fbpx

7 ท่านั่ง ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว มาซื้อสุขภาพที่ดีกันเถอะ !!

7 ท่านั่ง ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว มาซื้อสุขภาพที่ดีกันเถอะ !!

ชีวิตแต่ละวันของพนักงานออฟฟิศ กว่า 10 ชั่วโมงที่ต้องนั่งอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ ใครอาจจะมองดูแล้วว่าเป็นงานสบายๆ ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานอะไร มากมาย แต่การนั่งทำงานเฉยๆ สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน หลายครั้งที่เราทำงานเพลินๆ บางคนเพลินจนทำให้ลืมกินข้าว กลายเป็นโรคกระเพาะอาหาร บางคนเพลิน จนลืมเวลา ทำงานจนดึกจนดื่น เหนื่อยล้าจนเครียด นอนไม่หลับ ไม่สดใส และอีกหนึ่งอย่างที่หลายคนมักจะละเลยตอนทำงานเพลินๆ ก็คือ ท่านั่งในการทำงาน

ท่านั่งทำงาน อาจเรียกว่าเป็นภัยเงียบ ที่เป็นบ่อนทำลายสุขภาพชาวออฟฟิศทีละนิดก็เป็นได้ การนั่งทำงานผิดท่า สามารถนำมาซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรง บางคนต้องกินยาประจำ บางคนอาจจะต้องกายภาพบำบัด หรือบางคนอาจถึงขั้นต้องผ่าตัด แต่เพื่อไม่ให้ไปถึงขั้นนั้น วันนี้ Elife เลยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับท่านั่งสุดอันตราย ส่วนใครที่รู้ตัวว่ายังนั่งทำงานท่านั่งเหล่านี้อยู่ เลี่ยงได้ ควรเลี่ยง และรีบปรับตัวซะตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพ คอ บ่า ไหล่ ที่ดีในวันข้างหน้าด้วยค่ะ

ท่านั่งทำงาน เสี่ยงทำลายสุขภาพ 

นั่งไขว่ห้าง  การนั่งไขว่ห้าง การนั่งไขว่ห้างเป็นการทิ้งน้ำหนักตัวทั้งหมดลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง หากนั่งไขว่ห้างในท่าเดิมนานๆ จะส่งผลให้ปวดหลัง และหากติดการนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ อาจทำให้กระดูกสันหลังคดงอผิดรูป หรือร้ายแรงกว่านั่นคือทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อม อาจถึงขั้นต้องผ่าตัด นอกจากจะการนั่งไขว่ห้าง จะทำให้ปวดหลังแล้ว การนั่งไขว่ห้างยังทำให้เส้นเลือดที่ขาถูกกดทับ เลือดสูบฉีดไม่เต็มที่ ทำให้ขาชา หรือมีอาการปวดเมื่อย ทั้งยังทำให้ต้นขาใหญ่ขึ้น ด้วยความที่เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เกิดอาการบวมน้ำ และเกิดไขมันสะสมที่ต้นขาเพิ่มมากขึ้นได้

นั่งขัดสมาธิ  การนั่งขัดสมาธินานๆ ทำให้เกิดอาการเหน็บชา เพราะเส้นเลือดบริเวณข้อพับขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ยิ่งกับคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือคนที่มีปัญหาเรื่องกระดูก การนั่งขัดสมาธิทำงานนานๆ สามารถทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ จุดสังเกตของอาการข้อเข่าเสื่อม คือปวดเข่าเมื่อต้องลุกขึ้นยืนขึ้น เหยียดขาตอนนอน เดินขึ้น-ลงบันได หรือถ้าเป็นมากขึ้น จะส่งผลให้ขาโก่งผิดรูป ข้อเท้าบวมและบิดได้ง่าย ทั้งยังส่งผลให้กระดูกสันหลังคด หรือเคลื่อน หากปล่อยเอาไว้จะทำให้เดินลำบากขึ้น และบางคนอาจถึงขั้นเดินไม่ได้เลยก็มี

นั่งหลังงอ หลังค่อม บางครั้งที่ต้องนั่งทำงานนานๆ หลายคนก็อาจจะนั่งงอหลัง หรือนั่งหลังค่อมไปแบบไม่รู้ตัว ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียบุคลิกแล้ว การนั่งหลังค่อมยังส่งผลโดยตรงให้กับกระดูกสันหลังด้วย หากนั่งจนติดเป็นนิสัย นานวันเข้า สามารถทำให้เป็นโรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) หรือโรคกระดูกสันหลังโค้งผิดปกติ (Kyphosis) หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจต้องเข้ารับการกายภาพบำบัด หรือผ่าตัด นอกจากนั้นการนั่งหลังค่อมยังทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งเกร็ง ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดการคั่งของกรดแลคติก ทำให้ปวดหลัง หรือปวดเมื่อยที่บริเวณไหล่ และสะโพก

นั่งไม่เต็มก้น นั่งไม่เต็มก้น หรือนั่งทำงานแบบหลังไม่ติดพนักพิง จะทำให้หลังของเราต้องรับภาระแบกน้ำหนัก ตัวแทนก้นกบ ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานมากขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อย การนั่งแบบไม่พิงพนัก ยังอาจทำให้เรานั่งหลังค่อมไปแบบไม่รู้ตัว ซึ่งอย่างที่บอกว่าผลกระทบนั้นร้ายแรงต่อกระดูกสันหลังมากเลยทีเดียว

นั่งทำงานบนเตียง การนั่งทำงานบนเตียง หรือ Work from bed ดูเหมือนจะสบาย แต่จริงๆ แล้วบนเตียงนุ่มๆ นี้ กล้ามเนื้อทุกส่วนของเราตั้งแต่คอ หลัง สะโพก ไหล่ และแขน ต้องเกร็งและทำงานหนักกว่าปกติ เพื่อพยุงร่างกายไม่ให้ไหลยวบไปกับเตียงนอน แม้จะไม่ได้มีอาการปวดเมื่อยเกิดขึ้นทันที แต่ถ้านั่งหรือนอนทำงานบนเตียงบ่อยๆ เข้า ในอนาคตหรือเมื่ออายุมากขึ้น ความเจ็บปวดที่สะสมมา จะทำให้เกิดปัญหาที่กระดูกและข้อ ทำให้ปวดหลัง ปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดกระดูกเชิงกราน

นั่งยกไหล่ หากตำแหน่งของเบาะเก้าอี้และโต๊ะทำงานไม่สำพันธ์กันอาจทำให้คุณนั่งท่ายกไหล่โดยไม่รู้ตัว โดยเบาะเก้าอี้ที่นั่งอาจจะต่ำเกินไป หรือโต๊ะทำงานอยู่สูงจนเกินไป ่ทำให้เวลาพิมพ์งานหรือมีการคลิกเมาส์ ต้องยกไหล่ขึ้นมาเพื่อความถนัดโดยไม่รู้ตัว จนเป็นสาเหตุของการปวดไหล่ และปวดหลังเรื้อรังได้

นั่งทับขา ท่าที่มีการยกขาขึ้นมาหนึ่งข้างไปทับขาอีกข้าง หรือทับเท้าของตนนั้น ส่งผลเสียทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกเหมือนในแบบท่านั่งอื่นๆ อีกทั้งกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังสามารถคด งอได้เหมือนกับท่านั่งไขว่ห้าง เพราะความไม่สมดุลของขาทั้งสองข้าง

ท่านั่งที่ถูกต้องตามหลัก การยศาสตร์ Ergonomics

“ซึ่งการนั่งที่ผิดท่าเหล่านี้จะส่งผลกลายเป็นผลกระทบเรื้อรังที่แสดงออกมาในตอนที่อายุเราเริ่มมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการอาการเจ็บปวดและใช้ชีวิตได้อย่างลำบากขึ้นแน่นอน”


ต้องนั่งทำงานอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง ????? 

จาก 7 ท่านั่งอันตราย หลายคนคงเกิดคำถามว่าแล้วจะนั่งทำงานอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง และช่วยลดโอกาสการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมล่ะ ? วันนี้เรามีวิธีการแก้ไขมาแนะนำค่ะ

  • อันดับแรก ขอแนะนำให้ชาวออฟฟิศลุกขึ้นมาจัดพื้นที่หรือสเปสพื้นที่ทำงานให้เป็นกิจจะลักษณะ มีโต๊ะทำงาน มีเก้าอี้ อาจจะเป็นอุปกรณ์สำนักงานเพื่อสุขภาพ (Ergonomic) หรือเก้าอี้ทำงานทั่วไป แต่ขอให้มีพนักพิง มี่ทีวางรองแขน และจะดีที่สุดคือเก้าอี้และโต๊ะสามารถปรับระดับความสูงได้

  • เก้าอี้ต้องปรับให้ได้ระดับกับโต๊ะทำงาน คือสามารถนั่งทำงานได้โดยที่ฝ่าเท้าแตะพื้นพอดี และข้อศอกตั้งฉาก 90 องศาขนานไปกับโต๊ะ

  • หลังต้องชนิดกับพนักพิง บริเวณก้นกบไม่ควรเหลือช่องว่าง อาจหาหมอนเล็กๆ ม้วนผ้าขนหนู หรือใช้หมอนรองหลัง จะช่วยให้เรานั่งหลังตรงได้อัตโนมัติ ข่วยรับน้ำหนักทำให้แผ่นหลังไม่เกร็งตึง และนั่งทำงานนานๆ ได้สบายมากยิ่งขึ้น

ซึ่งวันนี้ Elife มีสินค้าดีๆ อย่างเก้าอี้ปรับระดับเพื่อสุขภาพ Ultra และโต๊ะทำงานปรับระดับไฟฟ้า อย่าง Raise3 มาเป็นตัวช่วยให้การนั่งทำงานของคุณ มีประสิทธิภาพ และเพื่อสุขภาพที่ดี ของชาวพนักงานออฟฟิศอย่างเราๆ โดยไปเริ่มต้นกันที่ตัวแรกก่อนเลยจ้า นั่นก็คือ โต๊ะทำงานปรับระดับไฟฟ้า มอเตอร์เยอรมัน Dewert Okin 

 

 

Raise3 เป็นโต๊ะทำงานที่ปรับระดับได้ด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งหลายๆ คนคงสงสัย ?? ว่าทำไมต้องมีโต๊ะทำงานแบบปรับระดับได้ จริงๆ การปรับระดับได้ ไม่ใช่ว่าจะมีเอาไว้เพื่อให้มันดูเท่ห์ๆ หรือคิดว่าเพราะของมันต้องมี !!

แต่..เนื่องจากว่าโต๊ะทำงานแบบปกติทั่วไป ความสูงจะอยู่ในระดับที่เป็นมาตรฐานเท่ากันทั้งหมด นั่นก็คือโต๊ะจะสูงจากพื้น 75 Cm. ซึ่งปกติแล้ว สรีระของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งความสูงของโต๊ะจะเป็นปัญหา และเป็นสาเหตุที่สามารถทำให้เราเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย เช่น บางท่านที่มีสรีระไม่ค่อยสูงมากนัก เวลานั่งทำงานกับโต๊ะทำงานที่มีความสูงระดับ 75 Cm. เรียกได้ว่า โต๊ะทำงานสูงกว่านั่นเอง จึงทำให้เวลานั่งเขียนงาน หรือใช้แป้นพิมพ์ อาจจะต้องยกไหล่ขึ้น หรือต้องชันข้อมือขึ้น ซึ่งหากนั่งเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เราปวดข้อมือ หรือปวดไหล่ได้ ดังนั้นโต๊ะปรับระดับไฟฟ้า จึงจำเป็นอย่างมาก เพราะจะสามารถช่วยลดอาการปวดตามร่างกายได้

ซึ่งจุดเด่นของโต๊ะทำงานปรับระดับไฟฟ้า Raise3 ของเรานั้น ก็คือมอเตอร์ เพราะเป็นมอเตอร์แบรนด์ Dewert Okin ซึ่งผลิตและได้รับรอง จากประเทศเยอรมัน เป็นมอเตอร์คู่ จำนวน 2 ตัว สามารถปรับระดับต่ำสุดได้ 60 Cm. (เด็กสามารถใช้งานได้) และปรับระดับสูงสุดได้ 125 Cm. ขาโต๊ะเป็นแบบ 3 Statge มอเตอร์ซ่อนอยู่ในรางไม่เกะกะ และวัสดุของหน้าโต๊ะ เรามีให้เลือกหลายขนาด และวัสดุหลายชนิด แล้วแต่ความชอบของแต่ละท่าน แต่หน้า Top โต๊ะของเราค่อนข้างแข็งแรง และยังสามารถเจาะยึดอุปกรณ์เสริมกับหน้าโต๊ะได้อีกด้วย

เก้าอี้นั่งทำงาน Ergonomic chair เก้าอี้นั่งทำงานตามหลักการยศาสตร์ หรือร่างกายนั่นเอง เก้าอี้นั่งก็ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการนั่งทำงาน เพราะเรานั่งอยู่บนเก้าอี้ตลอดเวลา จริงๆ การที่เรานั่งทำงานแล้วปวดหลัง นั่นก็แปลว่าเรานั่งทำงานไม่ถูกต้องตามหลัก Ergonomic เพราะถ้าหากนั่งทำงานทีถูกท่า ก็จะไม่ปวดเมื่อยตามตัว และอุปกรณ์เสริมที่เป็นตัวช่วยอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือเก้าอี้ และถ้าหากต้องการนั่งเก้าอี้ดีๆ สักตัว Elife ขอแนะนำรุ่น Ultra7 เพราะเป็นรุ่นที่ออกแบบมาให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ พนักพิงหลังมีสรีระเข้ากับรูปกระดูกสันหลัง และสามารถปรับฟังก์ชั่นอื่นๆ ให้เข้ากับสรีระได้ และที่สำคัญมีที่รองขา ไว้สำหรับพักผ่อน และคลายเครียด หลังจากการทำงานที่เคร่งเครียดได้อีกด้วย

เก้าอี้ Ergonomic ออกแบบมาให้สามารถปรับส่วนต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนนั้นก็เพื่อให้ทุกส่วนของเก้าอี้พอเหมาะพอดีกับสรีระของแต่ละคนมากที่สุด สำหรับจัดท่านั่งที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างตรงจุด ซึ่งส่วนที่ปรับเพื่อซัพพอร์ตสรีระ มี 5 จุด ดังนี้

  1. เก้าอี้ Ergonomic มี พนักพิงรองคอ ที่สามารถปรับระดับและเปลี่ยนองศาให้พอดีกับต้นคอของผู้ใช้งาน ช่วยปรับให้ศรีษะตั้งตรง และทำให้สายตาขนานกับพื้น
  2. เก้าอี้ Ergonomic มี พนักพิง ที่ช่วยพยุงไหล่ รองรับแผ่นหลัง เอว และกระดูกสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะออกแบบมาให้ไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่นหลังกับเก้าอี้ ช่วยให้ผู้ใช้งานนั่งหลังชิดแนบสนิทกับพนักพิง และนั่งตัวตรงได้ ทำให้หลังไม่แอ่นและไม่ค่อม
  3. เก้าอี้ Ergonomic มี ที่พักแขนสำหรับรองรับศอกและแขนท่อนล่าง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถวางข้อศอกและแขนให้อยู่ในระนาบเดียวกันในแนวเส้นตรง ตามหลักท่านั่งที่ถูกต้อง
  4. เก้าอี้ Ergonomic นอกจากเบาะรองนั่งจะมีความนุ่มและหนาแล้ว ยังถูกออกแบบมาให้สามารถกระจายน้ำหนักได้ดี เวลานั่งน้ำหนักจึงไม่กดลงที่จุดใดจุดหนึ่ง ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถลงน้ำหนักที่กล้ามเนื้อต้นขาหรือก้นทั้งสองข้างได้เท่าๆ กัน เก้าอี้ Ergonomic ยังสามารถปรับเลื่อนเบาะรองนั่งเข้า-ออก ได้ เพื่อให้พอดีกับความยาวของช่วงขาแต่ละคนได้อีกด้วย
  5. เก้าอี้ Ergonomic สามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้ ช่วยให้ เท้าของผู้ใช้งานแต่ละคนวางราบระนาบไปกับพื้นได้แบบเต็มฝ่าเท้า

อย่างไรแล้ว  ด้วยสภาวะโรคระบาดที่ยังไม่ดีขึ้น มีแน้วโน้มว่าชาวพนักงานออฟฟิศอาจจะได้ Work from home กันไปอีกยาวๆ จึงอยากแนะนำให้ลงทุนกับการเลือกเก้าอี้และโต๊ะปรับระดับเพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพสูงดีๆ ของ Elife ซักตัว จะได้ไม่ต้องทนปวดหลัง ลดอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง และจะสามารถช่วยในเรื่องของการป้องกระดูกสันหลัง ของคุณได้ ทำให้การนั่งทำงานในทุกชั่วโมงของคุณ เป็นการนั่งที่ไม่ต้องกังวลเรื่อง อาการต่างๆ ที่เกิดจากการนั่ง ไม่ว่าจะเป็นอาการปวกหลัง เมื่อยบริเวณก้น หรือปวดคอ จนทำให้เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังยอดฮิตต่างๆ เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ หากมีเก้าอี้คุณภาพดีๆ อย่าง เก้าอี้ Ergonomic Chair ของเราสักตัวแล้วล่ะก็ ชาวออฟฟิศ วัยรุ่นปวดหลังอย่าเงราก็จะปลอดภัย ห่างไกลโรคออฟฟิศซินโดรมได้จ้าาา…

การที่เรามีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ปวดหลัง ถือเป็นลาภอันประเสริฐ

และสุขภาพดีๆ ยังส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นได้อีกด้วย