ในทางการแพทย์นั้น “อาการนอนติดเตียง” คือการที่ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะพอที่จะขยับตัวได้บ้าง แต่ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองในเรื่องอื่น ๆ หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เลย โดยอาจมีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาหรือเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยจากการเป็นโรค ประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ โดยผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงอาจจะมีทั้งผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย เตียงนอน สภาพแวดล้อมในห้องนอน ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยเพราะมีสภาพร่างกายที่อ่อนแออยู่แล้ว การรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอสามารถลดการสะสมของแบคทเรีย เชื้อโรค และช่วยให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้นอีกด้วย
การดูแลความสะอาดในห้องนอนผู้ป่วย
ห้องนอนเป็นสถานที่ที่ผู้ใช้งานมากที่สุด คุณสมบัติห้องนอนผู้ป่วยที่ดีคือต้องมีอากาศที่ถ่ายเทสะดวกไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด และการดูแลความสะอาดของผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกันเพราะสิ่งเหล่านี้สัมผัสกับผิวหนังของผู้ป่วยโดยตรง สิ่งที่ควรเตรียม
- ควรเตรียมชุดผ้าปูที่นอนสำรองไว้
- เปลี่ยนผ้าปูที่นอนทุก 2-3 วัน
- เช็ดทำความสะอาดตามหัวเตียง โต๊ะ หน้าต่าง พื้น อยู่เสมอ
- หากกรณีผู้ป่วยติดเตียงควรรองด้วยผ้ายางก่อน
- ไม่ควรหมักหมมของเสียไว้ในห้องนอนข้ามคืน
การดูแลรักษาอาหารการกิน
เพราะความสะอาดของอาหารส่งผลโดยตรงกับสุขภาพของผู้ป่วย
- อาหารควรเลือกที่ปรุงสุก ไม่ข้ามคืน เป็นอาหารที่ตรงตามหลักอนามัยและเหมาะสมกับผู้ป่วย ไม่ควรเลือกอาหารที่ย่อยยากจนเกินไป
- ความสะอาดของจานชาม แก้วน้ำ ไม่ควรใช้แก้วน้ำซ้ำควรเปลี่ยนเป็นประจำทุกวัน
- ไม่ดื่มน้ำที่ค้างอยู่ในแก้ว
ความสะอาดของร่างกาย
การดูแลความสะอาดร่างกาย เช่นการอาบน้ำ ทำความสะอาดของเสีย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยหากทำความสะอาดได้ไม่ดีพออาจเป็นแหล่งของเชื้อโรคสะสม
- การขับถ่ายควรทำความสะอาดโดยทันที
- การสระผมให้ผู้ป่วย จริงๆแล้วผู้ป่วยติดเตียงสามารถทำได้ไม่ยากเพราะในตลาดตอนนี้มีอุปกรณ์เสริมขายอยู่เป็นจำนวนมาก
- ทำร่างกายให้แห้งสะอาด
- ทางครีมบำรุงผิวอ่อนๆให้ผู้ป่วย เช่น วาสลีน โลชั่นเด็ก
ความสะอาดของช่องปาก
ส่วนมากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุและเริ่มมีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากเป็นจุดเริ่มต้นของการลดแบคทีเรียในช่องปาก
- ควรให้ผู้ป่วยบ้วนปากหลังทานอาหารทุกครั้ง
- แปรงฟัน 2 ครั้งต่อวัน เช้า-เย็น ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเช่นแก้วน้ำ ผ้าก็อซ ผ้าขนหนูสะอาด
- ใช้ผ้าแห้งเช็ดฟันและกระพุ้งแก้มอย่างเบามือ
ความสะอาดของเสื้อผ้า
ควรมีการเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย และไม่ปล่อยในเสื้อผ้าเหม็นอับ เช่น กลิ่นเหงื่อ กลิ่นฉี่ หรือกลิ่นของอาหารที่หกโดยเสื้อผ้า เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงรู้สึกไม่สบายตัว
- ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำข้ามคืน โดยเฉพาะชุดชั้นใน
- ผ้าที่เปื้อนสิ่งสกปรกควรเปลี่ยนทันที
- ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะกับสภาพอากาศ