fbpx

เดินดี…ไม่มีล้ม

เดินดี…ไม่มีล้ม

การล้ม เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการบาดเจ็บ และการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้สูงวัย ยิ่งเมื่อก้าวสู่ปีที่ 70 เป็นต้นไป ความเสี่ยงของการหกล้มจะยิ่งมากขึ้น การล้มเป็นสาเหตุการบาดเจ็บที่รุนแรง ถ้าหากล้มครั้งเดียวอาจส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของคนรอบข้างเจ็บต่อไปตาม ๆ กัน ถ้าผู้สูงอายุไม่สามารถดูแลตัวเองได้เองอีก อาจส่งผลให้ลูกหลานหรือญาติพี่น้องต้องลาออกจากงานเพื่อมาดูแลหรือจ้างผู้ดูแลพิเศษให้การบาดเจ็บจากการหกล้มทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่าการบาดเจ็บจากสาเหตุอื่น เช่น การบาดเจ็บจากกระดูกสะโพกหัก ผู้ป่วยอาจต้องนอนโรงพยาบาลนาน ถ้าผู้ป่วยยิ่งมีอายุมากและมีโรคประจำตัวมีความเป็นไปได้ที่ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานานหรือนอนติดเตียง และต้องมีผู้ดูแลไปตลอดทั้งชีวิต สำหรับคนที่เคยหกล้มแต่ไม่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง อาจเกิดอาการวิตก หวาดกลัวการหกล้มซ้ำ ทำให้ไม่กล้าใช้ชีวิตตามปกติ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ ลดลงไปด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มของผู้สูงอายุ

1) ปัจจัยภายใน (การเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย)

  • การเดินและการทรงตัวผิดปกติ เช่น ในผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน ไขสันหลัง ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ ขาชา และกระดูกหูชั้นในเสื่อม
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง จากความสูงวัยและภาวะโรคต่าง ๆ
  • ความบกพร่องด้านการมองเห็น เช่น ผู้ป่วยโรค ต้อกระจก ต้อหิน
  • ระดับการทำกิจวัตรประจำวันและการเคลื่อนไหวลดลง จากการไม่ออกกำลังกาย
  • การได้รับยาหลายชนิดพร้อมกัน รวมถึงยาบางประเภทที่ส่งผลต่อการทรงตัว
  • ความบกพร่องของสติปัญญา การรับรู้และภาวะจิตใจ เช่น ผู้ป่วยสมองเสื่อม ซึมเศร้า วิตกกังวล

2) ปัจจัยภายนอก (ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม)

  • พื้นทางเดิน การจัดบ้าน และสิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัย  สิ่งของในบ้านวางเกะกะ และมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
  • สิ่งก่อสร้างไม่เอื้ออำนวย เช่น ห้องน้ำไม่มีราวเกาะ ,บันได แคบและชัน , ทางเท้าและพื้นถนนขรุขระ หรืออยู่ระหว่างซ่อมแซม
  • เครื่องใช้และเครื่องแต่งกายไม่พอดีตัว เช่น เสื้อผ้า หลวมโคร่งและยาวรุ่มร่าม รองเท้าหลวม  พื้นรองเท้าลื่นหรือชำรุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีลดความเสี่ยงจากการล้ม

  • กรณีเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกาย ผู้สูงวัยต้องได้รับการรักษาโรคประจำตัวหรือภาวะความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มดังกล่าวข้างต้นกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  รวมทั้งรักษาระดับการทำกิจกรรมและการเคลื่อนไหว เพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความสามารถในการทรงตัว
  • ปรับสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ที่ผู้สูงอายุอยู่เป็นประจำ เช่น พื้นทางเดินและการจัดบ้านปรับทางเดินให้เรียบ ไม่ลื่น จัดบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่วางของเกะกะบนพื้น เพิ่มแสงสว่างในบริเวณบ้านให้เพียงพอ โดยฉพาะบริเวณทางเดินและบันได ติดราวจับในห้องน้ำและบริเวณบันได
  • เครื่องใช้และเครื่องแต่งกาย ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีขนาดเหมาะสมกับตัวเอง ใส่รองเท้าที่กระชับ พื้นไม่ลื่น
  • ควรใช้อุปกรณ์ในการช่วยเดิน ไม่ว่าจะเป็นไม้เท้า หรือรถเข็นช่วยเดิน และควรปรับพฤติกรรม เช่น ลุกขึ้นยืนช้าๆ มองหาวัตถุรอบตัวที่สามารถจับยึดได้ในกรณีฉุกเฉิน ไม่เดินบริเวณที่เปียกชื้น ไม่ใส่รองเท้ายางที่หมดอายุการใช้งาน เพราะพื้นรองเท้าลื่นและไม่เกาะพื้น

ดังนั้นการปกป้องตัวเองของผู้สูงอายุไม่ให้เกิดการล้มจึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรมีการออกกำลังกายและดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น Elife มีวิธีดูแลตัวเองมาแนะนำค่ะ >>https://www.elifegear.com/%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a2/

นอกจากนั้นตัวเรายังมี EW-21 รถเข็นช่วยเดินที่จะเป็นตัวช่วยในการฝึกการเดินของผู้สูงอายุ >> https://www.elifegear.com/shop/ew-021-rollator-3in1-ultralight/

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ