินผ่านๆหูว่า ” Ergonomics “

Ergonomics ( เออร์-โก-โน-มิกส์) หรือ การยศาสตร์  ( กา-ระ-ยะ-ศาสตร์) ต้องเป็นคำที่คุ้นเคยกับวงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างแน่นอน และสำหรับบุคคลทั่วไปอย่างเราๆอาจเป็นคำที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน โดยเฉพาะกับคนวัยทำงาน เพราะ Ergonomics มีความหมายว่า “การทำงานให้สอดคล้องกับสรีระร่างกายของมนุษย์” หรือ “การออกแบบรูปแบบการทำงานที่ง่ายขึ้น สะดวกสบายและไม่ก่อให้เกิดอันตราย”

 ซึ่งที่มา Ergonomics เป็นคำที่มาจากภาษากรีก คือ “Ergon” ที่หมายถึงงาน (Work) และ “Nomos” หมายถึง กฏตามธรรมชาติ (Natural Laws) หรืออาจจะแปลอีกความหมายนึงว่า “Laws of Work” กฏของงานหรือเป็นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานและการปรับปรุงสภาพการทำงานอย่างเป็นระบบ

ทำไม ? Ergonomics ถึงสำคัญกับชีวิต

ในการทำงานของเราสิ่งที่ควรคำนึงมากที่สุดคือความสมดุลระหว่างคนซึ่งเป็น ผู้ทำงาน กับ งานที่ต้องทำ ตลอดไปจนถึงขีดจำกัดของ ผู้ทำงาน และความสำคัญของสภาวะและสิ่งแวดล้อมในกรทำงาน เชื่อว่าเหล่าพนักงานออฟฟิศต้องไม่มีใครไม่รู้จักโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างแน่นอน  อาการยอดฮิตอย่างเช่นปวดหลัง ปวด คอ บ่า ไหล่ ซึ่งมีความรุนแรงแบบเล็กน้อยไปจนถึงปวดรุนแรงทรมานมาก ดังนั้นหากนำ Ergonomics มาประยุกต์ใช้ในสถานที่ทำงาน จะช่วยให้

  • ลดความล้าและการบาดเจ็บกล้ามเนื้อจากการทำงาน
  • ลดความเสี่ยงที่ให้กระดูกผิดรูป
  • ลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้ออักเสบ
  • เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • ลดการลางานและขาดงาน
  • เพิ่มคุณภาพของงาน
  • สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน
  • ลดความเคลียดที่มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บในส่วนต่างๆ

สาเหตุที่ทำให้ได้รับอาการบาดเจ็บจากการทำงาน

  • สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น แสงสว่าง เสียงดัง อุณหภูมิ ความสั่นสะเทือน ความเร็วของเครื่องจักร
  • ขนาดของเครื่องใช้ เครื่องจักร อยู่ในขนาดไม่พอดีกับสัดส่วนร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน
  • ตำแหน่งของเครื่องมือไม่เหมาะสม ทำให้ต้องก้มหรือเงยศีรษะ ก้มหลัง บอดเอี้ยวตัว การเอื้อมเป็นต้น
  • ลักษณะท่านั่งที่ไม่เหมาะสม เช่นการนั่งไขว่ห้าง ยกขา 1 ข้าง
  • การนั่งนานจนเกินไปโดยไม่ลุกออกจากที่เก้าอี้เลย (อ่านบทความข้อเสียของการนั่งนานจนเกินไป>>>)

จัดตำแหน่งท่านั่งให้อยู่ในหลักการยศาสตร์ 

  • ศีรษะ ตั้งตรงหรือก้มเล็กน้อยทำมุม 10-15 องศา และจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างจากสายตา 20-30 นิ้ว
  • คอ บ่า นั่งตัวตรงตั้งฉากไม่เอียงไปด้านใดด้านนึง เพื่อลดความเจ็บปวดของกระดูกสันหลัง
  • หลัง ชิดกับพนักพิงทำมุม 110 องศาจากเบาะนั่ง ไม่แอ่นหรือก้ม
  • ข้อศอก วางแนบลำตัวหรือวางบนพนักวางแขน งอศอกทำมุมประมาณ 90 องศา
  • สะโพก แนบทำมุมฉากกับพนักเก้าอี้ ลงน้ำหนักที่สะโพกทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน และเก้าอี้ควรมีตัวรองรับเอวที่เหมาะสม
  • ข้อมือ สามารถวางบนโต๊ะทำงานได้ในขณะใช้ที่ใช้ Computer
  • ต้นขา วางราบกับที่นั่ง
  • เข่า งอทำมุม 90 องศา และควรปล่อยพื้นที่ใต้โต๊ะเป็นที่ว่าง โล่ง
  • เท้า วางเท้าให้มั่นคงบนพื้นหรือใช้ที่พักเท้า

การแก้ปัญหา

  • ใช้เงินแก้ปัญหาเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับระดับที่พอดีกับการใช้งานได้ เช่น Standing Desk , Ergonomics Chiars (ที่เรารู้จักกันว่า “เก้าอี้ผู้บริหาร” เป็นต้น) ซึ่งสินค้าประเภทนี้จะมีราคาสูงกว่าเก้าอี้และโต๊ะทั่วไป ประมาณ 5,000++
  • ปรับท่านั่งในการทำงาน เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งหลังค่อม ห่อไหล่ การนั่งไขว่ห้าง เป็นต้น
  • การจัดตำแหน่งของอุปกรณ์เครื่องใช้ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถแยกได้เป็น 3 ตำแหน่งดังนี้

  1. Primary Zone  จุดที่สามารถยืดแขนออกไปโดยที่ศอกยังวางอยู่สบายๆข้างตัว ใช้วางสิ่งของที่ใช้ตลอดเวลา
  2. Secondary Zone โซนที่สามารถเอื้อมถึงได้ด้วยการยืดแขนออก ไม่จำเป็นต้องเอนตัวหรือแอ่นเอว เหมาะสมสำหรับสิ่งของที่จำเป็น ใช้งานบ่อย เช่น หนังสือ สมุดบันทึก เครื่องเขียนต่างๆ
  3. Third Zone โซนที่สามารถหยิบของได้โดยไม่ต้องลุกขึ้นยืน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำประจำเหมาะสมสำหรับเก็บสิ่งของที่ต้องใช้เป็นครั้งคราว

Tip

เชื่อว่าชาวออฟฟิศทุกคนต้องนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จึงทำให้มีอาการปวดตา ตาเมื่อยล้า สามารถบรรเทาได้โดย นำต้นไม้เล็กๆ วางไว้บนโต๊ะและเมื่อต้องการพักสายตาให้มองไปที่ต้นไม้ 2-4 นาที จะสามารถช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าของสายตาและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

เพราะชีวิตเรากว่าครึ่งนึงต้องอยู่กับการทำงาน ดังนั้นไม่ควรปล่อยละเลยฝืนทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีกันเลยนะคะ เพื่อสุขภาพของเราที่ส่งผลไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งการทำตามหลัก Ergonomics ไม่ได้ทำยากเลยอีไลฟ์อยากให้ทุกคนใส่ใจสุขภาพตรงนี้มากขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยืนยาวต่อไป…