fbpx

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

“โรคความดันโลหิตสูง หรือ Hypertension เป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรให้ความสำคัญทั้งในผู้สูงอายุและกลุ่มคนวัยกลางคนเนื่องจากดัชนีชี้วัดระบุว่าโรคความดันโลหิตสูง ถูกตรวจพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ โรคความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว หรือหน้ามืด ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุล้มลงได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยวิธีดูแลสุขภาพของผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถทำได้โดยการวัดความดันโลหิตเป็นประจำ ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิทัลที่สะดวกในการใช้งาน สามารถนำมาวัดเองได้ที่บ้าน และบอกได้ทั้งค่าความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ

อาการความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการที่สังเกตุได้ชัดเจน แต่อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และเมื่ออาการหนักขึันอาจจะถึงขึั้นโคม่าและเสียชีวิตได้

หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีอย่างทันท่วงที อาจส่งผลเสียต่อร่างกายดังนี้

1.เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตวายเรื้อรัง

2.หลอดเลือดหัวใจหนา หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย

3.หลอดเลือดตีบ โป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้น้อยลง

4.มีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม

5.เป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์ อัมพาต

สาเหตุโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.ความดันโลหิตสูงชนิด (Primary Hypertension) ความดันโลหิตสูงประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปี 

2.ความดันโลหิตสูงชนิด (Secondary Hypertension) ความดันโลหิตสูงประเภทนี้เกิดจากสภาวะสุขภาพพื้นฐานโดยจะปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

1.อายุ : ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะสูงมากขึ้น ความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงในเพศชายมักเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุ 64 ปีขึ้นไป และ 65 ปี ในเพศหญิง

2.เชื้อชาติ : ชาวแอฟริกัน – อเมริกัน มักจะมีความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้นเมื่อเทียบกับคนผิวขาว ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย หรือไตวาย

3.ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว : อีกหนึ่งสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูงมักเกิดการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นผ่านทางพันธุกรรม

4.โรคอ้วน : ความดันโลหิตสูงมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากการมีน้ำหนักมากร่างกายก็ยิ่งต้องการเลือดไปเลี้ยงออกซิเจนและสารอาหารมากขึ้น

5.การใช้ชีวิตอยู่ประจำ : ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมักจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าหัวใจทำงานหนักมากขึ้นในการหดตัวแต่ละครั้ง

6.การสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่เพิ่มความดันโลหิตชั่วคราวในทันที แต่สารเคมีที่พบในยาสูบสามารถทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสียหายได้ ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบ แคบและมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ ควันบุหรี่มือสองจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น

7.อาหารที่มีเกลือสูง : อาหารที่มีโซเดียมสูงอาจส่งผลให้เกิดการคั่งของของเหลวทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

8.อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ : อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำทำให้ร่างกายเก็บโซเดียมไว้ในเลือดมากเกินไป เนื่องจากโพแทสเซียมทำงานเพื่อปรับสมดุลของปริมาณโซเดียมในร่างกาย

9.การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก : การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถทำลายหัวใจได้เมื่อเวลาผ่านไปและอายุเพิ่มมากขึ้นการที่ผู้หญิงดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าหนึ่งแก้วและผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองแก้วต่อวันอาจเป็นอีกสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง

10.ความเครียด : ระดับความเครียดสูงอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว

11.โรคเรื้อรังบางชนิด : โรคต่าง ๆ เช่น โรคไตเบาหวาน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเพิ่มความดันโลหิตสูง

12.การตั้งครรภ์ : บางครั้งการตั้งครรภ์อาจเป็นอีกสาเหตุโรคความดันโลหิตสูงได้

วิธีการวัดความดันโลหิต

1.เตรียมตัวก่อนการวัดความดัน งดกิจกรรมต่างที่มีความเสี่ยงจะทำให้ค่าความดันคลาดเคลื่อน เช่น การออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชา กาแฟ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ ก่อนทำการวัด 30 นาที ควรปัสสาวะก่อนให้เรียบร้อย และนั่งพักผ่อนในที่สงบเป็นเวลา 5 นาที 

2.หากสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไปอาจส่งผลต่อค่าความดัน หากสวมเสื้อแขนยาวควรพับขึ้นก่อนทำการวัด

3.นั่งตัวตรงสามารถโน้มได้เล๋กน้อย วางเท้าราบกับพื้น ควรวางแขนที่ระดับเดียวกับหัวใจ

4.ใส่ปลอกแขนบริเวณต้นแขนระดับเดียวกับหัวใจ

5.กดปุ่ม Power ที่เครื่องวัดความดัน

6.ระหว่างวัด ไม่กำมือ พูดคุย หรือขยับร่างกายจนกว่าเครื่องจะวัดความดันเสร็จ

วิธีการอ่านค่าความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ

Systolic Blood Pressure (SYS) หรือ ตัวเลขบน เป็นความดันสูงสุดในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัวและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ค่าปกติไม่ควรเกิน 120 mmHg

ค่าอยู่ระหว่าง 120 -139 mmHg แสดงว่าอยู่ในภาวะ Prehypertension มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ค่าอยู่ระหว่าง 140 – 159 mmHg แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงระดับ 1

หากเกิน 160 mmHg แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงระดับ 2

Diastolic Blood Pressure (DIA) หรือ ตัวเลขล่าง คือ เป็นความดันต่ำสุดในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจคลายตัวระหว่างพักจากการสูบฉีดเลือด

ค่าปกติไม่ควรเกิน 80 mmHg

ค่าอยู่ระหว่าง 80 – 89 mmHg แสดงว่าอยู่ในภาวะ Prehypertension มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ค่าอยู่ระหว่าง 90 – 99 mmHg แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงระดับ 1

หากเกิน 100 mmHg แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงระดับ 2

Pulsation (PUL) คือ ชีพจร หรืออัตราการเต้นของหัวใจ โดยการเต้นของหัวใจ 1 ครั้ง จะมีการบีบตัวให้เกิดแรงดัน สูบฉีดเลือดมาเลี้ยงร่างกาย โดยปกติค่าชีพจรจะอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้ง/นาที

“โรคความดันโลหิตสูงเป็นเรื่องใกล้ตัวเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด หากรู้ตัวเร็วแล้วรีบรักษาก็ไม่มีอะไรที่น่ากลัว”