fbpx

เลือกหนังสือให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย

เลือกหนังสือให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย

เลือกหนังสือให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ป้ายแดง ที่ต้องการเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยให้มีการพัฒนาการที่ดี เหมาะสมกับช่วงวัย การให้ลูกอ่านหนังสือ ดูภาพ ดูสีในหนังสือ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ลูก นี่ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกตัวเลือกหนึ่งเลย เพราะถึงแม้เด็กจะยังไม่สามารถอ่านออก แต่ก็สามารถดูรูปภาพและสีต่างๆได้ เด็กที่เริ่มเข้าวัยอนุบาล ก็จะเริ่มประติดประต่อความรู้ในหนังสือกับสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน และเด็กในวัยประถมก็จะเริ่มอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนมากขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้ก็จะมีวิธีการเลือกซื้อหนังสือให้ลูกๆอ่านได้โดยจำแนกตามช่วงวัยอยู่เหมือนกัน

และวันนี้ Elife ก็มีสาระความรู้เกี่ยวกับการเลือกหนังสือให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัยมาฝากเพื่อนๆกัน เพื่อให้เพื่อนๆได้เลือกหนังสือที่เหมาะสม และพัฒนาทักษะของลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ที่สุด

วัยไหนเหมาะกับหนังสือแบบไหน?

แรกเกิด – 1 ขวบ
   การเลือกหนังสือให้ทารก เมื่อทารกอายุ 6 เดือน จะเริ่มสนใจหนังสือสีสดใส โดยเริ่มเอามือแตะที่หนังสือ และส่งเสียงคำราม หรือ จับหนังสือ โบกหนังสือไปมา ฟาดหนังสือ เอาหนังสือเข้าปาก หรือ ส่งเสียงตื่นเต้น
   หนังสือที่เหมาะสม คือ หนังสือที่แข็งแรงทนทานที่มีรูปภาพสีสดใส หรือ รูปเด็ก หนังสือโคลงกลอน ขณะที่บางคนอาจชอบหนังสือที่คุณอ่าน แต่ควรอ่านออกเสียงสลับกับการหยุดพูดคุยกับทารกบ่อยๆ ทารกอาจจะยังไม่เข้าใจภาษา แต่ทารกจะชอบและมีความสุขที่ได้ยินเสียง เมื่อเริ่มเข้าเดือนที่ 9 ทารกจะเริ่มแสดงความต้องการของตัวเอง เช่น อยากกินอาหารเอง อยากถือหนังสือและอ่านเอง หากลูกไม่ยอมให้คุณถือหนังสือ ให้คุณเตรียมหนังสือให้ลูกถือเองเล่มหนึ่ง และคุณถืออีกเล่มหนึ่ง
1-2 ขวบ
   วัยเตาะแตะรักการเคลื่อนไหว ชอบการโยก การจั๊กจี้ และการกอดขณะที่ฟังพ่อแม่อ่าน ส่วนเด็กที่เดินได้แล้ว ชอบที่จะฟังไปเดินเล่นไปด้วย เด็กวัยนี้ชอบถือหนังสือเดินไปมาและนำมาให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
เมื่ออายุ 2 ขวบ ลูกเริ่มเข้าใจภาษามากขึ้น หนังสือช่วยให้รู้จักสิ่งต่างๆ พ่อแม่ชี้รูปภาพในหนังสือและถามลูกว่าเป็นรูปอะไร รอคำตอบ แล้วค่อยเฉลย หรือชมเชย หากลูกตอบได้ถูกต้อง หรือหากลูกตอบผิด ให้สอนคำตอบที่ถูกต้อง การทำให้การสอนแบบถามตอบได้ผล คือ การทำซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะเด็กเล็กๆ การทำซ้ำๆ จะช่วยในการเรียนรู้ เมื่อลูกรู้จักศัพท์ใหม่ๆ เขาจะเริ่มใช้คำศัพท์ทำเป็นประโยคได้ และรู้จักว่าทำอย่างไร ประโยคจึงกลายเป็นเรื่องราวได้ รูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่าง เด็กบางคนชอบมองดูรูปภาพ พ่อแม่จึงควรเลือกหนังสือที่มีรูปภาพ หรือ ปริศนารูปภาพ ให้เด็กดู บางคนชอบฟัง จึงควรเลือกหนังสือโคลงกลอน หรือ คำคล้องจอง จะช่วยให้เด็กจำได้ ทำให้สนุกกับการอ่านมากขึ้น บางคนชอบการจับสัมผัส หรือชอบเคลื่อนไหวร่างกายไปด้วย
2-3 ขวบ
   ช่วงวัย 2-3 ขวบ ลูกสามารถใช้ภาษาสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างเข้าใจและดีมากขึ้น พูดเป็นประโยคสั้นๆ ได้แล้ว และมีความเป็นตัวของตัวเองมาก ต้องการทำทุกอย่างด้วยตนเอง เช่น กินข้าวเอง แต่งตัวเอง เลือกเสื้อผ้าเอง วัยนี้เป็นวัยที่เด็กๆ กำลังเข้าเตรียมอนุบาล เป็นวัยที่มีการปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของวินัยและการช่วยเหลือตัวเอง ควรหาหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิ่งรอบตัวและกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ที่ลูกสามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น การแต่งตัว การแปรงฟัน และการเข้าห้องน้ำ การมีวินัย การทำดี ส่งเสริม IQ, EQ, MQ มาอ่านกับลูกๆ เพราะการสอนที่ให้เด็กได้เห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม แถมยังสนุกแบบนี้ จะทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการถูกตักเตือนหรือถูกอบรมสั่งสอนเวลาที่ตัวเขาเองทำผิดเป็นไหนๆ
4-6 ขวบ
   วัยนี้มีจินตนาการเลิศล้ำ ดังนั้นเด็กวัยนี้จึงชอบการอ่านนิทาน ช่วงวัยนี้เป็นช่วงเวลาที่โลกใบเล็กของลูกขยายกว้างจากรั้วบ้านออกไปสู่สังคมภายนอก นอกจากการส่งเสริมประสบการณ์ในบ้าน ที่พ่อแม่สามารถใช้กิจวัตรประจำวันเป็นช่องทางในการสอนอย่างเป็นธรรมชาติแล้ว พ่อแม่ยังต้องเตรียมความพร้อมให้ลูกมีทักษะในการช่วยเหลือตนเองมากขึ้น เพื่อจะใช้ชีวิตในสังคมโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
6 ขวบขึ้นไป
   วัยนี้ก็คือเด็กวัยประถมนั่นเอง เด็กวัยนี้เริ่มอ่านหนังสือได้เองแล้ว และมีช่วงความสนใจนานขึ้น ดังนั้น หนังสือที่เด็กๆ ในวัยนี้จะเริ่มให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือ หนังสือที่เกี่ยวกับความรู้รอบตัวนั่นเอง เช่น วิทยาศาสตร์ โลกใต้ทะเล อวกาศ ฯลฯ หากลูกเป็นเด็กที่มีปัญหาในการอ่าน ต้องบอกว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถในการอ่านเอง ช้าเร็วไม่เท่ากัน บางคนอ่านได้ดีตั้งแต่ประถมหนึ่ง แต่บางคนอาจช้าไปอีกสองปี แม้จะมีความฉลาดเท่ากันก็ตาม เด็กที่อ่านได้ช้ากว่า หากมีพ่อแม่คอยอ่านหนังสือให้ฟัง อาจช่วยให้เขารักและมีความสุขกับการอ่าน

 

   ดังนั้นแล้วการเอาใจใสจากพ่อแม่ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีความรูปและรักการอ่านหนังสือ มองหนังสือเป็นมิตรมากกว่าศัตรู และพ่อแม่ไม่ควรจะใช้อารมณ์บังคับลูกเมื่อลุกไม่อ่านหนังสือ ควรคุยกับลูกด้วยเหตุผล คุณกำลังใส่ใจ เอาใจใส่ลูกของคุณมาถูกทางแล้วอย่างต้องให้พังไปกับการที่คุณใช้อารมณ์บังคับลุกอ่านหนังสือจนเข้ารู้สึกไม่ไดีกับการอ่านหนังสือ ยังมีกิจกรรมอื่นๆมากมายที่จะเสริมสร้างพัฒนาการในหลายๆด้านให้กับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นกีฬาฟุตบอล บาสเก็ตบอล เทควันโด ฯลฯ กิจกรรมเสริมตามความสนใจอื่น เช่น การเต้น การวาดรูป งานการประดิษฐ์สิ่งของ การออกไปท่องเที่ยวก็ถือเป็นอีกทางเลือกของการเปิดโลกกว้าง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้อย่างคาดไม่ถึง
แต่หากไหนๆคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูมที่กับการอ่านหนังสือแล้วก็อย่าลืมหาโต๊ะเก้าอี้ที่เหมาะสมกับสรีระอย่าง เก้าอี้ Ergonomic สำหรับเด็ก นอกจากเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี ยังสามารถเสริมสร้างบุคคลิก ป้องกันการเกิดภาวะ Office Syndrome ในเด็ก หรือภาวะกระดูกสันหลังคดในเด็กได้อีกด้วย วันนี้ Elife มีเรื่องมาเล่าสู่แบ่งปันกับเพื่อนๆประมาณนี้ ให้เพื่อนๆ พ่อแม่มือใหม่ป้ายแดงได้ลองศึกษาและประยุกต์ใช้กับตัวเองดู ครั้งหน้าจะมีความรู้ดีๆอะไรมาฝากอีกรอติดตามได้เลย สำหรับวันนี้สวัสดีครับ