fbpx

Children’s Ergonomics หลักการยศาสตร์สำคัญกับเด็กอย่างไร ?

Children’s Ergonomics หลักการยศาสตร์สำคัญกับเด็กอย่างไร ?

เราอยู่ในยุคที่เด็กๆรุ่นใหม่มีการใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตมากขึ้นเป็นส่วนนึงในชีวิตประจำวันไม่แพ้กับผู้ใหญ่เลย จึงทำให้ปัญหาความเจ็บปวดหลัง คอ บ่า ไหล่หรือความเจ็บปวดตามหลักการยศาสตร์ก็สามารถเกิดขึ้นกับเด็กๆได้เช่นกัน ยกตัวอย่างจากกรณีศึกษา[2] ในเด็กชั้นประถมจำนวน 600คน มีอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างในเด็กช่วงอายุ 9ขวบอยู่ที่ 33% และในกลุ่มเด็กอายุ 15ปี อยู่ที่ 48% บวกกับสรีระของเด็กเองที่ยังมีการเจริญเติบโตหรือพัฒนาได้ไม่เท่าผู้ใหญ่อีกด้วย

โดยทั่วไปสรีระของเด็กจะมีขนาดศีรษะใหญ่กว่าตัวและสายตายังมีพัฒนาการไม่เต็มที่ทำให้เวลานั่งอ่านหนังสือ ทำการบ้าน วาดรูป ต้องก้มศีรษะลงต่ำมากๆ นี้แหละเป็นปัญหาสำคัญที่เด็กจำเป็นต้องมีหลัก Ergonomic เข้ามาช่วยเป็นการปลูกฝังให้เด็กๆนั่งท่าที่ถูกต้องตั้งแต่อายุยังน้อยให้ส่งผลดีในระยะยาว

นั่งตามหลักการยศาสตร์สำหรับเด็ก [Ergonomic Sitting for Children]

คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านอาจเข้าใจว่าลูกๆนั้นใช้เวลาในการวิ่งเล่น เดินแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วเด็กจะอยู่กับการนั่งเสียมากกว่า ดังนั้นเด็กๆที่นั่งได้ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรกสามารถทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด กระดูกผิดรูปหรือที่รู้จักว่า Kyphosis, Scoliosis ได้ในอนาคต สำหรับท่านั่งที่ดีสำหรับเด็กนักกายภาพได้ออกแบบกฎ 90-90-90 องศา เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ คือ

  • หลังตรง 90องศากับต้นขา
  • ต้นขาทั้งสองราบบนเบาะนั่งและทำมุม 90° กับเข่า
  • เท้าทั้งสองข้างแบนและวางบนพื้น (หรือที่พักเท้า) เพื่อทำมุม 90° กับหน้าแข้ง

วิธีจัดท่านั่งที่ถูกต้องสำหรับเด็ก

  • เริ่มจากการเลื่อนก้นให้อยู่ชิดกับพนักเก้าอี้ วางแขนไว้ใกล้ลำตัว ไม่เกร็งไหล่ เข่าอยู่ระดับเดียวกับสะโพกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
  • เด็กๆที่เล่นไอแพด สมาร์ทโฟนบ่อยๆ ก็จะชินกับการก้มดังนั้นผู้ปกครองควรสังเกตุบริเวณศีรษะและคอ โดยที่ลำคอควรตั้งตรงไม่เอียงหรือไม่โค้งไปด้านหน้า วางตำแหน่งให้ไอแพดหรือมือถืออยู่ในระดับสายตามากที่สุด
  • หากใช้คอมพิวเตอร์ให้พยายาม ปรับหน้าจออยู่ในระดับสายตาหรือต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย และให้ลูกฝึกบริหารกล้ามเนื้อต้นคอบ่อย ๆ เช่น การทำท่า chin tuck โดยยืนตัวตรง หลังชิดผนัง กดคางไปด้านหลัง พยายามให้ศีรษะส่วนล่าง (ส่วนที่อยู่ใกล้กับคอ) ชิดกับผนัง คล้าย ๆ กับกำลังทำท่าโชว์เหนียงเลยก็ว่าได้
  • เด็กๆที่กำลังเรียนออนไลน์อยู่ตอนนี้ ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้เด็กๆนั่งนานจนเกินไป ควรให้ลุกขึ้นเปลี่ยนท่าหรือเดินเพื่อผ่อนคลายบ้าง การผ่อนคลายนี้จะได้พักผ่อนทั้ง สมอง สายตาและร่างกาย

ตัวอย่างการทำท่า Chin Tuck

จัดโต๊ะเขียนหนังสือ/คอมพิวเตอร์สือตามหลักการยศาสตร์ [Ergonomic Computing for Children]

นอกจากเขียนหนังสือทำการบ้าน อ่านหนังสือเด็กส่วนใหญ่มักใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตในการเล่นเกม ดูการ์ตูน สื่อการเรียนการสอนทางระบบออนไลน์ (หรือเรียนออนไลน์ในตอนนี้) การจัดโต๊ะให้ตรงตามหลัก Ergonomic จึงเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้คนในวัยทำงานถือเป็นสร้างพื้นฐานอาการเมื่อยล้าของดวงตาและการนั่งเป็นระยะเวลานานๆ

เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะกับเด็กๆ

  • เลือกขนาดแล็บท็อปให้มีขนาดที่พอดีกับมือของเด็ก ถ้าใหญ่เกินไปจะได้ให้พกพาลำบากส่งผลกับข้อมือและหลังของเด็กๆอีกด้วย
  • เลือกใช้โต๊ะที่สามารถปรับสูง-ต่ำได้ เพื่อที่ปรับให้โต๊ะอยู่ในระดับที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยและสรีระของเด็กแต่ละคน และยังช่วยให้เด็กๆเปลี่ยนอริยบทจากการนั่งอย่างเดียวมายืนทำกิจกรรมบ้างเด็กๆจะได้รู้สึก active มากขึ้นและกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อ
  • โต๊ะควรปรับเอียงได้เพราะเด็กๆยังมีการพัฒนาการทางสายตาได้ยังดีและมีขนาดศีรษะที่ค่อนข้างใหญ่ การใช้โต๊ะที่สามารถปรับเอียงเข้าหาได้จะช่วยลดการก้มศีรษะที่มากเกินไป และทำให้วางตำแหน่งสมุด หนังสือ แท็บเล็ตอยู่ใกล้ระดับสายตามากขึ้นนั่นเอง
  • เลือกใช้เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้ เพราะเด็กแต่ละคนที่ความสูงไม่เท่ากันการใช้เก้าอี้ที่ปรับได้จะสามารถทำให้ท่านั่งของเด็กๆเท้าถึงพื้น อยู่ในกฎ 90-90-90 ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
  • มีอุปกรณ์ไว้เล่นผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่นลูกบอลขนาดใหญ่ เก้าอี้โยเยก

การเลือกกระเป๋าเป้ตามหลักการยศาตร์ [Backpack Ergonomics]

ตัวอันตรายที่สุดที่ส่งผลเสียต่อหลังของเด็กๆ นั่นก็คือกระเป๋าเป้เพราะจะต้องสะพายแทบทุกวัน กระเป๋าเป้ที่สวมใส่ไม่ได้หรือมีน้ำหนักที่เยอะเกินไปส่งผลให้กระดูกสันหลังผิดรูปและเมื่อเวลาผ่านไปอาจนำไปสู่โรคไคโฟซิส “ภาวะกระดูกพรุน กระดูกสันหลังคด และปวดหลัง” มีรายงานจาก Orthopedics ว่ามี 60% ของนักเรียนวัยประถมและมัธยมมีปัญหาปวดหลังสาเหตุเพราะสะพายกระเป๋าเป้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป

แก้ปัญหาอย่างไร ?

รูปจาก https://kdmshospital.com/article/functional-scoliosis/

  • ผู้ปกครองควรตรวจสอบน้ำหนักของกระเป๋าเป้ให้ไม่เกิน 10%ของน้ำหนักตัวเด็ก
  • สะพายระดับเดียวกับบริเวณกระดูกสันหลังส่วนอก คือ ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด
  • เมื่อสะพายกระเป๋าควรให้สายกระเป๋าอยู่ตำแหน่ง Balance กันทั้ง 2ข้าง
  • สอนเด็กๆ ให้วางกระเป๋าลงบ้างในสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อช่วยแรงลง เช่นเวลายืนรอรถเมล์
  • หากจำเป็นต้องพกของเยอะๆ ควรมีกระเป๋าเสริมแยกเช่นกระเป๋าผ้า

แนวทางการใช้เกมและสมาร์ทโฟน [Gaming and Smartphone Usage Guidelines]

แม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การทำงาน และสามารถใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย แต่สำหรับเด็กแล้วเวลาส่วนใหญ่ไม่ใช่เวลาที่หน้าจอ โดยเฉพาะเด็กเล็กต่ำกว่า 3 ปีไม่ควรใช้ และสำหรับเด็กตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปไม่ควรใช้เกิน 15 นาทีต่อหนึ่งครั้งและไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ในการใช้นั้นให้ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้อย่างมีจุดมุ่งหมาย ควรมีการกำหนดข้อตกลงในการใช้ร่วมกันกับเด็กจะได้ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม สำหรับเทคโนโลยีที่เลือกใช้สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง การประชุมออนไลน์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งต่อกิจกรรมให้ผู้ปกครองทำร่วมกับเด็ก การให้เด็กได้พบได้พูดคุยกับเพื่อนและครู การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และการจัดชั้นเรียนออนไลน์

การใช้อุปกรณ์ Digital มากเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพจิต(ทำให้อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย) ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม พัฒนาการทางปัญญา การมองเห็น คุณภาพการนอนหลับ และช่วงสมาธิของเด็ก Michael Cheng จิตแพทย์เด็กที่โรงพยาบาลเด็ก Ottawa กล่าวว่าการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กเล็กอาจเป็นอันตรายต่อสมองของพวกเขาได้ เช่นเดียวกับยาเสพติด อุปกรณ์ดังกล่าวจะกระตุ้นมากเกินไปและทำให้สมองของเด็กต้องการสารโดปามีนมากขึ้น และอันที่จริง ไมเคิลแนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีเล่นสมาร์ทโฟนควรมีไว้สำหรับติดต่อเท่านั้น

  • ผู้ปกครองทำข้อตกลงในการใช้สมาร์ทโฟนให้อยู่ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเด็กๆขณะใช้สมาร์ทโฟน
  • สอนให้ใช้อย่างเหมาะสม ตามช่วงวัย
  • มีกิจกรรมอย่างอื่นให้เด็กๆทำนอกจาก Digital
  • ฝึกให้อ่านหนังสือเป็นเล่มมากกว่าหนังสือ Digital

อย่างไรก็ตามหลัก Ergonomic เป็นหลักการและเป็นหลักในการสร้างสภาพแวดล้อมให้ถูกต้องเหมาะสมอย่างไรก็ตามการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองยังคงมีความสำคัญเป็นอันดับ1 มาดูแลลูกๆของคุณให้เติบโตอย่างสุขภาพดีทั้งจิตใจและร่างกายกันนะคะ