fbpx

พื้นฐานการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้อารมณ์ดีและสุขภาพดี

พื้นฐานการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้อารมณ์ดีและสุขภาพดี

เชื่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่งานง่ายกับลูกหลานหรือคนดูแลเลย เพราะด้วยเรื่องสุขภาพของผู้ป่วยที่เปลี่ยนไปไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนที่เคย ต้องพึ่งพาลูกหลานเป็นหลัก…ส่งผลต่ออารมณ์ของผู้สูงอายุ เช่น ซึมเศร้าน้อยใจคิดว่าตัวเป็นภาระ อารมณ์เสียฉุนเฉียวง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งไม่ดีเลยกับบรรยากาศในครอบครัว วันนี้เรามาดู“หลักพื้นฐานการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้อารมณ์ดีและสุขภาพดี”กันเลยค่ะ

1. สังเกตุและทำความเข้าใจอารมณ์ของสูงวัยว่าท่านกำลังกังวลหรือคิดมากเรื่องอะไรอยู่ ?

ลองสังเกตุดีก่อนว่าตอนนี้ท่านมีเรื่องอะไรในใจอยู่ที่ทำให้เกิดความเคลียด ซึ่งอาจมองได้จากอาการเหล่านี้…

  • ซึมเศร้า,พูดน้อยลง,ไม่ค่อยตอบสนอง : ธรรมชาติของอารมณ์ผู้สูงอายุคือ ” ขี้น้อยใจ “ และยิ่งเป็นผู้สูงอายุที่เป็นคนป่วยติดเตียงแล้วละก็ยิ่งต้องการเอาใจใส่เป็นพิเศษ สมาชิกในครอบครัวควรเปิดใจให้ผู้สูงอายุได้พูดในสิ่งที่ท่านต้องการ ชวนคุยในเรื่องที่ท่านอาจจะสนใจแสดงให้เห็นว่าเรารักท่าน ไม่ว่าจะเป็นการกอด หอมแก้มและที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้ท่านอยู่คนเดียว

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิน ฉุนเฉียว : เป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอแน่นอนไม่ว่าจะในผู้ป่วยเองหรือผู้สูงอายุ เพราะต้องเข้าใจก่อนว่าตอนนี้ท่านไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนแต่ก่อนและด้วยวัยของเขาเองดังนั้นเมื่อต้องเจอสถานการณ์ที่ผู้ป่วยบ่น หงุดหงิด โมโหง่าย ให้หลีกเลี่ยงการเถียงกลับโดยใช้อารมณ์นอกจากไม่ทำให้อะไรดีขึ้นแล้วจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกขุ่นมัวมากขึ้น วิธีที่ควรทำคือปล่อยให้ผู้ป่วยบ่นและเราเดินเลี่ยงตัวเองออกมาปล่อยให้ท่านอารมณ์เย็นลงและเข้ามาชวนคุยเรื่องอื่นแทนพร้อมกับผลไม้หรือของหวานเย็นๆ นั่งคุยกับท่านด้วยอารมณ์ที่ใจเย็นระหว่างที่คุยนั้นอาจนวดๆมือของท่านไปด้วย หลังจากทุกอย่างดีขึ้นค่อยหาจังหวะเวลาเข้าไปคุยกับท่านด้วยเหตุผลและช่วยกันแก้ปัญหา

  • คิดมากเกินไป ชอบบ่นว่าตัวเองเป็นภาระ : รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าบางครั้งรู้สึกว่าอยากตายและทำร้ายตัวเอง หากผู้ป่วยของคุณมีอาการเหล่านี้ควรเฝ้าดูแลอย่างใกล้มากที่สุด แสดงความรักต่อท่านอยู่เสมอ คอยให้กำลังใจเอาใจใส่ท่านให้มากขึ้นเป็นพิเศษ เป็นผู้ฟังที่ดีแต่ถ้าวิธีเหล่านี้ใช้ไม่ได้ผลควรพาท่านไปพบแพทย์เพื่อช่วยวางแผลการรักษาต่อไป

2. สร้างสภาพแวดล้อมในห้องนอนของผู้ป่วยให้น่าอยู่…

  • ห้องนอนของผู้ป่วยควรมีหน้าต่างให้อากาศที่ถ่ายเทสะดวก เพราะส่วนใหญ่เวลาเกือบ 24 ชั่วโมงผู้ป่วยต้องอยู่ในห้องนอนดังนั้นการมีอากาศที่ถ่ายเทสะดวกจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะส่งผลต่อระบบหายใจและอารมณ์ของผู้ป่วย

  • การมีต้นไม้ในห้องนอนหรือนอกหน้าต่าง การได้มองเห็นต้นไม้บ้าง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น
  • ในห้องมีพื้นที่โล่ง ไม่วางของเกะกะ การมีของวางเยอะแยะทำให้ห้องนอนดูน่าอึดอัด

15สิ่งควรรู้ ก่อนซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า,เตียงนอนคนไข้ไฟฟ้า

  • เลือกใช้เตียงไฟฟ้าที่มีหน้าตาไม่เหมือนเตียงคนป่วย เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเพราะส่วนใหญ่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุค่อนข้างอ่อนไหวกับโรคและสุขภาพร่างกายของตัวเองอยู่แล้วการใช้เตียงที่มีลักษณะเหมือนเตียงนอนผู้ป่วยในโรงพยาบาลอาจเป็นการตอกย้ำความรู้สึกของท่านไปอีก ดังนั้นการเลือกใช้เตียงไฟฟ้าที่มีลักษณะเป็นโครงไม้นอกจากช่วยให้ความรู้สึกของผู้ป่วยผ่อนคลายยังสร้างบรรยากาศดีๆภายในบ้านได้อีกด้วย และในปัจจุบันเตียงไฟฟ้าที่เป็นโครงไม้ส่วนใหญ่ใช้งานได้เหมือนกับเตียงโรงพยาบาลและราคาไม่ได้สูงมากอีกด้วย
  • เลือกใช้สีผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม หรือม่านให้ดูสบายตา เช่นสีพาสเทลอ่อนๆ สีฟ้า เขียว เพราะโทนสีเหล่าให้ความรู้สึกเบา สบายตา
  • มีเครื่องเล่นเพลง เสียงเพลงคลอเบาๆช่วยให้บรรยากาศในห้องนอนผ่อนคลายมากขึ้น ยิ่งเปิดเพลงในยุคสมัยของสูงวัยรับรองท่านต้องอารมณ์ดีแน่นอนค่ะ

3. การจัดท่านอนต่างๆให้ถูกต้องและเหมาะสม…

เพราะผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนท่านอนด้วยตัวเองได้และหากให้ท่านนอนอยู่ในท่าเดียวเป็นระยะเวลานานๆอาจเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ เลือดไหลเวียนไม่สะดวกดังนั้นเรามาดู 4 วิธีพื้นฐานจัดท่านอนให้ผู้ป่วยง่ายๆดังนี้

  • การจัดท่านอนหงาย
  1. รองหมอนบริเวณศีรษะจนถึงบ่าและใช้หมอนใบเล็กรองแขนทั้งสองข้างของผู้ป่วย
  2. ม้วนผ้าเป็นทรงกระบอกใส่ไว้ในมือผู้ป่วย
  3. ใช้หมอนข้างรองใต้เข่าทั้งสองข้างและดันบริเวณฝ่าเท้าของผู้ป่วย
  • การจัดท่านอนตะแคง
  1. จัดแขนที่อยู่ด้านล่างให้กางออกมาข้างลำตัว
  2. ใช้หมอนหรือผ้าขนหนูรองแขนที่อยู่ด้านบน
  3. ขาที่อยู่ด้านล่างเหยียดตรงและงอขาด้านบนมาทางด้านหน้าลำตัว โดยใช้หมอนหรือผ้าขนหนูรองขาไว้
  • การจัดท่านั่ง
  1. ใช้ผู้ป่วยขึ้นมาอยู่ในท่านั่งพิงกำแพงหรือหัวเตียง ใช้หมอนรองศีรษะและหลังของผู้ป่วย
  2. ใช้หมอนรองแขนของผู้ป่วยให้ข้อศอกทำมุม 90 องศา
  3. รองหมอนบริเวณใต้ข้อเข่าของผู้ป่วย
  • การพลิกตะแคงตัวของผู้ป่วย
  1. กางแขนข้างที่ต้องการตะแคงออกด้านข้างส่วนแขนอีกข้างวางบนลำตัวของผู้ป่วย ชันเข่าด้านเดียวกับแขนที่วางบนลำตัว
  2. มือบนจับบริเวณสะบักมือล่างจับบริเวณสะโพกฝั่งตรงข้าม
  3. ออกแรงพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยเข้ามาหาผู้ดูแล

4. การตั้งใจจัดอาหารให้ดูอร่อยและน่าทาน 

ต่อให้เป็นผู้ป่วยติดเตียงก็ยังต้องการอาหาร อาหารของผู้ป่วยติดเตียงไม่จำเป็นต้องทำซ้ำจำเจตลอดไป ผู้ดูแลสามารถนำอาหารเหล่านั้นมากจัดจานให้ดูสวยงามน่าทานเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกเบื่ออาหาร

5. รักษาความสะอาดเอาใจใส่เรื่องกลิ่น

ความสะอาดมีความสำคัญเป็นลำดับแรกๆที่สามาชิกภายในบ้านต้องให้ความสำคัญ เพราะส่งผลเสียให้กับผู้ป่วยเองโดยตรงเช่นการติดเชื้อของอวัยวะต่างๆ และบรรยากาศไม่ดีภายในบ้าน

  •  ความสะอาดสภาพแวดล้องของห้องนอนของผู้สูงอายุ  อุปกรณ์ภายในห้องนอนทั้งหมด เช่น เตียงนอน ตู้ข้างเตียง ควรจัดห้องนอนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อึดอัดจนเกินไป จัดสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ ซึ่งจะช่วยในด้านสภาพอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงด้วย
  • ความสะอาดในเรื่องอาหาร อาหารที่ให้ผู้สูงอายุรับประทานต้องมีความสะอาด ไม่ว่าจะเป้นวัตถุดิบ อุปกรณ์ กระบวนวิธีในการทำ ถ้วยจาน แก้วน้ำ ต้องล้างให้สะอาด และแนะนำให้มีการฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาใส่อาหาร แก้วน้ำสำหรับดื่มน้ำ ไม่ควรใช้แก้วซ้ำ หรือดื่มน้ำจากแก้วที่มีน้ำทิ้งอยู่ในแล้ว
  •  ความสะอาดในการชำระล้างร่างกาย และการขับถ่ายของผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง ซึ่งผู้ดูแลไม่ควรละเลย เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อโรคต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถอาบน้ำได้ ผู้ดูแลต้องมีการทำความสะอาดร่างกายให้สะอาด หากมีการขับถ่าย ต้องรีบทำความสะอาดให้ทันที ไม่ควรทิ้งไว้อาจเกิดการเลอะเปื้อนที่นอน
  • ความสะอาดของสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงมักจะประสบกับภาวะกลืนอาหาร การดูแลสุขภาพช่องปากจึงจะช่วนในการลดการสะสมแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปาก คอยให้ผู้สูงอายุบ้วนปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร กรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถลุกนั่งได้ ต้องมีการใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น แก้วน้ำ ผ้าก๊อซ ผ้าขนหนู น้ำสะอาด ในการเช็ดบริเวณฟันและกระพุงแก้มอย่างเบามือ และสมามารถใช้ผ้าขนหนูเช็ดร่วมกับยาสีฟันได้ แล้วค่อยเช็ดออกด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด เพื่อทำความสะอาดซอกฟัน และช่วยลดปัญหาเศษอาหารติดตามซอกฟัน
  • ความสะอาดของเสื้อผ้าที่ผู้สุงอายุสวมใส่ ควรมีการเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย และไม่ปล่อยในเสื้อผ้าเหม็นอับ เช่น กลิ่นเหงื่อ กลิ่นฉี่ หรือกลิ่นของอาหารที่หกโดยเสื้อผ้า เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงรู้สึกไม่สบายตัว