fbpx

สิทธิและสวัสดิการดีๆ ของรุ่นใหญ่ที่คุณอาจไม่เคยรู้

สิทธิและสวัสดิการดีๆ ของรุ่นใหญ่ที่คุณอาจไม่เคยรู้

 

รุ่นใหญ่หลายท่าน คงรู้จักเบี้ยยังชีพหรือเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุกันเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ ตาม พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ 2546 แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าจริง ๆ แล้วผู้สูงอายุยังมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ อีกมากมาย  ส่วนจะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

 

1. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ตามโรงพยาบาลของรัฐจะมีบริการให้ความสะดวกและรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ โดยจัดให้มีช่องทางเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาแยกจากผู้ใช้บริการทั่วไปในแผนกผู้ป่วยนอก

หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

สอบถามได้ที่ 02-590-6225

เว็บไซต์ www.dms.moph.go.th

2. ด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสาร

ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเรียน เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน และจัดให้มีหลักสูตรการศึกษาตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ให้รุ่นใหญ่ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาหรือสนใจหาความรู้เพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ กันได้

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ

สอบถามได้ที่ 02-281-7217

เว็บไซต์ www.nfe.go.th

3. ด้านการประกอบอาชีพ ฝึกอาชีพที่เหมาะสม

สำหรับใครที่อยากใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และคิดว่าตนเองยังมีไฟในการทำงาน ก็สามารถขอรับข้อมูล คำปรึกษา ข่าวสาร เกี่ยวกับตลาดแรงงาน การจัดหางาน รับสมัครงาน บริการข้อมูลทางอาชีพ ตำแหน่งว่างงาน การอบรมและฝึกอาชีพกันได้ โดยมีการจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลทางอาชีพและตำแหน่งว่างงานสำหรับรุ่นใหญ่เป็นการเฉพาะ ที่สำนักจัดหางานทุกแห่งทั่วประเทศ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน กระทรวงแรงงาน

สอบถามได้ที่ 02-232-1379

4. ด้านการพัฒนาตนเอง

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่าย/ชุมชน จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุต่าง ๆ เช่น การถ่ายทอดภูมิปัญหาภายในชุมชนและด้านอาชีพ ส่งผลให้ได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะทำให้รุ่นใหญ่เกิดความตระหนักต่อคุณค่าและศักยภาพของตนเอง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการมีส่วนร่วม กระทรวงมหาดไทย

สอบถามได้ที่ 02-241-9000 ต่อ 4131 – 4135

เว็บไซต์ www.moi.go.th

5. ลดหย่อนค่าโดยสาร

การอำนวยความสะดวกในการเดินทางเป็นสวัสดิการที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี นั่นคือการได้รับลดหย่อนค่าโดยสารจากขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ลดค่าโดยสารครึ่งราคาสำหรับผู้ที่โดยสารรถเมล์ ขสมก. รถไฟ  เรือ รวมถึงรถโดยสารบริษัทขนส่ง (บขส.)  เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขในการรับสิทธิหรือสวัสดิการนี้คือต้องแจ้งและแสดงบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ก่อนซื้อตั๋วโดยสารดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  

หน่วยงานที่รับผิดชอบ การรถไฟแห่งประเทศไทย  

สอบถามได้ที่ 02-220-4263

หน่วยงานที่รับผิดชอบ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

สอบถามได้ที่ 02-246-0339, 1348

เว็บไซต์ www.bmta.co.th

6. อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงให้แก่ผู้สูงอายุ

ตามอาคารและสถานที่สาธารณะ รวมถึงห้างสรรพสินค้า จะมีทางลาด ราวจับ ลิฟท์โดยสาร ที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุ อีกทั้งรถขนส่งสาธารณะต้องมีที่นั่งสำหรับผู้สูงอายุ หากโดยสารเครื่องบินจะได้รับสิทธิให้ขึ้นเครื่องบินเป็นอันดับแรก

หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สอบถามได้ที่ 02-642-4354

เว็บไซต์ www.dop.go.th

7. ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ

มีการยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ เช่น พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวในความ รับผิดชอบขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และองค์การสวนพฤกษศาสตร์ เป็นต้น

หน่วยงานที่รับผิดชอบ อุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สอบถามได้ที่ 02-561-0777 ต่อ 1742

เว็บไซต์ www.dnp.go.th

8. เบี้ยยังชีพ

ผู้สูงอายุซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ สัญชาติไทย ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่น ใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ได้จัดให้อย่างเป็นประจำ จะได้รับ การช่วยเหลือเงินเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต โดยแบ่งตามช่วงอายุแบบขั้นบันได ดังนี้ อายุ 60 – 69 ปี จะได้รับเดือนละ 600 บาท อายุ 70 – 79 ปี จะได้รับเดือนละ 700 บาท อายุ 80 – 89 ปี จะได้รับเดือนละ 800 บาท อายุ90 ปีขึ้นไป จะได้รับเดือนละ 1,000 บาท

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักสังเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการมีส่วนร่วม กระทรวงมหาดไทย

สอบถามได้ที่ 02-241-9000 ต่อ4131 – 4135

เว็บไซต์ www.moi.go.th

9. สิทธิในการได้รับการช่วยเหลือ

ผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้งผู้สูงอายุจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐโดยมีที่พักอาศัยชั่วคราว มีเงินช่วยเหลือ และช่วยในการดำเนินคดีให้ด้วย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักอัยการสูงสุด

สอบถามได้ที่ 02-141-2726

เว็บไซต์ www.ago.go.th

10. สิทธิในการได้รับคำแนะนำ

ปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี หรือในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว ในส่วนของด้านกฎหมายเอง สำนักงานอัยการจะมีบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายฟรี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว เรื่องมรดกต่าง ๆ ก็สามารถปรึกษาได้

หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

สอบถามได้ที่ 02-502-8221 , 02-502-8191

เว็บไซต์ www.rlpd.moj.go.th

11. สิทธิได้รับบริการการจัดที่พักอาศัย

อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงมีการจัดหาที่พักอาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มให้ผู้สูงอายุตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง ในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สอบถามได้ที่ 02-642-4305

เว็บไซต์ www.dop.go.th

อย่างไรก็ตามสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการรับผลประโยชน์ ผู้สูงอายุควรหมั่นติดตามข่าวสาร หากมีข้อสงสัยควรโทรสอบถามกับหน่วยงานโดยตรง เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดนะคะ

​ที่มา https://www.awusosociety.com/lifestyle050961