fbpx

เข้าใจวัยรุ่นยุค1950’s

เข้าใจผู้สูงอายุ

        ภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปพบได้มากถึง 10 – 20 พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และยิ่งมีอายุมาก ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นบุตรหลานควรทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้สูงอายุ ว่าท่านต้องการอะไร หรือท่านมีภาวะด้านอารมณ์ ด้านกายภาพ ด้านใดบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าปล่อยปะละเลยอาจเกิดผลร้ายแรงตามมาได้

ภาวะอารมณ์เศร้า หรือโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depression) เป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดในผู้สูงวัย ช่วงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 แบบ คือ อาการซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยพบมากถึง 10-20 % ของประชากร และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่หย่าร้าง อยู่ตัวคนเดียว หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก จะมีความเสี่ยงกับภาวะนี้มากขึ้น

 

 

สิ่งที่ลูกหลานควรทำความเข้าใจ เมื่อต้องดูแลผู้สูงอายุในบ้าน เพราะผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์

  1. ทุกคนต้องร่วมมือกัน การดูแลผู้สูงวัยเป็นหน้าที่ของลูกหลานทุกคน จึงควรนั่งคุยกันว่าผู้สูงวัยในบ้านของคุณนั้นต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง และทุกคนในครอบครัวจะร่วมมือกันได้อย่างไร
  2. ศึกษาเกี่ยวกับโรคที่ผู้สูงวัยเป็นอยู่รวมถึงแนวทางการรักษา และยาที่ต้องรับประทาน เพื่อให้สามารถดูแลท่านได้อย่างถูกต้อง และช่วยเหลือเบื้องต้นได้หากมีอาการกำเริบ
  3. จัดสภาพแวดล้อม และบรรยากาศภายในบ้านให้เหมาะสำหรับผู้สูงวัยมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของความสะดวกสบายในการเดิน หรือการใช้ชีวิตประจำวันในบ้าน
  4. พูดคุยกับผู้สูงวัยในบ้านให้มากขึ้น ให้ความใกล้ชิด ให้เวลา และพยายามทำความเข้าใจท่านให้มากขึ้น
  5. เปิดใจที่จะดูแลผู้สูงวัย เพราะการดูแลท่านก็คือการแสดงออกถึงความกตัญญูที่ลูกหลานควรทำ
  6. การดูแลผู้สูงวัยที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังหลายอย่าง หรือเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด เป็นเรื่องค่อนข้างซับซ้อน ลูกหลานควรต้องใส่ใจในรายละเอียดของท่านให้มากขึ้น มองหาตัวช่วยอื่นๆเช่น ปรึกษาแพทย์ พยาบาล ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยให้การดูแลง่ายขึ้น ที่สำคัญอย่าทิ้งท่านไปไหน